1. ประเด็นเศรษฐกิจต่างประเทศ (27 มกราคม 2548 - 22 กุมภาพันธ์ 2548)
เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ G-3 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2547 ขยายตัวต่ำกว่าที่ทางการและนักวิเคราะห์ต่างๆคาดไว้ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและเยอรมนีซึ่งอุปสงค์ในประเทศโดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนยังคงอ่อนแอ ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าเป็นผลมาจากการขาดดุลการค้ามากขึ้น
สหรัฐอเมริกา
เศรษฐกิจสหรัฐฯไตรมาสที่ 4 ปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 3.1(qoq,annualized)(หรือขยายตัวร้อยละ 3.7 yoy)ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.0(qoq,annualized)(หรือขยายตัวร้อยละ 4.0 yoy)เป็นผลจากดุลการค้าที่ขาดดุลมากขึ้น โดยการส่งออกลดลงร้อยละ 3.9(qoq)ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.1(qoq)ขณะที่ตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคแม้ว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 4.6(qoq)จากไตรมาสก่อนแต่เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ 3.9(yoy)เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.6(yoy)ประกอบกับการลงทุนยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มขยายตัวต่อไป ทั้งนี้ แม้ว่าตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 4 จะต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ แต่ตัวเลข GDP ทั้งปี 2547 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ นาย Alan Greenspan ประธาน Fed ได้มีแถลงการณ์(Testiminy)ต่อรัฐสภาสหรัฐฯเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 ถึงภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยมาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ และผลตอบแทนในสินทรัพย์และราคาบ้านที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายของภาคธุรกิจขยายตัวดีสะท้อนจากการลงทุนและการกู้ยืมของภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทต่างๆยังลังเลที่จะเพิ่มการจ้างงานเนื่องจากกังวลถึงต้นทุนการผลิตที่จะเพิ่มขึ้น ทำให้การจ้างงานยังคงฟื้นตัวอย่งช้าๆทั้งนี้ ต้นทุนและราคาขึ้นกับผลิตภาพการผลิต(Oroductivity)ซึ่งมีแนวโน้มชะลอตัวลงส่งผลให้ unit labour cost เริ่มปรับขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้นจะเป็นแรงกดดันเงินเฟ้อหรือไม่ขึ้นกับความสามารถของผู้ผลิตที่จะผลักภาระไปยังผู้บริโภค ทั้งนี้ แนวโน้มเงินเฟ้อขึ้นกับค่าเงินและราคาน้ำมัน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาแม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้นและค่าเงินจะอ่อนค่าลง แต่อัตราเงินเฟ้อยังไม่เร่งตัวมากนัก โดยเฉพาะในส่วนของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสำหรับนโยบายการเงิน อนึ่ง แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนับจากที่ปรับขึ้นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2547 รวม 6 ครั้งแล้ว แต่อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ ทำให้ตลาดมองว่าธนาคารกลางสหรัฐฯยังมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
กลุ่มประเทศยูโร
ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจเบื้องต้น(Preliminary GDP growth)ของกลุ่มประเทศยูโรโซนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2547 ขยายตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 1.6(yoy)หรือร้อยละ 0.2(qoq)เป็นผลจากตัวเลขเบื้องต้นของการขยายตัวในเยอรมัน อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ ที่หดตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า รวมทั้งการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศที่เปราะบาง และการส่งออกสุทธิ(net export)ที่ชะลอลง อย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการยุโรปเชื่อว่าเศรษฐกิจยูโรโซนในระยะต่อไปยังคงมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปใกล้เคียงกับ trend
อนึ่ง ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญในช่วงที่ผ่านมาให้ภาพเศรษฐกิจที่ค่อนข้างขัดแย้ง โดยดัชนีความเชื่อมั่นด้านอุตสาหกรรมล่าสุดในเดือนมกราคม 2548 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ -5 จาก -4 ในเดือนก่อนหน้าขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคทรงตัวอยู่ที่ -13 เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขอัตราการว่างงานของกลุ่มยูโรโซนที่ยังคงทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.9 เป็นเดือนที่ 22 ติดต่อกัน ขณะเดียวกันดัชนี PMI ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการในเดือนมกราคมกลับปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยอยู่ที่ระดับ 51.9 และ 53.4 ตามลำดับ โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าวค่อนข้าง broad base ซึ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
ด้านนโยบายการเงิน จากการประชุมของธนาคารกลางยุโรป(ECB)ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2548 ECB ยังคงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย(Refinancing rate)ไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปีเช่นเดิม ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ เนื่องจาก ECB ยังไม่เห็นแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งเห็นว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อยังคงสอดคล้องกับเป้าหมายเสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลางอยู่ ซึ่งทำให้เชื่อได้ว่า ECB จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับปัจจุบันต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ญี่ปุ่น
เศรษฐกิจญี่ปุนในไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 หดตัวร้อยละ 0.1(qoq)หรือขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6(yoy)ซึ่งเป็นอัตาการขยายตัวที่ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้มาก นอกจากนี้ ทางการได้มีการปรับตัวลดตัวเลขของไตรมาสก่อนหน้า โดยไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 0.3(qoq)จากเดิมที่ขยายตัวร้อยละ 0.1(qoq)และไตรมาสที่ 2 หดตัวร้อยละ 0.2(qoq)จากเดิมที่ขยายตัวร้อบละ 0.4(qoq)ส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคเป็นครั้งที่ 4 นับตั้งแต่ปี 2534
ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นร้อยละ 55 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 0.3(qoq) และการส่งออกสุทธิหดตัวร้อยละ0.2ในไตรมาสที่ 4 ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 โดยขยายตัวร้อยละ 0.7(qoq)ซึ่งเป็นผลจากผลกำไรของภาคธุรกิจที่ปรับตัวดี
ทั้งนี้ ในปี 2547 เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 2.6 ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงครึ่งแรกของปีก่อนจำชะลอตัวในช่วงครึ่งหลังเนื่องจากการส่งออกที่ชะลอตัวลง ประกอบกับการปรับลดสินค้าคงคลังในภาคเทคโนโลยี และการที่เศรษฐกิจประสบภัยธรรมชาติซึ่งส่งผลต่อการบริโภคของเอกชน
อย่างไรก็ดี สำหรับแนวโน้มของเศรษฐกิจในปี 2548 นั้น ทางการและนักวิชาการยังคงเห็นว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงกลางปีจากปัจจัยต่างๆ คือ 1)การผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นหลังจากการปรับตัวของสินค้าคงคลังในด้านเทคโนโลยีสิ้นสุดลง 2)การลงทุนภาคเอกชนที่อยู่ในช่วงค่อยๆปรับตัวดีขึ้น และ 3)การบริโภคภาคเอกชนที่จะฟื้นตัวตามภาวะการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้น
เอเชีย
-ในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2547 เศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียหลายประเทศมีระดับการขยายตัวสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ นอกจากนี้ เศรษฐกิจทั้งปีขยายตัวสูงกว่าหลายๆปีที่ผ่านมา โดยเศรษฐกิจอินโดนีไตรมาสที่ 4 ปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 6.7(yoy)ดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 ซึ่งเป็นระดับการขยายตัวสูงที่สุดของการคิดคำนวณแบบใหม่ที่ใช้ปี 2543 เป็นปีฐาน สำหรับปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวดีมาจากอุปสงค์ภายในประเทศโดยเฉพาะการลงทุนที่ขยายตัวสูง อย่างไรก็ตามการบริโภคภาคเอกชนซึ่งปกติจะเป็นปัจจัยหลักในการผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจกลับมีแนวโน้มชะลอลง ทั้งนี้เศรษฐกิจทั้งปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 5.1(yoy)
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์แม้ว่าจะชะลอลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2547 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.4(yoy)เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.3 แต่เศรษฐกิจทั้งปีที่ขยายตัวร้อยละ 6.1(yoy) ก็เป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2532 ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายชะลอลงมาจากภาคเกษตรกรรมซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาพายุไต้ฝุ่น
อนึ่งประเทศสิงคโปร์ได้มีการประกาศปรับตัวอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายปี 2547 สูงขึ้น จากที่ได้ประกาศไปก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 5.4(yoy)เป็นร้อยละ 6.5 ปัจจัยที่ทำให้อัตราการขยายตัวสูงขึ้นมากมาจากผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวแข็งแกร่งในเดือนธันวาคม โดยเฉพาะผลผลิตด้านเวชศาสตร์ชีวภาพ รวมทั้งภาคบริการในด้านกิจการการค้าที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การบริการด้านโรงแรมและภัตตาคารยังคงหดตัว
-การส่งออกของประเทศกลุ่มเอเชียเหนือขยายตัวสูงขึ้นในช่วงเดือนมกราคม เนื่องจากมีฐานต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าที่วันหยุดตรุษจีนอยู่ในเดือนมกราคม การส่งออกของประเทศจีนเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 42.2(yoy)เทียบกับเดือนธันวาคมที่ขยายตัวร้อยละ 32.7 ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 24 ชะลอลงเล็กน้อยเทียบกับเดือนธันวาคมที่ขยายตัวร้อยละ 24.6 ทำให้จีนเกินดุลการค้าในเดือนมกราคมคิดเป็นมูลค่า 6.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ทั้งนี้ การนำเข้าของจีนที่ชะลอตัวลงส่วนหนึ่งเกิดจากการนำเข้าน้ำมันดิบลดลง โดยนำเข้า 7.8 ล้านตัน มีมูลค่าเท่ากับ 1.85 ล้านบาร์เรลต่อวัน นับเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2546 สำหรับทั้งปี 2547 จีนนำเข้าน้ำมันดิบรวม 122.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 35(yoy)
การส่งออกเดือนมกราคมของใต้หวันขยายร้อยละ 29.7(yoy)เร่งขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 และเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 8 เดือน นอกจากนี้ การนำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นมากถึงร้อยละ 46.7 เนื่องจากมีการนำเข้าน้ำมัน เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรและเหล็กเพิ่มขึ้น ทำให้ขาดดุลการค้า 198.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากจีนและใต้หวันแล้ว การส่งออกของเกาหลีก็ยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าค่าเงินวอนจะแข็งค่าขึ้นโดยเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 18.7(yoy) ชะลอลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 19.5
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเห็นแนวโน้มการชะลอตัวของการส่งออกในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยการส่งออกของฟิลิปปินส์ในเดือนธันวาคมขยายตัวเพียงร้อยละ 2.9(yoy)เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 19.5 ซึ่งการส่งออกชะลอลงทั้งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเสื้อผ้าสำหรับการส่งออกของมาเลเซียก็ชะลอลงเช่นเดียวกันโดยขยายตัวร้อยละ 12.8(yoy)เทียบกับเดือนพฤศจิกายนที่ขยายตัวร้อยละ 16.9 ทั้งนี้ เนื่องจากฐานสูงในปีก่อนหน้า
-อัตราเงินเฟ้อของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเดือนมกราคม เนื่องจากหลายปัจจัยแตกต่างกันออกไป รวมถึงการปรับราคาสินค้าควบคุมของทางการ อัตราเงินเฟ้อเดือนมกราคมของมาเลเซียสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.1 ซึ่งมีปัจจัยสำคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาเครื่องดื่มและยาสูบ อนึ่ง นักวิเคราะห์มีความเห็นว่าการเพิ่มขึ้นของระดับราคาในประเทศมาเลเซียไม่ได้มาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน M2 จากการที่มีเงินทุนไหลเข้าเพื่อเก็งกำไรการปรับค่าเงินริงกิต นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อในเดือนมกราคมของประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ก็ปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยอยู่ที่ร้อยละ 7.3 และ 8.4 ตามลำดับ ปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียสูงขึ้นมาจากราคาอาหารเป็นสำคัญ เนื่องจากผลของเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายบริเวณส่งผลให้อุปทานด้านอาหารลดลง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียจะมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไปจากอุปสงค์ในประเทศที่อยู่ในภาวะแข็งแกร่ง รวมทั้งจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจากการลดการอุดหนุนราคาน้ำมันของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อของจีนและไต้หวันได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อของจีนเดือนมกราคมลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.4 ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ตามราคาอาหารที่ปรับตัวลดลง กอปรกับเป็นผลของฐานจากวันตรุษจีน นอกจากนี้ ราคาสินค้าผู้ผลิตของจีนก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ในเดือนมกราคมชะลอลงจากร้อยละ 7.1 ในเดือนก่อนหน้า โดยระดับราคาน้ำมันและเหล็กปรับตัวลดลง ในขณะที่ราคาถ่านหินยังสูงขึ้นต่อเนื่อง
-ค่าเงินในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่โน้มแข็งค่าขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าในปี 2548 เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียจะยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ค่าเงินเปโซของฟิลิปปินส์ค่อนข้างผันผวน ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody’s Investors Service ซึ่งได้ปรับลดระดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินตราต่างประเทศของฟิลิปปินส์ลง 2 อันดับจาก Ba2 เป็น B1 ทั้งนี้ได้คง outlook ไว้ที่ “stable” สำหรับเหตุผลในการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือมาจากความกังวลในเรื่องหนี้ภาครัฐ และฐานะหนี้ต่างประเทศของฟิลิปปินส์ที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากฟิลิปปินส์กู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนต่างประเทศในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงเพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ซึ่งส่งผลให้ความเปราะบางที่มีต่อความผันผวนด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการเมืองเพิ่มมากขึ้นด้วย
-สำหรับนโยบายการคลังของประเทศเอเชียกระทรวงการคลังของอินโดนีเซียรายงานว่าอินโดนีเซียจะขาดดุลงบประมาณมากขึ้น เนื่องจากมีค้าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการอุดหนุนราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าการขาดดุลงบประมาณในปีนี้จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.3 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขาดดุลร้อยละ 0.7
ทางด้านสิงคโปร์มีการประกาศการดำเนินนโยบายการคลังที่เข้มงวดมากขึ้น โดยคาดว่าในปีงบประมาณ 2548/2549 จะเกินงบดุลประมาณคิดเป็นมูลค่า 960 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.5 ต่อ GDP เทียบกับปีงบประมาณ 2547/2548 ที่เกินดุล 160 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ สำหรับการดำเนินนโยบายจะมุ่งเน้นไปที่การปรับโครงสร้างของเมือง โดยต้องการพัฒนาให้เป็นเมืองใหญ่ของโลก(Global City) เนื่องจากสิงคโปร์สูญเสียความได้เปรียบทางด้านการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จึงต้องการผันแปรตัวเองให้เป็นศูนย์กลางทางด้านนวัตกรรม การค้าระหว่างประเทศ การขนส่ง ศิลปะและอื่นๆ เหมือนกับเมืองใหญ่ของโลกแห่งอื่น เช่นลอนดอน นอกจากนี้ เพื่อเป็นการดึงดูดบริษัทข้ามชาติให้เข้ามาลงทุนในสิงคโปร์ จึงได้ปรับลดภาษีรายได้ลงจากร้อยละ 22 เป็นร้อยละ 20 นอกจากนี้ ยังมีแผนกระตุ้นการให้บริการด้านการเงินและการท่องเที่ยวอีกด้วย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ G-3 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2547 ขยายตัวต่ำกว่าที่ทางการและนักวิเคราะห์ต่างๆคาดไว้ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและเยอรมนีซึ่งอุปสงค์ในประเทศโดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนยังคงอ่อนแอ ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าเป็นผลมาจากการขาดดุลการค้ามากขึ้น
สหรัฐอเมริกา
เศรษฐกิจสหรัฐฯไตรมาสที่ 4 ปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 3.1(qoq,annualized)(หรือขยายตัวร้อยละ 3.7 yoy)ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.0(qoq,annualized)(หรือขยายตัวร้อยละ 4.0 yoy)เป็นผลจากดุลการค้าที่ขาดดุลมากขึ้น โดยการส่งออกลดลงร้อยละ 3.9(qoq)ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.1(qoq)ขณะที่ตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคแม้ว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 4.6(qoq)จากไตรมาสก่อนแต่เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ 3.9(yoy)เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.6(yoy)ประกอบกับการลงทุนยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มขยายตัวต่อไป ทั้งนี้ แม้ว่าตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 4 จะต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ แต่ตัวเลข GDP ทั้งปี 2547 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ นาย Alan Greenspan ประธาน Fed ได้มีแถลงการณ์(Testiminy)ต่อรัฐสภาสหรัฐฯเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 ถึงภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยมาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ และผลตอบแทนในสินทรัพย์และราคาบ้านที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายของภาคธุรกิจขยายตัวดีสะท้อนจากการลงทุนและการกู้ยืมของภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทต่างๆยังลังเลที่จะเพิ่มการจ้างงานเนื่องจากกังวลถึงต้นทุนการผลิตที่จะเพิ่มขึ้น ทำให้การจ้างงานยังคงฟื้นตัวอย่งช้าๆทั้งนี้ ต้นทุนและราคาขึ้นกับผลิตภาพการผลิต(Oroductivity)ซึ่งมีแนวโน้มชะลอตัวลงส่งผลให้ unit labour cost เริ่มปรับขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้นจะเป็นแรงกดดันเงินเฟ้อหรือไม่ขึ้นกับความสามารถของผู้ผลิตที่จะผลักภาระไปยังผู้บริโภค ทั้งนี้ แนวโน้มเงินเฟ้อขึ้นกับค่าเงินและราคาน้ำมัน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาแม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้นและค่าเงินจะอ่อนค่าลง แต่อัตราเงินเฟ้อยังไม่เร่งตัวมากนัก โดยเฉพาะในส่วนของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสำหรับนโยบายการเงิน อนึ่ง แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนับจากที่ปรับขึ้นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2547 รวม 6 ครั้งแล้ว แต่อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ ทำให้ตลาดมองว่าธนาคารกลางสหรัฐฯยังมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
กลุ่มประเทศยูโร
ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจเบื้องต้น(Preliminary GDP growth)ของกลุ่มประเทศยูโรโซนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2547 ขยายตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 1.6(yoy)หรือร้อยละ 0.2(qoq)เป็นผลจากตัวเลขเบื้องต้นของการขยายตัวในเยอรมัน อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ ที่หดตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า รวมทั้งการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศที่เปราะบาง และการส่งออกสุทธิ(net export)ที่ชะลอลง อย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการยุโรปเชื่อว่าเศรษฐกิจยูโรโซนในระยะต่อไปยังคงมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปใกล้เคียงกับ trend
อนึ่ง ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญในช่วงที่ผ่านมาให้ภาพเศรษฐกิจที่ค่อนข้างขัดแย้ง โดยดัชนีความเชื่อมั่นด้านอุตสาหกรรมล่าสุดในเดือนมกราคม 2548 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ -5 จาก -4 ในเดือนก่อนหน้าขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคทรงตัวอยู่ที่ -13 เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขอัตราการว่างงานของกลุ่มยูโรโซนที่ยังคงทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.9 เป็นเดือนที่ 22 ติดต่อกัน ขณะเดียวกันดัชนี PMI ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการในเดือนมกราคมกลับปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยอยู่ที่ระดับ 51.9 และ 53.4 ตามลำดับ โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าวค่อนข้าง broad base ซึ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
ด้านนโยบายการเงิน จากการประชุมของธนาคารกลางยุโรป(ECB)ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2548 ECB ยังคงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย(Refinancing rate)ไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปีเช่นเดิม ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ เนื่องจาก ECB ยังไม่เห็นแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งเห็นว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อยังคงสอดคล้องกับเป้าหมายเสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลางอยู่ ซึ่งทำให้เชื่อได้ว่า ECB จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับปัจจุบันต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ญี่ปุ่น
เศรษฐกิจญี่ปุนในไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 หดตัวร้อยละ 0.1(qoq)หรือขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6(yoy)ซึ่งเป็นอัตาการขยายตัวที่ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้มาก นอกจากนี้ ทางการได้มีการปรับตัวลดตัวเลขของไตรมาสก่อนหน้า โดยไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 0.3(qoq)จากเดิมที่ขยายตัวร้อยละ 0.1(qoq)และไตรมาสที่ 2 หดตัวร้อยละ 0.2(qoq)จากเดิมที่ขยายตัวร้อบละ 0.4(qoq)ส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคเป็นครั้งที่ 4 นับตั้งแต่ปี 2534
ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นร้อยละ 55 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 0.3(qoq) และการส่งออกสุทธิหดตัวร้อยละ0.2ในไตรมาสที่ 4 ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 โดยขยายตัวร้อยละ 0.7(qoq)ซึ่งเป็นผลจากผลกำไรของภาคธุรกิจที่ปรับตัวดี
ทั้งนี้ ในปี 2547 เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 2.6 ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงครึ่งแรกของปีก่อนจำชะลอตัวในช่วงครึ่งหลังเนื่องจากการส่งออกที่ชะลอตัวลง ประกอบกับการปรับลดสินค้าคงคลังในภาคเทคโนโลยี และการที่เศรษฐกิจประสบภัยธรรมชาติซึ่งส่งผลต่อการบริโภคของเอกชน
อย่างไรก็ดี สำหรับแนวโน้มของเศรษฐกิจในปี 2548 นั้น ทางการและนักวิชาการยังคงเห็นว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงกลางปีจากปัจจัยต่างๆ คือ 1)การผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นหลังจากการปรับตัวของสินค้าคงคลังในด้านเทคโนโลยีสิ้นสุดลง 2)การลงทุนภาคเอกชนที่อยู่ในช่วงค่อยๆปรับตัวดีขึ้น และ 3)การบริโภคภาคเอกชนที่จะฟื้นตัวตามภาวะการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้น
เอเชีย
-ในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2547 เศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียหลายประเทศมีระดับการขยายตัวสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ นอกจากนี้ เศรษฐกิจทั้งปีขยายตัวสูงกว่าหลายๆปีที่ผ่านมา โดยเศรษฐกิจอินโดนีไตรมาสที่ 4 ปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 6.7(yoy)ดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 ซึ่งเป็นระดับการขยายตัวสูงที่สุดของการคิดคำนวณแบบใหม่ที่ใช้ปี 2543 เป็นปีฐาน สำหรับปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวดีมาจากอุปสงค์ภายในประเทศโดยเฉพาะการลงทุนที่ขยายตัวสูง อย่างไรก็ตามการบริโภคภาคเอกชนซึ่งปกติจะเป็นปัจจัยหลักในการผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจกลับมีแนวโน้มชะลอลง ทั้งนี้เศรษฐกิจทั้งปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 5.1(yoy)
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์แม้ว่าจะชะลอลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2547 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.4(yoy)เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.3 แต่เศรษฐกิจทั้งปีที่ขยายตัวร้อยละ 6.1(yoy) ก็เป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2532 ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายชะลอลงมาจากภาคเกษตรกรรมซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาพายุไต้ฝุ่น
อนึ่งประเทศสิงคโปร์ได้มีการประกาศปรับตัวอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายปี 2547 สูงขึ้น จากที่ได้ประกาศไปก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 5.4(yoy)เป็นร้อยละ 6.5 ปัจจัยที่ทำให้อัตราการขยายตัวสูงขึ้นมากมาจากผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวแข็งแกร่งในเดือนธันวาคม โดยเฉพาะผลผลิตด้านเวชศาสตร์ชีวภาพ รวมทั้งภาคบริการในด้านกิจการการค้าที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การบริการด้านโรงแรมและภัตตาคารยังคงหดตัว
-การส่งออกของประเทศกลุ่มเอเชียเหนือขยายตัวสูงขึ้นในช่วงเดือนมกราคม เนื่องจากมีฐานต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าที่วันหยุดตรุษจีนอยู่ในเดือนมกราคม การส่งออกของประเทศจีนเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 42.2(yoy)เทียบกับเดือนธันวาคมที่ขยายตัวร้อยละ 32.7 ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 24 ชะลอลงเล็กน้อยเทียบกับเดือนธันวาคมที่ขยายตัวร้อยละ 24.6 ทำให้จีนเกินดุลการค้าในเดือนมกราคมคิดเป็นมูลค่า 6.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ทั้งนี้ การนำเข้าของจีนที่ชะลอตัวลงส่วนหนึ่งเกิดจากการนำเข้าน้ำมันดิบลดลง โดยนำเข้า 7.8 ล้านตัน มีมูลค่าเท่ากับ 1.85 ล้านบาร์เรลต่อวัน นับเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2546 สำหรับทั้งปี 2547 จีนนำเข้าน้ำมันดิบรวม 122.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 35(yoy)
การส่งออกเดือนมกราคมของใต้หวันขยายร้อยละ 29.7(yoy)เร่งขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 และเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 8 เดือน นอกจากนี้ การนำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นมากถึงร้อยละ 46.7 เนื่องจากมีการนำเข้าน้ำมัน เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรและเหล็กเพิ่มขึ้น ทำให้ขาดดุลการค้า 198.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากจีนและใต้หวันแล้ว การส่งออกของเกาหลีก็ยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าค่าเงินวอนจะแข็งค่าขึ้นโดยเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 18.7(yoy) ชะลอลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 19.5
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเห็นแนวโน้มการชะลอตัวของการส่งออกในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยการส่งออกของฟิลิปปินส์ในเดือนธันวาคมขยายตัวเพียงร้อยละ 2.9(yoy)เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 19.5 ซึ่งการส่งออกชะลอลงทั้งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเสื้อผ้าสำหรับการส่งออกของมาเลเซียก็ชะลอลงเช่นเดียวกันโดยขยายตัวร้อยละ 12.8(yoy)เทียบกับเดือนพฤศจิกายนที่ขยายตัวร้อยละ 16.9 ทั้งนี้ เนื่องจากฐานสูงในปีก่อนหน้า
-อัตราเงินเฟ้อของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเดือนมกราคม เนื่องจากหลายปัจจัยแตกต่างกันออกไป รวมถึงการปรับราคาสินค้าควบคุมของทางการ อัตราเงินเฟ้อเดือนมกราคมของมาเลเซียสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.1 ซึ่งมีปัจจัยสำคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาเครื่องดื่มและยาสูบ อนึ่ง นักวิเคราะห์มีความเห็นว่าการเพิ่มขึ้นของระดับราคาในประเทศมาเลเซียไม่ได้มาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน M2 จากการที่มีเงินทุนไหลเข้าเพื่อเก็งกำไรการปรับค่าเงินริงกิต นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อในเดือนมกราคมของประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ก็ปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยอยู่ที่ร้อยละ 7.3 และ 8.4 ตามลำดับ ปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียสูงขึ้นมาจากราคาอาหารเป็นสำคัญ เนื่องจากผลของเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายบริเวณส่งผลให้อุปทานด้านอาหารลดลง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียจะมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไปจากอุปสงค์ในประเทศที่อยู่ในภาวะแข็งแกร่ง รวมทั้งจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจากการลดการอุดหนุนราคาน้ำมันของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อของจีนและไต้หวันได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อของจีนเดือนมกราคมลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.4 ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ตามราคาอาหารที่ปรับตัวลดลง กอปรกับเป็นผลของฐานจากวันตรุษจีน นอกจากนี้ ราคาสินค้าผู้ผลิตของจีนก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ในเดือนมกราคมชะลอลงจากร้อยละ 7.1 ในเดือนก่อนหน้า โดยระดับราคาน้ำมันและเหล็กปรับตัวลดลง ในขณะที่ราคาถ่านหินยังสูงขึ้นต่อเนื่อง
-ค่าเงินในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่โน้มแข็งค่าขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าในปี 2548 เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียจะยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ค่าเงินเปโซของฟิลิปปินส์ค่อนข้างผันผวน ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody’s Investors Service ซึ่งได้ปรับลดระดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินตราต่างประเทศของฟิลิปปินส์ลง 2 อันดับจาก Ba2 เป็น B1 ทั้งนี้ได้คง outlook ไว้ที่ “stable” สำหรับเหตุผลในการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือมาจากความกังวลในเรื่องหนี้ภาครัฐ และฐานะหนี้ต่างประเทศของฟิลิปปินส์ที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากฟิลิปปินส์กู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนต่างประเทศในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงเพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ซึ่งส่งผลให้ความเปราะบางที่มีต่อความผันผวนด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการเมืองเพิ่มมากขึ้นด้วย
-สำหรับนโยบายการคลังของประเทศเอเชียกระทรวงการคลังของอินโดนีเซียรายงานว่าอินโดนีเซียจะขาดดุลงบประมาณมากขึ้น เนื่องจากมีค้าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการอุดหนุนราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าการขาดดุลงบประมาณในปีนี้จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.3 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขาดดุลร้อยละ 0.7
ทางด้านสิงคโปร์มีการประกาศการดำเนินนโยบายการคลังที่เข้มงวดมากขึ้น โดยคาดว่าในปีงบประมาณ 2548/2549 จะเกินงบดุลประมาณคิดเป็นมูลค่า 960 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.5 ต่อ GDP เทียบกับปีงบประมาณ 2547/2548 ที่เกินดุล 160 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ สำหรับการดำเนินนโยบายจะมุ่งเน้นไปที่การปรับโครงสร้างของเมือง โดยต้องการพัฒนาให้เป็นเมืองใหญ่ของโลก(Global City) เนื่องจากสิงคโปร์สูญเสียความได้เปรียบทางด้านการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จึงต้องการผันแปรตัวเองให้เป็นศูนย์กลางทางด้านนวัตกรรม การค้าระหว่างประเทศ การขนส่ง ศิลปะและอื่นๆ เหมือนกับเมืองใหญ่ของโลกแห่งอื่น เช่นลอนดอน นอกจากนี้ เพื่อเป็นการดึงดูดบริษัทข้ามชาติให้เข้ามาลงทุนในสิงคโปร์ จึงได้ปรับลดภาษีรายได้ลงจากร้อยละ 22 เป็นร้อยละ 20 นอกจากนี้ ยังมีแผนกระตุ้นการให้บริการด้านการเงินและการท่องเที่ยวอีกด้วย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--