อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ การผลิตจะ ใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก เป็นอุตสาหกรรมที่สนองนโยบายของรัฐในการสร้างงานและกระจายรายได้ไป สู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 36.21 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.92 และ 17.10 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 1.99 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.10 และ 4.92 ตามลำดับ (ดังตาราง ที่ 1 และ 2)
การผลิตเซรามิก ในระยะ 9 เดือนของปี 2547 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 106.78 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 5.73 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.97 และ 3.60 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตเซรามิกยังคงขยายตัวตามภาวะการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ แม้ว่าการขยายตัวจะไม่ร้อนแรงเท่ากับปีที่ผ่านมาก็ตาม
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 36.68 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลงเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 0.40 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.45 สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย 1.13 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.24 และ 24.54 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2)
ในระยะ 9 เดือนของปี 2547 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 113.79 ล้าน ตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์มีปริมาณ 3.24 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.93 และ 21.38 ตามลำดับ ซึ่งการจำหน่ายเซรามิกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่จะชะลอตัวลงเล็กน้อย ตามภาวะการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่เริ่มลดความรุนแรงลงบ้าง
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรง และราคาจำหน่ายเริ่มมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น จากผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับการแข่งขันเซรามิกในประเทศมีทั้งการแข่งขันด้านราคา การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การจัดประกวดแฟชั่น การโฆษณาผ่านสื่อ ต่าง ๆ การปรับปรุงดิสเพลย์ ร้านค้า เพื่อเพิ่มจุดสนใจให้กับลูกค้า
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีมูลค่ารวม 140.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.83 โดยเกือบทุกผลิตภัณฑ์มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้น กระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่อยู่ในภาวะทรงตัว เนื่องจาก การส่งออกไปยังตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา และยุโรป มีอัตราขยายตัวลดลง และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.96 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดหลักทุกตลาด รองลงมาคือ เครื่องสุขภัณฑ์ และลูกถ้วยไฟฟ้า สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุดยังคงเป็น เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องสุขภัณฑ์ และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ตามลำดับ (ดังตารางที่ 3)
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ในระยะ 9 เดือน ของปี 2547 มีมูลค่ารวม 405.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.86 โดยผลิตภัณฑ์หลักที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น มีเพียง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตรา ร้อยละ 27.81 และ 2.02 ตามลำดับ การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ไต้หวัน แคนาดา เยอรมนี เกาหลีใต้ ฮ่องกง และประเทศในกลุ่มอาเซียน
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีมูลค่า 57.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.47 และ 48.97 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในระยะ 9 เดือนของปี 2547 มีมูลค่ารวม 160.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 49.44 (ดังตาราง ที่ 4) การนำเข้าส่วนใหญ่จะนำเข้าสินค้าที่มีคุณภาพดี ราคาสูง ซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และสินค้าที่มีต้นทุนต่ำกว่าการผลิตในประเทศ โดยโดยนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย เยอรมนี อิตาลี สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สเปน และสิงคโปร์ เป็นต้น
4. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกส์ในประเทศ โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการขยายตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ แม้ว่าการขยายตัวจะไม่ร้อนแรงเท่ากับปีที่ผ่านมา แต่ยังคงมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจาก การชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ จะไม่กระทบกับการจำหน่ายเซรามิกส์มากนัก เนื่องจาก ตลาดหลักของการจำหน่ายเซรามิกยังคงเป็นกลุ่มที่ซื้อเพื่อการปรับปรุงที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ สำหรับราคาจำหน่าย เซรามิกเริ่มมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น จากผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้น และมีแนวโน้มที่ดีโดยเฉพาะ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของชำร่วยเครื่องประดับ ที่มีการจัดงานแสดงสินค้าของใช้และตกแต่งบ้าน (Bangkok International Gift and Houseware) ซึ่งจะช่วยให้ยอดการส่งออกช่วงปลายปี 2547 และต้นปี 2548 สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกอาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเซรามิกได้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 36.21 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.92 และ 17.10 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 1.99 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.10 และ 4.92 ตามลำดับ (ดังตาราง ที่ 1 และ 2)
การผลิตเซรามิก ในระยะ 9 เดือนของปี 2547 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 106.78 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 5.73 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.97 และ 3.60 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตเซรามิกยังคงขยายตัวตามภาวะการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ แม้ว่าการขยายตัวจะไม่ร้อนแรงเท่ากับปีที่ผ่านมาก็ตาม
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 36.68 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลงเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 0.40 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.45 สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย 1.13 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.24 และ 24.54 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2)
ในระยะ 9 เดือนของปี 2547 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 113.79 ล้าน ตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์มีปริมาณ 3.24 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.93 และ 21.38 ตามลำดับ ซึ่งการจำหน่ายเซรามิกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่จะชะลอตัวลงเล็กน้อย ตามภาวะการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่เริ่มลดความรุนแรงลงบ้าง
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรง และราคาจำหน่ายเริ่มมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น จากผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับการแข่งขันเซรามิกในประเทศมีทั้งการแข่งขันด้านราคา การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การจัดประกวดแฟชั่น การโฆษณาผ่านสื่อ ต่าง ๆ การปรับปรุงดิสเพลย์ ร้านค้า เพื่อเพิ่มจุดสนใจให้กับลูกค้า
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีมูลค่ารวม 140.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.83 โดยเกือบทุกผลิตภัณฑ์มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้น กระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่อยู่ในภาวะทรงตัว เนื่องจาก การส่งออกไปยังตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา และยุโรป มีอัตราขยายตัวลดลง และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.96 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดหลักทุกตลาด รองลงมาคือ เครื่องสุขภัณฑ์ และลูกถ้วยไฟฟ้า สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุดยังคงเป็น เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องสุขภัณฑ์ และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ตามลำดับ (ดังตารางที่ 3)
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ในระยะ 9 เดือน ของปี 2547 มีมูลค่ารวม 405.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.86 โดยผลิตภัณฑ์หลักที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น มีเพียง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตรา ร้อยละ 27.81 และ 2.02 ตามลำดับ การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ไต้หวัน แคนาดา เยอรมนี เกาหลีใต้ ฮ่องกง และประเทศในกลุ่มอาเซียน
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีมูลค่า 57.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.47 และ 48.97 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในระยะ 9 เดือนของปี 2547 มีมูลค่ารวม 160.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 49.44 (ดังตาราง ที่ 4) การนำเข้าส่วนใหญ่จะนำเข้าสินค้าที่มีคุณภาพดี ราคาสูง ซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และสินค้าที่มีต้นทุนต่ำกว่าการผลิตในประเทศ โดยโดยนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย เยอรมนี อิตาลี สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สเปน และสิงคโปร์ เป็นต้น
4. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกส์ในประเทศ โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการขยายตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ แม้ว่าการขยายตัวจะไม่ร้อนแรงเท่ากับปีที่ผ่านมา แต่ยังคงมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจาก การชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ จะไม่กระทบกับการจำหน่ายเซรามิกส์มากนัก เนื่องจาก ตลาดหลักของการจำหน่ายเซรามิกยังคงเป็นกลุ่มที่ซื้อเพื่อการปรับปรุงที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ สำหรับราคาจำหน่าย เซรามิกเริ่มมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น จากผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้น และมีแนวโน้มที่ดีโดยเฉพาะ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของชำร่วยเครื่องประดับ ที่มีการจัดงานแสดงสินค้าของใช้และตกแต่งบ้าน (Bangkok International Gift and Houseware) ซึ่งจะช่วยให้ยอดการส่งออกช่วงปลายปี 2547 และต้นปี 2548 สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกอาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเซรามิกได้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-