นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) แถลงภายหลังการประชุมวิปฝ่ายค้านว่า วิปฝ่ายค้านได้สรุปการทำงานในช่วงระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ในช่วง 8 สมัยประชุม ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะฝ่ายค้านได้ทำหน้าที่ในการทำงานด้านนิติบัญญัติในสภาผู้แทนราษฎรอย่างเต็มความสามารถ แม้จะมีข้อจำกัดในเรื่องของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีน้อยกว่ารัฐบาลเกือบ 3 เท่า ทำให้ไม่สามารถที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินได้ครบถ้วนตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เช่น ไม่สามารถยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ รวมทั้งการทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการต่างๆ เป็นต้น
สรุปผลในส่วนการทำงานของวิปฝ่ายค้าน ดังนี้
1. มีการเสนอกฎหมายทั้งหมด 115 ฉบับ และมีผลบังคับใช้ไปแล้ว 46 ฉบับ
2. เสนอญัตติ 32 ญัตติ แต่ได้รับการพิจารณาเพียงแค่ 12 ญัตติ เนื่องจากเสียงข้างมากมักไม่เปิดโอกาสให้เลื่อนญัตติของฝ่ายค้านขึ้นมาพิจารณา
3. ตั้งกระทู้ถามทั่วไปเพื่อให้ตอบในสภา 94 กระทู้ กระทู้ถามทั่วไปเพื่อให้ตอบในราชกิจจานุเบกษา 215 กระทู้ และกระทู้ถามสด 197 กระทู้ เป็นกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี 139 กระทู้ แต่นายกรัฐมนตรีมาตอบกระทู้ถามสดของฝ่ายค้านเพียง 3 กระทู้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านายกรัฐมนตรีไม่ให้ความสำคัญกับงานในสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งมีหลายครั้งที่รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายไม่มาตอบกระทู้ของฝ่ายค้าน ทั้งที่ถือเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะต้องรับผิดชอบต่อฝ่ายนิติบัญญัติ
4. เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล 3 ครั้ง และเมื่อรวบรวมเป็นมูลค่าความเสียหายของแผ่นดิน ประมาณ 374,419 ล้านบาท
และจากการติดตามการทำหน้าที่ของสภาฯชุดนี้พบว่า มีพฤติกรรมบางอย่างที่น่าสังเกต ดังนี้
1. การตั้งกรรมาธิการสามัญของสภาฯ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานประจำของสภาฯ เพื่อตรวจสอบฝ่ายบริหาร มีความล่าช้าเป็นอย่างมาก ซึ่งในอดีตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 เป็นต้นมาไม่มีสภาฯไหนตั้งกรรมาธิการสามัญล่าช้าเท่าสภาฯนี้
2. มีการผ่านกฎหมายในลักษณะเอื้อประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่ม เช่น พระราชกำหนด บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นต้น
3. มีการใช้เสียงข้างมากลากไปในสภาฯและไม่รับไม่ฟังเสียงข้างน้อย จนทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการพิจารณากฎหมาย ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในรัชกาลปัจจุบันที่ต้องทรงพระราชทานกฎหมายคืนมา คือ ร่างพระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 พ.ย. 2547--จบ--
-ดท-
สรุปผลในส่วนการทำงานของวิปฝ่ายค้าน ดังนี้
1. มีการเสนอกฎหมายทั้งหมด 115 ฉบับ และมีผลบังคับใช้ไปแล้ว 46 ฉบับ
2. เสนอญัตติ 32 ญัตติ แต่ได้รับการพิจารณาเพียงแค่ 12 ญัตติ เนื่องจากเสียงข้างมากมักไม่เปิดโอกาสให้เลื่อนญัตติของฝ่ายค้านขึ้นมาพิจารณา
3. ตั้งกระทู้ถามทั่วไปเพื่อให้ตอบในสภา 94 กระทู้ กระทู้ถามทั่วไปเพื่อให้ตอบในราชกิจจานุเบกษา 215 กระทู้ และกระทู้ถามสด 197 กระทู้ เป็นกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี 139 กระทู้ แต่นายกรัฐมนตรีมาตอบกระทู้ถามสดของฝ่ายค้านเพียง 3 กระทู้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านายกรัฐมนตรีไม่ให้ความสำคัญกับงานในสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งมีหลายครั้งที่รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายไม่มาตอบกระทู้ของฝ่ายค้าน ทั้งที่ถือเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะต้องรับผิดชอบต่อฝ่ายนิติบัญญัติ
4. เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล 3 ครั้ง และเมื่อรวบรวมเป็นมูลค่าความเสียหายของแผ่นดิน ประมาณ 374,419 ล้านบาท
และจากการติดตามการทำหน้าที่ของสภาฯชุดนี้พบว่า มีพฤติกรรมบางอย่างที่น่าสังเกต ดังนี้
1. การตั้งกรรมาธิการสามัญของสภาฯ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานประจำของสภาฯ เพื่อตรวจสอบฝ่ายบริหาร มีความล่าช้าเป็นอย่างมาก ซึ่งในอดีตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 เป็นต้นมาไม่มีสภาฯไหนตั้งกรรมาธิการสามัญล่าช้าเท่าสภาฯนี้
2. มีการผ่านกฎหมายในลักษณะเอื้อประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่ม เช่น พระราชกำหนด บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นต้น
3. มีการใช้เสียงข้างมากลากไปในสภาฯและไม่รับไม่ฟังเสียงข้างน้อย จนทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการพิจารณากฎหมาย ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในรัชกาลปัจจุบันที่ต้องทรงพระราชทานกฎหมายคืนมา คือ ร่างพระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 พ.ย. 2547--จบ--
-ดท-