ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. รัฐต้องหาวีธีการแก้ปัญหาหาก พรบ.สถาบันประกันเงินฝากไม่ผ่านสภา นางธาริษา วัฒน
เกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า หาก พรบ.สถาบันประกันฝากไม่สามารถ
เข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ทันเดือน พ.ย.นี้ ก็ไม่กระทบต่อการดำเนินงาน เพราะหากกฎหมายผ่านรัฐสภา
แล้วก็ต้องใช้เวลาอีก 4 ปี จึงนำมาบังคับใช้เต็มรูปแบบ แต่ ก.คลังและฝ่ายกฎหมายคงต้องหาวิธีแก้ปัญหาต่อไป
เพราะการดำเนินการจำเป็นต้องทยอยทำเป็นระยะก่อนจะทำเต็มรูปแบบ สำหรับการดำเนินการของแผนพัฒนา
ระบบสถาบันการเงินที่ต้องส่งแผนทั้งหมดให้ ก.คลังพิจารณาภายในสิ้นเดือนนี้ก็ไม่กระทบเช่นกัน ทั้งนี้ สาระสำคัญ
ของสถาบันประกันเงินฝากมีวัตถุประสงค์เพื่อนำระบบประกันเงินฝากแบบจำกัดวงเงินมาใช้แทนการคุ้มครองเงิน
ฝากทั้งหมดโดยภาครัฐซึ่งเป็นระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยจะทยอยลดสัดส่วนลงใน 4 ปี คาดว่าจะเริ่มจากวง
เงิน 50 ล้านบาท 25 ล้านบาท 10 ล้านบาท และ 1 ล้านบาทในปีที่ 4 ซึ่งจากข้อมูล ณ สิ้นปี 46 หากคุ้ม
ครองบัญชีเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท จะสามารถคุ้มครองบัญชีได้ถึงร้อยละ 98.6 ของบัญชีเงินฝากทั้งระบบ
และคุ้มครองเงินฝากได้วงเงินร้อยละ 43 ของวงเงินทั้งหมด (โพสต์ทูเดย์)
2. ก.คลังเร่งแก้ปัญหาหนี้ภาคประชาชน นายพงษ์เทพ ถิรฐาพันธ์ เลขานุการศูนย์อำนวยการ
ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน ก.คลัง กล่าวว่า ขณะนี้ทางศูนย์ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอก
ระบบที่ประสงค์เข้าเป็นหนี้ในระบบแล้วกว่า 40,000 ราย คิดเป็นเงิน 2,500 ล้านบาท จากผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น
เกือบ 2 แสนราย สำหรับลูกหนี้ที่เหลือจะดำเนินการให้สามารถเข้าสู่ระบบได้ภายในสิ้นปี 47 หากยังมีผู้ที่ไม่
สามารถเข้าสู่ระบบได้ทางธนาคารผู้รับผิดชอบจะต้องทำรายงานถึงเหตุผลที่ไม่สามารถนำลูกหนี้เข้าสู่ระบบได้
ส่วนการแก้ไขปัญหาหนี้สินในระบบนั้น ทางศูนย์และธนาคารต่าง ๆ ได้เริ่มเข้าไปเจรจากับลูกหนี้ทั่วประเทศแล้ว
ตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยในส่วนธนาคารของรัฐมีลูกหนี้อยู่ 2,450,000 ราย จากจำนวนลูกหนี้ทั้งระบบ
ของธนาคาร 4,550,000 ราย และได้มีการเจรจาตกลงกันได้แล้วประมาณร้อยละ 80 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ
20 จะเข้าไปเจรจาเป็นราย ๆ ไป โดยหลักใหญ่ในการเจรจานั้นจะเป็นเรื่องการขยายเวลาการชำระหนี้
รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบของหนี้ เช่น เปลี่ยนจากอัตราดอกเบี้ยคงที่มาเป็นอัตราดอกเบี้ยตามตลาด เป็น
ต้น อย่างไรก็ตาม จากการเจรจาพบว่าลูกหนี้ในระบบมีการก่อหนี้นอกระบบอยู่ด้วยประมาณ 9 แสนราย ซึ่งได้
เจรจายุติไปแล้วประมาณร้อยละ 75 (ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
3. รัฐตั้งเป้าส่งออก 8 ล้านล้านบาท ภายในปี 2551 นายพินิจ จารุสมบัติ รอง นรม. เปิด
เผยภายหลังมอบนโยบายและแนวทางการทำงานให้ผู้บริหารระดับสูง ก.พาณิชย์ และ ก.อุตสาหกรรม ว่า ขอให้
ทั้ง 2 กระทรวง ในฐานะที่เป็นกระทรวงส่งออกและการผลิตทำงานเป็นทีมให้มากขึ้น เพื่อผลักดันให้การส่งออก
ของประเทศไปสู่เป้าหมาย 2 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 8 ล้านล้านบาท ภายในปี 2551 ส่วนการส่งออก
ในปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 9.77 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 22 ส่วนปี 48 มูลค่า
ประมาณ 1.14 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 16.8-18 ทั้งนี้ ตั้งเป้าที่จะผลักดันให้การส่งออกเติบ
โตต่อเนื่องร้อยละ 15 ต่อปี ไปจนถึงปี 2551 (แนวหน้า, ไทยรัฐ)
4. นรม. สั่งตั้งกรรมการเจรจาเอฟทีเอ นายวัฒนา เมืองสุข รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า นรม. มี
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดูแลเรื่องเขตการค้าเสรีหรือเอฟทีเอโดยเฉพาะขึ้นมา เรียกว่า “คณะกรรมการ
เจรจาเอฟทีเอ” โดยต่อไปนี้หากเป็นเรื่องเอฟทีเอ ให้นำไปเข้าคณะกรรมการเอฟทีเอที่มี นายสมคิด จาตุศรี
พิทักษ์ รมว.คลัง เป็นประธาน เพื่อง่ายต่อการกำหนดท่าทีเจรจา หัวข้อ และประเด็น ซึ่งหากเป็นการให้ข่าว
ขอให้เป็นหน้าที่ของหัวหน้าคณะเจรจาแต่ละชุด แต่ถ้าในภาพรวมก็ให้ประธานเอฟทีเอเป็นคนให้ข่าว เพื่อไม่ให้
เกิดความสับสน (บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.ลดลงในเดือน ก.ย.47 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 10 พ.ย.47
ก.พาณิชย์ สรอ.เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.ในเดือน ก.ย.47 มีจำนวน 51.6 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. ลดลงจากจำนวน 53.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน ลดลงเป็นจำนวนต่ำกว่าการคาดการณ์ของ
นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวน 53.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้เกิดความคาดหวังในทิศทางที่สดใส
เกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ สรอ.ในไตรมาสที่ 3 ของปี รวมทั้งเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อการปรับเพิ่มอัตรา
การขยายตัวของผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี)ในไตรมาสที่ 3 เช่นกัน ทั้งนี้ ยอดขาดดุลการค้าที่ลดลงในเดือน
ก.ย.มีสาเหตุจากการที่เงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลง ทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น และการขาดดุลการค้าลดลง
ดังกล่าว โดยสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุดได้แก่ สินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค และอุปกรณ์-วัตถุดิบสำหรับการผลิต
อย่างไรก็ตาม การขาดดุลการค้าที่ลดลงในเดือน ก.ย.นี้ ช่วยบรรเทาความกังวลได้เพียงเล็กน้อยเนื่องจากยอด
ขาดดุลการค้าโดยรวมทั้งปียังคงสูงเกินกว่า 500 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์มองว่าการที่ดุลการค้า
ขาดดุลลดลงในเดือน ก.ย. ไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้างของการขาดดุลการค้า (รอยเตอร์)
2. การส่งออกของเยอรมนีในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 7 เดือน รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 10 พ.ย.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่าการส่งออกของเยอรมนีในเดือน ก.ย.47 อยู่ที่จำนวน
61.9 พัน ล.ยูโร หรือเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.8 เทียบต่อปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดตั้งแต่เดือน ก.พ.ที่ผ่านมา
ขณะที่นำเข้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนทั้งสิ้น 49.8 พัน ล.ยูโร หรือคิดเป็นร้อยละ 13.1 ส่งผลให้เยอรมนีเกินดุลการค้า
จำนวน 12.0 พัน ล.ยูโร ลดลงจากจำนวน 14.4 พัน ล.ยูโรเมื่อเดือน ก.ย.46 ทั้งนี้ หัวหน้าเศรษฐกรของ
Invesco Asset Management in Frankfurt เห็นว่าการส่งออกของเยอรมนีในไตรมาส 3 ปี 47 ยัง
ชะลอตัวกว่าไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจของเยอรมนีมีการอัตราการขยายตัว
อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ซึ่งแข็งแกร่งที่สุดในรอบ 3 ปี (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนชะลอตัวขณะที่ดุลการค้าเกินดุลมากขึ้น รายงานจาก ปักกิ่ง
เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 47 ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนในระยะ 1 ปีสิ้นสุดเดือนต.ค. ขยายตัวร้อยละ 15.7
ชะลอตัวลงจากร้อยละ 16.1 ในเดือนที่แล้ว สอดคล้องกับผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ 4 คนของรอยเตอร์
ที่คาดว่าผลผลิตฯดังกล่าวจะขยายตัวร้อยละ 15.6 หลังจากที่ผลผลิตฯในระยะ 1 ปีสิ้นสุดเดือนก.พ.ขยายตัวสูง
ที่สุดถึงร้อยละ 23.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าจีนจะมีนโยบายควบคุมการปล่อยสินเชื่อและการลงทุนแล้วก็
ตาม แต่การขยายตัวในภาคดังกล่าวก็ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่องในเดือนส.ค. และก.ย. นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า
การชะลอตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนจะช่วยลดแรงกดดันในการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในปีนี้
นอกจากนั้นดุลการค้าของจีนยังเกินดุลมากกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงเกือบร้อยละ 25 ทั้งๆที่การนำเข้าขยายตัว
มากกว่าการส่งออก และเมื่อเดือนที่แล้วจีนได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปีเพื่อรักษา
เสถียรภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจที่กำลังร้อนแรงเกินไป อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์เชื่อว่าทางการจีนจะยัง
ไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในเร็วๆนี้เนื่องจากตัวเลขทางเศรษฐกิจสะท้อนถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
และคาดว่าในระยะหลายเดือนข้างหน้าเงินเฟ้อจะค่อยๆชะลอลง (รอยเตอร์)
4. อัตราการว่างงานในเดือน ต.ค.47 ของเกาหลีใต้อยู่ที่ร้อยละ 3.5 เท่ากับเดือนก่อน
รายงานจากโซล เมื่อ 11 พ.ย.47 อัตราการว่างงานในเดือน ต.ค.47 ของเกาหลีใต้อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี
เท่ากับผลสำรวจของรอยเตอร์ก่อนหน้านี้และเท่ากับอัตราการว่างงานในเดือนก่อน โดยอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ม.ค.47 ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่ร้อยละ 3.3 และเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบปีที่ร้อยละ 3.6
ในเดือนก.ค.และ ส.ค.47 เทียบกับอัตราต่ำกว่าร้อยละ 3.0 ในช่วงทศวรรษก่อนที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย
ในปี 40 แต่อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ก็ยังอยู่ในระดับต่ำประมาณครึ่งหนึ่งของอัตราการว่างงานเฉลี่ยของประเทศ
สมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ OECD ซึ่งเกาหลีใต้เป็นสมาชิกอยู่ด้วย ในขณะที่จำนวน
คนมีงานทำเพิ่มขึ้นเป็น 22.58 ล้านคนในเดือน ต.ค.47 จาก 22.57 ล้านคนในเดือน ก.ย.47 อย่างไรก็ตามการใช้
จ่ายในประเทศที่อยู่ในภาวะซบเซามาเป็นเวลากว่า 2 ปีทำให้การจ้างงานในภาคการก่อสร้างและภาคบริการชะลอตัวลง
ในขณะที่ภาคการส่งออกก็ชะลอการจ้างงานเพิ่มจากความต้องการที่ชะลอตัวลงในตลาดโลกโดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่
ของเกาหลีใต้และการเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศผู้ผลิตที่มีต้นทุนถูกกว่าเช่นจีน รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจจะขยาย
ตัวถึงร้อยละ 5.0 ในปีนี้ในขณะที่ภาคเอกชนคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่านี้ (รอยเตอร์)
5. คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 11 พ.ย.47
จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ รายงานจากโซล เมื่อ 9 พ.ย.47 ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตรา
ดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 11 พ.ย.47 นี้ จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเมื่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่ง
ไม่รวมราคาน้ำมันและผลผลิตทางการเกษตรในเดือน ต.ค.47 อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 19 เดือนโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาปีก่อนจากร้อยละ 3.2 ในเดือน ส.ค.และ ก.ย.47 แม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศจะชะลอตัวลงจากการ
ใช้จ่ายในประเทศที่ยังอยู่ในภาวะซบเซามาเป็นเวลากว่า 2 ปีและการส่งออกซึ่งเคยเป็นตัวหลักในการผลักดันให้เศรษฐกิจขยาย
ตัวในช่วงปีที่ผ่านมาก็เริ่มชะลอตัวโดยขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 20 ในเดือน ต.ค.47 เมื่อเทียบกับปีก่อน ขยายตัวในอัตรา
ที่ลดลงเมื่อเทียบต่อปีเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันและเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 11 เดือน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 พ.ย. 47 10 พ.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.7 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.4848/40.7825 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.7500-1.9000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 625.78/ 16.76 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,300/8,400 8,300/8,400 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.61 33.64 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.99*/14.59 21.99*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 4 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. รัฐต้องหาวีธีการแก้ปัญหาหาก พรบ.สถาบันประกันเงินฝากไม่ผ่านสภา นางธาริษา วัฒน
เกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า หาก พรบ.สถาบันประกันฝากไม่สามารถ
เข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ทันเดือน พ.ย.นี้ ก็ไม่กระทบต่อการดำเนินงาน เพราะหากกฎหมายผ่านรัฐสภา
แล้วก็ต้องใช้เวลาอีก 4 ปี จึงนำมาบังคับใช้เต็มรูปแบบ แต่ ก.คลังและฝ่ายกฎหมายคงต้องหาวิธีแก้ปัญหาต่อไป
เพราะการดำเนินการจำเป็นต้องทยอยทำเป็นระยะก่อนจะทำเต็มรูปแบบ สำหรับการดำเนินการของแผนพัฒนา
ระบบสถาบันการเงินที่ต้องส่งแผนทั้งหมดให้ ก.คลังพิจารณาภายในสิ้นเดือนนี้ก็ไม่กระทบเช่นกัน ทั้งนี้ สาระสำคัญ
ของสถาบันประกันเงินฝากมีวัตถุประสงค์เพื่อนำระบบประกันเงินฝากแบบจำกัดวงเงินมาใช้แทนการคุ้มครองเงิน
ฝากทั้งหมดโดยภาครัฐซึ่งเป็นระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยจะทยอยลดสัดส่วนลงใน 4 ปี คาดว่าจะเริ่มจากวง
เงิน 50 ล้านบาท 25 ล้านบาท 10 ล้านบาท และ 1 ล้านบาทในปีที่ 4 ซึ่งจากข้อมูล ณ สิ้นปี 46 หากคุ้ม
ครองบัญชีเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท จะสามารถคุ้มครองบัญชีได้ถึงร้อยละ 98.6 ของบัญชีเงินฝากทั้งระบบ
และคุ้มครองเงินฝากได้วงเงินร้อยละ 43 ของวงเงินทั้งหมด (โพสต์ทูเดย์)
2. ก.คลังเร่งแก้ปัญหาหนี้ภาคประชาชน นายพงษ์เทพ ถิรฐาพันธ์ เลขานุการศูนย์อำนวยการ
ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน ก.คลัง กล่าวว่า ขณะนี้ทางศูนย์ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอก
ระบบที่ประสงค์เข้าเป็นหนี้ในระบบแล้วกว่า 40,000 ราย คิดเป็นเงิน 2,500 ล้านบาท จากผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น
เกือบ 2 แสนราย สำหรับลูกหนี้ที่เหลือจะดำเนินการให้สามารถเข้าสู่ระบบได้ภายในสิ้นปี 47 หากยังมีผู้ที่ไม่
สามารถเข้าสู่ระบบได้ทางธนาคารผู้รับผิดชอบจะต้องทำรายงานถึงเหตุผลที่ไม่สามารถนำลูกหนี้เข้าสู่ระบบได้
ส่วนการแก้ไขปัญหาหนี้สินในระบบนั้น ทางศูนย์และธนาคารต่าง ๆ ได้เริ่มเข้าไปเจรจากับลูกหนี้ทั่วประเทศแล้ว
ตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยในส่วนธนาคารของรัฐมีลูกหนี้อยู่ 2,450,000 ราย จากจำนวนลูกหนี้ทั้งระบบ
ของธนาคาร 4,550,000 ราย และได้มีการเจรจาตกลงกันได้แล้วประมาณร้อยละ 80 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ
20 จะเข้าไปเจรจาเป็นราย ๆ ไป โดยหลักใหญ่ในการเจรจานั้นจะเป็นเรื่องการขยายเวลาการชำระหนี้
รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบของหนี้ เช่น เปลี่ยนจากอัตราดอกเบี้ยคงที่มาเป็นอัตราดอกเบี้ยตามตลาด เป็น
ต้น อย่างไรก็ตาม จากการเจรจาพบว่าลูกหนี้ในระบบมีการก่อหนี้นอกระบบอยู่ด้วยประมาณ 9 แสนราย ซึ่งได้
เจรจายุติไปแล้วประมาณร้อยละ 75 (ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
3. รัฐตั้งเป้าส่งออก 8 ล้านล้านบาท ภายในปี 2551 นายพินิจ จารุสมบัติ รอง นรม. เปิด
เผยภายหลังมอบนโยบายและแนวทางการทำงานให้ผู้บริหารระดับสูง ก.พาณิชย์ และ ก.อุตสาหกรรม ว่า ขอให้
ทั้ง 2 กระทรวง ในฐานะที่เป็นกระทรวงส่งออกและการผลิตทำงานเป็นทีมให้มากขึ้น เพื่อผลักดันให้การส่งออก
ของประเทศไปสู่เป้าหมาย 2 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 8 ล้านล้านบาท ภายในปี 2551 ส่วนการส่งออก
ในปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 9.77 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 22 ส่วนปี 48 มูลค่า
ประมาณ 1.14 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 16.8-18 ทั้งนี้ ตั้งเป้าที่จะผลักดันให้การส่งออกเติบ
โตต่อเนื่องร้อยละ 15 ต่อปี ไปจนถึงปี 2551 (แนวหน้า, ไทยรัฐ)
4. นรม. สั่งตั้งกรรมการเจรจาเอฟทีเอ นายวัฒนา เมืองสุข รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า นรม. มี
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดูแลเรื่องเขตการค้าเสรีหรือเอฟทีเอโดยเฉพาะขึ้นมา เรียกว่า “คณะกรรมการ
เจรจาเอฟทีเอ” โดยต่อไปนี้หากเป็นเรื่องเอฟทีเอ ให้นำไปเข้าคณะกรรมการเอฟทีเอที่มี นายสมคิด จาตุศรี
พิทักษ์ รมว.คลัง เป็นประธาน เพื่อง่ายต่อการกำหนดท่าทีเจรจา หัวข้อ และประเด็น ซึ่งหากเป็นการให้ข่าว
ขอให้เป็นหน้าที่ของหัวหน้าคณะเจรจาแต่ละชุด แต่ถ้าในภาพรวมก็ให้ประธานเอฟทีเอเป็นคนให้ข่าว เพื่อไม่ให้
เกิดความสับสน (บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.ลดลงในเดือน ก.ย.47 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 10 พ.ย.47
ก.พาณิชย์ สรอ.เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.ในเดือน ก.ย.47 มีจำนวน 51.6 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. ลดลงจากจำนวน 53.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน ลดลงเป็นจำนวนต่ำกว่าการคาดการณ์ของ
นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวน 53.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้เกิดความคาดหวังในทิศทางที่สดใส
เกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ สรอ.ในไตรมาสที่ 3 ของปี รวมทั้งเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อการปรับเพิ่มอัตรา
การขยายตัวของผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี)ในไตรมาสที่ 3 เช่นกัน ทั้งนี้ ยอดขาดดุลการค้าที่ลดลงในเดือน
ก.ย.มีสาเหตุจากการที่เงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลง ทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น และการขาดดุลการค้าลดลง
ดังกล่าว โดยสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุดได้แก่ สินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค และอุปกรณ์-วัตถุดิบสำหรับการผลิต
อย่างไรก็ตาม การขาดดุลการค้าที่ลดลงในเดือน ก.ย.นี้ ช่วยบรรเทาความกังวลได้เพียงเล็กน้อยเนื่องจากยอด
ขาดดุลการค้าโดยรวมทั้งปียังคงสูงเกินกว่า 500 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์มองว่าการที่ดุลการค้า
ขาดดุลลดลงในเดือน ก.ย. ไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้างของการขาดดุลการค้า (รอยเตอร์)
2. การส่งออกของเยอรมนีในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 7 เดือน รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 10 พ.ย.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่าการส่งออกของเยอรมนีในเดือน ก.ย.47 อยู่ที่จำนวน
61.9 พัน ล.ยูโร หรือเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.8 เทียบต่อปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดตั้งแต่เดือน ก.พ.ที่ผ่านมา
ขณะที่นำเข้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนทั้งสิ้น 49.8 พัน ล.ยูโร หรือคิดเป็นร้อยละ 13.1 ส่งผลให้เยอรมนีเกินดุลการค้า
จำนวน 12.0 พัน ล.ยูโร ลดลงจากจำนวน 14.4 พัน ล.ยูโรเมื่อเดือน ก.ย.46 ทั้งนี้ หัวหน้าเศรษฐกรของ
Invesco Asset Management in Frankfurt เห็นว่าการส่งออกของเยอรมนีในไตรมาส 3 ปี 47 ยัง
ชะลอตัวกว่าไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจของเยอรมนีมีการอัตราการขยายตัว
อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ซึ่งแข็งแกร่งที่สุดในรอบ 3 ปี (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนชะลอตัวขณะที่ดุลการค้าเกินดุลมากขึ้น รายงานจาก ปักกิ่ง
เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 47 ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนในระยะ 1 ปีสิ้นสุดเดือนต.ค. ขยายตัวร้อยละ 15.7
ชะลอตัวลงจากร้อยละ 16.1 ในเดือนที่แล้ว สอดคล้องกับผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ 4 คนของรอยเตอร์
ที่คาดว่าผลผลิตฯดังกล่าวจะขยายตัวร้อยละ 15.6 หลังจากที่ผลผลิตฯในระยะ 1 ปีสิ้นสุดเดือนก.พ.ขยายตัวสูง
ที่สุดถึงร้อยละ 23.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าจีนจะมีนโยบายควบคุมการปล่อยสินเชื่อและการลงทุนแล้วก็
ตาม แต่การขยายตัวในภาคดังกล่าวก็ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่องในเดือนส.ค. และก.ย. นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า
การชะลอตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนจะช่วยลดแรงกดดันในการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในปีนี้
นอกจากนั้นดุลการค้าของจีนยังเกินดุลมากกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงเกือบร้อยละ 25 ทั้งๆที่การนำเข้าขยายตัว
มากกว่าการส่งออก และเมื่อเดือนที่แล้วจีนได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปีเพื่อรักษา
เสถียรภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจที่กำลังร้อนแรงเกินไป อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์เชื่อว่าทางการจีนจะยัง
ไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในเร็วๆนี้เนื่องจากตัวเลขทางเศรษฐกิจสะท้อนถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
และคาดว่าในระยะหลายเดือนข้างหน้าเงินเฟ้อจะค่อยๆชะลอลง (รอยเตอร์)
4. อัตราการว่างงานในเดือน ต.ค.47 ของเกาหลีใต้อยู่ที่ร้อยละ 3.5 เท่ากับเดือนก่อน
รายงานจากโซล เมื่อ 11 พ.ย.47 อัตราการว่างงานในเดือน ต.ค.47 ของเกาหลีใต้อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี
เท่ากับผลสำรวจของรอยเตอร์ก่อนหน้านี้และเท่ากับอัตราการว่างงานในเดือนก่อน โดยอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ม.ค.47 ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่ร้อยละ 3.3 และเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบปีที่ร้อยละ 3.6
ในเดือนก.ค.และ ส.ค.47 เทียบกับอัตราต่ำกว่าร้อยละ 3.0 ในช่วงทศวรรษก่อนที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย
ในปี 40 แต่อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ก็ยังอยู่ในระดับต่ำประมาณครึ่งหนึ่งของอัตราการว่างงานเฉลี่ยของประเทศ
สมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ OECD ซึ่งเกาหลีใต้เป็นสมาชิกอยู่ด้วย ในขณะที่จำนวน
คนมีงานทำเพิ่มขึ้นเป็น 22.58 ล้านคนในเดือน ต.ค.47 จาก 22.57 ล้านคนในเดือน ก.ย.47 อย่างไรก็ตามการใช้
จ่ายในประเทศที่อยู่ในภาวะซบเซามาเป็นเวลากว่า 2 ปีทำให้การจ้างงานในภาคการก่อสร้างและภาคบริการชะลอตัวลง
ในขณะที่ภาคการส่งออกก็ชะลอการจ้างงานเพิ่มจากความต้องการที่ชะลอตัวลงในตลาดโลกโดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่
ของเกาหลีใต้และการเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศผู้ผลิตที่มีต้นทุนถูกกว่าเช่นจีน รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจจะขยาย
ตัวถึงร้อยละ 5.0 ในปีนี้ในขณะที่ภาคเอกชนคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่านี้ (รอยเตอร์)
5. คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 11 พ.ย.47
จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ รายงานจากโซล เมื่อ 9 พ.ย.47 ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตรา
ดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 11 พ.ย.47 นี้ จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเมื่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่ง
ไม่รวมราคาน้ำมันและผลผลิตทางการเกษตรในเดือน ต.ค.47 อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 19 เดือนโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาปีก่อนจากร้อยละ 3.2 ในเดือน ส.ค.และ ก.ย.47 แม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศจะชะลอตัวลงจากการ
ใช้จ่ายในประเทศที่ยังอยู่ในภาวะซบเซามาเป็นเวลากว่า 2 ปีและการส่งออกซึ่งเคยเป็นตัวหลักในการผลักดันให้เศรษฐกิจขยาย
ตัวในช่วงปีที่ผ่านมาก็เริ่มชะลอตัวโดยขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 20 ในเดือน ต.ค.47 เมื่อเทียบกับปีก่อน ขยายตัวในอัตรา
ที่ลดลงเมื่อเทียบต่อปีเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันและเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 11 เดือน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 พ.ย. 47 10 พ.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.7 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.4848/40.7825 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.7500-1.9000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 625.78/ 16.76 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,300/8,400 8,300/8,400 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.61 33.64 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.99*/14.59 21.99*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 4 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-