จากรายงานเรื่อง “World Investment Report 2004: The Shift Towards Services” ของที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference On Trade And Development: UNCTAD) พบว่าในปี 2546 ทั้งโลกมีเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศไหลเข้า (Foreign Direct Investment Inflows: FDI Inflows) เป็นมูลค่ารวม 560.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งลดลงถึงร้อยละ 18.0 จากปีก่อน โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว (Developed Countries) อาทิ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น ต่างก็มี FDI Inflows ลดลง ยกเว้นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Developing Countries) ที่มี FDI Inflows โดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เป็น 172.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2546 ทั้งนี้ ประเทศกำลังพัฒนา 2 ใน 3 กลุ่ม (แบ่งตามภูมิภาค) มี FDI Inflows เพิ่มขึ้น ดังนี้
กลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก (55 ประเทศ) FDI Inflows เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 เป็น 107.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนใหญ่มุ่งไปยังประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการที่ประเทศเหล่านั้นเร่งปรับปรุงนโยบายและภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น รวมทั้งมีการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น ตลอดจนออกมาตรการที่สนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า FDI Inflows ราวร้อยละ 90 ของกลุ่มกระจุกตัวอยู่ใน 10 ประเทศ โดยจีนมี FDI ไหลเข้าสูงสุดด้วยสัดส่วนราวร้อยละ 50 ของกลุ่ม รองลงมา คือ ฮ่องกง สิงคโปร์ อินเดีย เกาหลีใต้ อาเซอร์ไบจาน มาเลเซีย คาซัคสถาน บรูไน และไทย (อันดับ 10 ด้วยมูลค่า 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
แนวโน้ม คาดว่า FDI จะยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจของกลุ่มนี้ยังมีแนวโน้มขยายตัวสูง ทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ประกอบกับบริษัทข้ามชาติซึ่งทำธุรกิจอยู่ในกลุ่มนี้ต่างมีกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะจูงใจให้เพิ่มการลงทุน รวมทั้งคาดว่าจะมีบริษัทข้ามชาติรายอื่นเข้าไปลงทุนเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับภาคการผลิตที่คาดว่าจะดึงดูด FDI ได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ รถยนต์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ และเคมีภัณฑ์ ส่วนภาคบริการที่คาดว่าจะดึงดูด FDI ได้เพิ่มขึ้น อาทิ ธุรกิจธนาคารและประกันภัย การให้บริการทางธุรกิจ (เช่น การจัดทำบัญชี การทำวิจัยตลาด บริการทางด้าน IT) และธุรกิจท่องเที่ยว
กลุ่มประเทศแอฟริกา (53 ประเทศ) FDI Inflows เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27.1 เป็น 15.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากประเทศในกลุ่มนี้มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน เพชร ทองคำ และแพลตตินัม ดังนั้น FDI Inflows ราวร้อยละ 50-80 ของกลุ่มนี้จึงเป็นการเข้าไปลงทุนเพื่อสำรวจและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยรัฐบาลของประเทศในกลุ่มนี้ได้ดำเนินนโยบายส่งเสริมการลงทุนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง สำหรับประเทศที่มี FDI Inflows สูงสุดเป็นอันดับ 1 คือ โมร็อกโก (สัดส่วนราวร้อยละ 15 ของกลุ่ม) อันดับ 2 คือ อิเควทอเรียลกินีและแองโกลา อันดับ 3 คือ ซูดาน
แนวโน้ม คาดว่า FDI จะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในภูมิภาคนี้ที่ระดับราคาปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การที่แอฟริกาได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีทางการค้าจากกลุ่ม EU และสหรัฐฯ ประกอบกับ Multilateral Investment Guarantee Agency หรือ MIGA (เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของธนาคารโลก) ได้ร่วมมือกับ African Trade Insurance Agency (เป็นองค์กรรับประกันความเสี่ยงด้านการส่งออกและลงทุนในแอฟริกา) เพื่อให้บริการประกันความเสี่ยงด้านการส่งออกและลงทุนในภูมิภาคนี้ ซึ่งคาดว่าจะสนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติมั่นใจและสนใจจะเข้าไปลงทุนในแอฟริกาเพิ่มมากขึ้น
กลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและแคริบเบียน (40 ประเทศ) FDI Inflows ลดลงร้อยละ 3.4 เหลือ 49.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการชะลอตัวของโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของกลุ่ม ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของบางประเทศยังไม่ฟื้นตัวดีนัก (ผลจากวิกฤติการณ์ทางการเงินในอาร์เจนตินาเมื่อปี 2542) โดยประเทศที่ FDI Inflows ลดลงมากที่สุด ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล และเม็กซิโก
แนวโน้ม คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มนี้จะมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทข้ามชาติมีกำไรและเพิ่มการลงทุนในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ หากการเร่งเจรจาเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรี Mercosur-EU (กลุ่ม Mercosur มีสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัย และปารากวัย ส่วนกลุ่ม EU มีสมาชิก 25 ประเทศ) ทำได้สำเร็จและสามารถตกลงกันได้ภายในปี 2548 จะทำให้เกิดกลุ่มการค้าขนาดใหญ่ซึ่งจะจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุนในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า FDI Inflows ที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เป็นการเคลื่อนย้ายการลงทุนเข้าสู่ภาคบริการมากขึ้น เนื่องจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มีเงินทุนจำกัด จึงต้องการเงินทุนจากต่างประเทศเพื่อพัฒนาธุรกิจในภาคบริการของตน นอกจากนี้ FDI ที่ไหลจากประเทศพัฒนาแล้วเข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนาในรูปของการเข้าไปตั้งศูนย์การบริการอันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทแม่ในต่างประเทศ (Offshoring) กำลังเป็นที่นิยมกันมาก เช่น บริษัท British Telecom ของอังกฤษเข้าไปตั้งศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ในอินเดียเพื่อให้คำปรึกษา/แนะนำแก่ลูกค้าของบริษัท เนื่องจากประเทศพัฒนาแล้วต้องการใช้ความได้เปรียบจากประเทศกำลังพัฒนาในด้านต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า ขณะเดียวกันประเทศกำลังพัฒนาก็มีแนวโน้มจะมุ่งลงทุนในรูปแบบ Offshoring ไปสู่ประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน เนื่องจากมีปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงและคล้ายคลึงกัน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2547--
-พห-
กลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก (55 ประเทศ) FDI Inflows เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 เป็น 107.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนใหญ่มุ่งไปยังประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการที่ประเทศเหล่านั้นเร่งปรับปรุงนโยบายและภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น รวมทั้งมีการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น ตลอดจนออกมาตรการที่สนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า FDI Inflows ราวร้อยละ 90 ของกลุ่มกระจุกตัวอยู่ใน 10 ประเทศ โดยจีนมี FDI ไหลเข้าสูงสุดด้วยสัดส่วนราวร้อยละ 50 ของกลุ่ม รองลงมา คือ ฮ่องกง สิงคโปร์ อินเดีย เกาหลีใต้ อาเซอร์ไบจาน มาเลเซีย คาซัคสถาน บรูไน และไทย (อันดับ 10 ด้วยมูลค่า 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
แนวโน้ม คาดว่า FDI จะยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจของกลุ่มนี้ยังมีแนวโน้มขยายตัวสูง ทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ประกอบกับบริษัทข้ามชาติซึ่งทำธุรกิจอยู่ในกลุ่มนี้ต่างมีกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะจูงใจให้เพิ่มการลงทุน รวมทั้งคาดว่าจะมีบริษัทข้ามชาติรายอื่นเข้าไปลงทุนเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับภาคการผลิตที่คาดว่าจะดึงดูด FDI ได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ รถยนต์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ และเคมีภัณฑ์ ส่วนภาคบริการที่คาดว่าจะดึงดูด FDI ได้เพิ่มขึ้น อาทิ ธุรกิจธนาคารและประกันภัย การให้บริการทางธุรกิจ (เช่น การจัดทำบัญชี การทำวิจัยตลาด บริการทางด้าน IT) และธุรกิจท่องเที่ยว
กลุ่มประเทศแอฟริกา (53 ประเทศ) FDI Inflows เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27.1 เป็น 15.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากประเทศในกลุ่มนี้มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน เพชร ทองคำ และแพลตตินัม ดังนั้น FDI Inflows ราวร้อยละ 50-80 ของกลุ่มนี้จึงเป็นการเข้าไปลงทุนเพื่อสำรวจและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยรัฐบาลของประเทศในกลุ่มนี้ได้ดำเนินนโยบายส่งเสริมการลงทุนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง สำหรับประเทศที่มี FDI Inflows สูงสุดเป็นอันดับ 1 คือ โมร็อกโก (สัดส่วนราวร้อยละ 15 ของกลุ่ม) อันดับ 2 คือ อิเควทอเรียลกินีและแองโกลา อันดับ 3 คือ ซูดาน
แนวโน้ม คาดว่า FDI จะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในภูมิภาคนี้ที่ระดับราคาปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การที่แอฟริกาได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีทางการค้าจากกลุ่ม EU และสหรัฐฯ ประกอบกับ Multilateral Investment Guarantee Agency หรือ MIGA (เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของธนาคารโลก) ได้ร่วมมือกับ African Trade Insurance Agency (เป็นองค์กรรับประกันความเสี่ยงด้านการส่งออกและลงทุนในแอฟริกา) เพื่อให้บริการประกันความเสี่ยงด้านการส่งออกและลงทุนในภูมิภาคนี้ ซึ่งคาดว่าจะสนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติมั่นใจและสนใจจะเข้าไปลงทุนในแอฟริกาเพิ่มมากขึ้น
กลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและแคริบเบียน (40 ประเทศ) FDI Inflows ลดลงร้อยละ 3.4 เหลือ 49.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการชะลอตัวของโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของกลุ่ม ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของบางประเทศยังไม่ฟื้นตัวดีนัก (ผลจากวิกฤติการณ์ทางการเงินในอาร์เจนตินาเมื่อปี 2542) โดยประเทศที่ FDI Inflows ลดลงมากที่สุด ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล และเม็กซิโก
แนวโน้ม คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มนี้จะมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทข้ามชาติมีกำไรและเพิ่มการลงทุนในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ หากการเร่งเจรจาเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรี Mercosur-EU (กลุ่ม Mercosur มีสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัย และปารากวัย ส่วนกลุ่ม EU มีสมาชิก 25 ประเทศ) ทำได้สำเร็จและสามารถตกลงกันได้ภายในปี 2548 จะทำให้เกิดกลุ่มการค้าขนาดใหญ่ซึ่งจะจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุนในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า FDI Inflows ที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เป็นการเคลื่อนย้ายการลงทุนเข้าสู่ภาคบริการมากขึ้น เนื่องจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มีเงินทุนจำกัด จึงต้องการเงินทุนจากต่างประเทศเพื่อพัฒนาธุรกิจในภาคบริการของตน นอกจากนี้ FDI ที่ไหลจากประเทศพัฒนาแล้วเข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนาในรูปของการเข้าไปตั้งศูนย์การบริการอันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทแม่ในต่างประเทศ (Offshoring) กำลังเป็นที่นิยมกันมาก เช่น บริษัท British Telecom ของอังกฤษเข้าไปตั้งศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ในอินเดียเพื่อให้คำปรึกษา/แนะนำแก่ลูกค้าของบริษัท เนื่องจากประเทศพัฒนาแล้วต้องการใช้ความได้เปรียบจากประเทศกำลังพัฒนาในด้านต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า ขณะเดียวกันประเทศกำลังพัฒนาก็มีแนวโน้มจะมุ่งลงทุนในรูปแบบ Offshoring ไปสู่ประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน เนื่องจากมีปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงและคล้ายคลึงกัน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2547--
-พห-