ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ออกใช้ธนบัตร 100 บาทแบบใหม่ในวันที่ 25 พ.ย.นี้ ผอส.สายออกบัตรธนาคาร
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.จะนำธนบัตรชนิด 100 บาทแบบปรับปรุง ออกใช้ในวันที่
25 พ.ย.นี้ โดยธนบัตรแบบใหม่จะมีขนาดและสีสันเหมือนเดิม แต่มีการปรับเปลี่ยนบางจุด โดยจุดเปลี่ยนที่สำคัญ
คือ การเพิ่มแถบฟอยล์สีเงินเข้าไป และเพิ่มข้อความโทษของการปลอมแปลงธนบัตร ทั้งนี้ การเพิ่มแถบฟอยล์เข้า
ไปนั้น เนื่องจากพบว่าธนบัตรชนิด 500 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นธนบัตรชนิดที่ถูกปลอมแปลงมาก มีการปลอมแปลง
น้อยลง หลังจากเพิ่มแถบฟอยล์เข้าไปในธนบัตร 500 บาท และมีการปลอมธนบัตรชนิด 100 บาทเพิ่มขึ้น โดยใน
ปีที่ผ่านมา จำนวนธนบัตรปลอมที่พบทั้งหมดจำนวน 14,000 ฉบับ เป็นธนบัตร 100 บาท ถึงร้อยละ 70-80
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. ค่าเงินบาทแข็งค่าสูงสุดในรอบ 7 เดือนวานนี้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยถึงการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทจนมาอยู่ที่ระดับ 39.87 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ทำสถิติแข็งค่าสุดใน
รอบ 7 เดือน ว่า เป็นผลมาจากการที่ สรอ.ต้องการให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้
สินค้าของ สรอ.ขายได้มากขึ้น และช่วยลดการขาดดุลการค้าของ สรอ.ที่กำลังขาดดุลอยู่จำนวนมากในปัจจุบัน
ส่วนผลกระทบต่อเงินทุนระยะสั้นนั้น ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่าค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ยังไม่ได้ส่งผลกระทบกับเงินทุน
ระยะสั้น เพียงแต่ ธปท.ได้ดูแลเพื่อไม่ให้ค่าเงินแกว่งค่าหรือผันผวนมากเกินไป เนื่องจากหากแกว่งมากเกินไป
จะเป็นช่องทางให้เกิดการเก็งกำไรระยะสั้นได้ (ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ, มติชน, เดลินิวส์)
3. ยอดคงค้างสินเชื่อ ธพ.ไทย ณ สิ้นเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.02 เทียบต่อปี ศูนย์วิจัย
กสิกรไทย รายงานตัวเลขสินเชื่อ เงินฝาก และสินทรัพย์ในระบบ ธพ.ไทย ณ 31 ต.ค.47 โดยมียอดคงค้างสิน
เชื่อในระบบ ธพ.ไทยในเดือน ต.ค.47 จำนวน 4,222,297 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจำนวนเล็กน้อย
4,918 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.12 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.02 โดย
อัตราเพิ่มเมื่อเทียบกับปีก่อนจะสูงกว่าปกติ เนื่องจากการควบรวมกิจการระหว่างบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทย (ไอเอฟซีที) เข้ากับ ธ.ทหารไทย ซึ่งฐานเดิมไอเอฟซีทีไม่อยู่ในระบบ ธพ. สำหรับยอดคงค้าง
เงินฝากมีจำนวนทั้งสิ้น 5,299,949 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 23,039 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.43 แต่
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.71 โดยตัวเลขเงินฝากจะไม่ได้รับผลกระทบจากการควบ
รวมของ ธ.ทหารไทย เนื่องจากไอเอฟซีทีไม่มีธุรกรรมเงินฝาก นอกจากนี้ในด้านสินทรัพย์รวม ณ 31 ต.ค.47
มีจำนวน 6,426,253 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย 7,672 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.12
(กรุงเทพธุรกิจ)
4. ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในเดือน ต.ค.47 สูงกว่าประมาณการร้อยละ 2.6 รอง ผอ.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษก ก.คลัง เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือน ต.
ค.47 ปีงบประมาณ 48 ซึ่งได้มีการปรับปรุงข้อมูลในส่วนของรายได้ของกรมศุลกากรใหม่ โดยการจัดเก็บรายได้
รัฐบาลในเดือน ต.ค.47 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิรวมทั้งสิ้น 85,040 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,145
ล้านบาท หรือร้อยละ 2.6 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อน 5,946 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.5 เมื่อพิจารณาผล
การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการอย่างต่อเนื่องทุกเดือนแล้ว
สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวมยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (ผู้จัดการรายวัน)
5. ธ.กรุงศรีอยุธยาคาดปีหน้าเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 5.6 ฝ่ายวิจัย ธ.กรุงศรีอยุธยา
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 48 จะเติบโตในอัตราชะลอลงเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 5.6 จากร้อยละ 6.1 ในปี
47 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญจะมาจากการลงทุนภายในประเทศเป็นหลัก ทั้งการลงทุนภาค
เอกชนโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบริการ และสาธารณูปโภคที่เป็นผลจากการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของ
ภาครัฐและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ส่วนภาครัฐจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเร่งกระตุ้นให้เกิด
การลงทุน ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจหลายประการ เช่น ราคาน้ำมันแพง อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ภาวะ
ชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก และความยืดเยื้อของสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาค
ใต้ (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดขายบ้านใหม่ของ สรอ.จะชะลอตัวลงเล็กน้อยในเดือน ต.ค.47
รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 22 พ.ย.47 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่า
ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ในเดือน ต.ค.47 จะมีจำนวน 1.2 ล้านหลัง ลดลงเล็ก
น้อยร้อยละ 0.5 หลังจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า ที่ระดับร้อยละ 3.5 และ
5.8 ในเดือน ก.ย.และ ส.ค. ตามลำดับ ทั้งนี้ การที่ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ.มีทิศทางชะลอตัวลงในเดือน
ต.ค.นี้ สอดคล้องกับทิศทางของ The Housing Affordability Index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความสามารถใน
การซื้อบ้านของครอบครัวที่มีรายได้ระดับกลาง ที่จัดทำโดย The National Association of Realtors
(NAR) โดยดัชนีอยู่ที่ระดับ 128.6 ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 47 ลดลงจากระดับ 132.3 ในช่วงไตรมาสที่
2 ของปี และเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 43 ที่ดัชนีอยู่ที่ระดับ 125.2 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์เห็น
ว่าสะท้อนการชะลอตัวของตลาดบ้านของ สรอ. อนึ่ง ก.พาณิชย์จะรายงานตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ของทางการ
ในวันพุธที่ 24 พ.ย.47 (รอยเตอร์)
2. ปัจจัยลบของตลาดซื้อ-ขายบ้านของเกาหลีใต้เดือน ก.ย.-ต.ค.47 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41
รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 22 พ.ย.47 ข้อมูลจากภาครัฐแสดงให้เห็นว่าความเป็นไป
ได้ที่จะเกิดวิกฤตการณ์ต่อตลาดซื้อ-ขายบ้านเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41 ในเดือน ก.ย.-ต.ค.47 จากร้อยละ 11 ใน
เดือน ส.ค.47 เนื่องจากมีปัจจัยลบเกิดขึ้นหลายปัจจัย อาทิ จำนวนบ้านที่ขายไม่ได้เพิ่มขึ้น และค่าเช่าบ้านลด
ลง โดยจำนวนบ้านที่ขายไม่ได้ในกรุงโซลของปีนี้นับจนถึงเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นถึง 9 เท่า ขณะที่ค่าเช่าบ้านใน
บริเวณด้านทิศใต้ของกรุงโซลลดลงกว่าครึ่งในช่วง 3 เดือน นับถึงเดือน ต.ค.47 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเปิดเผย
หลังจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา รมว.คลังของเกาหลีใต้ประกาศยกเลิกการตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจใน
ระยะยาวที่ระดับร้อยละ 5 ของปีนี้ โดยกล่าวว่า ภาคการก่อสร้างชะลอการเติบโตอย่างรวดเร็วและอาจส่งผล
ให้มีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคลดลง ทั้งนี้ แม้ว่าอุตสาหกรรมการก่อสร้างจะมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 8 ของจีดีพี
ของเกาหลีใต้ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของเอเชีย แต่นับเป็นภาคที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมตลาดแรง
งานทั้งหมด ซึ่งจากข้อมูลของ ธ.กลางเกาหลีใต้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า ภาคการก่อสร้างมีอัตรา
การเติบโตลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 แล้ว ในช่วงเดือน ก.ค. - ก.ย.47 จากช่วง 3 เดือนก่อน
(รอยเตอร์)
3. ปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบของจีนในเดือนต.ค. 47 ต่ำสุดในรอบ 11 เดือน รายงานจากปักกิ่ง
เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 47 ทางการจีนเปิดเผยว่า ในเดือนต.ค. จีนนำเข้าน้ำมันดิบทั้งสิ้น 9.275 ล้านตัน ลดลง
ร้อยละ 10.40 จากเดือนก.ย. และเป็นระดับต่ำสุดในรอบปีนี้ เนื่องจากการค้าน้ำมันกลั่นแล้วในประเทศลดลง
อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนอุปทานในเดือนต.ค.ก็ยังคงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33.70 สำหรับใน
ช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบของจีนมีทั้งสิ้น 99.6 ล้านตัน (2.45 ล้านบาร์เรลต่อวัน) หรือ
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 34.3 ผู้ค้าน้ำมันจาก Sinopec ซึ่งมีสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันของจีนกว่า
ร้อยละ 80 กล่าวว่า ส่วนหนึ่งเป็นความพยายามอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลจีนในการลดปริมาณสำรองน้ำมันดิบลง
ทั้งนี้จีนเป็นผู้ใช้น้ำมันมากเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ปัจจุบันจีนนำเข้าน้ำมันดิบลดลง นับตั้งแต่ เดือน
ก.ย. ลดลงจากหลายเดือนก่อน เกือบร้อยละ 40 อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์กล่าวว่าในปีนี้จีนยังคงนำเข้าน้ำมัน
ดิบ ทำสถิติสูงสุด 120 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) คาดการณ์อุป
สงค์น้ำมันดิบของจีนในปีนี้ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งไม่เปลี่ยนแปลงจากที่คาดการณ์ไว้ในรายงานที่จัดพิมพ์เผยแพร่
เมื่อเดือนที่แล้ว (รอยเตอร์)
4. ดัชนีชี้วัดการค้าส่งในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน สน
ง.สถิติของสิงคโปร์รายงานดัชนีชี้วัดการค้าส่งในประเทศซึ่งสำรวจจากยอดขายของธุรกิจค้าส่ง 810 แห่งใน
สิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3 ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น โดยหากไม่รวมราคาน้ำมันแล้วดัชนีจะ
เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน การค้าปลีกและค้าส่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ
13 ของ GDP ของสิงคโปร์ซึ่งมีมูลค่ารวม 95 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้หด
ตัวร้อยละ 3.0 จากไตรมาสก่อน หดตัวเป็นครั้งแรกหลังจากขยายตัวด้วยอัตรา 2 หลัก 4 ไตรมาสติดต่อกันผล
จากความต้องการสินค้าเทคโนโลยีของสิงคโปร์ในตลาดโลกชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23 พ.ย. 47 22 พ.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.883 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.7083/39.9918 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.7500-1.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 644.95/ 12.45 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,400/8,500 8,400/8,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 33.17 34.53 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.19*/14.59 21.59/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 19 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ออกใช้ธนบัตร 100 บาทแบบใหม่ในวันที่ 25 พ.ย.นี้ ผอส.สายออกบัตรธนาคาร
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.จะนำธนบัตรชนิด 100 บาทแบบปรับปรุง ออกใช้ในวันที่
25 พ.ย.นี้ โดยธนบัตรแบบใหม่จะมีขนาดและสีสันเหมือนเดิม แต่มีการปรับเปลี่ยนบางจุด โดยจุดเปลี่ยนที่สำคัญ
คือ การเพิ่มแถบฟอยล์สีเงินเข้าไป และเพิ่มข้อความโทษของการปลอมแปลงธนบัตร ทั้งนี้ การเพิ่มแถบฟอยล์เข้า
ไปนั้น เนื่องจากพบว่าธนบัตรชนิด 500 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นธนบัตรชนิดที่ถูกปลอมแปลงมาก มีการปลอมแปลง
น้อยลง หลังจากเพิ่มแถบฟอยล์เข้าไปในธนบัตร 500 บาท และมีการปลอมธนบัตรชนิด 100 บาทเพิ่มขึ้น โดยใน
ปีที่ผ่านมา จำนวนธนบัตรปลอมที่พบทั้งหมดจำนวน 14,000 ฉบับ เป็นธนบัตร 100 บาท ถึงร้อยละ 70-80
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. ค่าเงินบาทแข็งค่าสูงสุดในรอบ 7 เดือนวานนี้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยถึงการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทจนมาอยู่ที่ระดับ 39.87 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ทำสถิติแข็งค่าสุดใน
รอบ 7 เดือน ว่า เป็นผลมาจากการที่ สรอ.ต้องการให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้
สินค้าของ สรอ.ขายได้มากขึ้น และช่วยลดการขาดดุลการค้าของ สรอ.ที่กำลังขาดดุลอยู่จำนวนมากในปัจจุบัน
ส่วนผลกระทบต่อเงินทุนระยะสั้นนั้น ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่าค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ยังไม่ได้ส่งผลกระทบกับเงินทุน
ระยะสั้น เพียงแต่ ธปท.ได้ดูแลเพื่อไม่ให้ค่าเงินแกว่งค่าหรือผันผวนมากเกินไป เนื่องจากหากแกว่งมากเกินไป
จะเป็นช่องทางให้เกิดการเก็งกำไรระยะสั้นได้ (ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ, มติชน, เดลินิวส์)
3. ยอดคงค้างสินเชื่อ ธพ.ไทย ณ สิ้นเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.02 เทียบต่อปี ศูนย์วิจัย
กสิกรไทย รายงานตัวเลขสินเชื่อ เงินฝาก และสินทรัพย์ในระบบ ธพ.ไทย ณ 31 ต.ค.47 โดยมียอดคงค้างสิน
เชื่อในระบบ ธพ.ไทยในเดือน ต.ค.47 จำนวน 4,222,297 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจำนวนเล็กน้อย
4,918 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.12 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.02 โดย
อัตราเพิ่มเมื่อเทียบกับปีก่อนจะสูงกว่าปกติ เนื่องจากการควบรวมกิจการระหว่างบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทย (ไอเอฟซีที) เข้ากับ ธ.ทหารไทย ซึ่งฐานเดิมไอเอฟซีทีไม่อยู่ในระบบ ธพ. สำหรับยอดคงค้าง
เงินฝากมีจำนวนทั้งสิ้น 5,299,949 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 23,039 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.43 แต่
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.71 โดยตัวเลขเงินฝากจะไม่ได้รับผลกระทบจากการควบ
รวมของ ธ.ทหารไทย เนื่องจากไอเอฟซีทีไม่มีธุรกรรมเงินฝาก นอกจากนี้ในด้านสินทรัพย์รวม ณ 31 ต.ค.47
มีจำนวน 6,426,253 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย 7,672 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.12
(กรุงเทพธุรกิจ)
4. ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในเดือน ต.ค.47 สูงกว่าประมาณการร้อยละ 2.6 รอง ผอ.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษก ก.คลัง เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือน ต.
ค.47 ปีงบประมาณ 48 ซึ่งได้มีการปรับปรุงข้อมูลในส่วนของรายได้ของกรมศุลกากรใหม่ โดยการจัดเก็บรายได้
รัฐบาลในเดือน ต.ค.47 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิรวมทั้งสิ้น 85,040 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,145
ล้านบาท หรือร้อยละ 2.6 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อน 5,946 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.5 เมื่อพิจารณาผล
การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการอย่างต่อเนื่องทุกเดือนแล้ว
สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวมยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (ผู้จัดการรายวัน)
5. ธ.กรุงศรีอยุธยาคาดปีหน้าเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 5.6 ฝ่ายวิจัย ธ.กรุงศรีอยุธยา
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 48 จะเติบโตในอัตราชะลอลงเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 5.6 จากร้อยละ 6.1 ในปี
47 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญจะมาจากการลงทุนภายในประเทศเป็นหลัก ทั้งการลงทุนภาค
เอกชนโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบริการ และสาธารณูปโภคที่เป็นผลจากการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของ
ภาครัฐและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ส่วนภาครัฐจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเร่งกระตุ้นให้เกิด
การลงทุน ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจหลายประการ เช่น ราคาน้ำมันแพง อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ภาวะ
ชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก และความยืดเยื้อของสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาค
ใต้ (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดขายบ้านใหม่ของ สรอ.จะชะลอตัวลงเล็กน้อยในเดือน ต.ค.47
รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 22 พ.ย.47 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่า
ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ในเดือน ต.ค.47 จะมีจำนวน 1.2 ล้านหลัง ลดลงเล็ก
น้อยร้อยละ 0.5 หลังจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า ที่ระดับร้อยละ 3.5 และ
5.8 ในเดือน ก.ย.และ ส.ค. ตามลำดับ ทั้งนี้ การที่ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ.มีทิศทางชะลอตัวลงในเดือน
ต.ค.นี้ สอดคล้องกับทิศทางของ The Housing Affordability Index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความสามารถใน
การซื้อบ้านของครอบครัวที่มีรายได้ระดับกลาง ที่จัดทำโดย The National Association of Realtors
(NAR) โดยดัชนีอยู่ที่ระดับ 128.6 ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 47 ลดลงจากระดับ 132.3 ในช่วงไตรมาสที่
2 ของปี และเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 43 ที่ดัชนีอยู่ที่ระดับ 125.2 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์เห็น
ว่าสะท้อนการชะลอตัวของตลาดบ้านของ สรอ. อนึ่ง ก.พาณิชย์จะรายงานตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ของทางการ
ในวันพุธที่ 24 พ.ย.47 (รอยเตอร์)
2. ปัจจัยลบของตลาดซื้อ-ขายบ้านของเกาหลีใต้เดือน ก.ย.-ต.ค.47 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41
รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 22 พ.ย.47 ข้อมูลจากภาครัฐแสดงให้เห็นว่าความเป็นไป
ได้ที่จะเกิดวิกฤตการณ์ต่อตลาดซื้อ-ขายบ้านเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41 ในเดือน ก.ย.-ต.ค.47 จากร้อยละ 11 ใน
เดือน ส.ค.47 เนื่องจากมีปัจจัยลบเกิดขึ้นหลายปัจจัย อาทิ จำนวนบ้านที่ขายไม่ได้เพิ่มขึ้น และค่าเช่าบ้านลด
ลง โดยจำนวนบ้านที่ขายไม่ได้ในกรุงโซลของปีนี้นับจนถึงเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นถึง 9 เท่า ขณะที่ค่าเช่าบ้านใน
บริเวณด้านทิศใต้ของกรุงโซลลดลงกว่าครึ่งในช่วง 3 เดือน นับถึงเดือน ต.ค.47 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเปิดเผย
หลังจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา รมว.คลังของเกาหลีใต้ประกาศยกเลิกการตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจใน
ระยะยาวที่ระดับร้อยละ 5 ของปีนี้ โดยกล่าวว่า ภาคการก่อสร้างชะลอการเติบโตอย่างรวดเร็วและอาจส่งผล
ให้มีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคลดลง ทั้งนี้ แม้ว่าอุตสาหกรรมการก่อสร้างจะมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 8 ของจีดีพี
ของเกาหลีใต้ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของเอเชีย แต่นับเป็นภาคที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมตลาดแรง
งานทั้งหมด ซึ่งจากข้อมูลของ ธ.กลางเกาหลีใต้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า ภาคการก่อสร้างมีอัตรา
การเติบโตลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 แล้ว ในช่วงเดือน ก.ค. - ก.ย.47 จากช่วง 3 เดือนก่อน
(รอยเตอร์)
3. ปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบของจีนในเดือนต.ค. 47 ต่ำสุดในรอบ 11 เดือน รายงานจากปักกิ่ง
เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 47 ทางการจีนเปิดเผยว่า ในเดือนต.ค. จีนนำเข้าน้ำมันดิบทั้งสิ้น 9.275 ล้านตัน ลดลง
ร้อยละ 10.40 จากเดือนก.ย. และเป็นระดับต่ำสุดในรอบปีนี้ เนื่องจากการค้าน้ำมันกลั่นแล้วในประเทศลดลง
อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนอุปทานในเดือนต.ค.ก็ยังคงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33.70 สำหรับใน
ช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบของจีนมีทั้งสิ้น 99.6 ล้านตัน (2.45 ล้านบาร์เรลต่อวัน) หรือ
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 34.3 ผู้ค้าน้ำมันจาก Sinopec ซึ่งมีสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันของจีนกว่า
ร้อยละ 80 กล่าวว่า ส่วนหนึ่งเป็นความพยายามอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลจีนในการลดปริมาณสำรองน้ำมันดิบลง
ทั้งนี้จีนเป็นผู้ใช้น้ำมันมากเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ปัจจุบันจีนนำเข้าน้ำมันดิบลดลง นับตั้งแต่ เดือน
ก.ย. ลดลงจากหลายเดือนก่อน เกือบร้อยละ 40 อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์กล่าวว่าในปีนี้จีนยังคงนำเข้าน้ำมัน
ดิบ ทำสถิติสูงสุด 120 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) คาดการณ์อุป
สงค์น้ำมันดิบของจีนในปีนี้ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งไม่เปลี่ยนแปลงจากที่คาดการณ์ไว้ในรายงานที่จัดพิมพ์เผยแพร่
เมื่อเดือนที่แล้ว (รอยเตอร์)
4. ดัชนีชี้วัดการค้าส่งในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน สน
ง.สถิติของสิงคโปร์รายงานดัชนีชี้วัดการค้าส่งในประเทศซึ่งสำรวจจากยอดขายของธุรกิจค้าส่ง 810 แห่งใน
สิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3 ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น โดยหากไม่รวมราคาน้ำมันแล้วดัชนีจะ
เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน การค้าปลีกและค้าส่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ
13 ของ GDP ของสิงคโปร์ซึ่งมีมูลค่ารวม 95 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้หด
ตัวร้อยละ 3.0 จากไตรมาสก่อน หดตัวเป็นครั้งแรกหลังจากขยายตัวด้วยอัตรา 2 หลัก 4 ไตรมาสติดต่อกันผล
จากความต้องการสินค้าเทคโนโลยีของสิงคโปร์ในตลาดโลกชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23 พ.ย. 47 22 พ.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.883 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.7083/39.9918 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.7500-1.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 644.95/ 12.45 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,400/8,500 8,400/8,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 33.17 34.53 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.19*/14.59 21.59/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 19 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-