กรุงเทพ--19 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวานนี้ (18 พฤศจิกายน 2547) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับประเด็นสำคัญของการหารือในการประชุมรัฐมนตรี เอเปค ครั้งที่ 16 อย่างไม่เป็นทางการ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. วันนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศชิลีได้จัดการประชุม Breakfast Meeting เฉพาะรัฐมนตรีต่างประเทศของเอเปค 19 เขตเศรษฐกิจ ยกเว้นฮ่องกง ไต้หวัน เพื่อหารือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ การเมือง และความมั่นคง ตามที่สมาชิกเรียกร้อง ทำนองเดียวกับที่ประเทศไทยเคยจัดในปี 2003 การประชุมครั้งนี้มีข้อสังเกตว่าชิลีได้ใช้โอกาสนี้หาทางออกถึงประเด็นต่าง ๆ ที่ยังเห็นไม่ตรงกัน ในเรื่องเอเปคทั้งที่เป็นการประชุมนอกเอเปค โดยเป็นเรื่องที่ติดค้างอยู่และไม่สามารถตกลงกันได้ในปฏิญญารัฐมนตรี คือประเด็นในเรื่องอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรง (Weapon of Mass Destruction - WMD) MANPAD และการเรียกร้องให้สมาชิกทุกฝ่ายลงนามในพิธีสารเกี่ยวกับการป้องกันนิวเคลียร์ ของทบวงการนิวเคลียร์แห่งสหประชาชาติ - (International Atomic Energy Agency IAEA) อย่างไรก็ดีสมาชิกหลายเขตเศรษฐกิจไม่ประสงค์ให้มีการนำเอาประเด็นความมั่นคงเข้ามาเป็นประเด็นสำคัญใน เอเปคมากเกินไป ซึ่งเรื่องนี้ไทยได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับจุดยืนของประเทศไทยที่ถือว่าเอเปคเป็นเรื่องความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ หากประเด็นความมั่นคงที่กระทบกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจก็น่าจะนำมาพิจารณาได้ซึ่งหลายเขตเศรษฐกิจส่วนมากเห็นด้วยกับแนวทางของไทย โดยเรื่องความมั่นคงด้านการขนส่งทางทะเล และการเดินทางโดยเครื่องบินได้มีการหารือกันในการประชุมเอเปค 2003 ที่ประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ในการหารือประเด็นด้านความมั่นคงที่เกี่ยวกับอาวุธต่อต้านอากาศยานแบบพกพา (Man Portable Anti Defense System - MANPAD) ซึ่งจะเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของสมาชิกที่จะช่วยกันดูแลการส่งออก โดยจะไม่มีการกำหนดรายละเอียดในการดำเนินการต่าง ๆ เป็นเพียงแนวทางที่สมาชิกจะดำเนินการต่อไป ซึ่งที่ประชุมก็ได้ตกลงที่จะระบุเรื่องดังกล่าวไว้ใน ถ้อยแถลงของรัฐมนตรี (Ministerial Statement) สะท้อนให้เห็นว่าเรื่องดังกล่าวไม่มีผลผูกพันเป็นกฎหมาย ไม่มีการกำหนดกรอบเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน และให้เจ้าหน้าที่อาวุโสศึกษาด้านสาระที่สมาชิกจะร่วมมือกันต่อไป โดยให้แนวทางต่าง ๆ ที่จะออกมาสอดคล้องกับแนวางของสหประชาชาติด้วย นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือกันในเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี เป็นต้น
2. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการวาระที่ 2 มีประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ โดยเฉพาะการสานต่อปฏิญญากรุงเทพ ซึ่งประกอบด้วย
2.1 เรื่องการปฏิรูปการประชุมเอเปค ที่ประเทศไทยได้เป็นผู้ริเริ่มขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีของไทยได้มีหนังสือสอบถามข้อคิดเห็นและข้อแนะนำของผู้นำสมาชิกต่าง ๆ ที่ประสงค์จะให้มีการ ปรับเปลี่ยน อาทิ การจัดรูปแบบการประชุมใหม่ การจัดให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างไม่เป็นทางการในลักษณะที่จะมีส่วนร่วมมากขึ้น (Interactive) และการจัดทำปฎิญญาผู้นำให้มีความกระทัดรัด ซึ่งประเทศไทยได้นำมาปรับใช้ในการการประชุมเอเปค 2003 ซึ่งผู้นำต่าง ๆ พอใจ และได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสทำรายงานเสนอแนวทางเกี่ยวกับการปฏิรูปการประชุมเอเปค ทั้งระยะสั้น เช่นการจัดการประชุมการกำหนดหัวข้อการประชุม การจัดทำปฏิญญาผู้นำที่ชัดเจน และระยะยาวการดำเนินการให้เอเปคไปสู่เป็นหมายโบกอเร็วขึ้น
2.2 เรื่องการป้องกันการคอรัปชั่นซึ่งถือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยได้มีการอ้างถึงพันธกรุงเทพ (Bangkok Commitment) ที่ผู้นำเอเปคได้สั่งการ ไว้ ได้มีการร่าง ๆ Santiago Commitment และ Plan of Action ซึ่งประเทศไทยให้ความสนับสนุนเอกสารทั้งสองฉบับ และสนับสนุนที่จะให้นำแนวทางของอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านคอรัปชั่นขององค์การสหประชาชาติมาเป็นแนวทางปฏิบัติ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านคอรับชั่นขององค์การ สหประชาชาติ ตั้งเดือนธันวาคม 2546 ซึ่งขณะนี้ไทยกำลังพิจารณาเตรียมการให้สัตยาบันที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ และรัฐธรรมนูญของไทยกำหนดให้มีแผนกในศาลาที่จะพิจารณาคดีว่าด้วยความรับผิดทางอาญาของนักการเมือง และการประกาศนโยบายต่อสู้กับคอรับชั่นของนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ในการจัดซื้อและประมูลภาครัฐที่โปร่งใสในลักษณะ E-Procurement และ E-Auction มีการแข่งขันที่เป็นธรรม ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความสนใจและได้บรรจุเป็นหัวข้อสำคัญของเอเปก และได้เสนอให้ผู้นำให้ความเห็นชอบใน Santiago Commitment และ Plan of Action
2.3 เรื่องความมั่นคงของมนุษย์ ได้แก่ การต่อต้านการก่อการร้ายในด้านความมั่นคง ที่กระทบต่อการค้า โดยได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าไทยได้นำระบบและมาตรการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการ ติดตามและตรวจสอบ รวมทั้งป้องกันการก่อการร้ายมาใช้ นอกจากนี้ ไทยยังได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการปราบปรามการให้ทุนสนับสนุนการก่อการร้าย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ยื่นการให้สัตยาบันต่อเลขาธิการสหประชาชาติด้วยตนเองเมื่อเดือนกันยายน 2546 สำหรับเรื่องความมั่นคงของมนุษย์เกี่ยวกับโรคติดต่อร้ายแรง โดยเฉพาะเรื่องโรค HIV/AIDS รัฐมนตรีต่างประเทศได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงความสำเร็จของการจัดประชุมนานาชาติว่าด้วยโรคเอดส์ครั้งที่ 15 และการดำเนินการต่าง ๆ ของไทย และการร่วมกันผลิตยาต่อต้านไวรัสโรคเอดส์ ในราคาถูกเพื่อให้ ผู้ป่วยโรคเอดส์ในภูมิภาคต่าง ๆ ได้ใช้อย่างกว้างขวาง รวมทั้งการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับ ประชาชนว่าสามารถอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโรคเอดส์ได้ เพื่อให้เอเปคเป็นสังคมที่เอื้ออาทรกัน ซึ่งแคนาดา ที่กำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมโรคเอดส์นานาชาติครั้งที่ 16 จะนำแนวคิดของไทยไปเสนอในที่ประชุม และที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคมีมติให้นำข้อเสนอของไทยบรรจุในถ้อยแถลงของรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอให้ผู้นำเห็นชอบต่อไป ส่วนเรื่องไวรัสไข้หวัดนก ซึ่งถือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงโรคหนึ่ง ไทยได้เสนอที่ประชุมว่า โรคติดต่อร้ายแรงดังกล่าวสมาชิกไม่สามารถแก้ปัญหาตามลำพังได้ และประสงค์ที่จะให้สมาชิกทุกเขตเขตเศรษฐกิจมีกลไกร่วมกันแก้ปัญหา และป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงดังกล่าว
2.4 เรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน จะเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีของไทยนำเสนอที่ประชุม เนื่องจากไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่องพลังงาน Bio Fuel ในปีนี้
3. การประชุมเต็มคณะ (Plenary) ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบรายงานของเจ้าหน้าที่อาวุโสในประเด็นที่น่าสนใจ คือ
3.1 เรื่อง Life Science ที่ได้มีการริเริ่มในการประชุมเอเปค 2003 และได้มีการตั้ง คณะทำงานขึ้นมาศึกษาความร่วมมือของเอเปคที่จะร่วมกันนำวิทยาศาสตร์มาพัฒนาคุณภาพชีวิต อาทิ การผลิตยาเพื่อรักษาสุขภาพให้ดีขึ้นตั้งแต่เด็กจนชรา ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบกับแนวทางศึกษา ดังกล่าว
3.2 เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ที่เอเปคได้หยิบยกเรื่อง ดังกล่าวขึ้นมา และไทยได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับ รัฐมนตรีในหัวข้อเรื่องทางเลือกเพื่อการพัฒนา : เศรษฐกิจพอเพียง โดยมีรัฐมนตรีจากประเทศกำลังพัฒนา 21 ประเทศเข้าร่วมในการประชุม และได้อธิบายสรุปเกี่ยวกับปรัชญาและแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และความสำเร็จของโครงการให้ที่ประชุมทราบ ทั้งยังได้แสดงความพร้อมของประเทศไทยที่จะให้ความร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจของเอเปคในเรื่องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งขณะนี้เป็นหัวข้อหนึ่งของเขตเศรษฐกิจเอเปค ซึ่งแม้ว่าจะให้ความสำคัญกับการค้า การลงทุน การอำนวยความสะดวก การเพิ่มพูนประสิทธิภาพของคน แต่ก็ได้มีความสนใจเกี่ยวกับด้านสังคมในประเด็นของโรคติดต่อและการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้สมาชิกที่เป็นประเทศที่กำลังพัฒนาในเอเปคมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ในโอกาสเดียวกันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้สรุปผลการหารือ ทวิภาคีกับนาย Alexander Downer รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย มีประเด็นที่สำคัญ คือ
1. เรื่องความตกลงเขตการค้าเสรี รัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลียแจ้งให้ทราบว่า เรื่องดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาออสเตรเลียแล้ว และจะเริ่มมีผลบังคับใช้ได้ตามกำหนดเวลาในเดือนมกราคม 2548
2. เรื่องการหารือของผู้นำในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่จะมีขึ้นในโอกาสพิเศษครบรอบความสัมพันธ์ 30 ปีออสเตรเลีย - อาเซียน และครบรอบความสัมพันธ์ 29 ปีนิวซีแลนด์ — อาเซียน นับเป็นการพบปะกันครั้งแรกของผู้นำออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์กับผู้นำอาเซียน ซึ่งรัฐมนตรีได้ยกขึ้นหารือกับนาย Downer และเห็นว่าหากจะมีการพบปะหารือในระดับผู้นำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกัน ทำนองเดียวกับที่ผู้นำอาเซียนพบปะหารือกับผู้นำจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรื่องนี้ฝ่ายออสเตรเลียเห็นว่าการพบปะกันในระดับผู้นำอย่างสม่ำเสมอนั้นในหลักการ เป็นเรื่องที่ควรสนับสนุน อย่างไรก็ตามจะต้องหารือเรื่องนี้กับ ผู้นำออสเตรเลียก่อน
3. เกี่ยวกับการสลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย ได้สอบถามความคืบหน้าสถานการณ์ทางภาคใต้ของไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศได้แสดงความขอบคุณรัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลียที่ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวในลักษณะที่มีความเข้าใจเป็นอย่างดี และเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องภายในของไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับการดำเนินการของไทยในเรื่องดังกล่าว ว่าได้มีการตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นไต่สวนข้อเท็จจริง ซึ่งหากพบว่ามีผู้กระทำผิดก็จะลงโทษตามกฏหมาย รวมทั้งการชดเชยค่าเสียหายให้ผู้เสียชีวิตทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นผู้บริสุทธิ์ หรือผู้ก่อความวุ่นวายที่ถูกจับกุม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศออสเตรเลีย เห็นว่ารัฐบาลได้ดำเนินการอย่างดีที่สุดแล้ว และรับที่จะช่วยอธิบายให้ประเทศต่าง ๆ ได้ทราบ และรับจะให้ความร่วมมือทางด้านเทคนิคและข่าวกรองกับไทยอย่างเต็มที่ เพราะถือว่าไทยเป็นมิตรประเทศที่ใกล้ชิด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวานนี้ (18 พฤศจิกายน 2547) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับประเด็นสำคัญของการหารือในการประชุมรัฐมนตรี เอเปค ครั้งที่ 16 อย่างไม่เป็นทางการ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. วันนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศชิลีได้จัดการประชุม Breakfast Meeting เฉพาะรัฐมนตรีต่างประเทศของเอเปค 19 เขตเศรษฐกิจ ยกเว้นฮ่องกง ไต้หวัน เพื่อหารือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ การเมือง และความมั่นคง ตามที่สมาชิกเรียกร้อง ทำนองเดียวกับที่ประเทศไทยเคยจัดในปี 2003 การประชุมครั้งนี้มีข้อสังเกตว่าชิลีได้ใช้โอกาสนี้หาทางออกถึงประเด็นต่าง ๆ ที่ยังเห็นไม่ตรงกัน ในเรื่องเอเปคทั้งที่เป็นการประชุมนอกเอเปค โดยเป็นเรื่องที่ติดค้างอยู่และไม่สามารถตกลงกันได้ในปฏิญญารัฐมนตรี คือประเด็นในเรื่องอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรง (Weapon of Mass Destruction - WMD) MANPAD และการเรียกร้องให้สมาชิกทุกฝ่ายลงนามในพิธีสารเกี่ยวกับการป้องกันนิวเคลียร์ ของทบวงการนิวเคลียร์แห่งสหประชาชาติ - (International Atomic Energy Agency IAEA) อย่างไรก็ดีสมาชิกหลายเขตเศรษฐกิจไม่ประสงค์ให้มีการนำเอาประเด็นความมั่นคงเข้ามาเป็นประเด็นสำคัญใน เอเปคมากเกินไป ซึ่งเรื่องนี้ไทยได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับจุดยืนของประเทศไทยที่ถือว่าเอเปคเป็นเรื่องความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ หากประเด็นความมั่นคงที่กระทบกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจก็น่าจะนำมาพิจารณาได้ซึ่งหลายเขตเศรษฐกิจส่วนมากเห็นด้วยกับแนวทางของไทย โดยเรื่องความมั่นคงด้านการขนส่งทางทะเล และการเดินทางโดยเครื่องบินได้มีการหารือกันในการประชุมเอเปค 2003 ที่ประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ในการหารือประเด็นด้านความมั่นคงที่เกี่ยวกับอาวุธต่อต้านอากาศยานแบบพกพา (Man Portable Anti Defense System - MANPAD) ซึ่งจะเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของสมาชิกที่จะช่วยกันดูแลการส่งออก โดยจะไม่มีการกำหนดรายละเอียดในการดำเนินการต่าง ๆ เป็นเพียงแนวทางที่สมาชิกจะดำเนินการต่อไป ซึ่งที่ประชุมก็ได้ตกลงที่จะระบุเรื่องดังกล่าวไว้ใน ถ้อยแถลงของรัฐมนตรี (Ministerial Statement) สะท้อนให้เห็นว่าเรื่องดังกล่าวไม่มีผลผูกพันเป็นกฎหมาย ไม่มีการกำหนดกรอบเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน และให้เจ้าหน้าที่อาวุโสศึกษาด้านสาระที่สมาชิกจะร่วมมือกันต่อไป โดยให้แนวทางต่าง ๆ ที่จะออกมาสอดคล้องกับแนวางของสหประชาชาติด้วย นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือกันในเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี เป็นต้น
2. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการวาระที่ 2 มีประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ โดยเฉพาะการสานต่อปฏิญญากรุงเทพ ซึ่งประกอบด้วย
2.1 เรื่องการปฏิรูปการประชุมเอเปค ที่ประเทศไทยได้เป็นผู้ริเริ่มขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีของไทยได้มีหนังสือสอบถามข้อคิดเห็นและข้อแนะนำของผู้นำสมาชิกต่าง ๆ ที่ประสงค์จะให้มีการ ปรับเปลี่ยน อาทิ การจัดรูปแบบการประชุมใหม่ การจัดให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างไม่เป็นทางการในลักษณะที่จะมีส่วนร่วมมากขึ้น (Interactive) และการจัดทำปฎิญญาผู้นำให้มีความกระทัดรัด ซึ่งประเทศไทยได้นำมาปรับใช้ในการการประชุมเอเปค 2003 ซึ่งผู้นำต่าง ๆ พอใจ และได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสทำรายงานเสนอแนวทางเกี่ยวกับการปฏิรูปการประชุมเอเปค ทั้งระยะสั้น เช่นการจัดการประชุมการกำหนดหัวข้อการประชุม การจัดทำปฏิญญาผู้นำที่ชัดเจน และระยะยาวการดำเนินการให้เอเปคไปสู่เป็นหมายโบกอเร็วขึ้น
2.2 เรื่องการป้องกันการคอรัปชั่นซึ่งถือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยได้มีการอ้างถึงพันธกรุงเทพ (Bangkok Commitment) ที่ผู้นำเอเปคได้สั่งการ ไว้ ได้มีการร่าง ๆ Santiago Commitment และ Plan of Action ซึ่งประเทศไทยให้ความสนับสนุนเอกสารทั้งสองฉบับ และสนับสนุนที่จะให้นำแนวทางของอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านคอรัปชั่นขององค์การสหประชาชาติมาเป็นแนวทางปฏิบัติ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านคอรับชั่นขององค์การ สหประชาชาติ ตั้งเดือนธันวาคม 2546 ซึ่งขณะนี้ไทยกำลังพิจารณาเตรียมการให้สัตยาบันที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ และรัฐธรรมนูญของไทยกำหนดให้มีแผนกในศาลาที่จะพิจารณาคดีว่าด้วยความรับผิดทางอาญาของนักการเมือง และการประกาศนโยบายต่อสู้กับคอรับชั่นของนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ในการจัดซื้อและประมูลภาครัฐที่โปร่งใสในลักษณะ E-Procurement และ E-Auction มีการแข่งขันที่เป็นธรรม ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความสนใจและได้บรรจุเป็นหัวข้อสำคัญของเอเปก และได้เสนอให้ผู้นำให้ความเห็นชอบใน Santiago Commitment และ Plan of Action
2.3 เรื่องความมั่นคงของมนุษย์ ได้แก่ การต่อต้านการก่อการร้ายในด้านความมั่นคง ที่กระทบต่อการค้า โดยได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าไทยได้นำระบบและมาตรการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการ ติดตามและตรวจสอบ รวมทั้งป้องกันการก่อการร้ายมาใช้ นอกจากนี้ ไทยยังได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการปราบปรามการให้ทุนสนับสนุนการก่อการร้าย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ยื่นการให้สัตยาบันต่อเลขาธิการสหประชาชาติด้วยตนเองเมื่อเดือนกันยายน 2546 สำหรับเรื่องความมั่นคงของมนุษย์เกี่ยวกับโรคติดต่อร้ายแรง โดยเฉพาะเรื่องโรค HIV/AIDS รัฐมนตรีต่างประเทศได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงความสำเร็จของการจัดประชุมนานาชาติว่าด้วยโรคเอดส์ครั้งที่ 15 และการดำเนินการต่าง ๆ ของไทย และการร่วมกันผลิตยาต่อต้านไวรัสโรคเอดส์ ในราคาถูกเพื่อให้ ผู้ป่วยโรคเอดส์ในภูมิภาคต่าง ๆ ได้ใช้อย่างกว้างขวาง รวมทั้งการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับ ประชาชนว่าสามารถอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโรคเอดส์ได้ เพื่อให้เอเปคเป็นสังคมที่เอื้ออาทรกัน ซึ่งแคนาดา ที่กำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมโรคเอดส์นานาชาติครั้งที่ 16 จะนำแนวคิดของไทยไปเสนอในที่ประชุม และที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคมีมติให้นำข้อเสนอของไทยบรรจุในถ้อยแถลงของรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอให้ผู้นำเห็นชอบต่อไป ส่วนเรื่องไวรัสไข้หวัดนก ซึ่งถือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงโรคหนึ่ง ไทยได้เสนอที่ประชุมว่า โรคติดต่อร้ายแรงดังกล่าวสมาชิกไม่สามารถแก้ปัญหาตามลำพังได้ และประสงค์ที่จะให้สมาชิกทุกเขตเขตเศรษฐกิจมีกลไกร่วมกันแก้ปัญหา และป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงดังกล่าว
2.4 เรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน จะเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีของไทยนำเสนอที่ประชุม เนื่องจากไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่องพลังงาน Bio Fuel ในปีนี้
3. การประชุมเต็มคณะ (Plenary) ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบรายงานของเจ้าหน้าที่อาวุโสในประเด็นที่น่าสนใจ คือ
3.1 เรื่อง Life Science ที่ได้มีการริเริ่มในการประชุมเอเปค 2003 และได้มีการตั้ง คณะทำงานขึ้นมาศึกษาความร่วมมือของเอเปคที่จะร่วมกันนำวิทยาศาสตร์มาพัฒนาคุณภาพชีวิต อาทิ การผลิตยาเพื่อรักษาสุขภาพให้ดีขึ้นตั้งแต่เด็กจนชรา ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบกับแนวทางศึกษา ดังกล่าว
3.2 เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ที่เอเปคได้หยิบยกเรื่อง ดังกล่าวขึ้นมา และไทยได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับ รัฐมนตรีในหัวข้อเรื่องทางเลือกเพื่อการพัฒนา : เศรษฐกิจพอเพียง โดยมีรัฐมนตรีจากประเทศกำลังพัฒนา 21 ประเทศเข้าร่วมในการประชุม และได้อธิบายสรุปเกี่ยวกับปรัชญาและแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และความสำเร็จของโครงการให้ที่ประชุมทราบ ทั้งยังได้แสดงความพร้อมของประเทศไทยที่จะให้ความร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจของเอเปคในเรื่องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งขณะนี้เป็นหัวข้อหนึ่งของเขตเศรษฐกิจเอเปค ซึ่งแม้ว่าจะให้ความสำคัญกับการค้า การลงทุน การอำนวยความสะดวก การเพิ่มพูนประสิทธิภาพของคน แต่ก็ได้มีความสนใจเกี่ยวกับด้านสังคมในประเด็นของโรคติดต่อและการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้สมาชิกที่เป็นประเทศที่กำลังพัฒนาในเอเปคมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ในโอกาสเดียวกันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้สรุปผลการหารือ ทวิภาคีกับนาย Alexander Downer รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย มีประเด็นที่สำคัญ คือ
1. เรื่องความตกลงเขตการค้าเสรี รัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลียแจ้งให้ทราบว่า เรื่องดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาออสเตรเลียแล้ว และจะเริ่มมีผลบังคับใช้ได้ตามกำหนดเวลาในเดือนมกราคม 2548
2. เรื่องการหารือของผู้นำในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่จะมีขึ้นในโอกาสพิเศษครบรอบความสัมพันธ์ 30 ปีออสเตรเลีย - อาเซียน และครบรอบความสัมพันธ์ 29 ปีนิวซีแลนด์ — อาเซียน นับเป็นการพบปะกันครั้งแรกของผู้นำออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์กับผู้นำอาเซียน ซึ่งรัฐมนตรีได้ยกขึ้นหารือกับนาย Downer และเห็นว่าหากจะมีการพบปะหารือในระดับผู้นำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกัน ทำนองเดียวกับที่ผู้นำอาเซียนพบปะหารือกับผู้นำจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรื่องนี้ฝ่ายออสเตรเลียเห็นว่าการพบปะกันในระดับผู้นำอย่างสม่ำเสมอนั้นในหลักการ เป็นเรื่องที่ควรสนับสนุน อย่างไรก็ตามจะต้องหารือเรื่องนี้กับ ผู้นำออสเตรเลียก่อน
3. เกี่ยวกับการสลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย ได้สอบถามความคืบหน้าสถานการณ์ทางภาคใต้ของไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศได้แสดงความขอบคุณรัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลียที่ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวในลักษณะที่มีความเข้าใจเป็นอย่างดี และเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องภายในของไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับการดำเนินการของไทยในเรื่องดังกล่าว ว่าได้มีการตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นไต่สวนข้อเท็จจริง ซึ่งหากพบว่ามีผู้กระทำผิดก็จะลงโทษตามกฏหมาย รวมทั้งการชดเชยค่าเสียหายให้ผู้เสียชีวิตทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นผู้บริสุทธิ์ หรือผู้ก่อความวุ่นวายที่ถูกจับกุม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศออสเตรเลีย เห็นว่ารัฐบาลได้ดำเนินการอย่างดีที่สุดแล้ว และรับที่จะช่วยอธิบายให้ประเทศต่าง ๆ ได้ทราบ และรับจะให้ความร่วมมือทางด้านเทคนิคและข่าวกรองกับไทยอย่างเต็มที่ เพราะถือว่าไทยเป็นมิตรประเทศที่ใกล้ชิด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-