ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ไทยมีความสามารถในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศสูงเป็นอันดับ 4 ของโลกในปี 48
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาวิขาการ 66 ปี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
ม.ธรรมศาสตร์ เรื่อง “ธุรกิจไทยแข่งขันอย่างไรข้ามโลก” ในหัวข้อการแข่งขันธุรกิจข้ามชาติว่า เงินลงทุนข้าม
ชาติที่ไหลเข้ามาเพื่อลงทุนในไทย ยังมีความจำเป็นเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว ไทยจึงต้องสร้างบรรยากาศ
ทางเศรษฐกิจที่ดี โดยจากผลการสำรวจของที่ประชุมของสหประชาชาติ ว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด)
พบว่า ในปี 48 ไทยยังมีความสามารถในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจาก
จีน อินเดีย สรอ. อย่างไรก็ตาม หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ)
ได้ไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทำให้ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย แต่หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา เอฟดีไอก็มีการ
ขยายตัวไม่มากนัก ขณะที่อัตราการใช้กำลังผลิตของภาคอุตสาหกรรมก็อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงมาก โดยในปีนี้มีการใช้
กำลังการผลิตเพิ่มเพียงร้อยละ 70 และหากใช้อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคเอกชนไม่ถึงร้อยละ 75-80
ภาคเอกชนจะไม่มีการขยายการลงทุนอย่างจริงจัง ทั้งนี้ เอฟดีไอจะเข้ามาอีกครั้งเมื่อเอกชนใช้กำลังการผลิตถึง
ร้อยละ 80 (ไทยรัฐ, บ้านเมือง, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
2. จีดีพีภาคเกษตรในไตรมาส 3 ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.3 รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ
การเกษตร (สศก.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 3 ปี 47 โดยได้ประมาณการอัตราการเติบโต
ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 โดยนอกภาคเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.5 ซึ่งเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่อยู่ในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากราคา
น้ำมัน อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นผลให้การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค และการขยายการ
ลงทุนลดลง เห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง สำหรับ
ภาคการเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เป็นผลจากการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรที่
รัฐบาลได้ขยายตลาดในทุกภูมิภาคทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมาตรการแทรกแซงราคาสินค้าบางชนิดซึ่งเป็น
แรงจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชหลายชนิด ในขณะที่ปัจจัยลบต่อภาคเกษตรยังคงเป็นปัญหาเรื่องการ
ระบาดของโรคไข้หวัดนก และความผันผวนทางสภาพอากาศ ทั้งเรื่องอุทกภัยและภัยแล้ง (ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน)
3. ธ.กสิกรไทยคาดการดำเนินธุรกิจ ธพ.ในปี 48 จะมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง กรรมการ
ผู้จัดการ ธ.กสิกรไทย กล่าวถึงภาพรวมการดำเนินธุรกิจ ธพ.ในปี 48 ว่า ระบบ ธพ.จะมีการแข่งขันกันอย่าง
รุนแรง เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัวจากปีนี้ ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ และความผันผวน
ของอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับสถาบันการเงินที่จะเกิดขึ้นจากแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(มาสเตอร์แพลน) จะไม่ส่งผลกระทบในทันทีต่อการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร แต่จะเห็นการแข่งขันอีกประมาณ
2-3 ปี เพราะขนาดของธนาคารยังไม่ใหญ่พอที่จะส่งผลกระทบโดยตรง (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
4. เอสเอ็มอีเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ตั้งแต่ปี 45-47 มีทั้งสิ้น 37,363
ราย ผอ.สำนักพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ กล่าวในการสัมมนา “SMEs ไทย...ทำอย่างไรให้ได้
ดั่งฝัน” ภายใต้โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ว่า ภายหลังจากรัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมพัฒนา
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ด้วยการสร้างผู้ประกอบการใหม่ เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจของ
ประเทศในระยะยาว โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 45-47 มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 37,363 ราย
จากที่กำหนดเป้าหมายไว้เพียง 24,000 ราย ทั้งนี้ ผู้ดำเนินโครงการไม่สามารถรับผู้ประกอบการทั้งหมดได้ จึง
มีผู้ผ่านการฝึกอบรมเพียง 13,062 รายเท่านั้น ซึ่งภายหลังจากการประมวลผลมีผู้ประกอบการจำนวน 2,900
ราย จากที่กำหนดเป้าหมายไว้ 1,528 ราย ที่สามารถจัดตั้งธุรกิจได้ หรือประมาณร้อยละ 30 (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือน พ.ย.47 รายงานจากนิวยอร์ก
เมื่อ 24 พ.ย.47 The University of Michigan เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ล่าสุด
ในเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 92.8 จากระดับ 91.7 ในเดือนก่อน ต่ำกว่าที่เคยรายงานไว้ก่อน
หน้านี้ที่ระดับ 95.5 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นที่ระดับ 96.0 ทั้งนี้ การที่ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นมีสาเหตุจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีของ สรอ.ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ประกอบกับการที่ราคาพลังงานปรับตัวลดลง
และตลาดแรงงาน สรอ.มีแนวโน้มดีขึ้น นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ก็ปรับตัว
เพิ่มขึ้นเช่นกันที่ระดับ 104.7 จากระดับ 104.0 ในเดือนก่อน รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจ
ในอนาคตก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 85.2 จากระดับ 83.8 (รอยเตอร์)
2. ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสรอ.ในเดือนต.ค.ลดลงอย่างผิดคาด รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 47 ก.พาณิชย์สรอ. เปิดเผยว่า ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสรอ.ในเดือนต.ค.ลดลงร้อย
ละ 0.4 เนื่องจากอุปสงค์ในสินค้าคอมพิวเตอร์ รถยนต์และเครื่องบินพลเรือน ลดลง ซึ่งตรงกันข้ามกับผลการ
สำรวจของรอยเตอร์ที่ได้คาดการณ์ก่อนหน้านั้นว่ายอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนในเดือนต.ค. จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ
0.5 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 สำหรับสินค้าคงทนที่มิใช่อาวุธ ส่วนสินค้าคงทนที่มิใช่การขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
โดย คำสั่งซื้อสินค้าคงทนที่มิใช่อาวุธลดลงร้อยละ 1.5 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ในรอบ 7 เดือน เช่นเดียวกับ
คำสั่งซื้อสินค้าคงทนที่ไม่รวมการขนส่งลดลงร้อยละ 0.7 ในขณะที่มีอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในเครื่องบินทหารโดยมียอดสั่งซื้อ
เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.2 อย่างไรก็ตามมีการทบทวนยอดคำสั่งซื้อของเดือนก.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 จากรายงาน
ก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ทั้งนี้การที่ค่าเงินดอลลาร์สรอ.ที่อ่อนตัวลงก่อนที่จะมีการประกาศตัวเลขดังกล่าวทำ
ให้มีการคาดการณ์กันว่าจะส่งผลดีต่อการขยายตัวของยอดคำสั่งซื้อ (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน พ.ย.47 ของ 4 ใน 6 รัฐของเยอรมนีลดลงจากเดือนก่อน รายงาน
จากเบอร์ลิน เมื่อ 24 พ.ย.47 4 รัฐของเยอรมนีคือ Hesse , Brandenburg , Bavaria และ Saxony
รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน พ.ย.47 ลดลงร้อยละ 0.6 , 0.5 , 0.5 และ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ตามลำดับ ในขณะที่ผลสำรวจโดยรอยเตอร์ก่อนหน้านี้คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของทั้งประเทศจะลดลงร้อยละ 0.2
เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและคงที่ที่ร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของทั้งประเทศจะ
ลดลงและส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน พ.ย.47 ซึ่งมีกำหนดจะประกาศตัวเลขเบื้องต้น
ในวันที่ 30 พ.ย.47 นี้ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบต่อปีหลังจากเดือน ต.ค.47 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 โดยส่วน
ใหญ่เป็นผลมาจากราคาน้ำมันลดลงอย่างในรัฐ Hesse ที่ราคาน้ำมันที่ใช้ทำความร้อนในฤดูหนาวลดลงร้อยละ 14.6
เมื่อเทียบต่อเดือน ทั้งสมาชิกสภาปกครองของเขตเศรษฐกิจยุโรปและประธาน ธ.กลางของเยอรมนีคาดว่าดัชนีราคา
ผู้บริโภคจะค่อย ๆ ลดลงอีกในเดือนถัดไปและอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปีที่ ธ.กลางเยอรมนีตั้งเป้าไว้ในปีหน้า (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้มีแผนที่จะเจรจาการค้าเสรีกับอาเซียนในปี 48 รายงานจากกรุงโซล ประเทศ
เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 24 พ.ย.47 Ban Ki-moon รมว.การค้าและกิจการต่างประเทศของเกาหลีใต้ กล่าวว่า
การตัดสินใจเข้าร่วมเจรจาเขตการค้าเสรีกับประเทศกลุ่มอาเซียนจะกระทำโดยเปิดเผยในระหว่างการประชุมผู้นำ
10 ประเทศสมาชิกอาเซียนในสัปดาห์หน้าที่นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยเกาหลีใต้จะเข้าร่วมประชุมดังกล่าว
พร้อมกับจีนและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขยายสภาการประชุมที่รู้จักกันในนาม อาเซียน+3 และเกาหลีใต้จะ
ประกาศเริ่มการเจรจาเขตการค้าเสรีกับอาเซียนในปี 48 ทั้งนี้ เกาหลีใต้เพิ่งเสร็จสิ้นการเจรจาข้อตกลงการค้า
เสรีกับประเทศชิลีเมื่อเดือน เม.ย.47 แม้ว่าชาวนาและสหภาพแรงงานจะออกมาประท้วงเนื่องจากเกรงว่าจะได้รับ
ผลกระทบจากข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งหลังจากจบกระบวนการเจรจาแล้วมูลค่าการค้าระหว่างเกาหลีใต้กับชิลีเพิ่มขึ้น
มากกว่าร้อยละ 70 ส่วนการเจรจากับสิงคโปร์และญี่ปุ่นยังคงดำเนินการอยู่ และคาดว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับ
สิงคโปร์ได้ภายในสิ้นปี 47 อนึ่ง ในปี 46 การค้าระหว่างเกาหลีใต้กับอาเซียนมีมูลค่าประมาณ 39 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. นับเป็นประเทศคู่ค้าใหญ่เป็นอันดับ 5 ของทั้งสองฝ่าย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 พ.ย. 47 24 พ.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.738 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.5625/39.8461 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.7500-1.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 643.06/ 17.94 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,400/8,500 8,400/8,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.84 34.41 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.19*/14.59 21.59/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 19 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ไทยมีความสามารถในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศสูงเป็นอันดับ 4 ของโลกในปี 48
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาวิขาการ 66 ปี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
ม.ธรรมศาสตร์ เรื่อง “ธุรกิจไทยแข่งขันอย่างไรข้ามโลก” ในหัวข้อการแข่งขันธุรกิจข้ามชาติว่า เงินลงทุนข้าม
ชาติที่ไหลเข้ามาเพื่อลงทุนในไทย ยังมีความจำเป็นเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว ไทยจึงต้องสร้างบรรยากาศ
ทางเศรษฐกิจที่ดี โดยจากผลการสำรวจของที่ประชุมของสหประชาชาติ ว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด)
พบว่า ในปี 48 ไทยยังมีความสามารถในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจาก
จีน อินเดีย สรอ. อย่างไรก็ตาม หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ)
ได้ไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทำให้ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย แต่หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา เอฟดีไอก็มีการ
ขยายตัวไม่มากนัก ขณะที่อัตราการใช้กำลังผลิตของภาคอุตสาหกรรมก็อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงมาก โดยในปีนี้มีการใช้
กำลังการผลิตเพิ่มเพียงร้อยละ 70 และหากใช้อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคเอกชนไม่ถึงร้อยละ 75-80
ภาคเอกชนจะไม่มีการขยายการลงทุนอย่างจริงจัง ทั้งนี้ เอฟดีไอจะเข้ามาอีกครั้งเมื่อเอกชนใช้กำลังการผลิตถึง
ร้อยละ 80 (ไทยรัฐ, บ้านเมือง, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
2. จีดีพีภาคเกษตรในไตรมาส 3 ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.3 รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ
การเกษตร (สศก.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 3 ปี 47 โดยได้ประมาณการอัตราการเติบโต
ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 โดยนอกภาคเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.5 ซึ่งเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่อยู่ในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากราคา
น้ำมัน อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นผลให้การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค และการขยายการ
ลงทุนลดลง เห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง สำหรับ
ภาคการเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เป็นผลจากการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรที่
รัฐบาลได้ขยายตลาดในทุกภูมิภาคทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมาตรการแทรกแซงราคาสินค้าบางชนิดซึ่งเป็น
แรงจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชหลายชนิด ในขณะที่ปัจจัยลบต่อภาคเกษตรยังคงเป็นปัญหาเรื่องการ
ระบาดของโรคไข้หวัดนก และความผันผวนทางสภาพอากาศ ทั้งเรื่องอุทกภัยและภัยแล้ง (ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน)
3. ธ.กสิกรไทยคาดการดำเนินธุรกิจ ธพ.ในปี 48 จะมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง กรรมการ
ผู้จัดการ ธ.กสิกรไทย กล่าวถึงภาพรวมการดำเนินธุรกิจ ธพ.ในปี 48 ว่า ระบบ ธพ.จะมีการแข่งขันกันอย่าง
รุนแรง เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัวจากปีนี้ ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ และความผันผวน
ของอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับสถาบันการเงินที่จะเกิดขึ้นจากแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(มาสเตอร์แพลน) จะไม่ส่งผลกระทบในทันทีต่อการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร แต่จะเห็นการแข่งขันอีกประมาณ
2-3 ปี เพราะขนาดของธนาคารยังไม่ใหญ่พอที่จะส่งผลกระทบโดยตรง (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
4. เอสเอ็มอีเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ตั้งแต่ปี 45-47 มีทั้งสิ้น 37,363
ราย ผอ.สำนักพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ กล่าวในการสัมมนา “SMEs ไทย...ทำอย่างไรให้ได้
ดั่งฝัน” ภายใต้โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ว่า ภายหลังจากรัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมพัฒนา
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ด้วยการสร้างผู้ประกอบการใหม่ เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจของ
ประเทศในระยะยาว โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 45-47 มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 37,363 ราย
จากที่กำหนดเป้าหมายไว้เพียง 24,000 ราย ทั้งนี้ ผู้ดำเนินโครงการไม่สามารถรับผู้ประกอบการทั้งหมดได้ จึง
มีผู้ผ่านการฝึกอบรมเพียง 13,062 รายเท่านั้น ซึ่งภายหลังจากการประมวลผลมีผู้ประกอบการจำนวน 2,900
ราย จากที่กำหนดเป้าหมายไว้ 1,528 ราย ที่สามารถจัดตั้งธุรกิจได้ หรือประมาณร้อยละ 30 (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือน พ.ย.47 รายงานจากนิวยอร์ก
เมื่อ 24 พ.ย.47 The University of Michigan เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ล่าสุด
ในเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 92.8 จากระดับ 91.7 ในเดือนก่อน ต่ำกว่าที่เคยรายงานไว้ก่อน
หน้านี้ที่ระดับ 95.5 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นที่ระดับ 96.0 ทั้งนี้ การที่ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นมีสาเหตุจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีของ สรอ.ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ประกอบกับการที่ราคาพลังงานปรับตัวลดลง
และตลาดแรงงาน สรอ.มีแนวโน้มดีขึ้น นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ก็ปรับตัว
เพิ่มขึ้นเช่นกันที่ระดับ 104.7 จากระดับ 104.0 ในเดือนก่อน รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจ
ในอนาคตก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 85.2 จากระดับ 83.8 (รอยเตอร์)
2. ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสรอ.ในเดือนต.ค.ลดลงอย่างผิดคาด รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 47 ก.พาณิชย์สรอ. เปิดเผยว่า ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสรอ.ในเดือนต.ค.ลดลงร้อย
ละ 0.4 เนื่องจากอุปสงค์ในสินค้าคอมพิวเตอร์ รถยนต์และเครื่องบินพลเรือน ลดลง ซึ่งตรงกันข้ามกับผลการ
สำรวจของรอยเตอร์ที่ได้คาดการณ์ก่อนหน้านั้นว่ายอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนในเดือนต.ค. จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ
0.5 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 สำหรับสินค้าคงทนที่มิใช่อาวุธ ส่วนสินค้าคงทนที่มิใช่การขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
โดย คำสั่งซื้อสินค้าคงทนที่มิใช่อาวุธลดลงร้อยละ 1.5 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ในรอบ 7 เดือน เช่นเดียวกับ
คำสั่งซื้อสินค้าคงทนที่ไม่รวมการขนส่งลดลงร้อยละ 0.7 ในขณะที่มีอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในเครื่องบินทหารโดยมียอดสั่งซื้อ
เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.2 อย่างไรก็ตามมีการทบทวนยอดคำสั่งซื้อของเดือนก.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 จากรายงาน
ก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ทั้งนี้การที่ค่าเงินดอลลาร์สรอ.ที่อ่อนตัวลงก่อนที่จะมีการประกาศตัวเลขดังกล่าวทำ
ให้มีการคาดการณ์กันว่าจะส่งผลดีต่อการขยายตัวของยอดคำสั่งซื้อ (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน พ.ย.47 ของ 4 ใน 6 รัฐของเยอรมนีลดลงจากเดือนก่อน รายงาน
จากเบอร์ลิน เมื่อ 24 พ.ย.47 4 รัฐของเยอรมนีคือ Hesse , Brandenburg , Bavaria และ Saxony
รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน พ.ย.47 ลดลงร้อยละ 0.6 , 0.5 , 0.5 และ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ตามลำดับ ในขณะที่ผลสำรวจโดยรอยเตอร์ก่อนหน้านี้คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของทั้งประเทศจะลดลงร้อยละ 0.2
เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและคงที่ที่ร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของทั้งประเทศจะ
ลดลงและส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน พ.ย.47 ซึ่งมีกำหนดจะประกาศตัวเลขเบื้องต้น
ในวันที่ 30 พ.ย.47 นี้ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบต่อปีหลังจากเดือน ต.ค.47 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 โดยส่วน
ใหญ่เป็นผลมาจากราคาน้ำมันลดลงอย่างในรัฐ Hesse ที่ราคาน้ำมันที่ใช้ทำความร้อนในฤดูหนาวลดลงร้อยละ 14.6
เมื่อเทียบต่อเดือน ทั้งสมาชิกสภาปกครองของเขตเศรษฐกิจยุโรปและประธาน ธ.กลางของเยอรมนีคาดว่าดัชนีราคา
ผู้บริโภคจะค่อย ๆ ลดลงอีกในเดือนถัดไปและอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปีที่ ธ.กลางเยอรมนีตั้งเป้าไว้ในปีหน้า (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้มีแผนที่จะเจรจาการค้าเสรีกับอาเซียนในปี 48 รายงานจากกรุงโซล ประเทศ
เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 24 พ.ย.47 Ban Ki-moon รมว.การค้าและกิจการต่างประเทศของเกาหลีใต้ กล่าวว่า
การตัดสินใจเข้าร่วมเจรจาเขตการค้าเสรีกับประเทศกลุ่มอาเซียนจะกระทำโดยเปิดเผยในระหว่างการประชุมผู้นำ
10 ประเทศสมาชิกอาเซียนในสัปดาห์หน้าที่นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยเกาหลีใต้จะเข้าร่วมประชุมดังกล่าว
พร้อมกับจีนและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขยายสภาการประชุมที่รู้จักกันในนาม อาเซียน+3 และเกาหลีใต้จะ
ประกาศเริ่มการเจรจาเขตการค้าเสรีกับอาเซียนในปี 48 ทั้งนี้ เกาหลีใต้เพิ่งเสร็จสิ้นการเจรจาข้อตกลงการค้า
เสรีกับประเทศชิลีเมื่อเดือน เม.ย.47 แม้ว่าชาวนาและสหภาพแรงงานจะออกมาประท้วงเนื่องจากเกรงว่าจะได้รับ
ผลกระทบจากข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งหลังจากจบกระบวนการเจรจาแล้วมูลค่าการค้าระหว่างเกาหลีใต้กับชิลีเพิ่มขึ้น
มากกว่าร้อยละ 70 ส่วนการเจรจากับสิงคโปร์และญี่ปุ่นยังคงดำเนินการอยู่ และคาดว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับ
สิงคโปร์ได้ภายในสิ้นปี 47 อนึ่ง ในปี 46 การค้าระหว่างเกาหลีใต้กับอาเซียนมีมูลค่าประมาณ 39 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. นับเป็นประเทศคู่ค้าใหญ่เป็นอันดับ 5 ของทั้งสองฝ่าย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 พ.ย. 47 24 พ.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.738 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.5625/39.8461 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.7500-1.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 643.06/ 17.94 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,400/8,500 8,400/8,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.84 34.41 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.19*/14.59 21.59/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 19 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-