1. การผลิต
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีปริมาณการผลิตรวม 17.92 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 2.50 เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝนการก่อสร้างเริ่มชะลอตัว ทำให้มีการลดปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ โดยเป็นการผลิตปูนเม็ด 8.66 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 9.26 ล้านตัน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.00 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้มีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มีการผลิตปูนซีเมนต์จำนวน 55.55 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.20 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักทั้งการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐและการขยายการลงทุนในภาคเอกชน โดยเฉพาะประเภทพาณิชยกรรม เช่น อาคารสำนักงาน ค้าปลีก โรงแรม ตลอดจนเพื่อการท่องเที่ยวและบันเทิง
1.2 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 คิดเป็นร้อยละ 61.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 0.49 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.89 และในช่วง 9 เดือนแรกปี 2547 มีอัตราการใช้กำลังการผลิต ร้อยละ 62.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.71
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีปริมาณ 7.31 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.55 แม้ว่าจะมีการลดปริมาณการผลิตลงในช่วงฤดูฝน แต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.01 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 7.30 ล้านตัน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.23 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 การจำหน่ายปูนซีเมนต์มีปริมาณ 22.47 ล้านตันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.03 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีปัจจัยสนับสนุนทั้งการขยายการลงทุนในภาคเอกชนและการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ ทำให้มีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้น
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีปริมาณการส่งออก 3.32 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,729.58 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.08 และ 16.76 ตามลำดับ โดยเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 1.87 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1,750.91 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1.45 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1,978.67 ล้านบาท และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.48 และ 22.19 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศคู่ค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น
การส่งออกปูนซีเมนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มีปริมาณ 9.54 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 9,757.10 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.58 และ 1.13 ตามลำดับซึ่งเป็นไปตามความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้ว่าผู้ประกอบการจะเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้นก็ตาม สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา กัมพูชา และบังคลาเทศ
2.3 การนำเข้า
ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีปริมาณการนำเข้าไม่มากนัก การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 3ปี 2547 มีจำนวน 3,301.85 ตัน คิดเป็นมูลค่า 29.11 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.88 แต่มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 6.43 โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 25.85 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.51 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 3,276.00 ตัน คิดเป็นมูลค่า 28.60 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น 5.31 เท่า และ 1.64 เท่า ตามลำดับ
สำหรับการนำเข้าปูนซีเมนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มีปริมาณ 10,417.81 ตันคิดเป็นมูลค่า 99.56 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้น 2.54 เท่า และ มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.06 ทั้งนี้การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตในประเทศได้ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
3. สรุป
การผลิตปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน แต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศยังขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเมื่อพิจารณาในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2547 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก ภาวะธุรกิจก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้ว่าอัตราการเติบโตจะไม่โดดเด่นเท่ากับปีที่ผ่านมา แต่ยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และความต้องการที่อยู่อาศัย ซึ่งจะเป็นแรงผลักให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวต่อไปในไตรมาสสุดท้าย ส่งผลให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เติบโตตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจเป็นอุปสรรคต่อภาวะเศรษฐกิจ คือ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและการขนส่ง
สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาส 3 มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศคู่ค้าเพิ่มมากขึ้น และเมื่อพิจารณาในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 กับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2547 คาดว่าจะชะลอตัวลงเนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการหันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีปริมาณการผลิตรวม 17.92 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 2.50 เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝนการก่อสร้างเริ่มชะลอตัว ทำให้มีการลดปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ โดยเป็นการผลิตปูนเม็ด 8.66 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 9.26 ล้านตัน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.00 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้มีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มีการผลิตปูนซีเมนต์จำนวน 55.55 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.20 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักทั้งการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐและการขยายการลงทุนในภาคเอกชน โดยเฉพาะประเภทพาณิชยกรรม เช่น อาคารสำนักงาน ค้าปลีก โรงแรม ตลอดจนเพื่อการท่องเที่ยวและบันเทิง
1.2 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 คิดเป็นร้อยละ 61.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 0.49 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.89 และในช่วง 9 เดือนแรกปี 2547 มีอัตราการใช้กำลังการผลิต ร้อยละ 62.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.71
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีปริมาณ 7.31 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.55 แม้ว่าจะมีการลดปริมาณการผลิตลงในช่วงฤดูฝน แต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.01 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 7.30 ล้านตัน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.23 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 การจำหน่ายปูนซีเมนต์มีปริมาณ 22.47 ล้านตันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.03 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีปัจจัยสนับสนุนทั้งการขยายการลงทุนในภาคเอกชนและการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ ทำให้มีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้น
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีปริมาณการส่งออก 3.32 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,729.58 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.08 และ 16.76 ตามลำดับ โดยเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 1.87 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1,750.91 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1.45 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1,978.67 ล้านบาท และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.48 และ 22.19 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศคู่ค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น
การส่งออกปูนซีเมนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มีปริมาณ 9.54 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 9,757.10 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.58 และ 1.13 ตามลำดับซึ่งเป็นไปตามความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้ว่าผู้ประกอบการจะเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้นก็ตาม สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา กัมพูชา และบังคลาเทศ
2.3 การนำเข้า
ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีปริมาณการนำเข้าไม่มากนัก การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 3ปี 2547 มีจำนวน 3,301.85 ตัน คิดเป็นมูลค่า 29.11 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.88 แต่มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 6.43 โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 25.85 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.51 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 3,276.00 ตัน คิดเป็นมูลค่า 28.60 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น 5.31 เท่า และ 1.64 เท่า ตามลำดับ
สำหรับการนำเข้าปูนซีเมนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มีปริมาณ 10,417.81 ตันคิดเป็นมูลค่า 99.56 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้น 2.54 เท่า และ มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.06 ทั้งนี้การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตในประเทศได้ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
3. สรุป
การผลิตปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน แต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศยังขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเมื่อพิจารณาในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2547 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก ภาวะธุรกิจก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้ว่าอัตราการเติบโตจะไม่โดดเด่นเท่ากับปีที่ผ่านมา แต่ยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และความต้องการที่อยู่อาศัย ซึ่งจะเป็นแรงผลักให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวต่อไปในไตรมาสสุดท้าย ส่งผลให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เติบโตตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจเป็นอุปสรรคต่อภาวะเศรษฐกิจ คือ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและการขนส่ง
สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาส 3 มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศคู่ค้าเพิ่มมากขึ้น และเมื่อพิจารณาในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 กับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2547 คาดว่าจะชะลอตัวลงเนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการหันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-