ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2547 ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาไข้หวัดนก และสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ แต่การขยายตัวจากภาคเอกชน โดยเฉพาะทางด้านการค้าระหว่างประเทศ มีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นทำให้ดุลการค้าระหว่างประเทศในการส่งออกสูงกว่าการนำเข้าในช่วงไตรมาสที่สาม
ส่วนภาพรวมของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่สามในปี 2547นั้น ยังคงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์ ไปยังตลาดในต่างประเทศ ที่มีปริมาณการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่สองอย่างต่อเนื่อง อันมีเหตุผลมาจากการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการและการขยายตลาดไปในประเทศคู่ค้าที่มีการเปิดโอกาสในการทำการค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น และการจัดทำ FTA (Free Trade Area) ทำให้สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรรมไม้และเครื่องเรือนมีมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปัจจัยจากการขยายตัวในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งในส่วนของที่อยู่อาศัยและการก่อสร้างภายในประเทศยังมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ทำให้ สินค้าในอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2547 มีการขยายตัว ซึ่งส่งผลดีต่อกลุ่มอุตสาหกรรมและภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
1. การผลิต
ปริมาณการผลิตในอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไม้ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2547 มีปริมาณการผลิตประมาณ 6.71 ล้านชิ้นปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 7.70 และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่สองของปี 2547 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.68 ซึ่งเป็นมีการขยายตัวในระดับปกติตามวงจรของการผลิต อันมีผลสืบเนื่องมาจากในช่วงที่ไตรมาสที่สองมีการปรับตัวลดลงของการผลิตค่อนข้างมาก เนื่องจากในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงเดือนเมษายนซึ่งจะมีวันหยุดในเทศกาลสงกรานต์และวันครอบครัวหลายวันติดต่อกัน จึงทำให้ในไตรมาสที่สองการผลิตมีการชะลอตัวลงและปรับตัวลดลงและเมื่อไตรมาสที่สามมีการปรับระดับการผลิตมาอยู่ในระดับปกติ ทำให้ผลผลิตที่เกิดขึ้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าแนวโน้มในช่วงครึ่งปีหลังการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนน่าจะมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งความต้องการสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนของไทย โดยเฉพาะสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนที่ทำมาจากไม้ยางพารา ยังเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศเป็นอย่างมาก ส่วนความต้องการของตลาดภายในประเทศ การขยายตัวของธุรกิจประเภทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง ซึ่งสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการก่อสร้าง และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการตกแต่งอาคารสถานที่และสินค้าเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายใน จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างอุปสงค์ต่อสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง
2. การส่งออกและนำเข้า
2.1 การส่งออก
ภาวะการส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.08 หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองของปีเดียวกัน ด้วยมูลค่าการส่งออก 505.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ในอัตราร้อยละ 24.13 / เพื่ออธิบายรายละเอียดในแต่ประเภทผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ซึ่งสามารถแบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1). กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน (ตารางกลุ่มที่ 1) มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน โดยในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 272.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาหรือไตรมาสสองของปี 2547 ร้อยละ 5.62 และหากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหรือปี 2546 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.46 โดยผลิตภัณฑ์สินค้าภายในกลุ่มที่มีสัดส่วนการขยายตัวในการส่งออกสูงที่สุดคือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนอื่นๆ โดยมีอัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 9.02 และเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ในอัตราร้อยละ 23.09 โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในสหภาพยุโรป
2). กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ (ตารางกลุ่มที่ 2) มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ผลิตภัณฑ์ไม้จะประกอบด้วย เครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ รูปแกะสลักและเครื่องประดับทำด้วยไม้ โดยมีมูลค่าการส่งออกในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2547 จำนวน 103.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่สองของปี 2547 ในอัตราร้อยละ 16.37 หากเปรียบเทียบช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.17 และตลาดส่งออกที่สำคัญในกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ ยังคงเป็น ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ตามลำดับ
3). กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น (ตารางกลุ่มที่ 3) มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 30 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2547 มูลค่า 129.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงจากช่วงไตรมาสที่แล้วของปีเดียวกันร้อยละ 3.43 และหากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.84 โดยมีผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสูงที่สุดในกลุ่มประมาณ 49.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ตามลำดับ
2.2 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าของสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเน้นในการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ซึ่งได้แก่ ไม้ซุง หรือผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ โดยในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2547 มีมูลค่าการนำเข้ารวมกันจำนวน 159.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาในอัตราร้อยละ 6.55 และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.51 แหล่งนำเข้าที่สำคัญในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ กล่าวคือ ไม้ซุงท่อนมีการนำเข้ามาจากประเทศพม่า และประเทศมาเลเซีย เป็นส่วนใหญ่ ส่วนผลิตภัณฑ์ประเภทไม้แปรรูป มีการนำเข้ามาจาก ประเทศมาเลเซีย ประเทศลาว และประเทศสหรัฐอเมริกา
3. สรุปและแนวโน้ม
ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2547 สภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยโดยรวมยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จากปริมาณความต้องการของตลาดภายในประเทศเองและความต้องการโดยการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศที่มีต่อสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยยังมีการขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เครื่องเรือนไม้ของไทยที่ทำมาจากไม้ยางพารา ยังเป็นที่ต้องการอีกมากในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ประกอบกับประเทศไทยมีความได้เปรียบในเรื่องแหล่งวัตถุดิบที่สามารถหาได้เองภายในประเทศ ทำให้ไม่ต้องกังวลในเรื่องวัตถุดิบ แต่อย่างไรก็ตามจากความต้องการไม้ยางพาราในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทั้งของผู้ประกอบการภายในเอง และการสั่งชื้อวัตถุดิบดังกล่าวจากประเทศคู่แข่งโดยเฉพาะประเทศจีนและมาเลเชีย ทำให้ราคาวัตถุดิบไม้ยางพารามีการปรับตัวค่อนข้างสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมต้องมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลระทบต่ออุตสาหกรรมในอนาคต ดังนั้นการจัดการเรื่องวัตถุดิบอย่างเป็นระบบ จึงเป็นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงเพื่อป้องกันวัตถุดิบขาดแคลน ซึ่งอาศัยทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเกษตรกรผู้ปลูกไม้ยางพารา โดยร่วมมือกันแก้ปัญหา เพื่อความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ส่วนภาพรวมของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่สามในปี 2547นั้น ยังคงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์ ไปยังตลาดในต่างประเทศ ที่มีปริมาณการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่สองอย่างต่อเนื่อง อันมีเหตุผลมาจากการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการและการขยายตลาดไปในประเทศคู่ค้าที่มีการเปิดโอกาสในการทำการค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น และการจัดทำ FTA (Free Trade Area) ทำให้สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรรมไม้และเครื่องเรือนมีมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปัจจัยจากการขยายตัวในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งในส่วนของที่อยู่อาศัยและการก่อสร้างภายในประเทศยังมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ทำให้ สินค้าในอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2547 มีการขยายตัว ซึ่งส่งผลดีต่อกลุ่มอุตสาหกรรมและภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
1. การผลิต
ปริมาณการผลิตในอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไม้ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2547 มีปริมาณการผลิตประมาณ 6.71 ล้านชิ้นปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 7.70 และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่สองของปี 2547 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.68 ซึ่งเป็นมีการขยายตัวในระดับปกติตามวงจรของการผลิต อันมีผลสืบเนื่องมาจากในช่วงที่ไตรมาสที่สองมีการปรับตัวลดลงของการผลิตค่อนข้างมาก เนื่องจากในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงเดือนเมษายนซึ่งจะมีวันหยุดในเทศกาลสงกรานต์และวันครอบครัวหลายวันติดต่อกัน จึงทำให้ในไตรมาสที่สองการผลิตมีการชะลอตัวลงและปรับตัวลดลงและเมื่อไตรมาสที่สามมีการปรับระดับการผลิตมาอยู่ในระดับปกติ ทำให้ผลผลิตที่เกิดขึ้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าแนวโน้มในช่วงครึ่งปีหลังการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนน่าจะมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งความต้องการสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนของไทย โดยเฉพาะสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนที่ทำมาจากไม้ยางพารา ยังเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศเป็นอย่างมาก ส่วนความต้องการของตลาดภายในประเทศ การขยายตัวของธุรกิจประเภทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง ซึ่งสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการก่อสร้าง และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการตกแต่งอาคารสถานที่และสินค้าเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายใน จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างอุปสงค์ต่อสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง
2. การส่งออกและนำเข้า
2.1 การส่งออก
ภาวะการส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.08 หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองของปีเดียวกัน ด้วยมูลค่าการส่งออก 505.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ในอัตราร้อยละ 24.13 / เพื่ออธิบายรายละเอียดในแต่ประเภทผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ซึ่งสามารถแบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1). กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน (ตารางกลุ่มที่ 1) มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน โดยในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 272.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาหรือไตรมาสสองของปี 2547 ร้อยละ 5.62 และหากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหรือปี 2546 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.46 โดยผลิตภัณฑ์สินค้าภายในกลุ่มที่มีสัดส่วนการขยายตัวในการส่งออกสูงที่สุดคือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนอื่นๆ โดยมีอัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 9.02 และเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ในอัตราร้อยละ 23.09 โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในสหภาพยุโรป
2). กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ (ตารางกลุ่มที่ 2) มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ผลิตภัณฑ์ไม้จะประกอบด้วย เครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ รูปแกะสลักและเครื่องประดับทำด้วยไม้ โดยมีมูลค่าการส่งออกในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2547 จำนวน 103.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่สองของปี 2547 ในอัตราร้อยละ 16.37 หากเปรียบเทียบช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.17 และตลาดส่งออกที่สำคัญในกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ ยังคงเป็น ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ตามลำดับ
3). กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น (ตารางกลุ่มที่ 3) มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 30 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2547 มูลค่า 129.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงจากช่วงไตรมาสที่แล้วของปีเดียวกันร้อยละ 3.43 และหากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.84 โดยมีผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสูงที่สุดในกลุ่มประมาณ 49.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ตามลำดับ
2.2 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าของสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเน้นในการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ซึ่งได้แก่ ไม้ซุง หรือผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ โดยในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2547 มีมูลค่าการนำเข้ารวมกันจำนวน 159.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาในอัตราร้อยละ 6.55 และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.51 แหล่งนำเข้าที่สำคัญในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ กล่าวคือ ไม้ซุงท่อนมีการนำเข้ามาจากประเทศพม่า และประเทศมาเลเซีย เป็นส่วนใหญ่ ส่วนผลิตภัณฑ์ประเภทไม้แปรรูป มีการนำเข้ามาจาก ประเทศมาเลเซีย ประเทศลาว และประเทศสหรัฐอเมริกา
3. สรุปและแนวโน้ม
ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2547 สภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยโดยรวมยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จากปริมาณความต้องการของตลาดภายในประเทศเองและความต้องการโดยการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศที่มีต่อสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยยังมีการขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เครื่องเรือนไม้ของไทยที่ทำมาจากไม้ยางพารา ยังเป็นที่ต้องการอีกมากในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ประกอบกับประเทศไทยมีความได้เปรียบในเรื่องแหล่งวัตถุดิบที่สามารถหาได้เองภายในประเทศ ทำให้ไม่ต้องกังวลในเรื่องวัตถุดิบ แต่อย่างไรก็ตามจากความต้องการไม้ยางพาราในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทั้งของผู้ประกอบการภายในเอง และการสั่งชื้อวัตถุดิบดังกล่าวจากประเทศคู่แข่งโดยเฉพาะประเทศจีนและมาเลเชีย ทำให้ราคาวัตถุดิบไม้ยางพารามีการปรับตัวค่อนข้างสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมต้องมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลระทบต่ออุตสาหกรรมในอนาคต ดังนั้นการจัดการเรื่องวัตถุดิบอย่างเป็นระบบ จึงเป็นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงเพื่อป้องกันวัตถุดิบขาดแคลน ซึ่งอาศัยทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเกษตรกรผู้ปลูกไม้ยางพารา โดยร่วมมือกันแก้ปัญหา เพื่อความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-