สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมาตามความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการเกิดโรคไข้หวัดนกระบาดทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้นทดแทนเนื้อไก่ แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 42.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.46 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 41.27 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 40.00 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 42.37 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 46.84 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 42 บาท) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.23 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.98
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในช่วงฤดูหนาว กรมปศุสัตว์ได้นำแผนการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกด้วยอาการทางเทคนิคในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีกทั่วประเทศอย่างใกล้ชิด โดยจะมีเครือข่ายในชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานเข้าร่วม วิธีดังกล่าวสามารถค้นหาสัตว์ปีกที่เป็นโรคไข้หวัดนกได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินการควบคุมโรคได้ทันท่วงที มีรายงานว่าวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 นี้ญี่ปุ่นจะส่งผู้เชี่ยวชาญมาตรวจโรงงานแปรรูปไก่ 8 แห่ง และจีนได้ตกลงที่จะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจโรงงานเพื่ออนุญาตให้นำเข้าไก่สุกจากไทย หากตลาดจีนได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังถือว่าเป็นตลาดใหม่ที่สำคัญและมั่นคงไม่น้อยกว่าญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ขณะนี้มีการเจรจาทำการค้าต่างตอบแทนหรือบาเตอร์เทรดกับบางประเทศเพื่อช่วยระบายไก่ เช่น รัสเซีย สวีเดน และอังกฤษ ที่สนใจจะซื้อไก่ไทยเพื่อแลกกับเครื่องบินและอาวุธ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเล็กน้อย ขณะที่ความต้องการทั้งตลาดภายในและส่งออกยังทรงตัวอยู่ แนวโน้มคาดว่าราคาไก่เนื้อจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 22.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.65 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 26.46 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 21.00 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 22.36 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 21.75 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 7.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.27 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 30.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.17
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ยังคงปรับตัวลดลงทุกพื้นที่ เนื่องจากเข้าสู่ฤดูหนาวสภาพอากาศเอื้ออำนวย ผลผลิตไข่ไก่เพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการบริโภคทรงตัว แนวโน้มคาดว่าราคาจะอ่อนตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 219 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 230 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.78 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 230 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 213 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 212 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 238 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 20 บาท ลดลงจากตัวละ 22 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.09
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 187 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 207 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.66
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 259 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 263 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 244 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 248 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 272 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 282 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 345 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 356 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.09
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 47.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 53.17 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 48.13 บาท ส่วนภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.45 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.81 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 34.12 บาท ส่วนภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 44 ประจำวันที่ 8-14 พฤศจิกายน 2547--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมาตามความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการเกิดโรคไข้หวัดนกระบาดทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้นทดแทนเนื้อไก่ แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 42.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.46 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 41.27 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 40.00 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 42.37 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 46.84 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 42 บาท) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.23 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.98
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในช่วงฤดูหนาว กรมปศุสัตว์ได้นำแผนการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกด้วยอาการทางเทคนิคในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีกทั่วประเทศอย่างใกล้ชิด โดยจะมีเครือข่ายในชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานเข้าร่วม วิธีดังกล่าวสามารถค้นหาสัตว์ปีกที่เป็นโรคไข้หวัดนกได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินการควบคุมโรคได้ทันท่วงที มีรายงานว่าวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 นี้ญี่ปุ่นจะส่งผู้เชี่ยวชาญมาตรวจโรงงานแปรรูปไก่ 8 แห่ง และจีนได้ตกลงที่จะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจโรงงานเพื่ออนุญาตให้นำเข้าไก่สุกจากไทย หากตลาดจีนได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังถือว่าเป็นตลาดใหม่ที่สำคัญและมั่นคงไม่น้อยกว่าญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ขณะนี้มีการเจรจาทำการค้าต่างตอบแทนหรือบาเตอร์เทรดกับบางประเทศเพื่อช่วยระบายไก่ เช่น รัสเซีย สวีเดน และอังกฤษ ที่สนใจจะซื้อไก่ไทยเพื่อแลกกับเครื่องบินและอาวุธ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเล็กน้อย ขณะที่ความต้องการทั้งตลาดภายในและส่งออกยังทรงตัวอยู่ แนวโน้มคาดว่าราคาไก่เนื้อจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 22.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.65 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 26.46 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 21.00 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 22.36 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 21.75 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 7.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.27 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 30.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.17
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ยังคงปรับตัวลดลงทุกพื้นที่ เนื่องจากเข้าสู่ฤดูหนาวสภาพอากาศเอื้ออำนวย ผลผลิตไข่ไก่เพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการบริโภคทรงตัว แนวโน้มคาดว่าราคาจะอ่อนตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 219 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 230 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.78 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 230 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 213 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 212 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 238 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 20 บาท ลดลงจากตัวละ 22 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.09
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 187 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 207 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.66
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 259 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 263 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 244 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 248 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 272 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 282 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 345 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 356 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.09
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 47.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 53.17 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 48.13 บาท ส่วนภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.45 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.81 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 34.12 บาท ส่วนภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 44 ประจำวันที่ 8-14 พฤศจิกายน 2547--
-พห-