นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ของภาครัฐประจำเดือนตุลาคม 2547 พร้อมทั้งสถานะหนี้สาธารณะล่าสุด ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547 ดังนี้
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
1.1 ด้านต่างประเทศ
รัฐบาล
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างเงินกู้จากธนาคารโลกวงเงิน 531 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการชำระคืนก่อนครบกำหนด 131 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 5,443 ล้านบาท ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 5,443 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 1,060 ล้านบาท และได้ออก ECP (Euro Commercial Paper) อายุ 6 เดือน เพื่อใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้ดังกล่าว จำนวน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 16,579 ล้านบาท ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยได้ 320 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจได้ Refinance เงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC) ด้วยเงินบาท วงเงินรวม 19,774 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 6,989 ล้านบาท โดยเป็นเงินกู้ของการไฟฟ้านครหลวง 2,900 ล้านบาท และการรถไฟแห่งประเทศไทย 4,089 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้ลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 751 ล้านบาท
1.2 ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) ที่ครบกำหนดเมื่อเดือนมิถุนายน 40,000 ล้านบาท โดยได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ 6,000 ล้านบาท และใช้เงินจากส่วนเกินจากการประมูลพันธบัตร (Premium) 253 ล้านบาท เพื่อชำระคืนเงินกู้ระยะสั้น 6,253 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
ในเดือนตุลาคม 2547 กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF3) ตามแผนการประมูลพันธบัตรเมื่อเดือนสิงหาคม 2547 โดยได้รับเงินในเดือนนี้ 20,300 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศจำนวน 23,962 ล้านบาท โดยการเคหะแห่งชาติกู้เพื่อลงทุน ค่าก่อสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทรสาม 8,000 ล้านบาท และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพกู้เพื่อเป็นทุนหมุนเวียน 15,962 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ของรัฐบาล
ในเดือนตุลาคม 2547 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 9,478 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 661 ล้านบาท และดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม 8,817 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2547 มีจำนวน 2,984,466 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.23 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,767,479 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 875,474 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 341,513 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 42,165.14 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 102,633 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 15,043 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 75,511 ล้านบาท
หนี้สาธารณะจำแนกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ 669,087 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.42 และหนี้ในประเทศ 2,315,380 ล้านบาท หรือร้อยละ 77.58 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,478,315 ล้านบาท หรือร้อยละ 83.04 และหนี้ระยะสั้น 506,142 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.96 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 91/2547 16 พฤศจิกายน 2547--
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
1.1 ด้านต่างประเทศ
รัฐบาล
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างเงินกู้จากธนาคารโลกวงเงิน 531 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการชำระคืนก่อนครบกำหนด 131 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 5,443 ล้านบาท ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 5,443 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 1,060 ล้านบาท และได้ออก ECP (Euro Commercial Paper) อายุ 6 เดือน เพื่อใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้ดังกล่าว จำนวน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 16,579 ล้านบาท ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยได้ 320 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจได้ Refinance เงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC) ด้วยเงินบาท วงเงินรวม 19,774 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 6,989 ล้านบาท โดยเป็นเงินกู้ของการไฟฟ้านครหลวง 2,900 ล้านบาท และการรถไฟแห่งประเทศไทย 4,089 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้ลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 751 ล้านบาท
1.2 ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) ที่ครบกำหนดเมื่อเดือนมิถุนายน 40,000 ล้านบาท โดยได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ 6,000 ล้านบาท และใช้เงินจากส่วนเกินจากการประมูลพันธบัตร (Premium) 253 ล้านบาท เพื่อชำระคืนเงินกู้ระยะสั้น 6,253 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
ในเดือนตุลาคม 2547 กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF3) ตามแผนการประมูลพันธบัตรเมื่อเดือนสิงหาคม 2547 โดยได้รับเงินในเดือนนี้ 20,300 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศจำนวน 23,962 ล้านบาท โดยการเคหะแห่งชาติกู้เพื่อลงทุน ค่าก่อสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทรสาม 8,000 ล้านบาท และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพกู้เพื่อเป็นทุนหมุนเวียน 15,962 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ของรัฐบาล
ในเดือนตุลาคม 2547 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 9,478 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 661 ล้านบาท และดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม 8,817 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2547 มีจำนวน 2,984,466 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.23 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,767,479 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 875,474 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 341,513 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 42,165.14 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 102,633 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 15,043 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 75,511 ล้านบาท
หนี้สาธารณะจำแนกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ 669,087 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.42 และหนี้ในประเทศ 2,315,380 ล้านบาท หรือร้อยละ 77.58 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,478,315 ล้านบาท หรือร้อยละ 83.04 และหนี้ระยะสั้น 506,142 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.96 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 91/2547 16 พฤศจิกายน 2547--