เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องจากต้องประสบกับปัจจัยเสี่ยงจากทั้งภายในและภายนอกประเทศ ได้แก่ การระบาดของโรคไข้หวัดนก สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายฝ่ายมีการปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2547 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปรับลดประมาณการเป็นร้อยละ 6.0-6.5
ภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วงไตรมาส 3/2547 ยังคงเผชิญความเสี่ยงจากสถานการณ์การก่อการร้าย ในภูมิภาคต่าง ๆ ราคาน้ำมันที่ยังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อ ในประเทศต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง เป็นต้น ยกเว้นเกาหลีใต้ที่ได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้ภาวะเงินฝืดเริ่มคลี่คลายลงบ้าง แต่ญี่ปุ่นยังไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากภาวะเงินฝืดยังตึงตัวไม่คลี่คลาย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อภาวะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ผลิตในแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากภาวะการส่งออก ที่เพิ่มขึ้น โดยภาวะเศรษฐกิจสหภาพยุโรป และประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ได้แก่ จีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง มาเลเซีย เกาหลีใต้ ได้ขยายตัวดีขึ้น ในขณะที่อินโดนีเซียเศรษฐกิจค่อนข้างทรงตัว แต่มีเพียงฟิลิปปินส์ที่เศรษฐกิจชะลอตัวลงจากไตรมาสแรกแต่ยังขยายตัวดีกว่าที่คาดการณ์ จากการฟื้นตัวของการส่งออก ส่วนสหรัฐอเมริกาได้ชะลอตัวลงจากการใช้จ่ายภาคเอกชนมีแนวโน้มลดลง อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น อัตราการว่างงานที่ยังไม่ฟื้นตัว แต่ภาคการผลิตยังคงขยายตัวช้า ๆ อย่างต่อเนื่อง
สำหรับภาคอุตสาหกรรม ตัวชี้วัดต่างๆ ที่มีการประกาศออกมาในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี เช่นดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม ตามการจัดประเภทอุตสาหกรรมมาตรฐานสากล (ISIC) ในระดับ 4 หลัก ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 0.3 และร้อยละ 7.4 ตามลำดับ อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2546
การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ยังอยู่ ในอัตราที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนมีการปรับตัวสูงขึ้น เล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 สำหรับภาวะราคาสินค้ามีการปรับตัวสูงขึ้นในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547
อย่างไรก็ดีผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคและนักธุรกิจที่ลดลง ชี้ให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของ ผู้บริโภคและนักธุรกิจได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆมากขึ้น แม้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ยังมีความกังวลในต้นทุนประกอบการ ที่สูงขึ้น จากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก
ส่วนสถานการณ์ด้านการค้าต่างประเทศ ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก โดยในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มูลค่าการส่งออกมีการปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสสองของปี คิดเป็นร้อยละ 5.34 และร้อยละ 25.21 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สำหรับมูลค่าการนำเข้ามีการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.46 ส่งผลให้ ในไตรมาสที่ 3 การค้าของไทยมีดุลการค้าเกินดุล ในส่วนมูลค่าการส่งออกในไตรมาส 3 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือนแล้ว พบว่ามีมูลค่าการส่งออกเกิน 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทุกเดือน และเฉพาะในเดือนกันยายน การส่งออกสูงถึง 8,668.4 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในช่วง 9 เดือนแรก การส่งออกของประเทศไทยมีการ เพิ่มขึ้นในตลาดหลักทุกตลาด โดยเฉพาะในตลาดจีนและอาเซียน มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราสูง
สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ ข้อมูลการไหลเข้าสุทธิของการลงทุนโดยตรงจากธนาคารแห่งประเทศไทยแสดงว่า การลงทุนโดยตรงสุทธิในเดือนกรกฎาคม 2547 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาก แต่ในเดือนสิงหาคมกลับมีการลดลงมา อย่างไรก็ตามสถิติการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แสดงว่า การลงทุนจากต่างประเทศในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมได้รับอนุมัติในช่วง 9 เดือนแรก ของปี 2547 มีจำนวนโครงการและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อน
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนยังคงปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 1.97 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2547 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ซึ่งเป็นภาวะปกติของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่จะชะลอตัวลงในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจะปรับตัวดีขึ้นตามการขยายตัวของภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนจะได้รับผลดีตามภาวะอิเล็กทรอนิกส์โลกไปด้วย
เคมีภัณฑ์
ไตรมาส 3 ปี 2547 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.54 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดส่งออกลดลง ร้อยละ 18.90 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี
ไตรมาส 3 ปี 2547 อุตสาหกรรมปิโตรเคมียังอยู่ในวัฏจักรขาขึ้น ความต้องการเม็ดพลาสติกทั้ง โอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ในขณะที่ความต้องการปิโตรเคมีในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอประมาณร้อยละ 7 ต่อปี สำหรับแนวโน้มสถานการณ์ราคาเม็ดพลาสติกปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีความผันผวน จะยังคงอยู่ตลอดไป อย่างไรก็ตาม เพื่อบรรเทาปัญหาของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดการประชุมหารือเพื่อหามาตรการบรรเทาปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2547 ที่ประชุมมีมติจัดตั้ง Call Center ในเว็บไซต์ของกรมการค้าภายใน เพื่อเป็นจุดประสานให้ผู้ใช้เม็ดพลาสติกสามารถติดต่อซื้อเม็ดพลาสติกได้โดยตรง
เหล็กและเหล็กกล้า
สถานการณ์เหล็กในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ขยายตัวดีขึ้นตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.72 ปริมาณการใช้ในประเทศโดยรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.74 โดยเฉพาะเหล็กทรงยาวมีการขยายตัวของการใช้ในประเทศถึง ร้อยละ 26.71 ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จากโครงการก่อสร้างต่างๆ ภายในประเทศ สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 คาดการณ์ว่าจะขยายตัวขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 โดยเฉพาะเหล็กทรงยาวซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการของภาครัฐ
ยานยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 (ม.ค.-ก.ย.) เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 ร้อยละ 23.55 และ 15.72 ตามลำดับ การส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.26 จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2547 แสดงถึงแนวโน้มที่ดี ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย และการส่งออก ประกอบกับในไตรมาสสุดท้ายของปี เป็นช่วงฤดูการขาย มีงานมอเตอร์เอ็กซโป 2004 ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นงานที่บริษัทจำหน่ายรถยนต์จะนำรถรุ่นใหม่มาเปิดตัว และจัดรายการส่งเสริมการขายแข่งกันในทุกค่าย ดังนั้น จึงเป็นไปได้ตามเป้าหมายว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์ปี 2547 ประมาณ 9 แสนคัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 6 แสนคัน และผลิตเพื่อส่งออกประมาณ 3 แสนคัน
ผลิตภัณฑ์พลาสติก
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมาได้เผชิญกับปัญหาที่ท้าทายความสามารถของผู้ประกอบการไทยอย่างมาก คือ ปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีราคาสูงขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านลบต่อต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นส่งผลให้ราคาเม็ดพลาสติกที่เป็นวัตถุหลักของอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีปัญหาขาดแคลนเม็ดพลาสติกเนื่องจากผู้ผลิตเม็ดพลาสติกส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิดการขาดสภาพคล่องทางการผลิตโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็ก ทั้งนี้ราคาเม็ดพลาสติกได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นจากเดิมที่ 30-35 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 50-60 บาท ต่อกิโลกรัม ทำให้ผู้ผลิตโดยเฉพาะผู้ผลิตรายย่อยจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตลง
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ยกเว้นเพียงกระเป๋าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น จึงคาดว่าการผลิตในไตรมาสที่ที่ 4 อาจอยู่ในภาวะทรงตัว หรืออาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากปัญหาคู่แข่งที่สำคัญ คือ จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็ว อีกทั้งตลาดภายในประเทศของไทยเอง มีการนำเข้าตั้งแต่วัตถุดิบคือหนังดิบและหนังฟอก รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
อาหาร
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารมีการเปลี่ยนแปลงลดลงจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.34 และลดลงจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ร้อยละ 50.33 (ตารางที่ 1) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฤดูกาลของการผลิตอุตสาหกรรมอาหารที่จะผลิตลดลงในไตรมาสที่ 3 สำหรับแนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมอาหารในไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 คาดว่าทั้งภาคการผลิตและการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มของฤดูกาล อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบด้านลบต่อการผลิตและส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ ข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกรอบใหม่ การประกาศการไต่สวนและความเสียหายจากการทุ่มตลาดกุ้งขั้นสุดท้ายของสหรัฐอเมริกา และราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงไตรมาส 3-4 ที่เป็นผลสืบเนื่องจากการย่างเข้าสู่ฤดูหนาว และปัญหาการก่อการร้ายทั่วโลก ล้วนเป็นปัจจัยลบที่จะส่งผลต่อภาคการผลิตและส่งออกของไทยในช่วงไตรมาสที่ 4 ไม่ขยายตัวเท่าที่ควร
ไม้และเครื่องเรือน
ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2547 สภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยโดยรวมยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จากปริมาณความต้องการของตลาดภายในประเทศเองและความต้องการโดยการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศที่มีต่อสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยยังมีการขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ผลิตภัณฑ์ยาง
ในไตรมาสที่ 3 มีการผลิตยางแผ่นเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากวัตถุดิบคือ น้ำยางสด มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากไตรมาสก่อนซึ่งเป็นฤดูแล้ง ส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์ยางประเภทยางล้อมีการผลิตเพิ่มมากขึ้นอันเป็นผลมาจากการผลิตรถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามในผลิตภัณฑ์ยางล้อรถจักรยานยนต์มีการผลิตลดน้อยลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ที่ลดลงทั้งรถจักรยานยนต์ครอบครัวและสปอร์ต สำหรับไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 คาดว่าปริมาณการผลิตยางขั้นต้นจะลดน้อยลง เนื่องจากในช่วง เดือนตุลาคม - ธันวาคม ภาคใต้มีฝนตกชุก และการกรีดยางลดน้อยลง ส่งผลให้มีน้ำยางสดเข้าสู่ตลาดน้อย ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อการผลิตยางขั้นต้นแล้ว อาจมีผลให้การผลิตถุงมือยาง ซึ่งต้องอาศัยวัตถุดิบน้ำยางข้น ลดน้อยลง ตามไปด้วย
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์
ภาวะการผลิตและการส่งออกในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีการปรับเนื่องจาก การที่คนไทยส่งไปรษณียบัตรทายผลชิงโชคในเทศกาลการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004 กันมากมายโดยเฉพาะในวันสุดท้ายของการแข่งขัน ซึ่งมีปริมาณหลายล้านใบ ประกอบกับมีการเลือกตั้งผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสิ่งพิมพ์ดีขึ้น และเป็นช่วงเปิดเทอมของนักศึกษาทั้งโรงเรียน และมหาวิทยาลัย นอกจากนี้มีการเลือกตั้งกันหลายประเทศส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้กระดาษเพิ่มสูงขึ้น สำหรับแนวโน้มของภาวการณ์ผลิตในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2547 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากจะมีการเลือกตั้งในประเทศไทยจึงมีการสต๊อกกระดาษ และเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ แต่ทั้งนี้ต้องดูสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศด้วย เนื่องจากในช่วงนี้สถานะการณ์ทางภาคใต้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันในประเทศปรับตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นได้ถ้ารัฐบาลไม่มีมาตรการควบคุมราคาสินค้าที่กำลังจะเพิ่มขึ้น
ยา
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศ ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรให้ดีขึ้น และได้รับคำสั่งซื้อจากการประมูลจากโรงพยาบาล ทำให้ผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น โดยยาที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นยาที่มีราคาไม่สูงมากนัก สำหรับปริมาณการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน สำหรับไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 เนื่องจากความต้องการในประเทศยังคงขยายตัว สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการพยายามหาตลาดใหม่ ๆ มากขึ้น
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขณะที่มูลค่าการส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 14.6 ตลาดส่งหลัก ได้แก่ ตลาดสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยุโรป แคนาดาและญี่ปุ่น ทั้งนี้คาดว่าหลังจากที่ประเทศไทยได้เปิดเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศ(FTA) จะช่วยให้ขยายการส่งออกได้มากขึ้น เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดทางด้านภาษี รวมทั้งยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมแฟชั่นที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีศักยภาพที่เข้มแข็งและส่งออกได้ดีขึ้น
ปูนซีเมนต์
การผลิตปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน แต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศยังขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเมื่อพิจารณาในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2547 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก ภาวะธุรกิจก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้น
ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง สุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการขยายตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ แม้ว่าการขยายตัวจะไม่ร้อนแรงเท่ากับปีที่ผ่านมา แต่ยังคงมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจาก การชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ จะไม่กระทบกับการจำหน่ายเซรามิกมากนัก เนื่องจาก ตลาดหลักของการจำหน่ายเซรามิกยังคงเป็นกลุ่มที่ซื้อเพื่อการปรับปรุงที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ สำหรับราคาจำหน่าย เซรามิกเริ่มมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น จากผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อัญมณีและเครื่องประดับ
ภาพรวมของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาส 3 ปี 2547 ยังคงอยู่ในระดับที่ดี แม้ว่าดัชนีผลผลิตจะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนก็ตาม แต่เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออก จะเห็นว่า มีการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการ มีเพียงทองคำยังไม่ขึ้นรูป และเครื่องประดับที่ทำด้วยโลหะอื่นๆ ที่ลดลง ซึ่งเป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไม่มากนักเมื่อเทียบกับสินค้าอื่น สำหรับมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากวัตถุดิบในประเทศขาดแคลน จึงจำเป็นต้องนำเข้ามาใช้ในการผลิตสำหรับไตรมาส 4 ปี 2547 นี้ คาดว่า จะมีการขยายตัวดีขึ้นทั้งการผลิตและการตลาดเนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลทั้งคริสต์มาสและปีใหม่ ซึ่งอัญมณีและเครื่องประดับเป็นของขวัญอย่างหนึ่งที่คนนิยมมอบให้กัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วงไตรมาส 3/2547 ยังคงเผชิญความเสี่ยงจากสถานการณ์การก่อการร้าย ในภูมิภาคต่าง ๆ ราคาน้ำมันที่ยังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อ ในประเทศต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง เป็นต้น ยกเว้นเกาหลีใต้ที่ได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้ภาวะเงินฝืดเริ่มคลี่คลายลงบ้าง แต่ญี่ปุ่นยังไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากภาวะเงินฝืดยังตึงตัวไม่คลี่คลาย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อภาวะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ผลิตในแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากภาวะการส่งออก ที่เพิ่มขึ้น โดยภาวะเศรษฐกิจสหภาพยุโรป และประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ได้แก่ จีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง มาเลเซีย เกาหลีใต้ ได้ขยายตัวดีขึ้น ในขณะที่อินโดนีเซียเศรษฐกิจค่อนข้างทรงตัว แต่มีเพียงฟิลิปปินส์ที่เศรษฐกิจชะลอตัวลงจากไตรมาสแรกแต่ยังขยายตัวดีกว่าที่คาดการณ์ จากการฟื้นตัวของการส่งออก ส่วนสหรัฐอเมริกาได้ชะลอตัวลงจากการใช้จ่ายภาคเอกชนมีแนวโน้มลดลง อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น อัตราการว่างงานที่ยังไม่ฟื้นตัว แต่ภาคการผลิตยังคงขยายตัวช้า ๆ อย่างต่อเนื่อง
สำหรับภาคอุตสาหกรรม ตัวชี้วัดต่างๆ ที่มีการประกาศออกมาในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี เช่นดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม ตามการจัดประเภทอุตสาหกรรมมาตรฐานสากล (ISIC) ในระดับ 4 หลัก ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 0.3 และร้อยละ 7.4 ตามลำดับ อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2546
การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ยังอยู่ ในอัตราที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนมีการปรับตัวสูงขึ้น เล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 สำหรับภาวะราคาสินค้ามีการปรับตัวสูงขึ้นในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547
อย่างไรก็ดีผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคและนักธุรกิจที่ลดลง ชี้ให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของ ผู้บริโภคและนักธุรกิจได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆมากขึ้น แม้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ยังมีความกังวลในต้นทุนประกอบการ ที่สูงขึ้น จากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก
ส่วนสถานการณ์ด้านการค้าต่างประเทศ ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก โดยในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มูลค่าการส่งออกมีการปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสสองของปี คิดเป็นร้อยละ 5.34 และร้อยละ 25.21 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สำหรับมูลค่าการนำเข้ามีการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.46 ส่งผลให้ ในไตรมาสที่ 3 การค้าของไทยมีดุลการค้าเกินดุล ในส่วนมูลค่าการส่งออกในไตรมาส 3 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือนแล้ว พบว่ามีมูลค่าการส่งออกเกิน 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทุกเดือน และเฉพาะในเดือนกันยายน การส่งออกสูงถึง 8,668.4 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในช่วง 9 เดือนแรก การส่งออกของประเทศไทยมีการ เพิ่มขึ้นในตลาดหลักทุกตลาด โดยเฉพาะในตลาดจีนและอาเซียน มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราสูง
สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ ข้อมูลการไหลเข้าสุทธิของการลงทุนโดยตรงจากธนาคารแห่งประเทศไทยแสดงว่า การลงทุนโดยตรงสุทธิในเดือนกรกฎาคม 2547 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาก แต่ในเดือนสิงหาคมกลับมีการลดลงมา อย่างไรก็ตามสถิติการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แสดงว่า การลงทุนจากต่างประเทศในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมได้รับอนุมัติในช่วง 9 เดือนแรก ของปี 2547 มีจำนวนโครงการและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อน
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนยังคงปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 1.97 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2547 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ซึ่งเป็นภาวะปกติของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่จะชะลอตัวลงในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจะปรับตัวดีขึ้นตามการขยายตัวของภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนจะได้รับผลดีตามภาวะอิเล็กทรอนิกส์โลกไปด้วย
เคมีภัณฑ์
ไตรมาส 3 ปี 2547 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.54 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดส่งออกลดลง ร้อยละ 18.90 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี
ไตรมาส 3 ปี 2547 อุตสาหกรรมปิโตรเคมียังอยู่ในวัฏจักรขาขึ้น ความต้องการเม็ดพลาสติกทั้ง โอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ในขณะที่ความต้องการปิโตรเคมีในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอประมาณร้อยละ 7 ต่อปี สำหรับแนวโน้มสถานการณ์ราคาเม็ดพลาสติกปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีความผันผวน จะยังคงอยู่ตลอดไป อย่างไรก็ตาม เพื่อบรรเทาปัญหาของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดการประชุมหารือเพื่อหามาตรการบรรเทาปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2547 ที่ประชุมมีมติจัดตั้ง Call Center ในเว็บไซต์ของกรมการค้าภายใน เพื่อเป็นจุดประสานให้ผู้ใช้เม็ดพลาสติกสามารถติดต่อซื้อเม็ดพลาสติกได้โดยตรง
เหล็กและเหล็กกล้า
สถานการณ์เหล็กในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ขยายตัวดีขึ้นตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.72 ปริมาณการใช้ในประเทศโดยรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.74 โดยเฉพาะเหล็กทรงยาวมีการขยายตัวของการใช้ในประเทศถึง ร้อยละ 26.71 ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จากโครงการก่อสร้างต่างๆ ภายในประเทศ สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 คาดการณ์ว่าจะขยายตัวขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 โดยเฉพาะเหล็กทรงยาวซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการของภาครัฐ
ยานยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 (ม.ค.-ก.ย.) เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 ร้อยละ 23.55 และ 15.72 ตามลำดับ การส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.26 จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2547 แสดงถึงแนวโน้มที่ดี ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย และการส่งออก ประกอบกับในไตรมาสสุดท้ายของปี เป็นช่วงฤดูการขาย มีงานมอเตอร์เอ็กซโป 2004 ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นงานที่บริษัทจำหน่ายรถยนต์จะนำรถรุ่นใหม่มาเปิดตัว และจัดรายการส่งเสริมการขายแข่งกันในทุกค่าย ดังนั้น จึงเป็นไปได้ตามเป้าหมายว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์ปี 2547 ประมาณ 9 แสนคัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 6 แสนคัน และผลิตเพื่อส่งออกประมาณ 3 แสนคัน
ผลิตภัณฑ์พลาสติก
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมาได้เผชิญกับปัญหาที่ท้าทายความสามารถของผู้ประกอบการไทยอย่างมาก คือ ปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีราคาสูงขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านลบต่อต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นส่งผลให้ราคาเม็ดพลาสติกที่เป็นวัตถุหลักของอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีปัญหาขาดแคลนเม็ดพลาสติกเนื่องจากผู้ผลิตเม็ดพลาสติกส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิดการขาดสภาพคล่องทางการผลิตโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็ก ทั้งนี้ราคาเม็ดพลาสติกได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นจากเดิมที่ 30-35 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 50-60 บาท ต่อกิโลกรัม ทำให้ผู้ผลิตโดยเฉพาะผู้ผลิตรายย่อยจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตลง
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ยกเว้นเพียงกระเป๋าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น จึงคาดว่าการผลิตในไตรมาสที่ที่ 4 อาจอยู่ในภาวะทรงตัว หรืออาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากปัญหาคู่แข่งที่สำคัญ คือ จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็ว อีกทั้งตลาดภายในประเทศของไทยเอง มีการนำเข้าตั้งแต่วัตถุดิบคือหนังดิบและหนังฟอก รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
อาหาร
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารมีการเปลี่ยนแปลงลดลงจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.34 และลดลงจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ร้อยละ 50.33 (ตารางที่ 1) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฤดูกาลของการผลิตอุตสาหกรรมอาหารที่จะผลิตลดลงในไตรมาสที่ 3 สำหรับแนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมอาหารในไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 คาดว่าทั้งภาคการผลิตและการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มของฤดูกาล อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบด้านลบต่อการผลิตและส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ ข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกรอบใหม่ การประกาศการไต่สวนและความเสียหายจากการทุ่มตลาดกุ้งขั้นสุดท้ายของสหรัฐอเมริกา และราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงไตรมาส 3-4 ที่เป็นผลสืบเนื่องจากการย่างเข้าสู่ฤดูหนาว และปัญหาการก่อการร้ายทั่วโลก ล้วนเป็นปัจจัยลบที่จะส่งผลต่อภาคการผลิตและส่งออกของไทยในช่วงไตรมาสที่ 4 ไม่ขยายตัวเท่าที่ควร
ไม้และเครื่องเรือน
ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2547 สภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยโดยรวมยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จากปริมาณความต้องการของตลาดภายในประเทศเองและความต้องการโดยการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศที่มีต่อสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยยังมีการขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ผลิตภัณฑ์ยาง
ในไตรมาสที่ 3 มีการผลิตยางแผ่นเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากวัตถุดิบคือ น้ำยางสด มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากไตรมาสก่อนซึ่งเป็นฤดูแล้ง ส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์ยางประเภทยางล้อมีการผลิตเพิ่มมากขึ้นอันเป็นผลมาจากการผลิตรถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามในผลิตภัณฑ์ยางล้อรถจักรยานยนต์มีการผลิตลดน้อยลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ที่ลดลงทั้งรถจักรยานยนต์ครอบครัวและสปอร์ต สำหรับไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 คาดว่าปริมาณการผลิตยางขั้นต้นจะลดน้อยลง เนื่องจากในช่วง เดือนตุลาคม - ธันวาคม ภาคใต้มีฝนตกชุก และการกรีดยางลดน้อยลง ส่งผลให้มีน้ำยางสดเข้าสู่ตลาดน้อย ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อการผลิตยางขั้นต้นแล้ว อาจมีผลให้การผลิตถุงมือยาง ซึ่งต้องอาศัยวัตถุดิบน้ำยางข้น ลดน้อยลง ตามไปด้วย
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์
ภาวะการผลิตและการส่งออกในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีการปรับเนื่องจาก การที่คนไทยส่งไปรษณียบัตรทายผลชิงโชคในเทศกาลการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004 กันมากมายโดยเฉพาะในวันสุดท้ายของการแข่งขัน ซึ่งมีปริมาณหลายล้านใบ ประกอบกับมีการเลือกตั้งผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสิ่งพิมพ์ดีขึ้น และเป็นช่วงเปิดเทอมของนักศึกษาทั้งโรงเรียน และมหาวิทยาลัย นอกจากนี้มีการเลือกตั้งกันหลายประเทศส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้กระดาษเพิ่มสูงขึ้น สำหรับแนวโน้มของภาวการณ์ผลิตในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2547 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากจะมีการเลือกตั้งในประเทศไทยจึงมีการสต๊อกกระดาษ และเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ แต่ทั้งนี้ต้องดูสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศด้วย เนื่องจากในช่วงนี้สถานะการณ์ทางภาคใต้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันในประเทศปรับตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นได้ถ้ารัฐบาลไม่มีมาตรการควบคุมราคาสินค้าที่กำลังจะเพิ่มขึ้น
ยา
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศ ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรให้ดีขึ้น และได้รับคำสั่งซื้อจากการประมูลจากโรงพยาบาล ทำให้ผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น โดยยาที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นยาที่มีราคาไม่สูงมากนัก สำหรับปริมาณการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน สำหรับไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 เนื่องจากความต้องการในประเทศยังคงขยายตัว สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการพยายามหาตลาดใหม่ ๆ มากขึ้น
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขณะที่มูลค่าการส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 14.6 ตลาดส่งหลัก ได้แก่ ตลาดสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยุโรป แคนาดาและญี่ปุ่น ทั้งนี้คาดว่าหลังจากที่ประเทศไทยได้เปิดเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศ(FTA) จะช่วยให้ขยายการส่งออกได้มากขึ้น เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดทางด้านภาษี รวมทั้งยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมแฟชั่นที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีศักยภาพที่เข้มแข็งและส่งออกได้ดีขึ้น
ปูนซีเมนต์
การผลิตปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน แต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศยังขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเมื่อพิจารณาในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2547 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก ภาวะธุรกิจก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้น
ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง สุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการขยายตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ แม้ว่าการขยายตัวจะไม่ร้อนแรงเท่ากับปีที่ผ่านมา แต่ยังคงมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจาก การชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ จะไม่กระทบกับการจำหน่ายเซรามิกมากนัก เนื่องจาก ตลาดหลักของการจำหน่ายเซรามิกยังคงเป็นกลุ่มที่ซื้อเพื่อการปรับปรุงที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ สำหรับราคาจำหน่าย เซรามิกเริ่มมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น จากผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อัญมณีและเครื่องประดับ
ภาพรวมของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาส 3 ปี 2547 ยังคงอยู่ในระดับที่ดี แม้ว่าดัชนีผลผลิตจะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนก็ตาม แต่เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออก จะเห็นว่า มีการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการ มีเพียงทองคำยังไม่ขึ้นรูป และเครื่องประดับที่ทำด้วยโลหะอื่นๆ ที่ลดลง ซึ่งเป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไม่มากนักเมื่อเทียบกับสินค้าอื่น สำหรับมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากวัตถุดิบในประเทศขาดแคลน จึงจำเป็นต้องนำเข้ามาใช้ในการผลิตสำหรับไตรมาส 4 ปี 2547 นี้ คาดว่า จะมีการขยายตัวดีขึ้นทั้งการผลิตและการตลาดเนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลทั้งคริสต์มาสและปีใหม่ ซึ่งอัญมณีและเครื่องประดับเป็นของขวัญอย่างหนึ่งที่คนนิยมมอบให้กัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-