จากการประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวงรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 6.3 เทียบกับร้อยละ 6.6 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 และร้อยละ 5.8 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 และหากพิจารณาค่า GDP ที่ปรับตัวดัชนีฤดูกาลใน ไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 0.8 ซึ่งทรงตัวจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 เช่นกัน
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 สาขาอุตสาหกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 7.5 เทียบกับร้อยละ 10.3 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 และร้อยละ 11.1 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศชะลอตัวลงจากผลกระทบของการระบาดของโรคไข้หวัดนก ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา และการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน โดยหมวดอาหารมีการผลิตที่หดตัวลง จากผลกระทบการดำเนินการสอบสวนประเทศผู้ส่งออกกุ้ง รวมทั้งประเทศไทยเกี่ยวกับการทุ่มตลาดของสหรัฐอเมริกา สำหรับอุตสาหกรรมวัตถุดิบมีการผลิตขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่ง เป็นการขยายตัวได้ดีในหมวดเคมีและผลิตภัณฑ์เคมี ยางและพลาสติก โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ส่วน อุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยียังคงมีการขยายตัว เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า และยานยนต์
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปรับประมาณการอัตราการ ขยายตัวของ GDP ในปี 2547 เป็นร้อยละ 6.0 - 6.5 เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร แห่งประเทศไทยและราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น และธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของ GDP เช่นกัน เป็นร้อยละ 5.5 - 6.5
สำหรับตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยจะเห็นว่าตัวเลขอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4.7 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่น ๆ และเมื่อพิจารณาตัวเลขการส่งออก มูลค่าการส่งออกก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้นๆ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า
ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนก็มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยเพิ่มขึ้นในปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ และปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนประกอบกับการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค พบว่า เครื่องชี้วัดที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ภาษีมูลค่าเพิ่ม และยอดการจำหน่าย รถยนต์
ดัชนีความเชื่อมั่นและผู้บริโภค
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยแบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำและดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ทั้ง 3 ดัชนีมีการปรับตัวลดลงทุกรายการในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ได้แก่ การปรับเพิ่มราคาน้ำมันเบนซิน การปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของ GDP ของธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ ไข้หวัดนกและปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจทำโดยรวม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีค่า 95.2, 92.0 และ 91.1 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวลดลงต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคเริ่มขาดความ มั่นใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในอนาคตอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีค่า 91.1, 88.1 และ 87.0 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ค่าดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคได้สูญเสียความเชื่อมั่นด้านการจ้างงานไปบ้างจากผลกระทบต่าง ๆ มากขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีค่า 108.6, 106.2 และ 105.3 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ค่าดัชนีมีค่าสูงกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคมีความมั่นใจในอนาคตของตนว่าจะปรับตัวดีขึ้น แต่ในอนาคตมีโอกาสปรับตัวลดลงได้ เนื่องจากดัชนีปรับตัวลดลงอย่าง ต่อเนื่องจากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่าใน ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีโดยรวมมีค่าต่ำกว่า 50 แสดงว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดี ผู้ประกอบการยังคงมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตยังมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น ส่วนดัชนีที่มีการปรับตัวลดลงจาก ไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ ผลประกอบการของบริษัท ต้นทุนการผลิต และการผลิตของบริษัท
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีเฉลี่ยอยู่ในระดับที่เกินกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวะการณ์อุตสาหกรรมในระดับที่ดี และมีความเชื่อมั่นในระดับที่ดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยค่าดัชนีแทบทุกปัจจัยมีค่าเกินกว่า 100 แสดงว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ค่อนข้างมีความเชื่อมั่นต่อปัจจัยต่าง ๆ ในระดับที่ดีอยู่ แม้จะมีความเชื่อมั่นในระดับที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 จะมีเพียงดัชนีด้านต้นทุนการประกอบการที่มีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองว่าต้นทุนการประกอบการยังคงอยู่ในระดับที่สูงและปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในแต่ละปัจจัยของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับเกินกว่า 100 ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นยอดคำสั่งซื้อโดยรวมในปัจจุบัน ดัชนีความเชื่อมั่นกำไรสุทธิในปัจจุบัน
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 0.3 และเพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 7.4
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการ แปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุม อุตสาหกรรม 50 กลุ่มพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา ร้อยละ 0.8 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 6.8
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุและสินค้าที่เกี่ยวข้อง และอุตสาหกรรม การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ และอุตสาหกรรมการผลิต เครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่น ๆ
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่มพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูป คงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 10.6 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 19.6
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ และอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุและสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 1.4 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของ ปี 2546 ร้อยละ 4.7
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก อุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ และอุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่น ๆ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์และปูนปลาสเตอร์ และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ เป็นต้น
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฏว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนกันยายน 2547 อยู่ที่ระดับ 127.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคมซึ่งอยู่ในระดับ 125.7 ตามการเพิ่มขึ้นของเครื่องชี้ ได้แก่ มูลค่าทุนจดทะเบียนธุรกิจรายใหม่ ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ การส่งออก ณ ราคาคงที่ และราคาน้ำมันดิบ
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีค่าเฉลี่ย 126.9 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 127.6
ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทยในเดือนกันยายน 2547 อยู่ที่ระดับ 122.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ซึ่งอยู่ที่ระดับ 121.2 ตามการเพิ่มขึ้นของเครื่องชี้ ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และปริมาณจำหน่ายรถยนต์รวม
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีค่าเฉลี่ย 121.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 121.6
การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on private consumption) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 (ตารางที่ 5)
ทั้งนี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงภายในและภายนอกประเทศ ประกอบด้วย การระบาดของโรคไข้หวัดนก สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น รวมทั้ง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจที่ลดลง เช่นกัน ซึ่งเครื่องชี้สำคัญที่ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซินลดลง ยอดการจำหน่ายรถจักรยานยนต์
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน พบว่า ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546
หากแยกตามรายการสินค้าพบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาส เดียวกันของปี 2546
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยกรมการค้า ภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มตามราคาผักและผลไม้ ราคาไข่และผลิตภัณฑ์นม สำหรับราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหาร และเครื่องดื่มก็เพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของราคาค่าขนส่ง
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 สาขาอุตสาหกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 7.5 เทียบกับร้อยละ 10.3 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 และร้อยละ 11.1 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศชะลอตัวลงจากผลกระทบของการระบาดของโรคไข้หวัดนก ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา และการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน โดยหมวดอาหารมีการผลิตที่หดตัวลง จากผลกระทบการดำเนินการสอบสวนประเทศผู้ส่งออกกุ้ง รวมทั้งประเทศไทยเกี่ยวกับการทุ่มตลาดของสหรัฐอเมริกา สำหรับอุตสาหกรรมวัตถุดิบมีการผลิตขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่ง เป็นการขยายตัวได้ดีในหมวดเคมีและผลิตภัณฑ์เคมี ยางและพลาสติก โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ส่วน อุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยียังคงมีการขยายตัว เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า และยานยนต์
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปรับประมาณการอัตราการ ขยายตัวของ GDP ในปี 2547 เป็นร้อยละ 6.0 - 6.5 เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร แห่งประเทศไทยและราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น และธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของ GDP เช่นกัน เป็นร้อยละ 5.5 - 6.5
สำหรับตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยจะเห็นว่าตัวเลขอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4.7 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่น ๆ และเมื่อพิจารณาตัวเลขการส่งออก มูลค่าการส่งออกก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้นๆ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า
ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนก็มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยเพิ่มขึ้นในปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ และปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนประกอบกับการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค พบว่า เครื่องชี้วัดที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ภาษีมูลค่าเพิ่ม และยอดการจำหน่าย รถยนต์
ดัชนีความเชื่อมั่นและผู้บริโภค
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยแบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำและดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ทั้ง 3 ดัชนีมีการปรับตัวลดลงทุกรายการในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ได้แก่ การปรับเพิ่มราคาน้ำมันเบนซิน การปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของ GDP ของธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ ไข้หวัดนกและปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจทำโดยรวม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีค่า 95.2, 92.0 และ 91.1 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวลดลงต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคเริ่มขาดความ มั่นใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในอนาคตอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีค่า 91.1, 88.1 และ 87.0 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ค่าดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคได้สูญเสียความเชื่อมั่นด้านการจ้างงานไปบ้างจากผลกระทบต่าง ๆ มากขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีค่า 108.6, 106.2 และ 105.3 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ค่าดัชนีมีค่าสูงกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคมีความมั่นใจในอนาคตของตนว่าจะปรับตัวดีขึ้น แต่ในอนาคตมีโอกาสปรับตัวลดลงได้ เนื่องจากดัชนีปรับตัวลดลงอย่าง ต่อเนื่องจากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่าใน ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีโดยรวมมีค่าต่ำกว่า 50 แสดงว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดี ผู้ประกอบการยังคงมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตยังมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น ส่วนดัชนีที่มีการปรับตัวลดลงจาก ไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ ผลประกอบการของบริษัท ต้นทุนการผลิต และการผลิตของบริษัท
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีเฉลี่ยอยู่ในระดับที่เกินกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวะการณ์อุตสาหกรรมในระดับที่ดี และมีความเชื่อมั่นในระดับที่ดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยค่าดัชนีแทบทุกปัจจัยมีค่าเกินกว่า 100 แสดงว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ค่อนข้างมีความเชื่อมั่นต่อปัจจัยต่าง ๆ ในระดับที่ดีอยู่ แม้จะมีความเชื่อมั่นในระดับที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 จะมีเพียงดัชนีด้านต้นทุนการประกอบการที่มีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองว่าต้นทุนการประกอบการยังคงอยู่ในระดับที่สูงและปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในแต่ละปัจจัยของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับเกินกว่า 100 ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นยอดคำสั่งซื้อโดยรวมในปัจจุบัน ดัชนีความเชื่อมั่นกำไรสุทธิในปัจจุบัน
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 0.3 และเพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 7.4
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการ แปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุม อุตสาหกรรม 50 กลุ่มพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา ร้อยละ 0.8 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 6.8
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุและสินค้าที่เกี่ยวข้อง และอุตสาหกรรม การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ และอุตสาหกรรมการผลิต เครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่น ๆ
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่มพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูป คงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 10.6 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 19.6
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ และอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุและสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 1.4 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของ ปี 2546 ร้อยละ 4.7
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก อุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ และอุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่น ๆ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์และปูนปลาสเตอร์ และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ เป็นต้น
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฏว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนกันยายน 2547 อยู่ที่ระดับ 127.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคมซึ่งอยู่ในระดับ 125.7 ตามการเพิ่มขึ้นของเครื่องชี้ ได้แก่ มูลค่าทุนจดทะเบียนธุรกิจรายใหม่ ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ การส่งออก ณ ราคาคงที่ และราคาน้ำมันดิบ
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีค่าเฉลี่ย 126.9 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 127.6
ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทยในเดือนกันยายน 2547 อยู่ที่ระดับ 122.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ซึ่งอยู่ที่ระดับ 121.2 ตามการเพิ่มขึ้นของเครื่องชี้ ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และปริมาณจำหน่ายรถยนต์รวม
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีค่าเฉลี่ย 121.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 121.6
การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on private consumption) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 (ตารางที่ 5)
ทั้งนี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงภายในและภายนอกประเทศ ประกอบด้วย การระบาดของโรคไข้หวัดนก สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น รวมทั้ง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจที่ลดลง เช่นกัน ซึ่งเครื่องชี้สำคัญที่ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซินลดลง ยอดการจำหน่ายรถจักรยานยนต์
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน พบว่า ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546
หากแยกตามรายการสินค้าพบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาส เดียวกันของปี 2546
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยกรมการค้า ภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มตามราคาผักและผลไม้ ราคาไข่และผลิตภัณฑ์นม สำหรับราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหาร และเครื่องดื่มก็เพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของราคาค่าขนส่ง
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-