นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ได้แถลงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนตุลาคม 2547 ปีงบประมาณ 2548 โดยสรุปได้ ดังนี้
การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในเดือนตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิรวมทั้งสิ้น 84,961 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,066 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.5 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 5,867 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.4
เมื่อพิจารณาผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการอย่างต่อเนื่องทุกเดือนแล้ว สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวมยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
การจัดเก็บรายได้ในเดือนตุลาคม 2547 ประกอบด้วยรายได้จากหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
1. กรมสรรพากร จัดเก็บได้ 52,026 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,056 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.5 สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 13.5 เนื่องจากภาษีที่สำคัญจัดเก็บได้สูงกว่าที่คาดไว้จัดเก็บได้ สูงกว่าที่คาดไว้ ได้แก่
- ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 27,816 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,475 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.8 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 16.7) ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการนำเข้าและการบริโภคที่เพิ่มขึ้น
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ 10,701 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 979 ล้านบาท ร้อยละ 10.1 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 10.9) เนื่องจากภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากดอกเบี้ยเงินเดือน การรับจ้างทำของ และหัก ณ ที่จ่ายภาครัฐบาลเพิ่มขึ้น
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ 10,862 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 593 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.8 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 4.1) ซึ่งเป็นผลจากการเร่งรัดภาษีอากรค้างหัก ณ ที่จ่ายภาคเอกชน และค่าบริการและจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น
2. กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้ 22,187 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1,702 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.1 แต่สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 2.1 ภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
- ภาษีรถยนต์ จัดเก็บได้ 4,318 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1561 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 26.6 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 13.8) ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ขนาดเล็กและรถกระบะ ซึ่งเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในช่วงปลายปีจะมีงานมอเตอร์โชว์ ดังนั้นผู้บริโภคส่วนใหญ่จะชะลอการซื้อรถในช่วงนี้
- ภาษีเบียร์จัดเก็บได้ 3,414 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 347 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.2 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 11.8)
- ภาษีสุราจัดเก็บได้ 1,949 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 209 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.7 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 0.9)
สาเหตุที่ภาษีเบียร์และภาษีสุราจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ และต่ำกว่าปีที่แล้วเนื่องจากวันสิ้นเดือนตุลาคมตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุด ทำให้รายได้จากภาษีเบียร์และสุราหายไปประมาณ 540 ล้านบาท
ส่วนภาษียาสูบและภาษีน้ำมันจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 389 และ 73 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.5 และ 1.1 ตามลำดับ (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 26.5 และ 10.2 ตามลำดับ)
3. กรมศุลกากร จัดเก็บได้ 8,650 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการเล็กน้อยเพียง 50 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.6 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 0.4) เนื่องจากอากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าที่คาดไว้ 182 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.1
4. หน่วยงานอื่น จัดเก็บได้ 7,715 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 205 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.7 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 0.4) ประกอบด้วย
- รายได้จากส่วนราชการอื่น 6,900 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 160 ล้านบาทหรือร้อยละ 2.4 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 1.2)
- กรมธนารักษ์ 124 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 26 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.5 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 79.7) เนื่องจากเงินรับจากการผลิตเหรียญกษาปณ์สูงกว่าที่คาดไว้ และสูงกว่าปีที่แล้ว
- รัฐวิสาหกิจ 691 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 19 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.8 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 19.6) โดยเป็นรายได้จากสลากกินแบ่งรัฐบาล
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 92/2547 16 พฤศจิกายน 2547--
การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในเดือนตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิรวมทั้งสิ้น 84,961 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,066 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.5 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 5,867 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.4
เมื่อพิจารณาผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการอย่างต่อเนื่องทุกเดือนแล้ว สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวมยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
การจัดเก็บรายได้ในเดือนตุลาคม 2547 ประกอบด้วยรายได้จากหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
1. กรมสรรพากร จัดเก็บได้ 52,026 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,056 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.5 สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 13.5 เนื่องจากภาษีที่สำคัญจัดเก็บได้สูงกว่าที่คาดไว้จัดเก็บได้ สูงกว่าที่คาดไว้ ได้แก่
- ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 27,816 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,475 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.8 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 16.7) ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการนำเข้าและการบริโภคที่เพิ่มขึ้น
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ 10,701 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 979 ล้านบาท ร้อยละ 10.1 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 10.9) เนื่องจากภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากดอกเบี้ยเงินเดือน การรับจ้างทำของ และหัก ณ ที่จ่ายภาครัฐบาลเพิ่มขึ้น
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ 10,862 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 593 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.8 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 4.1) ซึ่งเป็นผลจากการเร่งรัดภาษีอากรค้างหัก ณ ที่จ่ายภาคเอกชน และค่าบริการและจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น
2. กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้ 22,187 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1,702 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.1 แต่สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 2.1 ภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
- ภาษีรถยนต์ จัดเก็บได้ 4,318 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1561 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 26.6 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 13.8) ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ขนาดเล็กและรถกระบะ ซึ่งเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในช่วงปลายปีจะมีงานมอเตอร์โชว์ ดังนั้นผู้บริโภคส่วนใหญ่จะชะลอการซื้อรถในช่วงนี้
- ภาษีเบียร์จัดเก็บได้ 3,414 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 347 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.2 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 11.8)
- ภาษีสุราจัดเก็บได้ 1,949 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 209 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.7 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 0.9)
สาเหตุที่ภาษีเบียร์และภาษีสุราจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ และต่ำกว่าปีที่แล้วเนื่องจากวันสิ้นเดือนตุลาคมตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุด ทำให้รายได้จากภาษีเบียร์และสุราหายไปประมาณ 540 ล้านบาท
ส่วนภาษียาสูบและภาษีน้ำมันจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 389 และ 73 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.5 และ 1.1 ตามลำดับ (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 26.5 และ 10.2 ตามลำดับ)
3. กรมศุลกากร จัดเก็บได้ 8,650 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการเล็กน้อยเพียง 50 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.6 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 0.4) เนื่องจากอากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าที่คาดไว้ 182 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.1
4. หน่วยงานอื่น จัดเก็บได้ 7,715 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 205 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.7 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 0.4) ประกอบด้วย
- รายได้จากส่วนราชการอื่น 6,900 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 160 ล้านบาทหรือร้อยละ 2.4 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 1.2)
- กรมธนารักษ์ 124 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 26 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.5 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 79.7) เนื่องจากเงินรับจากการผลิตเหรียญกษาปณ์สูงกว่าที่คาดไว้ และสูงกว่าปีที่แล้ว
- รัฐวิสาหกิจ 691 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 19 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.8 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 19.6) โดยเป็นรายได้จากสลากกินแบ่งรัฐบาล
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 92/2547 16 พฤศจิกายน 2547--