1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนยังคงปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 1.97 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ 23.2 และสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 การใช้กำลังการผลิตรวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาส 3 นี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น 26.2 โดยเป็นการเพิ่มจากสินค้าเครื่องใช้ ไฟฟ้าร้อยละ 16.9 และในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40.0 และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกพบว่าในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 นี้ การส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 342,771 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.1 และจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มร้อยละ 17.3 ส่วนการนำเข้าสินค้าในกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 271,638.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่น พบว่าภาวการณ์ผลิตของสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ในกลุ่ม HouseHold Electrical Machinery ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 เช่นเดียวกับภาวะการผลิตของสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นที่ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าในกลุ่ม Electronic computer และ Electronic parts and devices ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 และ 12.2 ตามลำดับ โดยเป็นไปตามการขยายตัวของความต้องการสินค้าในกลุ่ม IT ของโลกทำให้มีความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น และเมื่อพิจารณาถึงมูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของภูมิภาคต่างๆ ของโลกพบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นทุกตลาดโดย Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีมูลค่าจำหน่าย 50.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 โดยภาวการณ์ผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 เป็นดังนี้
กลุ่มเครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ (ISIC 2919)
ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเนื่องจากเป็นช่วงที่พ้นฤดูร้อนแล้ว แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตเพิ่มขึ้นมากคือปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 84.3
กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (ISIC 2930)
ซึ่งประกอบด้วย พัดลม ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ISIC 3230)
ดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากตลาดยังมีความต้องการอยู่ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลงร้อยละ 7.1
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 และเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.7 รองลงมา คือ LCD เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.9 และตู้เย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 ส่วนสินค้าที่ปรับตัวลดลงมาก ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 44.8 รองลงมา คือ ไมโครเวฟ ลดลงร้อยละ 12.4 และเครื่องซักผ้าลดลงร้อยละ 9.92 ดัชนีผลผลิตรายสินค้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ของประเทศญี่ปุ่น
2.1 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มต่างๆในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นดังนี้
กลุ่มเครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ (ISIC 2919)
ดัชนีการส่งสินค้าลดลงร้อยละ 14.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 94.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (ISIC 2930)
ซึ่งประกอบด้วย พัดลม ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว ดัชนีการส่งสินค้าลดลงร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ISIC 3230)
ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนแต่ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นกับไตรมาสก่อนพบว่าปรับตัวลดลงร้อยละ 2.9 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 และเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องเล่น DVD ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก คือ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.4 รองลงมา คือ LCD ลดลงร้อยละ 61.6 เครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากที่สุดได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 18.8 รองลงมาคือ ไมโครเวฟ ลดลงร้อยละ 8.75
ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาส 3 ปี 2547 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงยกเว้นเครื่องซักผ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกสินค้าเช่นกันยกเว้นพัดลมที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 17.5 จะเห็นได้ว่าตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของที่อยู่อาศัย ผู้ประกอบการใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องและยังไม่ขึ้นราคาสินค้าทำให้ผู้บริโภคยังคงมีกำลังซื้ออยู่
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีมูลค่าทั้งสิ้น 140,423.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าส่งออกมูลค่าสูงที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่เครื่องปรับอากาศและ ส่วนประกอบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ แผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.6 38.0 และ 23.2 ด้วยมูลค่าการส่งออก 18,818.1 7,566.2 และ 8,308.7 ล้านบาทตามลำดับ ในขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุดยังคงเป็น เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบโดยมีมูลค่าการส่งออก 35,722.5 ล้านบาท
2.1 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีมูลค่าทั้งสิ้น 271,638.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นที่น่าสังเกตุว่าสินค้านำเข้าที่มีอัตราการขยายตัวสูงในไตรมาสนี้เป็นสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าสำเร็จรูป เช่น เครื่องรับวิทยุโทรศัพท์ โทรเลข โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องเล่นวีดีโอ เป็นต้น
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เทียบกับไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40.4 โดยเฉพาะในกลุ่ม Monolithic IC และ Other IC เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45 และ40 ตามลำดับซึ่งเป็นการขยายตัวตามความต้องการสินค้า IT ของโลกที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้เมื่อพิจารณาเทียบกับภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ของปี 2547 พบว่าภาวะการผลิตของประเทศญี่ปุ่นค่อนข้างทรงตัวเช่นกันเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดย Ministry of Economic Trade and Industry (METI) รายงานว่าดัชนีผลผลิตในกลุ่มของ Electronic computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 แต่ในกลุ่มของ Electronic parts and devices ลดลงร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวดีขึ้นโดยทั้งกลุ่ม Electronic computer และกลุ่ม Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 และ 12.2 ตามลำดับ
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2547 โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 39.3 โดยเฉพาะในกลุ่ม Monolithic Integrated circuit และ Other Integrated circuit เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.2 และ 40.4 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นใน ไตรมาส 3 ของปี 2547 พบว่าภาวะการส่งสินค้าของประเทศญี่ปุ่นทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดย METI รายงานว่าดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่ม Electronic computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 แต่ในกลุ่มของ Electronic parts and devices ลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวดีขึ้นทั้งกลุ่ม Electronic computer และ กลุ่ม Electronic parts and devices โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 และ 12.4 ตามลำดับ
นอกจากนี้ Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ที่มีการขยายตัวดีขึ้น โดยมีมูลค่าจำหน่าย 50.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.5 ซึ่ง SIA กล่าวว่าเป็นเพราะตลาด Personal Computer and Cell Phone handsets เติบโตมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ จึงทำให้มีความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยภูมิภาคสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.3 23.3 13.2 และ 31.6 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เริ่มมีสัญญาณว่าปริมาณสินค้าคงคลังมีการสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มูลค่าการจำหน่ายในช่วงเดือนกันยายนมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 1.7 และ 0.5 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีมูลค่า 202,347.5 ล้านบาท เป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนร้อยละ 9.6 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 โดยสินค้าสำคัญที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และวงจรพิมพ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 และ 122.6 ด้วยมูลค่าการส่งออก 95,234.2 และ 18,326.3 ล้านบาทตามลำดับ และหากพิจารณาแล้วสินค้าส่งออกที่สำคัญที่มีการ ปรับตัวลดลง คือ เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ลดลงร้อยละ 12.0 และ 7.5 ตามลำดับ
3.3 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีมูลค่ารวม 167,973.3 ล้านบาท โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 สินค้าสำคัญที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก คือ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37.4 29.3 และ 26.6 ตามลำดับ (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 8 )
4. แนวโน้ม
แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2547 คาดว่าอยู่ในภาวะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2547 ทั้งนี้เกิดจากปัจจัยทั้งด้านบวกและด้านลบ ที่อาจทำให้เกิดความไม่แน่นอนด้านความต้องการสินค้า สิ่งที่เป็นปัจจัยบวก ได้แก่ ความต้องการภายในประเทศโดยเฉพาะเครื่องใช้ ไฟฟ้าในบ้านที่ยังคงมีการขยายตัวตามการขยายตัวของครอบครัวใหม่ การใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขายในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบการและการรักษาระดับราคาเดิมไว้เพื่อให้ได้ยอดขายเพิ่มในไตรมาส 4 นี้ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดสามารถส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศและส่งออกไปขายในตลาดส่งออกใหม่ได้เพิ่มขึ้น เป็นต้น ส่วนปัจจัยลบยังคงเป็นเรื่องของราคาน้ำมันที่คาดว่าจะยังคงมีการปรับตัวสูงขึ้นซึ่งจะเป็นผลให้ราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งปรับตัวสูงขึ้น การแข่งขันในตลาดในประเทศจะรุนแรงขึ้นโดยมีตัวกระตุ้นจากสินค้าจีนและสินค้าสไตล์ทันสมัยจากประเทศอื่น เช่น ไต้หวัน การชะลอตัวของอสังหาริมทรัพย์ การขึ้นอัตราดอกเบี้ย ฯลฯ ผลกระทบจากการแข่งขันกับสินค้าจีนในตลาดส่งออกและมาตรการต่างๆ ที่ประเทศคู่ค้ากำหนดขึ้นมาโดยใช้ข้ออ้างเพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัยของประชาชนก็จะเป็นแรงฉุดให้สินค้าของไทยไม่สามารถขยายตัวได้เท่าที่ควร แต่อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนคาดว่าทั้งการผลิต ตลาดในประเทศ และการส่งออกรวมทั้งปี 2547 จะมีแนวโน้มที่ดีกว่าปีก่อน
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2547 คาดว่าจะทรงตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ซึ่งเป็นภาวะปกติของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่จะชะลอตัวลงในช่วงปลายปี เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นประเภทชิ้นส่วนที่จะมีการสั่งซื้อมากในช่วงไตรมาส 3 เพื่อนำไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่ายในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจะปรับตัวดีขึ้นตามการขยายตัวของภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนจะได้รับผลดีตามภาวะอิเล็กทรอนิกส์โลกไปด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนยังคงปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 1.97 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ 23.2 และสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 การใช้กำลังการผลิตรวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาส 3 นี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น 26.2 โดยเป็นการเพิ่มจากสินค้าเครื่องใช้ ไฟฟ้าร้อยละ 16.9 และในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40.0 และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกพบว่าในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 นี้ การส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 342,771 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.1 และจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มร้อยละ 17.3 ส่วนการนำเข้าสินค้าในกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 271,638.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่น พบว่าภาวการณ์ผลิตของสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ในกลุ่ม HouseHold Electrical Machinery ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 เช่นเดียวกับภาวะการผลิตของสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นที่ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าในกลุ่ม Electronic computer และ Electronic parts and devices ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 และ 12.2 ตามลำดับ โดยเป็นไปตามการขยายตัวของความต้องการสินค้าในกลุ่ม IT ของโลกทำให้มีความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น และเมื่อพิจารณาถึงมูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของภูมิภาคต่างๆ ของโลกพบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นทุกตลาดโดย Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีมูลค่าจำหน่าย 50.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 โดยภาวการณ์ผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 เป็นดังนี้
กลุ่มเครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ (ISIC 2919)
ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเนื่องจากเป็นช่วงที่พ้นฤดูร้อนแล้ว แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตเพิ่มขึ้นมากคือปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 84.3
กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (ISIC 2930)
ซึ่งประกอบด้วย พัดลม ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ISIC 3230)
ดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากตลาดยังมีความต้องการอยู่ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลงร้อยละ 7.1
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 และเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.7 รองลงมา คือ LCD เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.9 และตู้เย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 ส่วนสินค้าที่ปรับตัวลดลงมาก ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 44.8 รองลงมา คือ ไมโครเวฟ ลดลงร้อยละ 12.4 และเครื่องซักผ้าลดลงร้อยละ 9.92 ดัชนีผลผลิตรายสินค้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ของประเทศญี่ปุ่น
2.1 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มต่างๆในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นดังนี้
กลุ่มเครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ (ISIC 2919)
ดัชนีการส่งสินค้าลดลงร้อยละ 14.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 94.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (ISIC 2930)
ซึ่งประกอบด้วย พัดลม ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว ดัชนีการส่งสินค้าลดลงร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ISIC 3230)
ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนแต่ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นกับไตรมาสก่อนพบว่าปรับตัวลดลงร้อยละ 2.9 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 และเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องเล่น DVD ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก คือ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.4 รองลงมา คือ LCD ลดลงร้อยละ 61.6 เครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากที่สุดได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 18.8 รองลงมาคือ ไมโครเวฟ ลดลงร้อยละ 8.75
ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาส 3 ปี 2547 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงยกเว้นเครื่องซักผ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกสินค้าเช่นกันยกเว้นพัดลมที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 17.5 จะเห็นได้ว่าตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของที่อยู่อาศัย ผู้ประกอบการใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องและยังไม่ขึ้นราคาสินค้าทำให้ผู้บริโภคยังคงมีกำลังซื้ออยู่
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีมูลค่าทั้งสิ้น 140,423.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าส่งออกมูลค่าสูงที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่เครื่องปรับอากาศและ ส่วนประกอบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ แผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.6 38.0 และ 23.2 ด้วยมูลค่าการส่งออก 18,818.1 7,566.2 และ 8,308.7 ล้านบาทตามลำดับ ในขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุดยังคงเป็น เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบโดยมีมูลค่าการส่งออก 35,722.5 ล้านบาท
2.1 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีมูลค่าทั้งสิ้น 271,638.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นที่น่าสังเกตุว่าสินค้านำเข้าที่มีอัตราการขยายตัวสูงในไตรมาสนี้เป็นสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าสำเร็จรูป เช่น เครื่องรับวิทยุโทรศัพท์ โทรเลข โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องเล่นวีดีโอ เป็นต้น
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เทียบกับไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40.4 โดยเฉพาะในกลุ่ม Monolithic IC และ Other IC เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45 และ40 ตามลำดับซึ่งเป็นการขยายตัวตามความต้องการสินค้า IT ของโลกที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้เมื่อพิจารณาเทียบกับภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ของปี 2547 พบว่าภาวะการผลิตของประเทศญี่ปุ่นค่อนข้างทรงตัวเช่นกันเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดย Ministry of Economic Trade and Industry (METI) รายงานว่าดัชนีผลผลิตในกลุ่มของ Electronic computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 แต่ในกลุ่มของ Electronic parts and devices ลดลงร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวดีขึ้นโดยทั้งกลุ่ม Electronic computer และกลุ่ม Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 และ 12.2 ตามลำดับ
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2547 โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 39.3 โดยเฉพาะในกลุ่ม Monolithic Integrated circuit และ Other Integrated circuit เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.2 และ 40.4 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นใน ไตรมาส 3 ของปี 2547 พบว่าภาวะการส่งสินค้าของประเทศญี่ปุ่นทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดย METI รายงานว่าดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่ม Electronic computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 แต่ในกลุ่มของ Electronic parts and devices ลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวดีขึ้นทั้งกลุ่ม Electronic computer และ กลุ่ม Electronic parts and devices โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 และ 12.4 ตามลำดับ
นอกจากนี้ Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ที่มีการขยายตัวดีขึ้น โดยมีมูลค่าจำหน่าย 50.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.5 ซึ่ง SIA กล่าวว่าเป็นเพราะตลาด Personal Computer and Cell Phone handsets เติบโตมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ จึงทำให้มีความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยภูมิภาคสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.3 23.3 13.2 และ 31.6 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เริ่มมีสัญญาณว่าปริมาณสินค้าคงคลังมีการสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มูลค่าการจำหน่ายในช่วงเดือนกันยายนมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 1.7 และ 0.5 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีมูลค่า 202,347.5 ล้านบาท เป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนร้อยละ 9.6 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 โดยสินค้าสำคัญที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และวงจรพิมพ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 และ 122.6 ด้วยมูลค่าการส่งออก 95,234.2 และ 18,326.3 ล้านบาทตามลำดับ และหากพิจารณาแล้วสินค้าส่งออกที่สำคัญที่มีการ ปรับตัวลดลง คือ เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ลดลงร้อยละ 12.0 และ 7.5 ตามลำดับ
3.3 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีมูลค่ารวม 167,973.3 ล้านบาท โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 สินค้าสำคัญที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก คือ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37.4 29.3 และ 26.6 ตามลำดับ (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 8 )
4. แนวโน้ม
แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2547 คาดว่าอยู่ในภาวะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2547 ทั้งนี้เกิดจากปัจจัยทั้งด้านบวกและด้านลบ ที่อาจทำให้เกิดความไม่แน่นอนด้านความต้องการสินค้า สิ่งที่เป็นปัจจัยบวก ได้แก่ ความต้องการภายในประเทศโดยเฉพาะเครื่องใช้ ไฟฟ้าในบ้านที่ยังคงมีการขยายตัวตามการขยายตัวของครอบครัวใหม่ การใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขายในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบการและการรักษาระดับราคาเดิมไว้เพื่อให้ได้ยอดขายเพิ่มในไตรมาส 4 นี้ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดสามารถส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศและส่งออกไปขายในตลาดส่งออกใหม่ได้เพิ่มขึ้น เป็นต้น ส่วนปัจจัยลบยังคงเป็นเรื่องของราคาน้ำมันที่คาดว่าจะยังคงมีการปรับตัวสูงขึ้นซึ่งจะเป็นผลให้ราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งปรับตัวสูงขึ้น การแข่งขันในตลาดในประเทศจะรุนแรงขึ้นโดยมีตัวกระตุ้นจากสินค้าจีนและสินค้าสไตล์ทันสมัยจากประเทศอื่น เช่น ไต้หวัน การชะลอตัวของอสังหาริมทรัพย์ การขึ้นอัตราดอกเบี้ย ฯลฯ ผลกระทบจากการแข่งขันกับสินค้าจีนในตลาดส่งออกและมาตรการต่างๆ ที่ประเทศคู่ค้ากำหนดขึ้นมาโดยใช้ข้ออ้างเพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัยของประชาชนก็จะเป็นแรงฉุดให้สินค้าของไทยไม่สามารถขยายตัวได้เท่าที่ควร แต่อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนคาดว่าทั้งการผลิต ตลาดในประเทศ และการส่งออกรวมทั้งปี 2547 จะมีแนวโน้มที่ดีกว่าปีก่อน
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2547 คาดว่าจะทรงตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ซึ่งเป็นภาวะปกติของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่จะชะลอตัวลงในช่วงปลายปี เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นประเภทชิ้นส่วนที่จะมีการสั่งซื้อมากในช่วงไตรมาส 3 เพื่อนำไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่ายในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจะปรับตัวดีขึ้นตามการขยายตัวของภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนจะได้รับผลดีตามภาวะอิเล็กทรอนิกส์โลกไปด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-