อุตสาหกรรมยาเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ทั้งด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการบริโภค
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ปรับกระบวนการ ขึ้นทะเบียนตำรับยาให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ เดิมการขึ้นทะเบียนยาสามัญใหม่ (New generic drugs) ใช้เวลาดำเนินการขึ้นทะเบียนสูงสุด 110 วันทำการ และยาใหม่ (New drugs) ใช้เวลาดำเนินการ 230 วันทำการ ปรับเปลี่ยนเป็น การขึ้นทะเบียนตำรับยาสามัญใหม่สำหรับกลุ่มยาจำเป็นเร่งด่วน เหลือระยะเวลาเพียงไม่เกิน 70 วันทำการ สำหรับกลุ่มยาจำเป็นเร่งด่วนที่เป็น ยาใหม่ ผู้ประกอบการที่ยื่นเอกสารครบถ้วน จะลดเวลาดำเนินการเหลือเพียง 100 วันทำการ ส่วนกรณีขอผ่อนผันการยื่นข้อมูลบางประการ จะใช้ระยะเวลาดำเนินการเพียง 130 วันทำการ การลดเวลาขึ้นทะเบียนตำรับยานี้มีประโยชน์ทั้งกับประชาชนและผู้ประกอบการ กล่าวคือ ในส่วนของประชาชนจะได้ใช้ยาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หรือยาที่ใช้รักษาโรคร้ายแรงที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ ยารักษาโรคเอดส์ และโรคมะเร็ง ได้รวดเร็วขึ้น สำหรับผู้ประกอบการยาในประเทศก็สามารถผลิตยาเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกได้สะดวกขึ้น เพราะไม่ถูกจำกัดจากระยะเวลาการขึ้นทะเบียนตำรับยา
1. การผลิตในประเทศ
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีประมาณ 5,873.3 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.6 โดยยาเม็ด ยาแคปซูล ยาฉีด และยาผง มีการผลิตเพิ่มขึ้น และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 สำหรับใน 9 เดือนแรกของปี 2547 มีปริมาณการผลิตประมาณ 17,188.1 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.5 โดยยาที่มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ยาเม็ด และยาผง (ตารางที่ 1 และ 2)
ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพ เครื่องจักรให้ดีขึ้น และสามารถผลิตยาตามคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาลซึ่งเป็นตลาดสำคัญของผู้ประกอบการได้เพิ่มมากขึ้น โดยยาที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นยาที่มีราคาไม่สูงมากนัก
2. การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีประมาณ 5,423.7 ตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.5 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปริมาณการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 สำหรับใน 9 เดือนแรกของปี 2547 มีปริมาณการจำหน่ายประมาณ 15,517.1 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.4 ซึ่งโดยภาพรวมแล้วยาทุกประเภท มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น (ตารางที่ 1 และ 3)
การขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม เนื่องจากผู้ประกอบการได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น จากการประมูลการจัดซื้อยาจากโรงพยาบาลได้ และสามารถหาลูกค้ารายใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย
3. การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีมูลค่า 5,714.0 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.3 โดยตลาดนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ที่สำคัญ ในไตรมาสนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 2,656.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.5 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 สำหรับใน 9 เดือนแรกของปี 2547 การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์มีมูลค่า 16,672.3 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.5 สำหรับตลาดนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ที่สำคัญใน 9 เดือนของปีนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 8,307.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 49.8 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด
การขยายตัวของการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ มีปัจจัยสำคัญมาจากการนำเข้ายารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป (HS 3004) ราคาแพง มีสิทธิบัตร ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ยาเหล่านี้ มักเป็นยาสำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคความดัน เบาหวาน หัวใจ และไขมันในเส้นเลือด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำเข้ายาต้นตำรับ เพิ่มมากขึ้นด้วย
4. การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีมูลค่า 1,300.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพียงร้อยละ 1.0 สำหรับตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ พม่า กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 657.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 50.5 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด การส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลจากมีการส่งออกยารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป (HS 3004) เช่น ยาแก้ไข้ แก้หวัด แก้ปวด เพิ่มมากขึ้น และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 (ตารางที่ 4)
อย่างไรก็ตามการส่งออกผลิตภัณฑ์ ใน 9 เดือนแรกของปี 2547 มีมูลค่า 3,558.8 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.4 สำหรับตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปีนี้ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา พม่า มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าว มีมูลค่ารวม 1,992.3 ล้านบาท หรือร้อยละ 56.0 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ที่ลดลง มีสาเหตุสำคัญมาจากมีการส่งออกสินค้า ในหมวด HS 3005.90 ประเภทแวดดิ้ง ผ้ากอซ ผ้าพันแผล และสำลี ลดลงมาก เพราะกระแสความต้องการอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันเชื้อโรคในตลาดโลกลดลงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน
5. สรุป
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ปรับกระบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยาสามัญใหม่และยาใหม่สำหรับกลุ่มยาจำเป็นเร่งด่วน ให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งประชาชนจะได้ใช้ยาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หรือยาที่ใช้รักษาโรคร้ายแรงที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ ยารักษาโรคเอดส์ และโรคมะเร็ง ได้รวดเร็วขึ้น และผู้ประกอบการยาในประเทศก็สามารถผลิตยาเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกได้สะดวกขึ้น เนื่องจาก ไม่ถูกจำกัดจากระยะเวลาการขึ้นทะเบียนตำรับยาอีกต่อไป
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศ ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรให้ ดีขึ้น และได้รับคำสั่งซื้อจากการประมูลจากโรงพยาบาล ทำให้ผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น โดยยาที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นยาที่มีราคาไม่สูงมากนัก สำหรับปริมาณการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการ ได้รับปริมาณคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ทั้งจากการประมูลการจัดซื้อยาจากโรงพยาบาล และสามารถหาลูกค้า รายใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ด้านการนำเข้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ยังเป็นการนำเข้ายาสำเร็จรูปราคาแพงที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศและยาต้นตำรับ สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสำคัญจากการส่งออกยารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป เช่น ยาแก้ไข้ แก้หวัด แก้ปวด เพิ่มมากขึ้น
สำหรับไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 เนื่องจากความต้องการในประเทศยังคงขยายตัว สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการพยายามหาตลาดใหม่ ๆ มากขึ้น ส่วนการนำเข้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยยังเป็นการนำเข้ายารักษาโรคที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และยาต้นตำรับ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ปรับกระบวนการ ขึ้นทะเบียนตำรับยาให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ เดิมการขึ้นทะเบียนยาสามัญใหม่ (New generic drugs) ใช้เวลาดำเนินการขึ้นทะเบียนสูงสุด 110 วันทำการ และยาใหม่ (New drugs) ใช้เวลาดำเนินการ 230 วันทำการ ปรับเปลี่ยนเป็น การขึ้นทะเบียนตำรับยาสามัญใหม่สำหรับกลุ่มยาจำเป็นเร่งด่วน เหลือระยะเวลาเพียงไม่เกิน 70 วันทำการ สำหรับกลุ่มยาจำเป็นเร่งด่วนที่เป็น ยาใหม่ ผู้ประกอบการที่ยื่นเอกสารครบถ้วน จะลดเวลาดำเนินการเหลือเพียง 100 วันทำการ ส่วนกรณีขอผ่อนผันการยื่นข้อมูลบางประการ จะใช้ระยะเวลาดำเนินการเพียง 130 วันทำการ การลดเวลาขึ้นทะเบียนตำรับยานี้มีประโยชน์ทั้งกับประชาชนและผู้ประกอบการ กล่าวคือ ในส่วนของประชาชนจะได้ใช้ยาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หรือยาที่ใช้รักษาโรคร้ายแรงที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ ยารักษาโรคเอดส์ และโรคมะเร็ง ได้รวดเร็วขึ้น สำหรับผู้ประกอบการยาในประเทศก็สามารถผลิตยาเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกได้สะดวกขึ้น เพราะไม่ถูกจำกัดจากระยะเวลาการขึ้นทะเบียนตำรับยา
1. การผลิตในประเทศ
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีประมาณ 5,873.3 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.6 โดยยาเม็ด ยาแคปซูล ยาฉีด และยาผง มีการผลิตเพิ่มขึ้น และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 สำหรับใน 9 เดือนแรกของปี 2547 มีปริมาณการผลิตประมาณ 17,188.1 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.5 โดยยาที่มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ยาเม็ด และยาผง (ตารางที่ 1 และ 2)
ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพ เครื่องจักรให้ดีขึ้น และสามารถผลิตยาตามคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาลซึ่งเป็นตลาดสำคัญของผู้ประกอบการได้เพิ่มมากขึ้น โดยยาที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นยาที่มีราคาไม่สูงมากนัก
2. การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีประมาณ 5,423.7 ตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.5 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปริมาณการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 สำหรับใน 9 เดือนแรกของปี 2547 มีปริมาณการจำหน่ายประมาณ 15,517.1 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.4 ซึ่งโดยภาพรวมแล้วยาทุกประเภท มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น (ตารางที่ 1 และ 3)
การขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม เนื่องจากผู้ประกอบการได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น จากการประมูลการจัดซื้อยาจากโรงพยาบาลได้ และสามารถหาลูกค้ารายใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย
3. การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีมูลค่า 5,714.0 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.3 โดยตลาดนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ที่สำคัญ ในไตรมาสนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 2,656.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.5 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 สำหรับใน 9 เดือนแรกของปี 2547 การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์มีมูลค่า 16,672.3 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.5 สำหรับตลาดนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ที่สำคัญใน 9 เดือนของปีนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 8,307.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 49.8 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด
การขยายตัวของการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ มีปัจจัยสำคัญมาจากการนำเข้ายารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป (HS 3004) ราคาแพง มีสิทธิบัตร ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ยาเหล่านี้ มักเป็นยาสำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคความดัน เบาหวาน หัวใจ และไขมันในเส้นเลือด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำเข้ายาต้นตำรับ เพิ่มมากขึ้นด้วย
4. การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 มีมูลค่า 1,300.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพียงร้อยละ 1.0 สำหรับตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ พม่า กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 657.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 50.5 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด การส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลจากมีการส่งออกยารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป (HS 3004) เช่น ยาแก้ไข้ แก้หวัด แก้ปวด เพิ่มมากขึ้น และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 (ตารางที่ 4)
อย่างไรก็ตามการส่งออกผลิตภัณฑ์ ใน 9 เดือนแรกของปี 2547 มีมูลค่า 3,558.8 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.4 สำหรับตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปีนี้ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา พม่า มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าว มีมูลค่ารวม 1,992.3 ล้านบาท หรือร้อยละ 56.0 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ที่ลดลง มีสาเหตุสำคัญมาจากมีการส่งออกสินค้า ในหมวด HS 3005.90 ประเภทแวดดิ้ง ผ้ากอซ ผ้าพันแผล และสำลี ลดลงมาก เพราะกระแสความต้องการอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันเชื้อโรคในตลาดโลกลดลงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน
5. สรุป
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ปรับกระบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยาสามัญใหม่และยาใหม่สำหรับกลุ่มยาจำเป็นเร่งด่วน ให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งประชาชนจะได้ใช้ยาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หรือยาที่ใช้รักษาโรคร้ายแรงที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ ยารักษาโรคเอดส์ และโรคมะเร็ง ได้รวดเร็วขึ้น และผู้ประกอบการยาในประเทศก็สามารถผลิตยาเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกได้สะดวกขึ้น เนื่องจาก ไม่ถูกจำกัดจากระยะเวลาการขึ้นทะเบียนตำรับยาอีกต่อไป
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศ ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรให้ ดีขึ้น และได้รับคำสั่งซื้อจากการประมูลจากโรงพยาบาล ทำให้ผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น โดยยาที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นยาที่มีราคาไม่สูงมากนัก สำหรับปริมาณการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการ ได้รับปริมาณคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ทั้งจากการประมูลการจัดซื้อยาจากโรงพยาบาล และสามารถหาลูกค้า รายใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ด้านการนำเข้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ยังเป็นการนำเข้ายาสำเร็จรูปราคาแพงที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศและยาต้นตำรับ สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสำคัญจากการส่งออกยารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป เช่น ยาแก้ไข้ แก้หวัด แก้ปวด เพิ่มมากขึ้น
สำหรับไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 เนื่องจากความต้องการในประเทศยังคงขยายตัว สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการพยายามหาตลาดใหม่ ๆ มากขึ้น ส่วนการนำเข้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยยังเป็นการนำเข้ายารักษาโรคที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และยาต้นตำรับ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-