แม้ว่าน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงนี้จะมีราคาสูง แต่จากการที่ผู้ผลิตหลายค่ายได้มีการเปิดตัวยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การที่ภาครัฐได้มีการปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ทำให้รถยนต์บางประเภทมีภาระภาษีที่ลดลงกว่าเดิม ต่างก็เป็นปัจจัยบวกที่กระตุ้นและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ตลาดยานยนต์ไทยยังคงสามารถขยายตัวได้เพิ่มขึ้น สำหรับราคาน้ำมันดีเซลในประเทศ ขณะนี้ที่มีราคาต่ำกว่าน้ำมันเบนซินอยู่มาก อาจทำให้พฤติกรรมของตลาดรถยนต์ไทยเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยผู้บริโภคหันมานิยมรถยนต์ประเภทที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลมากขึ้น
อุตสาหกรรมรถยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 611,619 คัน และ 438,869 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 ร้อยละ 23.55 และ 15.72 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.17 , 25.79 และ 47.58 ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการผลิตร้อยละ 34.57, 62.61 และ 2.82 ตามลำดับ ในด้านปริมาณการจำหน่าย ทั้งรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.19, 15.65 และ 6.38 ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการจำหน่ายร้อยละ 34.54, 57.64 และ 7.82 ตามลำดับ สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์นั่งที่เพิ่มขึ้น มาจากการผลิตรถยนต์นั่งขนาดต่ำกว่า 2,000 ซีซี. และ ขนาด 2,401 ซีซี. ถึง 3,000 ซีซี. เพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการในประเทศและผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น แต่รถยนต์นั่งตรวจการณ์ (OPV) ผลิตลดลง เนื่องจากมีการนำเข้ารถยนต์ประเภทนี้มาจำหน่าย ประกอบกับความต้องการในประเทศลดลง ส่วนรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน มีการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการในประเทศยังคงมีมาก และผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น สำหรับรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดรถบรรทุกมีการขยายตัวเพราะภาวะเศรษฐกิจไทยขยายตัว
เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.09 และ 5.49 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.17, 2.31 และ 37.73 ตามลำดับ ในส่วนของการจำหน่าย รถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.47 แต่รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 1.24 ส่วนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.97 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2547 ทั้งปริมาณการผลิต และการจำหน่าย ลดลงร้อยละ 5.67 และ 7.19 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.46 แต่รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 10.25 และ 7.85 ตามลำดับ ในส่วนของการจำหน่าย รถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.99 แต่รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 13.12 และ 0.31 ตามลำดับ
ในด้านการส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์(CBU) จำนวน 236,123 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.26 คิดเป็นสัดส่วนต่อรถยนต์ที่ผลิตได้ทั้งหมดร้อยละ 35.69 และคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 105,386.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.82 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.89 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.55 จากข้อมูลข้างต้น การขยายตัวของการส่งออกรถยนต์มีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์หลายรายใช้ฐานการผลิตรถยนต์ในประเทศไทย เพื่อส่งรถยนต์ไปจำหน่ายในตลาดอาเซียน และอีกหลายรายส่งจำหน่ายในตลาดทั่วโลก ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์จากประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ได้แก่ ออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย และสหราชอาณาจักรฯ โดยมีตลาดส่งออกรถยนต์นั่งที่สำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย ตลาดส่งออกรถแวนและปิกอัพที่สำคัญ ได้แก่ สหราชอาณาจักรฯ และออสเตรเลีย ตลาดส่งออกรถบัสและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย
การนำเข้ารถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 8.38 แต่รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.88 และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.71 และ 77.80 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองของปี 2547 ทั้งมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.90 และ 24.77 ตามลำดับ ซึ่งแหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งของไทยที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ได้แก่ ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย สำหรับแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกของไทยที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น และจีน สำหรับข้อมูลจากกรมศุลกากร ซึ่งได้รายงานผลการนำเข้ารถยนต์นั่ง ที่ผ่านพิธีการศุลกากร ณ สำนักงานศุลกากรแหลมฉบัง, สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ, สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ, สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และสำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ ปรากฏว่า 9 เดือนแรกของปี 2547 มีการนำเข้ารถยนต์นั่งรวมจำนวน 18,916 คัน โดยแบ่งเป็น รถยนต์ญี่ปุ่น 12,513 คัน รถยนต์เกาหลี 3,648 คัน รถยนต์ยุโรป 2,650 คัน และรถยนต์สหรัฐอเมริกา 105 คัน
จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2547 แสดงถึงแนวโน้มที่ดี ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย และการส่งออก ประกอบกับในไตรมาสสุดท้ายของปี เป็นช่วงฤดูการขาย มีงานมอเตอร์เอ็กซโป 2004 ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นงานที่บริษัทจำหน่ายรถยนต์จะนำรถรุ่นใหม่มาเปิดตัว และจัดรายการส่งเสริมการขายแข่งกันในทุกค่าย ดังนั้น จึงเป็นไปได้ตามเป้าหมายว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์ปี 2547 ประมาณ 9 แสนคัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 6 แสนคัน และผลิตเพื่อส่งออกประมาณ 3 แสนคัน
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มีจำนวน 2,143,509 คัน และ 1,483,789 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 ร้อยละ 19.82 และ 13.87 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.02 และ 58.22 ตามลำดับ ซึ่งรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตที่ผลิตเพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.32 รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 22.05 สำหรับรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึงร้อยละ 99.16 (รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวนี้ ได้รวมข้อมูลของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต และแบบสกู๊ตเตอร์ ไว้ด้วย โดยรถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมากกว่าแบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต) และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.81 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.68 และ 24.22 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.03 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.14 และ 0.75 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2547 มีปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 5.40 และ 10.53 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 5.33 และ 7.56 ตามลำดับ สำหรับการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวลดลงร้อยละ 10.63 แต่แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.04 จากสภาพตลาดรถจักรยานยนต์ในช่วงไตรมาสที่สามของปีนี้ แม้ว่าจะได้รับการกระตุ้นจากกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่าย แต่เป็นช่วงฤดูฝน ซึ่งไม่ใช่ฤดูการจำหน่าย ทำให้ปริมาณการจำหน่ายในช่วงนี้มีอัตราการขยายตัวไม่สูงมากนัก นอกจากนี้ ผู้บริโภคบางกลุ่มได้ชะลอการซื้อไปจนถึงช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงฤดูการขาย และผู้ผลิตส่วนใหญ่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่
ด้านการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) จำนวน 619,509 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 ร้อยละ 50.07 โดยคิดเป็นมูลค่า 10,044.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.20 และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.45 และคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 91.50 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2547 ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.43 โดยคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.01 ทั้งนี้ เพราะความต้องการจากตลาดต่างประเทศมีมากขึ้น ทั้งในตลาดยุโรป, อาเซียน และสหรัฐอเมริกา เนื่องจากรถจักรยานยนต์ไทยยังคงมีความได้เปรียบในเรื่องของคุณภาพและราคา เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง สำหรับประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์จากประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และเบลเยียม
สำหรับการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.78 และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 13.93 หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองของปี 2547 แล้ว มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 23.43 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น, เยอรมนี และจีน
จากข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ข้างต้น ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะมีการผลิต การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ได้ตามที่คาดการณ์ไว้ โดยคาดว่า ในปี 2547 จะมีปริมาณการผลิตประมาณ 2.6 ล้านคัน ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ 1.8 ล้านคัน
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มีมูลค่า 26,426.25 และ 2,086.66 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 ร้อยละ 56.37 และ 29.21 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 8,901.13 และ 2,463.11 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 ร้อยละ 106.11 และ 21.62 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.42 และ 37.27 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.74 แต่ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 71.57 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2547 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.77 และ 10.90 ตามลำดับสำหรับมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.86 แต่ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 81.97 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และแอฟริกาใต้ ส่วนประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย, เวียดนาม, กัมพูชา และฟิลิปปินส์
ด้านการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถัง และยางรถยนต์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มีมูลค่า 86,194.4 และ 2,650.2 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 ร้อยละ 18.76 และ 36.42 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยานมีมูลค่า 2,728.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.45 และเมื่อพิจารณาไตรมาสที่สามของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถัง และยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.19 และ 62.96ล้านบาท ตามลำดับ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.39 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สอง มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถัง และยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.85 และ 24.07 ตามลำดับ
ส่วนการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 8.49 ซึ่งแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถังรถยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น, เยอรมนี และฟิลิปปินส์ แหล่งนำเข้ายางรถยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น, อินโดนีเซีย, จีน และมาเลเซีย และแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน ที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น, อินโดนีเชีย, จีน และไต้หวัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
อุตสาหกรรมรถยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 611,619 คัน และ 438,869 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 ร้อยละ 23.55 และ 15.72 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.17 , 25.79 และ 47.58 ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการผลิตร้อยละ 34.57, 62.61 และ 2.82 ตามลำดับ ในด้านปริมาณการจำหน่าย ทั้งรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.19, 15.65 และ 6.38 ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการจำหน่ายร้อยละ 34.54, 57.64 และ 7.82 ตามลำดับ สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์นั่งที่เพิ่มขึ้น มาจากการผลิตรถยนต์นั่งขนาดต่ำกว่า 2,000 ซีซี. และ ขนาด 2,401 ซีซี. ถึง 3,000 ซีซี. เพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการในประเทศและผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น แต่รถยนต์นั่งตรวจการณ์ (OPV) ผลิตลดลง เนื่องจากมีการนำเข้ารถยนต์ประเภทนี้มาจำหน่าย ประกอบกับความต้องการในประเทศลดลง ส่วนรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน มีการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการในประเทศยังคงมีมาก และผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น สำหรับรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดรถบรรทุกมีการขยายตัวเพราะภาวะเศรษฐกิจไทยขยายตัว
เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.09 และ 5.49 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.17, 2.31 และ 37.73 ตามลำดับ ในส่วนของการจำหน่าย รถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.47 แต่รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 1.24 ส่วนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.97 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2547 ทั้งปริมาณการผลิต และการจำหน่าย ลดลงร้อยละ 5.67 และ 7.19 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.46 แต่รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 10.25 และ 7.85 ตามลำดับ ในส่วนของการจำหน่าย รถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.99 แต่รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 13.12 และ 0.31 ตามลำดับ
ในด้านการส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์(CBU) จำนวน 236,123 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.26 คิดเป็นสัดส่วนต่อรถยนต์ที่ผลิตได้ทั้งหมดร้อยละ 35.69 และคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 105,386.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.82 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.89 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.55 จากข้อมูลข้างต้น การขยายตัวของการส่งออกรถยนต์มีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์หลายรายใช้ฐานการผลิตรถยนต์ในประเทศไทย เพื่อส่งรถยนต์ไปจำหน่ายในตลาดอาเซียน และอีกหลายรายส่งจำหน่ายในตลาดทั่วโลก ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์จากประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ได้แก่ ออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย และสหราชอาณาจักรฯ โดยมีตลาดส่งออกรถยนต์นั่งที่สำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย ตลาดส่งออกรถแวนและปิกอัพที่สำคัญ ได้แก่ สหราชอาณาจักรฯ และออสเตรเลีย ตลาดส่งออกรถบัสและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย
การนำเข้ารถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 8.38 แต่รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.88 และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.71 และ 77.80 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองของปี 2547 ทั้งมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.90 และ 24.77 ตามลำดับ ซึ่งแหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งของไทยที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ได้แก่ ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย สำหรับแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกของไทยที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น และจีน สำหรับข้อมูลจากกรมศุลกากร ซึ่งได้รายงานผลการนำเข้ารถยนต์นั่ง ที่ผ่านพิธีการศุลกากร ณ สำนักงานศุลกากรแหลมฉบัง, สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ, สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ, สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และสำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ ปรากฏว่า 9 เดือนแรกของปี 2547 มีการนำเข้ารถยนต์นั่งรวมจำนวน 18,916 คัน โดยแบ่งเป็น รถยนต์ญี่ปุ่น 12,513 คัน รถยนต์เกาหลี 3,648 คัน รถยนต์ยุโรป 2,650 คัน และรถยนต์สหรัฐอเมริกา 105 คัน
จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2547 แสดงถึงแนวโน้มที่ดี ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย และการส่งออก ประกอบกับในไตรมาสสุดท้ายของปี เป็นช่วงฤดูการขาย มีงานมอเตอร์เอ็กซโป 2004 ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นงานที่บริษัทจำหน่ายรถยนต์จะนำรถรุ่นใหม่มาเปิดตัว และจัดรายการส่งเสริมการขายแข่งกันในทุกค่าย ดังนั้น จึงเป็นไปได้ตามเป้าหมายว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์ปี 2547 ประมาณ 9 แสนคัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 6 แสนคัน และผลิตเพื่อส่งออกประมาณ 3 แสนคัน
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มีจำนวน 2,143,509 คัน และ 1,483,789 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 ร้อยละ 19.82 และ 13.87 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.02 และ 58.22 ตามลำดับ ซึ่งรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตที่ผลิตเพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.32 รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 22.05 สำหรับรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึงร้อยละ 99.16 (รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวนี้ ได้รวมข้อมูลของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต และแบบสกู๊ตเตอร์ ไว้ด้วย โดยรถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมากกว่าแบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต) และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.81 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.68 และ 24.22 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.03 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.14 และ 0.75 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2547 มีปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 5.40 และ 10.53 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 5.33 และ 7.56 ตามลำดับ สำหรับการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวลดลงร้อยละ 10.63 แต่แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.04 จากสภาพตลาดรถจักรยานยนต์ในช่วงไตรมาสที่สามของปีนี้ แม้ว่าจะได้รับการกระตุ้นจากกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่าย แต่เป็นช่วงฤดูฝน ซึ่งไม่ใช่ฤดูการจำหน่าย ทำให้ปริมาณการจำหน่ายในช่วงนี้มีอัตราการขยายตัวไม่สูงมากนัก นอกจากนี้ ผู้บริโภคบางกลุ่มได้ชะลอการซื้อไปจนถึงช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงฤดูการขาย และผู้ผลิตส่วนใหญ่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่
ด้านการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) จำนวน 619,509 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 ร้อยละ 50.07 โดยคิดเป็นมูลค่า 10,044.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.20 และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.45 และคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 91.50 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2547 ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.43 โดยคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.01 ทั้งนี้ เพราะความต้องการจากตลาดต่างประเทศมีมากขึ้น ทั้งในตลาดยุโรป, อาเซียน และสหรัฐอเมริกา เนื่องจากรถจักรยานยนต์ไทยยังคงมีความได้เปรียบในเรื่องของคุณภาพและราคา เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง สำหรับประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์จากประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และเบลเยียม
สำหรับการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.78 และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 13.93 หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองของปี 2547 แล้ว มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 23.43 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น, เยอรมนี และจีน
จากข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ข้างต้น ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะมีการผลิต การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ได้ตามที่คาดการณ์ไว้ โดยคาดว่า ในปี 2547 จะมีปริมาณการผลิตประมาณ 2.6 ล้านคัน ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ 1.8 ล้านคัน
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มีมูลค่า 26,426.25 และ 2,086.66 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 ร้อยละ 56.37 และ 29.21 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 8,901.13 และ 2,463.11 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 ร้อยละ 106.11 และ 21.62 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.42 และ 37.27 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.74 แต่ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 71.57 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2547 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.77 และ 10.90 ตามลำดับสำหรับมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.86 แต่ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 81.97 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และแอฟริกาใต้ ส่วนประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย, เวียดนาม, กัมพูชา และฟิลิปปินส์
ด้านการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถัง และยางรถยนต์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มีมูลค่า 86,194.4 และ 2,650.2 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 ร้อยละ 18.76 และ 36.42 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยานมีมูลค่า 2,728.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.45 และเมื่อพิจารณาไตรมาสที่สามของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถัง และยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.19 และ 62.96ล้านบาท ตามลำดับ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.39 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สอง มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถัง และยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.85 และ 24.07 ตามลำดับ
ส่วนการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 8.49 ซึ่งแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถังรถยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น, เยอรมนี และฟิลิปปินส์ แหล่งนำเข้ายางรถยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น, อินโดนีเซีย, จีน และมาเลเซีย และแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน ที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น, อินโดนีเชีย, จีน และไต้หวัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-