กรุงเทพ--11 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในโอกาสที่ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรีนำคณะผู้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องทางเลือกในการพัฒนา: เศรษฐกิจพอเพียง เยี่ยมชมกิจกรรมของชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2547 ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุ 909 กรป.กลาง จ. สกลนคร เกี่ยวกับการจัดการประชุมดังกล่าว ดังนี้
คำถาม: ความเป็นมาของการประชุม
ฯพณฯ องคมนตรี ได้กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดการประชุมโดยสรุปว่าดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับการติดต่อจากประเทศกำลังพัฒนาเพื่อขอเข้าเยี่ยมชมโครงการพัฒนาทางด้านการเกษตรและเศรษฐกิจต่าง ๆ ของไทย ตามแนวพระราชดำริ โดยเฉพาะเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นโครงการพัฒนาในหมู่เกษตรกรซึ่งเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ได้นำความกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต การประชุมครั้งนี้มีรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมแระกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศ รัฐมนตรีด้านการเกษตร และรัฐมนตรีด้านการพัฒนาที่เกี่ยวข้องของประเทศกำลังพัฒนา โดยมีประเทศที่เข้าร่วมครั้งนี้ 19 ประเทศ โดยรูปแบบการประชุมจะไม่เน้นการประชุมวิชาการ แต่จะเน้นการศึกษาดูงานกิจกรรมของศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามพระราชดำริ ณ ศูนย์ศึกษาต่าง ๆ ซึ่งได้มีการริเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมาโดยเริ่มจากศูนย์ศึกษาฯ เขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา สำหรับศูนย์ฯ ภูพานจัดตั้งขึ้นในปี 2525 และเป็นศูนย์หนึ่งที่ผู้เข้าร่วมการประชุมจะได้เข้าเยี่ยมชมกิจกรรมเกษตรผสมผสาน การปศุสัตว์ และอุตสาหกรรมครัวเรือน จากนั้นในวันรุ่งขึ้นจะไปเยี่ยมชมกิจกรรมศูนย์ฯ ห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ และจะเดินทางไปเยี่ยมชมบ้านเกษตรกรตัวอย่างที่ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราช วโรกาสให้รัฐมนตรีที่เข้าร่วมการประชุมเข้าเฝ้าที่วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ใน ตอนบ่ายของวันที่ 10 พฤศจิกายน 2547
คำถาม: ผลที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับจากการเยี่ยมชมกิจกรรมฯ
ฯพณฯ องคมนตรีฯ ได้กล่าวถึงผลที่ผู้เข้าร่วมการศึกษากิจกรรมฯ จะได้รับว่ามีความสำคัญมากเพราะผู้ที่เข้าร่วมดูงานส่วนใหญ่มาจากประเทศกำลังพัฒนาโดยกิจกรรมต่าง ๆ เป็นโครงการในพระราชดำริที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการจากประสบการณ์ของไทยทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งประเทศไทยประสบวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ประชาชนในภาคธุรกิจประสบความเดือดร้อน มีผู้ต้องว่างงานจำนวนมาก หลายคนต้องกลับภูมิลำเนาเดิม บุคคลเหล่านั้นได้อาศัยแนวทฤษฏีใหม่ในการประกอบอาชีพ ผู้ที่เข้าดูงานจะสามารถนำทฤษฏีใหม่ไปประยุกต์ใช้และจะเกิดผลดีในการพัฒนา
คำถาม: การนำโครงการพัฒนาดังกล่าวไปใช้ในประเทศเพื่อนบ้านจะเกิดประโยชน์อย่างไรในอนาคต
ฯพณฯ องคมนตรี ได้กล่าวว่าที่ผ่านมามีนักวิชาการจากประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเพื่อนบ้านเดินทางเข้ามาศึกษากิจกรรมของศูนย์พัฒนาฯ ต่าง ๆ แต่ครั้งนี้ เป็นระดับรัฐมนตรี งานของโครงการในต่างประเทศที่ไทยส่งเสริมไว้ก็มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในลาว น่าจะมีการสนับสนุนให้เข้าไปดูการดำเนินงาน เพราะเป็นงานที่เราส่งเสริมในต่างประเทศควรให้ดู โดยเฉพาะที่ห้วยซัว ห้วยซ้อน
คำถาม: ประชาชนจะได้ประโยชน์จากโครงการอย่างไร
ฯพณฯ องคมนตรี กล่าวว่า โครงการนื้เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ ปรัชญาที่ทรงพระราชทานให้คนไทยที่เคยดำเนินการตามอย่างฝรั่ง โดยไม่คำนึงถึงฐานะของประเทศและการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า ทรงสอนให้คำนึงถึงการประกอบอาชีพที่พึ่งตนเอง ไม่ฟุ้งเฟ้อ อยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง เมื่อสร้างตัวสร้างฐานะได้ก็จะสามารถขยายได้ในภายหลัง การที่จะกู้หนี้ยืมสินมาใช้ลงทุนไม่ถูกต้องอาจเสียหาย นอกจากนี้ หากจะฟุ้งเฟ้อรากฐานไม่แน่นพอก็จะมีปัญหาเราไม่ควรเอาเปรียบกัน จะเป็นรากฐานที่สำคัญของปรัชญา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ในโอกาสที่ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรีนำคณะผู้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องทางเลือกในการพัฒนา: เศรษฐกิจพอเพียง เยี่ยมชมกิจกรรมของชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2547 ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุ 909 กรป.กลาง จ. สกลนคร เกี่ยวกับการจัดการประชุมดังกล่าว ดังนี้
คำถาม: ความเป็นมาของการประชุม
ฯพณฯ องคมนตรี ได้กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดการประชุมโดยสรุปว่าดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับการติดต่อจากประเทศกำลังพัฒนาเพื่อขอเข้าเยี่ยมชมโครงการพัฒนาทางด้านการเกษตรและเศรษฐกิจต่าง ๆ ของไทย ตามแนวพระราชดำริ โดยเฉพาะเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นโครงการพัฒนาในหมู่เกษตรกรซึ่งเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ได้นำความกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต การประชุมครั้งนี้มีรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมแระกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศ รัฐมนตรีด้านการเกษตร และรัฐมนตรีด้านการพัฒนาที่เกี่ยวข้องของประเทศกำลังพัฒนา โดยมีประเทศที่เข้าร่วมครั้งนี้ 19 ประเทศ โดยรูปแบบการประชุมจะไม่เน้นการประชุมวิชาการ แต่จะเน้นการศึกษาดูงานกิจกรรมของศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามพระราชดำริ ณ ศูนย์ศึกษาต่าง ๆ ซึ่งได้มีการริเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมาโดยเริ่มจากศูนย์ศึกษาฯ เขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา สำหรับศูนย์ฯ ภูพานจัดตั้งขึ้นในปี 2525 และเป็นศูนย์หนึ่งที่ผู้เข้าร่วมการประชุมจะได้เข้าเยี่ยมชมกิจกรรมเกษตรผสมผสาน การปศุสัตว์ และอุตสาหกรรมครัวเรือน จากนั้นในวันรุ่งขึ้นจะไปเยี่ยมชมกิจกรรมศูนย์ฯ ห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ และจะเดินทางไปเยี่ยมชมบ้านเกษตรกรตัวอย่างที่ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราช วโรกาสให้รัฐมนตรีที่เข้าร่วมการประชุมเข้าเฝ้าที่วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ใน ตอนบ่ายของวันที่ 10 พฤศจิกายน 2547
คำถาม: ผลที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับจากการเยี่ยมชมกิจกรรมฯ
ฯพณฯ องคมนตรีฯ ได้กล่าวถึงผลที่ผู้เข้าร่วมการศึกษากิจกรรมฯ จะได้รับว่ามีความสำคัญมากเพราะผู้ที่เข้าร่วมดูงานส่วนใหญ่มาจากประเทศกำลังพัฒนาโดยกิจกรรมต่าง ๆ เป็นโครงการในพระราชดำริที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการจากประสบการณ์ของไทยทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งประเทศไทยประสบวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ประชาชนในภาคธุรกิจประสบความเดือดร้อน มีผู้ต้องว่างงานจำนวนมาก หลายคนต้องกลับภูมิลำเนาเดิม บุคคลเหล่านั้นได้อาศัยแนวทฤษฏีใหม่ในการประกอบอาชีพ ผู้ที่เข้าดูงานจะสามารถนำทฤษฏีใหม่ไปประยุกต์ใช้และจะเกิดผลดีในการพัฒนา
คำถาม: การนำโครงการพัฒนาดังกล่าวไปใช้ในประเทศเพื่อนบ้านจะเกิดประโยชน์อย่างไรในอนาคต
ฯพณฯ องคมนตรี ได้กล่าวว่าที่ผ่านมามีนักวิชาการจากประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเพื่อนบ้านเดินทางเข้ามาศึกษากิจกรรมของศูนย์พัฒนาฯ ต่าง ๆ แต่ครั้งนี้ เป็นระดับรัฐมนตรี งานของโครงการในต่างประเทศที่ไทยส่งเสริมไว้ก็มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในลาว น่าจะมีการสนับสนุนให้เข้าไปดูการดำเนินงาน เพราะเป็นงานที่เราส่งเสริมในต่างประเทศควรให้ดู โดยเฉพาะที่ห้วยซัว ห้วยซ้อน
คำถาม: ประชาชนจะได้ประโยชน์จากโครงการอย่างไร
ฯพณฯ องคมนตรี กล่าวว่า โครงการนื้เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ ปรัชญาที่ทรงพระราชทานให้คนไทยที่เคยดำเนินการตามอย่างฝรั่ง โดยไม่คำนึงถึงฐานะของประเทศและการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า ทรงสอนให้คำนึงถึงการประกอบอาชีพที่พึ่งตนเอง ไม่ฟุ้งเฟ้อ อยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง เมื่อสร้างตัวสร้างฐานะได้ก็จะสามารถขยายได้ในภายหลัง การที่จะกู้หนี้ยืมสินมาใช้ลงทุนไม่ถูกต้องอาจเสียหาย นอกจากนี้ หากจะฟุ้งเฟ้อรากฐานไม่แน่นพอก็จะมีปัญหาเราไม่ควรเอาเปรียบกัน จะเป็นรากฐานที่สำคัญของปรัชญา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-