กรุงเทพ--14 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีต่างประเทศ ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวภายหลังการเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียนว่า ไทยและอาเซียนเห็นพ้องกันที่จะเร่งรัดกระบวนการรวมตัวกันของอาเซียน ผลักดันให้มีความก้าวหน้า เป็นรูปธรรมมากขึ้นในการพัฒนาทางการเมืองพม่า และระดับความพยายามร่วมกันจัดตั้งเครือข่าย เพื่อต่อสู่กับไข้หวัดนก
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ติดตามนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 11 การประชุมสุดยอดอาเซียน +3 (กับผู้นำจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) และการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน นอกจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศกันตธีร์ฯ ยังได้เข้าร่วมพิธีการลงนามในปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ ว่าด้วยการจัดทำกฏบัตรอาเซียน และปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ที่นายกรัฐมนตรีและผู้นำอื่นๆ ได้ลงนาม และได้ร่วมอยู่ในการหารือทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีไทย กับนายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ และกับนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนด้วย
ดร. กันตธีร์ฯ เปิดเผยต่อสื่อมวลชนภายหลังการประชุมต่างๆ ว่า ผู้นำประเทศอาเซียน ได้หารือกันหลายเรื่อง รวมทั้งเรื่องการเร่งรัดกระบวนการรวมตัวกันของอาเซียนสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นที่ ตกลงกันว่า การรวมตัวกันดังกล่าวซึ่งเดิมตั้งเป้าไว้ให้บรรลุภายในปี ค.ศ. 2020 ควรจะเสร็จสมบูรณ์ได้ภายใน ปี ค.ศ. 2015 เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไทยได้เสนอว่า อาเซียนอาจใช้สูตร “2 +X” ในการร่วมมือกันในสาขาต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ประเทศไทยได้ย้ำถึงความสำคัญของการร่วมมือกันในกรอบอาเซียนในประเด็น
เกี่ยวกับสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค รวมไปถึงความปลอดภัยทางทะเล และการประงานงานกัน ในด้านการต่อต้านการก่อการร้าย นอกจากนั้นนายกรัฐมนตรียังได้ชี้ว่า ควรใช้การแข่งกีฬา การแลกเปลี่ยน ทางวัฒนธรรม และโครงการเยาวชนในการส่งเสริมให้ประชาชนของอาเซียนรู้จักกันและมีความสัมพันธ์ กันมากขึ้น
อนึ่ง ความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคภายใต้อาเซียน เช่นกรอบ ACMECS และ IMT-GT และความร่วมมือทางการเงินการคลัง เช่นพันธบัตรเอเชียภายใต้กรอบ ACD ก็จะส่งเสริมเป้าหมายการร่วมตัว กันเป็นประชาคมเดียวกัน ผู้นำอาเซียนยังได้ตกลงกันที่จะร่วมมือกันในการต่อต้านไข้หวัดนก โดยการพิจารณาจัดตั้งเครือข่ายคลังเก็บวัคซีนในภูมิภาค และได้หารือกันเกี่ยวกับพลังงานทดแทนด้วย
เกี่ยวกับพัฒนาการในพม่านั้น นายกรัฐมนตรีและผู้นำอาเซียนอื่นได้แสดง “ความไม่สบายใจ” เกี่ยวกับความคืบหน้าของกระบวนการปรองดองแห่งชาติและการปฏิรูปประชาสธิไปในพม่า ซึ่งเป็นไปอย่างช้า
มาก และได้มีการตกลงกันว่า อาเซียนจะส่งคณะผู้แทนนำโดยรัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย ในฐานะประธานคณะกรรมการประจำของอาเซียน ไปเยือนพม่าในปีหน้า ตามคำเชิญของรัฐบาลพม่า เพื่อรับทราบข้อมูลต่างๆ
ด้วยตนเองเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่า และเพื่อหารือกับคณะผู้นำพม่าเกี่ยวกับการปรองดองแห่งชาติและการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าด้วย นายกรัฐมนตรีไทยได้สนับสนุนความคิดดังกล่าว และเสนอด้วยว่า อาจมี
การจัดประชุมภายใต้กระบวนการกรุงเทพ หรือ Bangkok Process ที่มีอยู่ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อช่วยพม่าให้สามารถ บรรลุเอกภาพ ความมั่นคงและประชาธิปไตยได้ อนึ่ง อาเซียนได้เรียกร้องให้พม่าปล่อยตัวนักโทษการเมือง ด้วย
ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศสำคัญอื่นๆ ก็เป็นที่ตกลงกันว่า กรอบ ASEAN+3 จะเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาประชาคมเอเชียตะวันออก (EAC) รวมทั้งเป็นกลไกที่จะดำเนินการความร่วมมือต่างๆ ในขณะที่กรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) ซึ่งกำหนดจะประชุมกันครั้งแรกในวันที่ 14 ธันวาคม นั้นจะเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างเสรีและเป็นธรรมชาติระดับผู้นำ ในเรื่องเฉพาะบางประเด็นที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ต่อภูมิภาค ซึ่งผู้นำสามารถ สั่งการลงมาโดยตรงในลักษณะ “top down” ได้ทันทีเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่ตกลงกันได้ในเวทีนี้แล้ว ดังนั้น EAS จึงจะมิใช่กรอบที่จะมาแทนที่ ASEAN+3 เนื่องจากทั้งสองเวทีต่างก็มีความสำคัญของตนเอง และสามารถส่งเสริมต่อการสร้างประชาคมในเอเชียตะวันออกได้ทั้งคู่
ในช่วงค่ำวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรีได้พบกับกลุ่มนักศึกษาไทยมุสลิมในโครงการ “1 อำเภอ 1 ทุนการศึกษา” ที่โรงแรม JW Marriott ที่พัก นักเรียนดังกล่าวมาจากยะลา ปัตตานี และนราธิวาส และขณะนี้กำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัย International Islamic University Malaysia (IIUM) ของมาเลเซีย โดยได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาจากรัฐบาลไทย ดร. กันตธีร์และนางโสภาวรรณ ศุภมงคล ภริยา ก็ได้พบกับนักศึกษาไทยดังกล่าวด้วย หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีไทยและผู้นำอาเซียนอื่นๆ ได้ร่วมรับประทานอาหารค่ำและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะผู้ทรงคุณวุฒิของอาเซียน (EPG) เกี่ยวกับการยกร่างกฏบัตรอาเซียน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
รัฐมนตรีต่างประเทศ ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวภายหลังการเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียนว่า ไทยและอาเซียนเห็นพ้องกันที่จะเร่งรัดกระบวนการรวมตัวกันของอาเซียน ผลักดันให้มีความก้าวหน้า เป็นรูปธรรมมากขึ้นในการพัฒนาทางการเมืองพม่า และระดับความพยายามร่วมกันจัดตั้งเครือข่าย เพื่อต่อสู่กับไข้หวัดนก
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ติดตามนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 11 การประชุมสุดยอดอาเซียน +3 (กับผู้นำจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) และการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน นอกจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศกันตธีร์ฯ ยังได้เข้าร่วมพิธีการลงนามในปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ ว่าด้วยการจัดทำกฏบัตรอาเซียน และปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ที่นายกรัฐมนตรีและผู้นำอื่นๆ ได้ลงนาม และได้ร่วมอยู่ในการหารือทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีไทย กับนายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ และกับนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนด้วย
ดร. กันตธีร์ฯ เปิดเผยต่อสื่อมวลชนภายหลังการประชุมต่างๆ ว่า ผู้นำประเทศอาเซียน ได้หารือกันหลายเรื่อง รวมทั้งเรื่องการเร่งรัดกระบวนการรวมตัวกันของอาเซียนสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นที่ ตกลงกันว่า การรวมตัวกันดังกล่าวซึ่งเดิมตั้งเป้าไว้ให้บรรลุภายในปี ค.ศ. 2020 ควรจะเสร็จสมบูรณ์ได้ภายใน ปี ค.ศ. 2015 เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไทยได้เสนอว่า อาเซียนอาจใช้สูตร “2 +X” ในการร่วมมือกันในสาขาต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ประเทศไทยได้ย้ำถึงความสำคัญของการร่วมมือกันในกรอบอาเซียนในประเด็น
เกี่ยวกับสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค รวมไปถึงความปลอดภัยทางทะเล และการประงานงานกัน ในด้านการต่อต้านการก่อการร้าย นอกจากนั้นนายกรัฐมนตรียังได้ชี้ว่า ควรใช้การแข่งกีฬา การแลกเปลี่ยน ทางวัฒนธรรม และโครงการเยาวชนในการส่งเสริมให้ประชาชนของอาเซียนรู้จักกันและมีความสัมพันธ์ กันมากขึ้น
อนึ่ง ความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคภายใต้อาเซียน เช่นกรอบ ACMECS และ IMT-GT และความร่วมมือทางการเงินการคลัง เช่นพันธบัตรเอเชียภายใต้กรอบ ACD ก็จะส่งเสริมเป้าหมายการร่วมตัว กันเป็นประชาคมเดียวกัน ผู้นำอาเซียนยังได้ตกลงกันที่จะร่วมมือกันในการต่อต้านไข้หวัดนก โดยการพิจารณาจัดตั้งเครือข่ายคลังเก็บวัคซีนในภูมิภาค และได้หารือกันเกี่ยวกับพลังงานทดแทนด้วย
เกี่ยวกับพัฒนาการในพม่านั้น นายกรัฐมนตรีและผู้นำอาเซียนอื่นได้แสดง “ความไม่สบายใจ” เกี่ยวกับความคืบหน้าของกระบวนการปรองดองแห่งชาติและการปฏิรูปประชาสธิไปในพม่า ซึ่งเป็นไปอย่างช้า
มาก และได้มีการตกลงกันว่า อาเซียนจะส่งคณะผู้แทนนำโดยรัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย ในฐานะประธานคณะกรรมการประจำของอาเซียน ไปเยือนพม่าในปีหน้า ตามคำเชิญของรัฐบาลพม่า เพื่อรับทราบข้อมูลต่างๆ
ด้วยตนเองเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่า และเพื่อหารือกับคณะผู้นำพม่าเกี่ยวกับการปรองดองแห่งชาติและการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าด้วย นายกรัฐมนตรีไทยได้สนับสนุนความคิดดังกล่าว และเสนอด้วยว่า อาจมี
การจัดประชุมภายใต้กระบวนการกรุงเทพ หรือ Bangkok Process ที่มีอยู่ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อช่วยพม่าให้สามารถ บรรลุเอกภาพ ความมั่นคงและประชาธิปไตยได้ อนึ่ง อาเซียนได้เรียกร้องให้พม่าปล่อยตัวนักโทษการเมือง ด้วย
ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศสำคัญอื่นๆ ก็เป็นที่ตกลงกันว่า กรอบ ASEAN+3 จะเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาประชาคมเอเชียตะวันออก (EAC) รวมทั้งเป็นกลไกที่จะดำเนินการความร่วมมือต่างๆ ในขณะที่กรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) ซึ่งกำหนดจะประชุมกันครั้งแรกในวันที่ 14 ธันวาคม นั้นจะเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างเสรีและเป็นธรรมชาติระดับผู้นำ ในเรื่องเฉพาะบางประเด็นที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ต่อภูมิภาค ซึ่งผู้นำสามารถ สั่งการลงมาโดยตรงในลักษณะ “top down” ได้ทันทีเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่ตกลงกันได้ในเวทีนี้แล้ว ดังนั้น EAS จึงจะมิใช่กรอบที่จะมาแทนที่ ASEAN+3 เนื่องจากทั้งสองเวทีต่างก็มีความสำคัญของตนเอง และสามารถส่งเสริมต่อการสร้างประชาคมในเอเชียตะวันออกได้ทั้งคู่
ในช่วงค่ำวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรีได้พบกับกลุ่มนักศึกษาไทยมุสลิมในโครงการ “1 อำเภอ 1 ทุนการศึกษา” ที่โรงแรม JW Marriott ที่พัก นักเรียนดังกล่าวมาจากยะลา ปัตตานี และนราธิวาส และขณะนี้กำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัย International Islamic University Malaysia (IIUM) ของมาเลเซีย โดยได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาจากรัฐบาลไทย ดร. กันตธีร์และนางโสภาวรรณ ศุภมงคล ภริยา ก็ได้พบกับนักศึกษาไทยดังกล่าวด้วย หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีไทยและผู้นำอาเซียนอื่นๆ ได้ร่วมรับประทานอาหารค่ำและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะผู้ทรงคุณวุฒิของอาเซียน (EPG) เกี่ยวกับการยกร่างกฏบัตรอาเซียน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-