กรุงเทพ--23 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวานนี้ (22 พฤศจิกายน 2547) นายกิตติ วะสีนนท์ อธิบดีกรมอาเซียน ได้บรรยายสรุปเรื่องการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 และการประชุมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2547 ณ เวียงจันทน์ โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไปร่วมการประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. กำหนดการประชุม
วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน 2547
ค่ำ - การหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาหารค่ำของเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) และเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจ (SEOM) - จัดแยก
วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2547
เช้า - การประชุม SOM และ SEOM
บ่าย - การประชุม Joint Consultative Meeting เพื่อเตรียมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 และการประชุมสุดยอดอื่นๆ รอยืนยัน
วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2547
เช้า-บ่าย - การประชุม SOM+3 และ +1 (กับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย)
19.00-21.00 น. - การหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาหารค่ำของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน(AMM) และรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) - จัดแยก
วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2547
08.30-10.00 น. - การประชุม AMM
10.15-11.45 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน
13.30-15.30 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ญี่ปุ่น
15.15-16.45 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-เกาหลีใต้
17.00-18.30 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-อินเดีย
วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2547
12.30-14.00 น. - อาหารกลางวันของผู้นำอาเซียนด้านธุรกิจและการลงทุน (ASEAN Business and Investment Summit Lunch)
19.00-21.30 น. - การหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาหารค่ำของผู้นำอาเซียน
วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2547
08.30-11.15 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10
11.20-12.20 น. - ผู้นำอาเซียนรับฟังรายงานของผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business and Advisory Council — ABAC)
14.30-16.30 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้)
16.45-18.15 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน
18.20-18.50 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-รัสเซีย
20.00-22.30 น. - งาน Gala Dinner
วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 2547
08.30-10.00 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น
10.15-11.45 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน-เกาหลีใต้
13.45-15.15 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย
15.35-16.00 น. - พิธีปล่อยรถการแข่งขันรถยนต์อาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 1 (First ASEAN-India Motor Car Rally Flag-Off Ceremony)
16.20-18.20 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ สมัยพิเศษ (ASEAN-Australia and New Zealand Commemorative Summit)
18.50-19.20 น. - การแถลงข่าวโดยประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10
2. Theme ของการประชุม
10th ASEAN Summit “Advancing a Secure and Dynamic ASEAN Family through
Greater Solidarity, Economic Integration and Social Progress”
(ครอบครัวอาเซียนที่มั่นคงและมีพลวัตร : ก้าวหน้าไปด้วยสมานฉันท์
การรวมตัวทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางสังคม)
ASEAN+3 Summit “Strengthening ASEAN+3 Cooperation”
ASEAN+China Summit “Deepening ASEAN-China Strategic Partnership”
ASEAN+Japan Summit “Strengthening the Dynamic and Enduring ASEAN-Japan Partnership”
ASEAN+ROK Summit “Deepening ASEAN-ROK Relationship”
ASEAN+India Summit “Deepening ASEAN-India Partnership”
ASEAN-Australia and New Zealand Commemorative Summit “Deepening ASEAN-Australia and New Zealand Relationship”
3. เอกสารสำคัญที่จะมีการลงนาม/รับรองโดยผู้นำ
3.1 เอกสารที่จะมีการลงนาม
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2547
- Vientiane Action Programme (แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์) เป็นแผนปฏิบัติการระยะ 6 ปี ครอบคลุมความร่วมมือในทุกด้านทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม)
- ASEAN Framework Agreement for the Integration of Priority Sectors (กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญ)
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547
- Joint Declaration on Comprehensive Cooperation Partnership between ASEAN and Republic of Korea (ปฏิญญาร่วมว่าด้วยความร่วมมือและความเห็นหุ้นส่วนแบบบูรณาการระหว่างอาเซียนและเกาหลีใต้)
- ASEAN-India Partnership 2020 for Peace, Progress and Shared Prosperity (เอกสารความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียน-อินเดีย เพื่อสันติภาพ ความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ปี ค.ศ. 2020)
- Joint Declaration of Leaders at the ASEAN-Australia and New Zealand Commemorative Summit (ปฏิญญาร่วมของผู้นำในการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ สมัยพิเศษ)
3.2 เอกสารที่จะมีการรับรอง
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2547
- ASEAN Security Community and ASEAN Socio-cultural Community Plans of Action (แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน และแผนปฏิบัติการประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน)
- Plan of Action to Implement the Joint Declaration on ASEAN-China Strategic Partnership for Peace and Prosperity (แผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามปฏิญญาร่วมอาเซียน-จีนว่าด้วยหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เพื่อสันติภาพและความมั่งคั่ง)
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547
- ASEAN-India Plan of Action to Implement ASEAN-India Partnership 2020 for Peace, Progress and Shared Prosperity (แผนปฏิบัติการอาเซียน-อินเดีย เพื่อดำเนินการตามเอกสารความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียน-อินเดีย เพื่อสันติภาพ ความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ปี ค.ศ. 2020)
- ASEAN-Japan Joint Declaration for Cooperation on the Fight Against International Terrorism (ปฏิญญาร่วมอาเซียน-ญี่ปุ่นว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายสากล - รอการยืนยันว่าจะรับรองโดยผู้นำหรือลงนามโดยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง)
4. เอกสารที่จะมีการลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศ
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2547
- Instrument of Extension of the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia by ASEAN and Instrument of Accession to the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia by Republic of Korea (สารขยายจำนวนภาคีของสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอาเซียน และภาคยานุวัติสารสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้)
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2547
- Instrument of Extension of the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia by ASEAN and Instrument of Accession to the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia by Russia (สารขยายจำนวนภาคีของสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอาเซียน และภาคยานุวัติสารสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของรัสเซีย)
ประโยชน์ที่ไทยคาดว่าจะได้รับ
- การประชุมครั้งนี้จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ของประเทศสมาชิกอาเซียนและเป็นโอกาสให้ผู้นำได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้งแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ที่จะช่วยเร่งรัดการรวมตัวของอาเซียนทั้ง 3 เสาหลัก ให้เป็นไปโดยรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้อาเซียนพร้อมและสามารถเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง/ความท้าทายต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในโลกได้อย่างทันเหตุการณ์ นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสที่อาเซียนจะร่วมกับประเทศคู่เจรจาในการกำหนดยุทธศาสตร์และทิศทางความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาเพื่อกระชับความสัมพันธ์ โดยเฉพาะการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกัน และให้ประเทศคู่เจรจาเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการช่วยลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยใช้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือต่างๆ เช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ตลอดจนกลไกอื่นๆ ในภูมิภาค
- ไทยเห็นว่านอกจากจะสร้างความเข้มแข็งภายในกลุ่มแล้ว อาเซียนจะต้องขยายความร่วมมือไปยังเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียทั้งหมด โดยอาเซียนที่มีความเข้มแข็งสามารถเป็นแกนนำในการสร้างความร่วมมือที่ดีในภูมิภาคได้ เนื่องจากอาเซียนเป็นกลุ่มความร่วมมือที่ชัดเจนที่สุดในเอเชีย
- จะเป็นโอกาสให้อาเซียนได้ทบทวนการดำเนินการที่เป็นผลมาจากการประชุมสุดยอดครั้งที่แล้วที่บาหลี อินโดนีเซีย รวมทั้งทบทวนกลไกการทำงานต่างๆ ของอาเซียน เพื่อให้อาเซียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิผล
- นับเป็นครั้งแรกที่อาเซียนจะมีการประชุมระดับผู้นำกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในลักษณะเดียวกับที่มีกับญี่ปุ่น ซึ่งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับทั้งสองประเทศซึ่งมีความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์กับอาเซียน
- จะเป็นโอกาสให้มีการกำหนดท่าทีและยุทธศาสตร์ร่วมกันในกรอบอาเซียน+3 เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกในอนาคต สำหรับความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับอินเดียและรัสเซียนั้น ไทยถือว่าจะมีส่วนช่วยให้อาเซียนมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นในโอกาสการประชุมครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะพบหารือทวิภาคีกับผู้นำจีน พม่า และนิวซีแลนด์ และ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวานนี้ (22 พฤศจิกายน 2547) นายกิตติ วะสีนนท์ อธิบดีกรมอาเซียน ได้บรรยายสรุปเรื่องการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 และการประชุมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2547 ณ เวียงจันทน์ โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไปร่วมการประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. กำหนดการประชุม
วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน 2547
ค่ำ - การหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาหารค่ำของเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) และเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจ (SEOM) - จัดแยก
วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2547
เช้า - การประชุม SOM และ SEOM
บ่าย - การประชุม Joint Consultative Meeting เพื่อเตรียมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 และการประชุมสุดยอดอื่นๆ รอยืนยัน
วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2547
เช้า-บ่าย - การประชุม SOM+3 และ +1 (กับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย)
19.00-21.00 น. - การหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาหารค่ำของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน(AMM) และรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) - จัดแยก
วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2547
08.30-10.00 น. - การประชุม AMM
10.15-11.45 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน
13.30-15.30 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ญี่ปุ่น
15.15-16.45 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-เกาหลีใต้
17.00-18.30 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-อินเดีย
วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2547
12.30-14.00 น. - อาหารกลางวันของผู้นำอาเซียนด้านธุรกิจและการลงทุน (ASEAN Business and Investment Summit Lunch)
19.00-21.30 น. - การหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาหารค่ำของผู้นำอาเซียน
วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2547
08.30-11.15 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10
11.20-12.20 น. - ผู้นำอาเซียนรับฟังรายงานของผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business and Advisory Council — ABAC)
14.30-16.30 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้)
16.45-18.15 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน
18.20-18.50 น. - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-รัสเซีย
20.00-22.30 น. - งาน Gala Dinner
วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 2547
08.30-10.00 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น
10.15-11.45 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน-เกาหลีใต้
13.45-15.15 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย
15.35-16.00 น. - พิธีปล่อยรถการแข่งขันรถยนต์อาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 1 (First ASEAN-India Motor Car Rally Flag-Off Ceremony)
16.20-18.20 น. - การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ สมัยพิเศษ (ASEAN-Australia and New Zealand Commemorative Summit)
18.50-19.20 น. - การแถลงข่าวโดยประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10
2. Theme ของการประชุม
10th ASEAN Summit “Advancing a Secure and Dynamic ASEAN Family through
Greater Solidarity, Economic Integration and Social Progress”
(ครอบครัวอาเซียนที่มั่นคงและมีพลวัตร : ก้าวหน้าไปด้วยสมานฉันท์
การรวมตัวทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางสังคม)
ASEAN+3 Summit “Strengthening ASEAN+3 Cooperation”
ASEAN+China Summit “Deepening ASEAN-China Strategic Partnership”
ASEAN+Japan Summit “Strengthening the Dynamic and Enduring ASEAN-Japan Partnership”
ASEAN+ROK Summit “Deepening ASEAN-ROK Relationship”
ASEAN+India Summit “Deepening ASEAN-India Partnership”
ASEAN-Australia and New Zealand Commemorative Summit “Deepening ASEAN-Australia and New Zealand Relationship”
3. เอกสารสำคัญที่จะมีการลงนาม/รับรองโดยผู้นำ
3.1 เอกสารที่จะมีการลงนาม
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2547
- Vientiane Action Programme (แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์) เป็นแผนปฏิบัติการระยะ 6 ปี ครอบคลุมความร่วมมือในทุกด้านทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม)
- ASEAN Framework Agreement for the Integration of Priority Sectors (กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญ)
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547
- Joint Declaration on Comprehensive Cooperation Partnership between ASEAN and Republic of Korea (ปฏิญญาร่วมว่าด้วยความร่วมมือและความเห็นหุ้นส่วนแบบบูรณาการระหว่างอาเซียนและเกาหลีใต้)
- ASEAN-India Partnership 2020 for Peace, Progress and Shared Prosperity (เอกสารความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียน-อินเดีย เพื่อสันติภาพ ความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ปี ค.ศ. 2020)
- Joint Declaration of Leaders at the ASEAN-Australia and New Zealand Commemorative Summit (ปฏิญญาร่วมของผู้นำในการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ สมัยพิเศษ)
3.2 เอกสารที่จะมีการรับรอง
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2547
- ASEAN Security Community and ASEAN Socio-cultural Community Plans of Action (แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน และแผนปฏิบัติการประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน)
- Plan of Action to Implement the Joint Declaration on ASEAN-China Strategic Partnership for Peace and Prosperity (แผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามปฏิญญาร่วมอาเซียน-จีนว่าด้วยหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เพื่อสันติภาพและความมั่งคั่ง)
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547
- ASEAN-India Plan of Action to Implement ASEAN-India Partnership 2020 for Peace, Progress and Shared Prosperity (แผนปฏิบัติการอาเซียน-อินเดีย เพื่อดำเนินการตามเอกสารความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียน-อินเดีย เพื่อสันติภาพ ความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ปี ค.ศ. 2020)
- ASEAN-Japan Joint Declaration for Cooperation on the Fight Against International Terrorism (ปฏิญญาร่วมอาเซียน-ญี่ปุ่นว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายสากล - รอการยืนยันว่าจะรับรองโดยผู้นำหรือลงนามโดยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง)
4. เอกสารที่จะมีการลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศ
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2547
- Instrument of Extension of the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia by ASEAN and Instrument of Accession to the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia by Republic of Korea (สารขยายจำนวนภาคีของสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอาเซียน และภาคยานุวัติสารสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้)
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2547
- Instrument of Extension of the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia by ASEAN and Instrument of Accession to the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia by Russia (สารขยายจำนวนภาคีของสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอาเซียน และภาคยานุวัติสารสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของรัสเซีย)
ประโยชน์ที่ไทยคาดว่าจะได้รับ
- การประชุมครั้งนี้จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ของประเทศสมาชิกอาเซียนและเป็นโอกาสให้ผู้นำได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้งแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ที่จะช่วยเร่งรัดการรวมตัวของอาเซียนทั้ง 3 เสาหลัก ให้เป็นไปโดยรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้อาเซียนพร้อมและสามารถเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง/ความท้าทายต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในโลกได้อย่างทันเหตุการณ์ นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสที่อาเซียนจะร่วมกับประเทศคู่เจรจาในการกำหนดยุทธศาสตร์และทิศทางความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาเพื่อกระชับความสัมพันธ์ โดยเฉพาะการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกัน และให้ประเทศคู่เจรจาเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการช่วยลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยใช้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือต่างๆ เช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ตลอดจนกลไกอื่นๆ ในภูมิภาค
- ไทยเห็นว่านอกจากจะสร้างความเข้มแข็งภายในกลุ่มแล้ว อาเซียนจะต้องขยายความร่วมมือไปยังเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียทั้งหมด โดยอาเซียนที่มีความเข้มแข็งสามารถเป็นแกนนำในการสร้างความร่วมมือที่ดีในภูมิภาคได้ เนื่องจากอาเซียนเป็นกลุ่มความร่วมมือที่ชัดเจนที่สุดในเอเชีย
- จะเป็นโอกาสให้อาเซียนได้ทบทวนการดำเนินการที่เป็นผลมาจากการประชุมสุดยอดครั้งที่แล้วที่บาหลี อินโดนีเซีย รวมทั้งทบทวนกลไกการทำงานต่างๆ ของอาเซียน เพื่อให้อาเซียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิผล
- นับเป็นครั้งแรกที่อาเซียนจะมีการประชุมระดับผู้นำกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในลักษณะเดียวกับที่มีกับญี่ปุ่น ซึ่งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับทั้งสองประเทศซึ่งมีความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์กับอาเซียน
- จะเป็นโอกาสให้มีการกำหนดท่าทีและยุทธศาสตร์ร่วมกันในกรอบอาเซียน+3 เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกในอนาคต สำหรับความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับอินเดียและรัสเซียนั้น ไทยถือว่าจะมีส่วนช่วยให้อาเซียนมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นในโอกาสการประชุมครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะพบหารือทวิภาคีกับผู้นำจีน พม่า และนิวซีแลนด์ และ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-