กรุงเทพ--18 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยเมื่อวานนี้ (17 พฤศจิกายน 2547) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับประเด็นสำคัญของการหารือในการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 16 อย่างไม่เป็นทางการ ดังมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. การประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 การประชุม คือ การประชุมอย่างไม่เป็นทางการ 2 ครั้ง และแบบเต็มคณะ 1 ครั้ง
2. ประเด็นที่ได้มีการหารือในที่ประชุม คือ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน โดยมีประเด็นหลักคือ การที่สมาชิกเอเปคจะร่วมกันผลักดันการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบโดฮาในกรอบองค์การการค้าโลก (WTO) และประเด็นที่สอง คือ แนวโน้มของการเจรจาการค้าเสรี สองฝ่าย หรือเขตการค้าเสรีของภูมิภาคมากขึ้น
3. ในประเด็นเรื่องการเจรจาการค้าหลายฝ่ายดังกล่าวนั้น ฝ่ายไทยได้ให้ความสำคัญกับสินค้าเกษตรซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนา และเห็นว่าเอเปคจะมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้การเจรจาดังกล่าวคืบหน้าต่อไป ซึ่งหลายฝ่ายในที่ประชุมรวมถึง ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ก็เห็นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้จากความร่วมมือของสมาชิกเอเปคจากการประชุมเอเปค 2003 ที่จะร่วมกันผลักดันให้การเจรจาการค้ารอบโดฮาให้มีความคืบหน้ามากขึ้น นั้น เป็นที่สังเกตุ ได้ว่าการเจรจาการค้าของ WTO เริ่มมีความคืบหน้ามาจนถึงปัจจุบัน และได้มีตกลงที่จะให้มีการเจรจาระดับรัฐมนตรีขององค์กรการค้าโลกในครั้งต่อไปที่ฮ่องกงในปลายปี 2005 ซึ่งการแสดงเจตนารมทางการเมืองของเอเปคที่เข้าไปผลักดันใน WTO เป็นสิ่งที่เอเปคมีบทบาทและควรที่จะมีบทบาทต่อไปซึ่งทุกฝ่ายก็เห็นด้วย นอกจากนี้ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ได้เสนอว่าก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีที่ฮ่องกงให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มย่อย (Mini Ministerial) 1 ครั้งก่อนการประชุมในปี 2005 เพื่อให้ รัฐมนตรีการค้าได้หารือกันในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ร่วมกันก่อน เช่น เรื่องการค้าการบริการ เรื่องสินค้าเกษตร เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น เพื่อสั่งการเอกอัครราชทูตของตนที่ประจำองค์กรการค้าโลกที่นครเจนีวาร่วมกันผลักดันให้องค์การการค้าโลกจัดให้มีการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มย่อยดังกล่าว เพื่อกลั่นกรองเรื่องก่อนที่จะนำเข้าสู่การประชุมระดับรัฐมนตรีที่ฮ่องกงต่อไป
4. ในประเด็นเรื่องเขตการค้าเสรีทั้ง FTA และเขตการค้าเสรีระดับภูมิภาค Regional Free Trade Area (RTA) เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายเห็นว่าหากดำเนินการอย่างถูกต้องภายใต้กรอบขององค์กร การค้าโลกแล้วจะเป็นประโยชน์ และจะมีส่วนเร่งเสริม ให้มีการเจรจาการค้าหลายฝ่ายภายใต้ WTO ได้ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการหารือและเห็นชอบร่วมกันในเรื่องดังกล่าวว่าการจัดทำ FTA และ RTA ซึ่งนอกจากสอดคล้องตาม WTO แล้ว ยังจะต้องมีความโปร่งใสด้วย
5. ประเด็นเรื่องการเจรจาการค้าโลกระดับพหุภาคีรอบโดฮาให้มีความคืบหน้า นั้นที่ประชุมได้มีการหารือในรายละเอียดและมีการเสนอกลไกบางประการเช่นการเสนอให้มีการจัดการประชุม รัฐมนตรีการค้ากลุ่มย่อย Mini Ministerial ในลักษณะกลไกกลั่นกรองด้านสารัตถะต่าง ๆ เพื่อสั่งการให้ผู้แทนของตนประจำองค์กรการค้าโลกดำเนินการต่าง ๆ ให้มากที่สุดก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีของ WTO ที่ฮ่องกงในปลายปี 2005 นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ร่วมกันพิจารณาที่จะผลักดันเรื่องสินค้าเกษตรอย่างไรบ้าง และสินค้าบริการที่สำคัญที่ควรจะนำขึ้นมาหารือกัน รวมทั้งเรื่องที่ประเทศกำลังพัฒนาให้ความสนใจก็ควรที่จะได้นำมาพิจารณาด้วย ทั้งนี้ โดยคำนึงว่าเอเปคมิได้เป็นสมาชิกส่วนใหญ่ของ WTO การที่มีการประชุมกลั่นกรองในระดับรัฐมนตรีกลุ่มย่อยเพื่อเลือกประเด็นที่สามารถจะร่วมกันผลักดันให้มีความคืบหน้าได้ขึ้นมาดำเนินการก่อน
6. ในประเด็นที่เกี่ยวกับการผลักดันให้เวียดนามและรัสเซียเข้าเป็นสมาชิก WTO นั้น ก็ได้ มีการหารือกันในที่ประชุมซึ่งประเทศต่าง ๆ หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยสนับสนุนให้ประเทศ ทั้งสองเข้าเป็นสมาชิก WTO
7. ประเด็นเกี่ยวการทำความตกลงการค้าเสรีทั้งในกรอบ FTA และ RTA
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ด้วยเมื่อวานนี้ (17 พฤศจิกายน 2547) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับประเด็นสำคัญของการหารือในการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 16 อย่างไม่เป็นทางการ ดังมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. การประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 การประชุม คือ การประชุมอย่างไม่เป็นทางการ 2 ครั้ง และแบบเต็มคณะ 1 ครั้ง
2. ประเด็นที่ได้มีการหารือในที่ประชุม คือ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน โดยมีประเด็นหลักคือ การที่สมาชิกเอเปคจะร่วมกันผลักดันการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบโดฮาในกรอบองค์การการค้าโลก (WTO) และประเด็นที่สอง คือ แนวโน้มของการเจรจาการค้าเสรี สองฝ่าย หรือเขตการค้าเสรีของภูมิภาคมากขึ้น
3. ในประเด็นเรื่องการเจรจาการค้าหลายฝ่ายดังกล่าวนั้น ฝ่ายไทยได้ให้ความสำคัญกับสินค้าเกษตรซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนา และเห็นว่าเอเปคจะมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้การเจรจาดังกล่าวคืบหน้าต่อไป ซึ่งหลายฝ่ายในที่ประชุมรวมถึง ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ก็เห็นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้จากความร่วมมือของสมาชิกเอเปคจากการประชุมเอเปค 2003 ที่จะร่วมกันผลักดันให้การเจรจาการค้ารอบโดฮาให้มีความคืบหน้ามากขึ้น นั้น เป็นที่สังเกตุ ได้ว่าการเจรจาการค้าของ WTO เริ่มมีความคืบหน้ามาจนถึงปัจจุบัน และได้มีตกลงที่จะให้มีการเจรจาระดับรัฐมนตรีขององค์กรการค้าโลกในครั้งต่อไปที่ฮ่องกงในปลายปี 2005 ซึ่งการแสดงเจตนารมทางการเมืองของเอเปคที่เข้าไปผลักดันใน WTO เป็นสิ่งที่เอเปคมีบทบาทและควรที่จะมีบทบาทต่อไปซึ่งทุกฝ่ายก็เห็นด้วย นอกจากนี้ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ได้เสนอว่าก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีที่ฮ่องกงให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มย่อย (Mini Ministerial) 1 ครั้งก่อนการประชุมในปี 2005 เพื่อให้ รัฐมนตรีการค้าได้หารือกันในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ร่วมกันก่อน เช่น เรื่องการค้าการบริการ เรื่องสินค้าเกษตร เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น เพื่อสั่งการเอกอัครราชทูตของตนที่ประจำองค์กรการค้าโลกที่นครเจนีวาร่วมกันผลักดันให้องค์การการค้าโลกจัดให้มีการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มย่อยดังกล่าว เพื่อกลั่นกรองเรื่องก่อนที่จะนำเข้าสู่การประชุมระดับรัฐมนตรีที่ฮ่องกงต่อไป
4. ในประเด็นเรื่องเขตการค้าเสรีทั้ง FTA และเขตการค้าเสรีระดับภูมิภาค Regional Free Trade Area (RTA) เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายเห็นว่าหากดำเนินการอย่างถูกต้องภายใต้กรอบขององค์กร การค้าโลกแล้วจะเป็นประโยชน์ และจะมีส่วนเร่งเสริม ให้มีการเจรจาการค้าหลายฝ่ายภายใต้ WTO ได้ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการหารือและเห็นชอบร่วมกันในเรื่องดังกล่าวว่าการจัดทำ FTA และ RTA ซึ่งนอกจากสอดคล้องตาม WTO แล้ว ยังจะต้องมีความโปร่งใสด้วย
5. ประเด็นเรื่องการเจรจาการค้าโลกระดับพหุภาคีรอบโดฮาให้มีความคืบหน้า นั้นที่ประชุมได้มีการหารือในรายละเอียดและมีการเสนอกลไกบางประการเช่นการเสนอให้มีการจัดการประชุม รัฐมนตรีการค้ากลุ่มย่อย Mini Ministerial ในลักษณะกลไกกลั่นกรองด้านสารัตถะต่าง ๆ เพื่อสั่งการให้ผู้แทนของตนประจำองค์กรการค้าโลกดำเนินการต่าง ๆ ให้มากที่สุดก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีของ WTO ที่ฮ่องกงในปลายปี 2005 นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ร่วมกันพิจารณาที่จะผลักดันเรื่องสินค้าเกษตรอย่างไรบ้าง และสินค้าบริการที่สำคัญที่ควรจะนำขึ้นมาหารือกัน รวมทั้งเรื่องที่ประเทศกำลังพัฒนาให้ความสนใจก็ควรที่จะได้นำมาพิจารณาด้วย ทั้งนี้ โดยคำนึงว่าเอเปคมิได้เป็นสมาชิกส่วนใหญ่ของ WTO การที่มีการประชุมกลั่นกรองในระดับรัฐมนตรีกลุ่มย่อยเพื่อเลือกประเด็นที่สามารถจะร่วมกันผลักดันให้มีความคืบหน้าได้ขึ้นมาดำเนินการก่อน
6. ในประเด็นที่เกี่ยวกับการผลักดันให้เวียดนามและรัสเซียเข้าเป็นสมาชิก WTO นั้น ก็ได้ มีการหารือกันในที่ประชุมซึ่งประเทศต่าง ๆ หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยสนับสนุนให้ประเทศ ทั้งสองเข้าเป็นสมาชิก WTO
7. ประเด็นเกี่ยวการทำความตกลงการค้าเสรีทั้งในกรอบ FTA และ RTA
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-