ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลังมีแนวคิดขยายเพดานการยกเว้นภาษีอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้หารือกับกรมสรรพากรในแนวคิดที่จะขยายเพดานการยกเว้นภาษีเงินฝากเรียบร้อย
แล้ว และได้สั่งการให้กรมสรรพากรไปศึกษาว่าจะสามารถขยายเพดานรายได้ที่จะยกเว้นภาษีได้จำนวนเท่าไร
เบื้องต้นอาจจะขยายเพดานรายได้จากอัตราดอกเบี้ยที่ไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จาก
เดิม 1 หมื่นบาท เป็น 2-3 หมื่นบาท ทั้งนี้ รายได้จากอัตราดอกเบี้ยในระดับดังกล่าวจะต้องมีมาจากฐานเงิน
ฝากประมาณ 2 ล้านบาท ซึ่งเป็นแนวคิดที่กำลังดูว่าจะทำให้คนที่มีอายุ 55 ปี มีรายได้จากเงินออมเพิ่มขึ้นได้
อย่างไร เพื่อให้มีการออมเงินมากขึ้น สำหรับแนวคิดที่จะขยายเพดานการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากนั้น
ปัจจุบันผู้ฝากเงินที่มีรายได้จากดอกเบี้ยไม่เกิน 1 หมื่นบาทต่อปี ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หากมี
รายได้ดอกเบี้ยเกิน 1 หมื่นบาทขึ้นไป ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15 อย่างไรก็ตาม ก.คลังเห็นว่าการขยาย
เพดานในส่วนนี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบมากนัก เนื่องจากรายได้ที่รัฐจัดเก็บภาษีในส่วนนี้ไม่มากนัก ในทางกลับกัน
หากมีการขยายเพดานจะทำให้ผู้ฝากเงินมีเงินเก็บมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. ยืดเวลาปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ 1 ปี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. เปิด
เผยว่า เนื่องจากสถานการณ์โรคไข้หวัดนกยืดเยื้อและมีการกลับมาระบาดรอบ 2 ธปท. จึงมีนโยบายขยายความ
ช่วยเหลือด้วยการช่วยเหลือทางการเงินอัตราดอกเบี้ยต่ำให้กับผู้ประสบความเสียหายจากไข้หวัดนก จากความ
ช่วยเหลือเดิมตามหนังสือเวียนฉบับเดิม ลงวันที่ 10 มี.ค.47 โดยได้ออกประกาศความช่วยเหลือทางการเงิน
ฉบับใหม่ ลงวันที่ 4 พ.ย.47 เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกและผู้ประกอบกิจการ
เลี้ยงสัตว์ปีกที่ได้รับความเสียหายจากไข้หวัดนก ได้ขยายความช่วยเหลือจากเดิมที่ให้เฉพาะผู้เลี้ยงไก่ เพิ่มเป็นผู้
เลี้ยงไก่ ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกประเภทอื่น รวมทั้งผู้ประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกที่ได้รับความเสียหายจากไข้หวัดนก ทั้ง
นี้ ธปท. จะให้สินเชื่อแก่ ธ.พาณิชย์ผ่านการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินในอัตราผ่อนปรนที่สุดคือ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ
0.01 ต่อปี เพื่อนำไปปล่อยสินเชื่อต่อด้วยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกและผู้ประกอบ
การ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี รวมทั้งขยายเวลาการรับความช่วยเหลือจากเดิมที่สิ้นสุดภายใน 1 ปี คือ
ภายในวันที่ 10 มี.ค.48 เป็นวันที่ 10 มี.ค.49 เนื่องจากการระบาดของไข้หวัดนกยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง โดย
ให้เสนอเรื่องมาที่ ธปท. เพื่อขออนุมัติวงเงินความช่วยเหลือภายในวันที่ 30 ธ.ค.นี้ (ข่าวสด)
3. ธปท.. คาดว่าเอ็นพีแอลทั้งระบบจะลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 10 ภายในสิ้นปีนี้ นาย
ทำนอง ดาศรี ผอ.สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท. เปิดเผยว่า เชื่อว่าเอ็นพีแอลทั้งระบบจะลดลงตามเป้า
หมายที่ ธปท. ตั้งไว้ เนื่องจากปัจจัยทางด้านราคาน้ำมันที่เริ่มปรับราคาลง และมาตรการการกันสำรองหนี้ที่จะมี
ผลบังคับใช้ในเดือนหน้านี้ รวมทั้งกระบวนการทางศาลเริ่มเดินและมีความคืบหน้าไปมาก ซึ่งจะทำให้การปรับ
โครงสร้างหนี้ทำได้ง่ายขึ้น ส่วนกรณีที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มอยู่ในช่วงขาขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อการปรับโครง
สร้างหนี้ได้ ทั้งนี้ ธปท. ตั้งเป้าหมายที่จะลดเอ็นพีแอลในปี 48 ให้อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 10 และในปี 49
ที่ระดับร้อยละ 3.5 ของสินเชื่อรวม ส่วนในปี 47 เชื่อว่าเอ็นพีแอลน่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 10 ได้ เพราะตัว
เลขล่าสุด ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เอ็นพีแอลอยู่ที่ร้อยละ 11.38 ของสินเชื่อรวม (ผู้จัดการรายวัน,
กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
4. ธ.โลกปรับลดการเติบโตเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือร้อยละ 6.4 น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นัก
เศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยถึงรายงาน “ตามติดเศรษฐกิจไทย เดือน พ.
ย.47” ว่า เศรษฐกิจไทยยังเติบโตต่อเนื่อง โดยคาดว่าจีดีพีจะเติบโตลดลงจากการคาดการณ์ช่วงต้นปีที่ร้อยละ
7 เหลือร้อยละ 6.4 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 6.8 ในปีที่ผ่านมา และคาดว่าปี 48 จะอยู่ที่ร้อยละ 5.8 แต่ถือ
ว่าอยู่ในระดับน่าพอใจเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่กระทบและมีความเสี่ยงต่อการเติบโต
ทางเศรษฐกิจไทยในปี 48 คือ ราคาน้ำมัน และสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ไข้หวัดนก แนวโน้มอัตรา
ดอกเบี้ยขาขึ้น รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจจีน สำหรับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปี
47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 กระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจให้ลดลงร้อยละ 0.7 ส่วนปีหน้าหากปล่อย
ลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลจะทำให้จีดีพีลดลงร้อยละ 0.4 ส่วนปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ได้ส่งผลกระทบต่อความ
เชื่อมั่นในการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ แต่เชื่อว่าในปี 48 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นเนื่อง
จากเข้าใจสถานการณ์มากขึ้น ส่วนการลงทุนของภาคเอกชนในปี 47 เติบโตดีที่ร้อยละ 13 ขณะที่การลงทุนของ
ภาครัฐขยายตัวเติบโตขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อ 5 ปีก่อน ด้านการส่งออกในปีนี้เติบโต
เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยขยายตัวมากกว่าร้อยละ 20 แต่ก็ต้องระวังในปี 48 เพราะจะเป็นปีที่ภาวะราคา
สินค้าถดถอย อาจส่งผลให้การส่งออกลดลงได้ นอกจากนี้ ในรายงานของธนาคารโลกยังแนะนำให้ไทยปรับปรุง
ภาคบริการ พัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัย ควบคุมเรื่องการคอร์รัปชั่น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับ
โลก หลังจากที่รายงานขีดความสามารถในการแข่งขันโลกล่าสุดพบว่าอันดับความสามารถในการแข่งขันของ
ไทยลดลงเกือบทุกดัชนีชี้วัด (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขาดดุลการค้าของอังกฤษในเดือน ก.ย. มีจำนวน 4.55 พันล้านปอนด์ลดลงจากเดือน
ก่อน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 9 พ.ย.47 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานยอดขาดดุลการค้าในเดือน
ก.ย.47 มีจำนวน 4.55 พันล้านปอนด์ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 5.16 พันล้านปอนด์และต่ำกว่าที่คาดไว้ว่า
จะมีจำนวน 5.1 พันล้านปอนด์ โดยเป็นผลจากการส่งออกไปยังประเทศนอกสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น โดยมียอดส่ง
ออกโดยรวมทั้งสิ้น 16.5 พันล้านปอนด์สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค.45 ในขณะที่ยอดนำเข้าก็เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็น
ประวัติการณ์เช่นเดียวกันโดยมีจำนวน 21.1 พันล้านปอนด์ โดยอังกฤษขาดดุลการค้าน้ำมันเป็นครั้งแรกใน
รอบ 13 ปีนับตั้งแต่เดือน ส.ค.34 จำนวน 254 ล้านปอนด์จากการซ่อมบำรุงเครื่องจักรประจำฤดูร้อนในทะเล
เหนือที่ล่าช้ามาจนถึงเดือน ก.ย.47 ทั้งที่โดยปรกติแล้วอังกฤษจะเกินดุลการค้าน้ำมันมาโดยตลอดเนื่องจากมี
แหล่งน้ำมันดิบในทะเลเหนือจำนวนมาก ยอดส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากโรงงานโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.1 ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้เกิดความสงสัยในความน่าเชื่อถือของตัวเลขประมาณการของทางการก่อน
หน้านี้ที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.5 จึงมีความเป็นไปได้ว่ายอดขาดดุลการค้าในเดือนหน้าจะกลับมาเพิ่มขึ้นเหมือน
ก่อนหน้านี้อีก (รอยเตอร์)
2. คาดว่าการส่งออกที่ชะลอตัวของเยอรมนีจะกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3
รายงานจาก เบอร์ลิน เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 47 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 31 คนของรอยเตอร์คาด
ว่าในไตรมาสที่ 3 ปีนี้เศรษฐกิจเยอรมนี (GDP) จะขยายตัวร้อยละ 0.3 จากที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 ในไตร
มาสก่อน ที่มีอัตราการขยายตัวเร็วที่สุดในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเศรษฐกิจ
เยอรมนีเติบโตร้อยละ 1.6 และขยายตัวร้อยละ 2.0 ในไตรมาสที่ 2 ปีที่แล้ว เนื่องจากการส่งออกและอุปสงค์
ในประเทศยังคงไม่แข็งแกร่ง ทั้งนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีจะประกาศตัวเลข GDP อย่างเป็นทางการ
ในวันพฤหัสบดีนี้เวลา 7.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งใช้เป็นเครื่องชี้เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสที่ 3 ที่ตัวเลข
จริงของยูโรโซนจะเปิดเผยในวันศุกร์นี้เวลา 10.00 น. หลังจากได้รับรายงานจากเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส
และอิตาลี อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์บางคนเห็นว่าเศรษฐกิจเยอรมนียังคงมีความเสี่ยงว่าจะโน้มต่ำลง ในขณะที่
ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมกันกับดัชนีเศรษฐกิจหลายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้(รอยเตอร์)
3. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เทียบต่อปี แต่ลดลงร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบต่อ
เดือน รายงานจากโตเกียว เมื่อ 10 พ.ย.47 ก.คลัง เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ย.47 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดิน
สะพัดจำนวน 1.7443 ล้านล้านเยน (16.51 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เทียบต่อปี ซึ่ง
สูงกว่าผลสำรวจรอยเตอร์ที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุลจำนวน 1.728 ล้านล้านเยน (เพิ่มขึ้นร้อยละ
8.3) แต่หากเทียบต่อเดือนเกินดุลลดลงร้อยละ 13.6 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อดุล
บัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ย.คือ ภาวะการส่งออกที่ชะลอลง ขณะที่นักวิเคราะห์เห็นว่าปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่พุ่ง
สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องผลักดันให้ญี่ปุ่นนำเข้ามากขึ้นนั้นมีผลกระทบต่อภาวะการเกินดุลของญี่ปุ่น โดยในเดือน ก.
ย.47 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นจำนวน 1.4365 ล้านล้านเยน หรือคิดเป็นร้อยละ 11.6 เทียบต่อปี แบ่งเป็น
ภาคการส่งออกเพิ่มขึ้น 5.1842 ล้านล้านเยน (ร้อยละ 11.9) นำเข้าเพิ่มขึ้น 3.7477 ล้านล้านเยน (ร้อย
ละ 12.0) (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน ต.ค.47 จะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน
รายงานจากโซลเมื่อ 9 พ.ย.47 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งคาดว่า
ในเดือน ต.ค.47 สภาวะตลาดแรงงานของเกาหลีใต้จะยังคงชะลอตัว โดยอัตราการว่างงานไม่เปลี่ยนแปลง
จากเดือนก่อน ในขณะที่ความต้องการภายในประเทศมีทิศทางฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้คาดว่า อัตราการว่างงาน
(หลังปรับฤดูกาล) ในเดือน ต.ค.47 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน แต่ยังคงอยู่ต่ำ
กว่าร้อยละ 3.6 ในเดือน ก.ค.และ ส.ค.47 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบปีและสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.46
อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้อยู่ในทิศทางที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ต้นปี (ม.ค.47) ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อย
ละ 3.3 แต่นักเศรษฐศาสตร์ก็ยังคงมองว่า สถานการณ์การว่างงานจะทรุดลงในระยะต่อไป เนื่องจาก
อุตสาหกรรมการก่อสร้างและอุตสาหกรรมบริการยังคงชะลอการจ้างงานใหม่ต่อไป อนึ่ง สำนักงานสถิติแห่งชาติ
จะเปิดเผยตัวเลขอัตราการว่างงานของทางการในวันพฤหัสบดีที่ 11 พ.ย.47 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 10 พ.ย. 47 9 พ.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.723 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.5488/40.8360 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.7500-1.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 632.94/ 13.80 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,300/8,400 8,300/8,400 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 33.64 35.66 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.99*/14.59 21.99*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 4 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ก.คลังมีแนวคิดขยายเพดานการยกเว้นภาษีอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้หารือกับกรมสรรพากรในแนวคิดที่จะขยายเพดานการยกเว้นภาษีเงินฝากเรียบร้อย
แล้ว และได้สั่งการให้กรมสรรพากรไปศึกษาว่าจะสามารถขยายเพดานรายได้ที่จะยกเว้นภาษีได้จำนวนเท่าไร
เบื้องต้นอาจจะขยายเพดานรายได้จากอัตราดอกเบี้ยที่ไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จาก
เดิม 1 หมื่นบาท เป็น 2-3 หมื่นบาท ทั้งนี้ รายได้จากอัตราดอกเบี้ยในระดับดังกล่าวจะต้องมีมาจากฐานเงิน
ฝากประมาณ 2 ล้านบาท ซึ่งเป็นแนวคิดที่กำลังดูว่าจะทำให้คนที่มีอายุ 55 ปี มีรายได้จากเงินออมเพิ่มขึ้นได้
อย่างไร เพื่อให้มีการออมเงินมากขึ้น สำหรับแนวคิดที่จะขยายเพดานการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากนั้น
ปัจจุบันผู้ฝากเงินที่มีรายได้จากดอกเบี้ยไม่เกิน 1 หมื่นบาทต่อปี ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หากมี
รายได้ดอกเบี้ยเกิน 1 หมื่นบาทขึ้นไป ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15 อย่างไรก็ตาม ก.คลังเห็นว่าการขยาย
เพดานในส่วนนี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบมากนัก เนื่องจากรายได้ที่รัฐจัดเก็บภาษีในส่วนนี้ไม่มากนัก ในทางกลับกัน
หากมีการขยายเพดานจะทำให้ผู้ฝากเงินมีเงินเก็บมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. ยืดเวลาปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ 1 ปี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. เปิด
เผยว่า เนื่องจากสถานการณ์โรคไข้หวัดนกยืดเยื้อและมีการกลับมาระบาดรอบ 2 ธปท. จึงมีนโยบายขยายความ
ช่วยเหลือด้วยการช่วยเหลือทางการเงินอัตราดอกเบี้ยต่ำให้กับผู้ประสบความเสียหายจากไข้หวัดนก จากความ
ช่วยเหลือเดิมตามหนังสือเวียนฉบับเดิม ลงวันที่ 10 มี.ค.47 โดยได้ออกประกาศความช่วยเหลือทางการเงิน
ฉบับใหม่ ลงวันที่ 4 พ.ย.47 เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกและผู้ประกอบกิจการ
เลี้ยงสัตว์ปีกที่ได้รับความเสียหายจากไข้หวัดนก ได้ขยายความช่วยเหลือจากเดิมที่ให้เฉพาะผู้เลี้ยงไก่ เพิ่มเป็นผู้
เลี้ยงไก่ ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกประเภทอื่น รวมทั้งผู้ประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกที่ได้รับความเสียหายจากไข้หวัดนก ทั้ง
นี้ ธปท. จะให้สินเชื่อแก่ ธ.พาณิชย์ผ่านการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินในอัตราผ่อนปรนที่สุดคือ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ
0.01 ต่อปี เพื่อนำไปปล่อยสินเชื่อต่อด้วยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกและผู้ประกอบ
การ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี รวมทั้งขยายเวลาการรับความช่วยเหลือจากเดิมที่สิ้นสุดภายใน 1 ปี คือ
ภายในวันที่ 10 มี.ค.48 เป็นวันที่ 10 มี.ค.49 เนื่องจากการระบาดของไข้หวัดนกยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง โดย
ให้เสนอเรื่องมาที่ ธปท. เพื่อขออนุมัติวงเงินความช่วยเหลือภายในวันที่ 30 ธ.ค.นี้ (ข่าวสด)
3. ธปท.. คาดว่าเอ็นพีแอลทั้งระบบจะลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 10 ภายในสิ้นปีนี้ นาย
ทำนอง ดาศรี ผอ.สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท. เปิดเผยว่า เชื่อว่าเอ็นพีแอลทั้งระบบจะลดลงตามเป้า
หมายที่ ธปท. ตั้งไว้ เนื่องจากปัจจัยทางด้านราคาน้ำมันที่เริ่มปรับราคาลง และมาตรการการกันสำรองหนี้ที่จะมี
ผลบังคับใช้ในเดือนหน้านี้ รวมทั้งกระบวนการทางศาลเริ่มเดินและมีความคืบหน้าไปมาก ซึ่งจะทำให้การปรับ
โครงสร้างหนี้ทำได้ง่ายขึ้น ส่วนกรณีที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มอยู่ในช่วงขาขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อการปรับโครง
สร้างหนี้ได้ ทั้งนี้ ธปท. ตั้งเป้าหมายที่จะลดเอ็นพีแอลในปี 48 ให้อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 10 และในปี 49
ที่ระดับร้อยละ 3.5 ของสินเชื่อรวม ส่วนในปี 47 เชื่อว่าเอ็นพีแอลน่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 10 ได้ เพราะตัว
เลขล่าสุด ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เอ็นพีแอลอยู่ที่ร้อยละ 11.38 ของสินเชื่อรวม (ผู้จัดการรายวัน,
กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
4. ธ.โลกปรับลดการเติบโตเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือร้อยละ 6.4 น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นัก
เศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยถึงรายงาน “ตามติดเศรษฐกิจไทย เดือน พ.
ย.47” ว่า เศรษฐกิจไทยยังเติบโตต่อเนื่อง โดยคาดว่าจีดีพีจะเติบโตลดลงจากการคาดการณ์ช่วงต้นปีที่ร้อยละ
7 เหลือร้อยละ 6.4 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 6.8 ในปีที่ผ่านมา และคาดว่าปี 48 จะอยู่ที่ร้อยละ 5.8 แต่ถือ
ว่าอยู่ในระดับน่าพอใจเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่กระทบและมีความเสี่ยงต่อการเติบโต
ทางเศรษฐกิจไทยในปี 48 คือ ราคาน้ำมัน และสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ไข้หวัดนก แนวโน้มอัตรา
ดอกเบี้ยขาขึ้น รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจจีน สำหรับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปี
47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 กระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจให้ลดลงร้อยละ 0.7 ส่วนปีหน้าหากปล่อย
ลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลจะทำให้จีดีพีลดลงร้อยละ 0.4 ส่วนปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ได้ส่งผลกระทบต่อความ
เชื่อมั่นในการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ แต่เชื่อว่าในปี 48 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นเนื่อง
จากเข้าใจสถานการณ์มากขึ้น ส่วนการลงทุนของภาคเอกชนในปี 47 เติบโตดีที่ร้อยละ 13 ขณะที่การลงทุนของ
ภาครัฐขยายตัวเติบโตขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อ 5 ปีก่อน ด้านการส่งออกในปีนี้เติบโต
เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยขยายตัวมากกว่าร้อยละ 20 แต่ก็ต้องระวังในปี 48 เพราะจะเป็นปีที่ภาวะราคา
สินค้าถดถอย อาจส่งผลให้การส่งออกลดลงได้ นอกจากนี้ ในรายงานของธนาคารโลกยังแนะนำให้ไทยปรับปรุง
ภาคบริการ พัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัย ควบคุมเรื่องการคอร์รัปชั่น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับ
โลก หลังจากที่รายงานขีดความสามารถในการแข่งขันโลกล่าสุดพบว่าอันดับความสามารถในการแข่งขันของ
ไทยลดลงเกือบทุกดัชนีชี้วัด (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขาดดุลการค้าของอังกฤษในเดือน ก.ย. มีจำนวน 4.55 พันล้านปอนด์ลดลงจากเดือน
ก่อน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 9 พ.ย.47 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานยอดขาดดุลการค้าในเดือน
ก.ย.47 มีจำนวน 4.55 พันล้านปอนด์ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 5.16 พันล้านปอนด์และต่ำกว่าที่คาดไว้ว่า
จะมีจำนวน 5.1 พันล้านปอนด์ โดยเป็นผลจากการส่งออกไปยังประเทศนอกสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น โดยมียอดส่ง
ออกโดยรวมทั้งสิ้น 16.5 พันล้านปอนด์สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค.45 ในขณะที่ยอดนำเข้าก็เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็น
ประวัติการณ์เช่นเดียวกันโดยมีจำนวน 21.1 พันล้านปอนด์ โดยอังกฤษขาดดุลการค้าน้ำมันเป็นครั้งแรกใน
รอบ 13 ปีนับตั้งแต่เดือน ส.ค.34 จำนวน 254 ล้านปอนด์จากการซ่อมบำรุงเครื่องจักรประจำฤดูร้อนในทะเล
เหนือที่ล่าช้ามาจนถึงเดือน ก.ย.47 ทั้งที่โดยปรกติแล้วอังกฤษจะเกินดุลการค้าน้ำมันมาโดยตลอดเนื่องจากมี
แหล่งน้ำมันดิบในทะเลเหนือจำนวนมาก ยอดส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากโรงงานโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.1 ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้เกิดความสงสัยในความน่าเชื่อถือของตัวเลขประมาณการของทางการก่อน
หน้านี้ที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.5 จึงมีความเป็นไปได้ว่ายอดขาดดุลการค้าในเดือนหน้าจะกลับมาเพิ่มขึ้นเหมือน
ก่อนหน้านี้อีก (รอยเตอร์)
2. คาดว่าการส่งออกที่ชะลอตัวของเยอรมนีจะกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3
รายงานจาก เบอร์ลิน เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 47 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 31 คนของรอยเตอร์คาด
ว่าในไตรมาสที่ 3 ปีนี้เศรษฐกิจเยอรมนี (GDP) จะขยายตัวร้อยละ 0.3 จากที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 ในไตร
มาสก่อน ที่มีอัตราการขยายตัวเร็วที่สุดในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเศรษฐกิจ
เยอรมนีเติบโตร้อยละ 1.6 และขยายตัวร้อยละ 2.0 ในไตรมาสที่ 2 ปีที่แล้ว เนื่องจากการส่งออกและอุปสงค์
ในประเทศยังคงไม่แข็งแกร่ง ทั้งนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีจะประกาศตัวเลข GDP อย่างเป็นทางการ
ในวันพฤหัสบดีนี้เวลา 7.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งใช้เป็นเครื่องชี้เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสที่ 3 ที่ตัวเลข
จริงของยูโรโซนจะเปิดเผยในวันศุกร์นี้เวลา 10.00 น. หลังจากได้รับรายงานจากเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส
และอิตาลี อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์บางคนเห็นว่าเศรษฐกิจเยอรมนียังคงมีความเสี่ยงว่าจะโน้มต่ำลง ในขณะที่
ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมกันกับดัชนีเศรษฐกิจหลายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้(รอยเตอร์)
3. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เทียบต่อปี แต่ลดลงร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบต่อ
เดือน รายงานจากโตเกียว เมื่อ 10 พ.ย.47 ก.คลัง เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ย.47 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดิน
สะพัดจำนวน 1.7443 ล้านล้านเยน (16.51 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เทียบต่อปี ซึ่ง
สูงกว่าผลสำรวจรอยเตอร์ที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุลจำนวน 1.728 ล้านล้านเยน (เพิ่มขึ้นร้อยละ
8.3) แต่หากเทียบต่อเดือนเกินดุลลดลงร้อยละ 13.6 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อดุล
บัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ย.คือ ภาวะการส่งออกที่ชะลอลง ขณะที่นักวิเคราะห์เห็นว่าปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่พุ่ง
สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องผลักดันให้ญี่ปุ่นนำเข้ามากขึ้นนั้นมีผลกระทบต่อภาวะการเกินดุลของญี่ปุ่น โดยในเดือน ก.
ย.47 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นจำนวน 1.4365 ล้านล้านเยน หรือคิดเป็นร้อยละ 11.6 เทียบต่อปี แบ่งเป็น
ภาคการส่งออกเพิ่มขึ้น 5.1842 ล้านล้านเยน (ร้อยละ 11.9) นำเข้าเพิ่มขึ้น 3.7477 ล้านล้านเยน (ร้อย
ละ 12.0) (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน ต.ค.47 จะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน
รายงานจากโซลเมื่อ 9 พ.ย.47 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งคาดว่า
ในเดือน ต.ค.47 สภาวะตลาดแรงงานของเกาหลีใต้จะยังคงชะลอตัว โดยอัตราการว่างงานไม่เปลี่ยนแปลง
จากเดือนก่อน ในขณะที่ความต้องการภายในประเทศมีทิศทางฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้คาดว่า อัตราการว่างงาน
(หลังปรับฤดูกาล) ในเดือน ต.ค.47 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน แต่ยังคงอยู่ต่ำ
กว่าร้อยละ 3.6 ในเดือน ก.ค.และ ส.ค.47 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบปีและสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.46
อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้อยู่ในทิศทางที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ต้นปี (ม.ค.47) ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อย
ละ 3.3 แต่นักเศรษฐศาสตร์ก็ยังคงมองว่า สถานการณ์การว่างงานจะทรุดลงในระยะต่อไป เนื่องจาก
อุตสาหกรรมการก่อสร้างและอุตสาหกรรมบริการยังคงชะลอการจ้างงานใหม่ต่อไป อนึ่ง สำนักงานสถิติแห่งชาติ
จะเปิดเผยตัวเลขอัตราการว่างงานของทางการในวันพฤหัสบดีที่ 11 พ.ย.47 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 10 พ.ย. 47 9 พ.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.723 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.5488/40.8360 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.7500-1.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 632.94/ 13.80 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,300/8,400 8,300/8,400 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 33.64 35.66 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.99*/14.59 21.99*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 4 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-