ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (Petrochemical Industry)
ไตรมาส 3 ปี 2547 อุตสาหกรรมปิโตรเคมียังอยู่ในวัฏจักรขาขึ้น ความต้องการเม็ดพลาสติกทั้ง โอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน (ถึงแม้ว่ารัฐบาลจีนได้ออกประกาศใช้มาตรการเพื่อผ่อนคลายความร้อนแรงของเศรษฐกิจ แต่ความต้องการบริโภคเม็ดพลาสติกยังคงมีปริมาณมาก) ในขณะที่ความต้องการปิโตรเคมีในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอประมาณร้อยละ 7 ต่อปี ปัจจุบัน เกิดภาวะเม็ดพลาสติกภายในประเทศขาดตลาดและราคาเม็ดพลาสติกปรับตัวสูงขึ้นกว่าเท่าตัว ทำให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกประสบปัญหา ต้องกักตุนวัตถุดิบ
สาเหตุที่ราคาเม็ดพลาสติกปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจาก ราคาวัตถุดิบต้นน้ำได้แก่ เอทิลีน และแนฟทาปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น อันเป็นผลจากความกังวลเรื่องปัญหาการก่อการร้ายในตะวันออกกลางจะทำให้ประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน ไม่สามารถส่งออกน้ำมันได้ตามปกติ รวมทั้งจากข้อมูลที่ว่า ปัจจุบัน กลุ่มโอเปคได้ผลิตน้ำมันดิบจนเต็มความสามารถแล้ว นอกจากนี้ ปัจจัยเรื่องสถานการณ์ของบริษัท Yokos ในรัสเซีย ที่อาจจะไม่สามารถผลิตน้ำมันได้ตามปกติ (บริษัท Yokos ผลิตน้ำมันดิบคิดเป็นร้อยละ 18 ของปริมาณการผลิตในรัสเซีย) ก็ส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำมันดิบ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการปิดซ่อมบำรุงของเอทิลีนแครกเกอร์ในเอเชียหลายแห่ง (ทั้งที่วางแผนและไม่วางแผน)
ส่วนสาเหตุที่เม็ดพลาสติกหลัก เช่น PE, PP ในประเทศเกิดภาวะขาดแคลนอย่างรุนแรง เนื่องจากผู้ผลิตเอทิลีนซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของเม็ด PE ส่งออกเอทิลีนไปขายต่างประเทศ ทำให้ปริมาณเอทิลีนในตลาดมีจำกัด ในขณะที่ ผู้ผลิตเม็ดพลาสติก PE ไม่สามารถนำเข้าเอทิลีนเพราะไม่คุ้ม (ราคาตลาดโลกสูงมาก) ทำให้การผลิตเม็ด PE มีปริมาณจำกัด (ตามปริมาณวัตถุดิบที่ป้อน) ส่วนผู้ผลิตเม็ด PP ก็มีปัญหาเรื่องการผลิต รวมทั้งการปิดโรงงานภายในประเทศเพื่อซ่อมบำรุง ทำให้ปริมาณเม็ด PP ที่ออกขายสู่ตลาดมีน้อย
ผู้ประกอบการวางแผนขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เช่น บมจ. เอ็นพีซี และ บมจ. ปตท. ได้ร่วมทุนสัดส่วน 50 : 50 ในโครงการเอทิลีนแครกเกอร์และโรงผลิตเม็ดพลาสติก LDPE โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตดุดิบ คาดว่าจะเริ่มผลิตในเชิงพาณิชย์ในไตรมาสแรก ปี 2551 ส่วน บมจ. ปูนซีเมนต์ไทยอยู่ในระหว่างพิจารณาการลงทุนโครงการเอทิลีนแครกเกอร์ คาดว่าจะสรุปได้กลางปี 2548
ในขณะที่ เขตการค้าเสรีไทย-อินเดียนั้น ประเทศอินเดียได้ขอถอนรายการสินค้าปิโตรเคมีบางรายการออกจากรายการสินค้าเร่งลดภาษี (Early Harvest) เพราะเกรงว่า จะสร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศ
การผลิต
ไตรมาส 3 ปี 2547 โรงงานผลิต PE ทุกแห่งมีการใช้กำลังการผลิตไม่เต็มที่ เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบ (เอทิลีน) ในประเทศมีจำกัด อีกทั้ง ไม่คุ้มที่จะนำเข้าเอทิลีนราคาสูงจากต่างประเทศ ในขณะที่ โรงงานผลิต PP หลายแห่งได้ปิดซ่อมบำรุงหน่วยผลิต อีกทั้งมีปัญหาในหน่วยผลิต ทำให้ไม่สามารถเดินเครื่องเต็มกำลังการผลิตเช่นกัน
การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 3 ปี 2547 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 1,974.25 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.63 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 168.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 11,025.12 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.54 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเม็ดพลาสติกมีมูลค่านำเข้า 14,828.58 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2546 Q2/2547 Q3/2547 เทียบกับ เทียบกับไตรมาส
ไตรมาสที่แล้ว เดียวกันของปีก่อน
ขั้นต้น 736.01 1,546.86 1,974.25 27.63 168.23
ขั้นกลาง 7,986.03 10,347.95 11,025.12 6.54 38.06
ขั้นปลาย 10,368.90 12,587.01 14,828.58 17.81 43.01
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
เมื่อพิจารณาเม็ดพลาสติกหลักของประเทศไทย พบว่า ไตรมาส 3 ปี 2547 มีการนำเข้าเม็ดพลาสติกเพิ่มสูงขึ้นทุกประเภท โดยเฉพาะ PE (รวม LLPE/LLDPE, HDPE และ EVA) มีปริมาณนำเข้ามากที่สุด 158,030 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 229 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และ PP มีปริมาณนำเข้า 106,079 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 248 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากเกิดภาวะขาดแคลนเม็ดพลาสติกในประเทศอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกต้องนำเข้าเม็ดพลาสติกจากต่างประเทศ
การส่งออก
ไตรมาส 3 ปี 2547 การส่งออกปิโตรขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 8,773.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 67.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 4,560.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.26 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเม็ดพลาสติกมีมูลค่าส่งออก 29,845.47 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.69 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่าส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2546 Q2/2547 Q3/2547 เทียบกับ เทียบกับไตรมาส
ไตรมาสที่แล้ว เดียวกันของปีก่อน
ขั้นต้น 5,228.01 6,181.52 8,773.11 41.92 67.81
ขั้นกลาง 3,087.25 3,792.38 4,560.88 20.26 47.73
ขั้นปลาย 21,574.50 27,208.04 29,845.47 9.69 38.34
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
ภาพรวมการส่งออกเม็ดพลาสติกในไตรมาส 3 ปี 2547 พบว่า การส่งออกเม็ดพลาสติกหลักของประเทศมีปริมาณรวม 1,813,195 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 199.96 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้น ร้อยละ 217.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเม็ดพลาสติกที่มีปริมาณส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ PE, PP และ PVC ตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นประเทศจีน (รวมฮ่องกง)
ราคา
ไตรมาส 3 ปี 2547 ราคาเม็ดพลาสติก PE และ PP ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรงในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมและปรับตัวลดลงในกลางเดือนกันยายน ตามราคาตลาดเอเซีย โดยราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติกกลุ่มโอเลฟินส์ (ราคาเฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือนกันยายน 2547 ของ LDPE, HDPE และ PP (Blown Film) อยู่ที่ระดับ 57.07 , 47.16 และ 49.66 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยในเดือนมิถุนายน 2547 ที่ระดับ 38.16 , 35.55 และ 35.40 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ
แนวโน้มในอนาคต
สถานการณ์ราคาเม็ดพลาสติกปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีความผันผวน จะยังคงอยู่ตลอดไป หากปัญหาความมั่นคงในภูมิภาคตะวันออกกลางยังไม่ได้รับการแก้ไข ทุกประเทศทั่วโลกคงต้องจับตามองนโยบายต่างประเทศของนายจอร์ช บุช ซึ่งได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิดีสหรัฐอเมริกาอีกหนึ่งสมัย อย่างไรก็ตาม เพื่อบรรเทาปัญหาของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดการประชุมหารือเพื่อหามาตรการบรรเทาปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2547 ที่ประชุมมีมติจัดตั้ง Call Center ในเว็บไซต์ของกรมการค้าภายใน เพื่อเป็นจุดประสานให้ผู้ใช้เม็ดพลาสติกสามารถติดต่อซื้อเม็ดพลาสติกได้โดยตรง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ไตรมาส 3 ปี 2547 อุตสาหกรรมปิโตรเคมียังอยู่ในวัฏจักรขาขึ้น ความต้องการเม็ดพลาสติกทั้ง โอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน (ถึงแม้ว่ารัฐบาลจีนได้ออกประกาศใช้มาตรการเพื่อผ่อนคลายความร้อนแรงของเศรษฐกิจ แต่ความต้องการบริโภคเม็ดพลาสติกยังคงมีปริมาณมาก) ในขณะที่ความต้องการปิโตรเคมีในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอประมาณร้อยละ 7 ต่อปี ปัจจุบัน เกิดภาวะเม็ดพลาสติกภายในประเทศขาดตลาดและราคาเม็ดพลาสติกปรับตัวสูงขึ้นกว่าเท่าตัว ทำให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกประสบปัญหา ต้องกักตุนวัตถุดิบ
สาเหตุที่ราคาเม็ดพลาสติกปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจาก ราคาวัตถุดิบต้นน้ำได้แก่ เอทิลีน และแนฟทาปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น อันเป็นผลจากความกังวลเรื่องปัญหาการก่อการร้ายในตะวันออกกลางจะทำให้ประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน ไม่สามารถส่งออกน้ำมันได้ตามปกติ รวมทั้งจากข้อมูลที่ว่า ปัจจุบัน กลุ่มโอเปคได้ผลิตน้ำมันดิบจนเต็มความสามารถแล้ว นอกจากนี้ ปัจจัยเรื่องสถานการณ์ของบริษัท Yokos ในรัสเซีย ที่อาจจะไม่สามารถผลิตน้ำมันได้ตามปกติ (บริษัท Yokos ผลิตน้ำมันดิบคิดเป็นร้อยละ 18 ของปริมาณการผลิตในรัสเซีย) ก็ส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำมันดิบ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการปิดซ่อมบำรุงของเอทิลีนแครกเกอร์ในเอเชียหลายแห่ง (ทั้งที่วางแผนและไม่วางแผน)
ส่วนสาเหตุที่เม็ดพลาสติกหลัก เช่น PE, PP ในประเทศเกิดภาวะขาดแคลนอย่างรุนแรง เนื่องจากผู้ผลิตเอทิลีนซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของเม็ด PE ส่งออกเอทิลีนไปขายต่างประเทศ ทำให้ปริมาณเอทิลีนในตลาดมีจำกัด ในขณะที่ ผู้ผลิตเม็ดพลาสติก PE ไม่สามารถนำเข้าเอทิลีนเพราะไม่คุ้ม (ราคาตลาดโลกสูงมาก) ทำให้การผลิตเม็ด PE มีปริมาณจำกัด (ตามปริมาณวัตถุดิบที่ป้อน) ส่วนผู้ผลิตเม็ด PP ก็มีปัญหาเรื่องการผลิต รวมทั้งการปิดโรงงานภายในประเทศเพื่อซ่อมบำรุง ทำให้ปริมาณเม็ด PP ที่ออกขายสู่ตลาดมีน้อย
ผู้ประกอบการวางแผนขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เช่น บมจ. เอ็นพีซี และ บมจ. ปตท. ได้ร่วมทุนสัดส่วน 50 : 50 ในโครงการเอทิลีนแครกเกอร์และโรงผลิตเม็ดพลาสติก LDPE โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตดุดิบ คาดว่าจะเริ่มผลิตในเชิงพาณิชย์ในไตรมาสแรก ปี 2551 ส่วน บมจ. ปูนซีเมนต์ไทยอยู่ในระหว่างพิจารณาการลงทุนโครงการเอทิลีนแครกเกอร์ คาดว่าจะสรุปได้กลางปี 2548
ในขณะที่ เขตการค้าเสรีไทย-อินเดียนั้น ประเทศอินเดียได้ขอถอนรายการสินค้าปิโตรเคมีบางรายการออกจากรายการสินค้าเร่งลดภาษี (Early Harvest) เพราะเกรงว่า จะสร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศ
การผลิต
ไตรมาส 3 ปี 2547 โรงงานผลิต PE ทุกแห่งมีการใช้กำลังการผลิตไม่เต็มที่ เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบ (เอทิลีน) ในประเทศมีจำกัด อีกทั้ง ไม่คุ้มที่จะนำเข้าเอทิลีนราคาสูงจากต่างประเทศ ในขณะที่ โรงงานผลิต PP หลายแห่งได้ปิดซ่อมบำรุงหน่วยผลิต อีกทั้งมีปัญหาในหน่วยผลิต ทำให้ไม่สามารถเดินเครื่องเต็มกำลังการผลิตเช่นกัน
การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 3 ปี 2547 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 1,974.25 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.63 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 168.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 11,025.12 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.54 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเม็ดพลาสติกมีมูลค่านำเข้า 14,828.58 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2546 Q2/2547 Q3/2547 เทียบกับ เทียบกับไตรมาส
ไตรมาสที่แล้ว เดียวกันของปีก่อน
ขั้นต้น 736.01 1,546.86 1,974.25 27.63 168.23
ขั้นกลาง 7,986.03 10,347.95 11,025.12 6.54 38.06
ขั้นปลาย 10,368.90 12,587.01 14,828.58 17.81 43.01
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
เมื่อพิจารณาเม็ดพลาสติกหลักของประเทศไทย พบว่า ไตรมาส 3 ปี 2547 มีการนำเข้าเม็ดพลาสติกเพิ่มสูงขึ้นทุกประเภท โดยเฉพาะ PE (รวม LLPE/LLDPE, HDPE และ EVA) มีปริมาณนำเข้ามากที่สุด 158,030 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 229 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และ PP มีปริมาณนำเข้า 106,079 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 248 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากเกิดภาวะขาดแคลนเม็ดพลาสติกในประเทศอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกต้องนำเข้าเม็ดพลาสติกจากต่างประเทศ
การส่งออก
ไตรมาส 3 ปี 2547 การส่งออกปิโตรขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 8,773.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 67.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 4,560.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.26 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเม็ดพลาสติกมีมูลค่าส่งออก 29,845.47 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.69 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่าส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2546 Q2/2547 Q3/2547 เทียบกับ เทียบกับไตรมาส
ไตรมาสที่แล้ว เดียวกันของปีก่อน
ขั้นต้น 5,228.01 6,181.52 8,773.11 41.92 67.81
ขั้นกลาง 3,087.25 3,792.38 4,560.88 20.26 47.73
ขั้นปลาย 21,574.50 27,208.04 29,845.47 9.69 38.34
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
ภาพรวมการส่งออกเม็ดพลาสติกในไตรมาส 3 ปี 2547 พบว่า การส่งออกเม็ดพลาสติกหลักของประเทศมีปริมาณรวม 1,813,195 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 199.96 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้น ร้อยละ 217.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเม็ดพลาสติกที่มีปริมาณส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ PE, PP และ PVC ตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นประเทศจีน (รวมฮ่องกง)
ราคา
ไตรมาส 3 ปี 2547 ราคาเม็ดพลาสติก PE และ PP ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรงในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมและปรับตัวลดลงในกลางเดือนกันยายน ตามราคาตลาดเอเซีย โดยราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติกกลุ่มโอเลฟินส์ (ราคาเฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือนกันยายน 2547 ของ LDPE, HDPE และ PP (Blown Film) อยู่ที่ระดับ 57.07 , 47.16 และ 49.66 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยในเดือนมิถุนายน 2547 ที่ระดับ 38.16 , 35.55 และ 35.40 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ
แนวโน้มในอนาคต
สถานการณ์ราคาเม็ดพลาสติกปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีความผันผวน จะยังคงอยู่ตลอดไป หากปัญหาความมั่นคงในภูมิภาคตะวันออกกลางยังไม่ได้รับการแก้ไข ทุกประเทศทั่วโลกคงต้องจับตามองนโยบายต่างประเทศของนายจอร์ช บุช ซึ่งได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิดีสหรัฐอเมริกาอีกหนึ่งสมัย อย่างไรก็ตาม เพื่อบรรเทาปัญหาของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดการประชุมหารือเพื่อหามาตรการบรรเทาปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2547 ที่ประชุมมีมติจัดตั้ง Call Center ในเว็บไซต์ของกรมการค้าภายใน เพื่อเป็นจุดประสานให้ผู้ใช้เม็ดพลาสติกสามารถติดต่อซื้อเม็ดพลาสติกได้โดยตรง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-