แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่าน มา (วันที่ 18 - 24 มี.ค. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลา กรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,327.88 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 558.61 ตัน สัตว์น้ำจืด 769.27 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.05 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.75 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 87.55 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 22.89 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 49.33 ตัน
การตลาด
เรือประมงทยอยเลิกหาปลา
สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยไม่พอใจแนวทางการช่วยเหลือของรัฐบาลที่เพียงจัดหาน้ำมันเขียวหรือน้ำมันดีเซลราคาถูกกว่าท้องตลาดลิตรละ 2 บาท หรือลิตรละ 16.25 บาท แต่สมาคมต้องการให้ตรึงราคาน้ำมันเขียวไว้ที่ลิตรละ 13.70 บาท และช่วยเหลือน้ำมันม่วง เพื่อช่วยประมงชายฝั่งลิตรละ 2 บาท ดังนั้น จึงมีมติให้สมาชิกหยุดทำการประมงทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม-4 เมษายน 2548 ปรากฏว่ามีกลุ่มชาวประมงหลายจังหวัด เริ่มหยุดออกเรือหาปลาแล้ว
นายทองแทน เลิศลัทธภรณ์ ที่ปรึกษาสมาคมการประมงสมุทรสาคร กล่าวว่า กลุ่มสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการทำประมง 55 กลุ่ม ได้เริ่มสั่งการให้สมาชิกในพื้นที่ของตนเองนำเรือประมงทุกขนาดกว่า 80,000 ลำ ทยอยเข้ามาจอดเทียบท่าในอ่าวทั้ง 22 จังหวัดทั่วประเทศภายในวันที่ 4 เมษายนนี้ ตามมติสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา โดยจะให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศหยุดทำประมงตั้งแต่ วันที่ 29 มีนาคม - 4 เมษายน 2548 และให้ระงับการซื้อขายสินค้าประมงจนกว่ารัฐบาลจะยอมตรึงราคาน้ำมันเขียวตามที่เสนอไป ดังนั้น วันที่ 5 เมษายน 2548 จะไม่มีเรือออกทำการประมงและเชื่อว่าจะทำให้สินค้าประมงราคาสูงขึ้น
นายประเทือง ทิพยมาศ นายกสมาคมประมงปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ในวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมา สมาคมประมงแต่ละจังหวัดได้ยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อเรียกร้องขอความ ช่วยเหลือไปยังรัฐบาล และวันที่ 4 เมษายน 2548 แพปลาทั่วประเทศจะหยุดการรับซื้อปลาโดยสิ้นเชิง ขณะนี้เรือประมงจังหวัดนครศรีธรรมราชทยอยกลับเข้าฝั่งแล้ว ชาวประมงจังหวัดตราด ได้หยุดทำการประมง พร้อมปิดอ่าว ปิดห้องเย็น แพปลา ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่อเนื่อง รวมทั้งชาวประมงจังหวัดสมุทรสาครก็ได้นำเรือกว่า 300 ลำ จอดปิดอ่าว โดยนายกสมาคม กล่าวว่าเมื่อไม่มีทางทำมาหากิน ก็ต้องนำเรือเข้าฝั่งจอดทิ้งไว้ เพื่อขอความเห็นใจจากรัฐบาล หากไม่ได้ตามที่เรียกร้องก็จะจอดเรือทิ้งไว้แบบนี้ การปิดปากอ่าว ทำให้เรือบรรทุกสินค้าไม่สามารถผ่านเข้า - ออกได้ และเรือบรรทุกน้ำมันขนาดกว่า 2 แสนลิตร ต้องจอดอยู่ปากอ่าวไม่สามารถนำเรือเข้ามาถ่ายให้คลังน้ำมันได้เช่นกัน
นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา กลุ่มผู้ประกอบการยืนยันขอให้รัฐบาลตรึงราคาน้ำมันเขียวที่ลิตรละ 13.70 บาทนั้น ได้ชี้แจงว่ารัฐบาลไม่สามารถอุดหนุนได้ เนื่องจากน้ำมันเขียวมีการซื้อขายนอกน่านน้ำไทย ซึ่งไม่มีระบบภาษีมาเกี่ยวข้อง และไม่สามารถทราบได้ว่าจะมีเรือของประเทศใดเข้ามาใช้บริการบ้าง ดังนั้น จึงยืนยันว่าภาครัฐจะช่วยอุดหนุนได้เพียงลิตรละ 2 บาทจากราคาบนบก หรือประมาณลิตรละ 16 บาท ส่วนน้ำมันสีม่วงภาครัฐจะอุดหนุนในอัตรา ลิตรละ 2 บาท เป็นระยะ 3 เดือน หลังจากนั้นจะลดการอุดหนุนเหลือเพียงลิตรละ 1 บาท แต่หากราคาสินค้ายังต่ำอยู่จะชดเชยให้ราคาต่ำกว่าบนบกลิตรละไม่เกิน 2 บาทไปอีก 3 เดือนจนกว่าราคาสินค้าจะดีขึ้น ผู้แทนสมาคมการประมงรับทราบข้อเสนอดังกล่าวกลับไปพิจารณาและจะหารือกันอีกครั้งในวันที่ 1 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นการหารือครั้งสุดท้ายก่อนที่รัฐบาลจะตัดสินใจชดเชยอย่างไร
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ25.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.92 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.49 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.04 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.55 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉ ลี่ยกิโลกรัมละ 92.86 บาท สูงขึ้นจ กกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 206.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 213.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 ปลาทูปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.66 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.36 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉ ลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงาน
ราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 104.29 บาท สูงขึ้นจ กกิโลกรัมละ 100.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.29 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.36 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.26 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ( ระหว่างวัน ที่ 28 มี.ค. - 1 เม.ย. 2548 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.06 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 13 ประจำวันที่ 28 มี.ค.-3 เม.ย.2548--
-สก-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่าน มา (วันที่ 18 - 24 มี.ค. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลา กรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,327.88 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 558.61 ตัน สัตว์น้ำจืด 769.27 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.05 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.75 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 87.55 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 22.89 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 49.33 ตัน
การตลาด
เรือประมงทยอยเลิกหาปลา
สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยไม่พอใจแนวทางการช่วยเหลือของรัฐบาลที่เพียงจัดหาน้ำมันเขียวหรือน้ำมันดีเซลราคาถูกกว่าท้องตลาดลิตรละ 2 บาท หรือลิตรละ 16.25 บาท แต่สมาคมต้องการให้ตรึงราคาน้ำมันเขียวไว้ที่ลิตรละ 13.70 บาท และช่วยเหลือน้ำมันม่วง เพื่อช่วยประมงชายฝั่งลิตรละ 2 บาท ดังนั้น จึงมีมติให้สมาชิกหยุดทำการประมงทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม-4 เมษายน 2548 ปรากฏว่ามีกลุ่มชาวประมงหลายจังหวัด เริ่มหยุดออกเรือหาปลาแล้ว
นายทองแทน เลิศลัทธภรณ์ ที่ปรึกษาสมาคมการประมงสมุทรสาคร กล่าวว่า กลุ่มสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการทำประมง 55 กลุ่ม ได้เริ่มสั่งการให้สมาชิกในพื้นที่ของตนเองนำเรือประมงทุกขนาดกว่า 80,000 ลำ ทยอยเข้ามาจอดเทียบท่าในอ่าวทั้ง 22 จังหวัดทั่วประเทศภายในวันที่ 4 เมษายนนี้ ตามมติสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา โดยจะให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศหยุดทำประมงตั้งแต่ วันที่ 29 มีนาคม - 4 เมษายน 2548 และให้ระงับการซื้อขายสินค้าประมงจนกว่ารัฐบาลจะยอมตรึงราคาน้ำมันเขียวตามที่เสนอไป ดังนั้น วันที่ 5 เมษายน 2548 จะไม่มีเรือออกทำการประมงและเชื่อว่าจะทำให้สินค้าประมงราคาสูงขึ้น
นายประเทือง ทิพยมาศ นายกสมาคมประมงปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ในวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมา สมาคมประมงแต่ละจังหวัดได้ยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อเรียกร้องขอความ ช่วยเหลือไปยังรัฐบาล และวันที่ 4 เมษายน 2548 แพปลาทั่วประเทศจะหยุดการรับซื้อปลาโดยสิ้นเชิง ขณะนี้เรือประมงจังหวัดนครศรีธรรมราชทยอยกลับเข้าฝั่งแล้ว ชาวประมงจังหวัดตราด ได้หยุดทำการประมง พร้อมปิดอ่าว ปิดห้องเย็น แพปลา ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่อเนื่อง รวมทั้งชาวประมงจังหวัดสมุทรสาครก็ได้นำเรือกว่า 300 ลำ จอดปิดอ่าว โดยนายกสมาคม กล่าวว่าเมื่อไม่มีทางทำมาหากิน ก็ต้องนำเรือเข้าฝั่งจอดทิ้งไว้ เพื่อขอความเห็นใจจากรัฐบาล หากไม่ได้ตามที่เรียกร้องก็จะจอดเรือทิ้งไว้แบบนี้ การปิดปากอ่าว ทำให้เรือบรรทุกสินค้าไม่สามารถผ่านเข้า - ออกได้ และเรือบรรทุกน้ำมันขนาดกว่า 2 แสนลิตร ต้องจอดอยู่ปากอ่าวไม่สามารถนำเรือเข้ามาถ่ายให้คลังน้ำมันได้เช่นกัน
นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา กลุ่มผู้ประกอบการยืนยันขอให้รัฐบาลตรึงราคาน้ำมันเขียวที่ลิตรละ 13.70 บาทนั้น ได้ชี้แจงว่ารัฐบาลไม่สามารถอุดหนุนได้ เนื่องจากน้ำมันเขียวมีการซื้อขายนอกน่านน้ำไทย ซึ่งไม่มีระบบภาษีมาเกี่ยวข้อง และไม่สามารถทราบได้ว่าจะมีเรือของประเทศใดเข้ามาใช้บริการบ้าง ดังนั้น จึงยืนยันว่าภาครัฐจะช่วยอุดหนุนได้เพียงลิตรละ 2 บาทจากราคาบนบก หรือประมาณลิตรละ 16 บาท ส่วนน้ำมันสีม่วงภาครัฐจะอุดหนุนในอัตรา ลิตรละ 2 บาท เป็นระยะ 3 เดือน หลังจากนั้นจะลดการอุดหนุนเหลือเพียงลิตรละ 1 บาท แต่หากราคาสินค้ายังต่ำอยู่จะชดเชยให้ราคาต่ำกว่าบนบกลิตรละไม่เกิน 2 บาทไปอีก 3 เดือนจนกว่าราคาสินค้าจะดีขึ้น ผู้แทนสมาคมการประมงรับทราบข้อเสนอดังกล่าวกลับไปพิจารณาและจะหารือกันอีกครั้งในวันที่ 1 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นการหารือครั้งสุดท้ายก่อนที่รัฐบาลจะตัดสินใจชดเชยอย่างไร
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ25.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.92 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.49 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.04 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.55 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉ ลี่ยกิโลกรัมละ 92.86 บาท สูงขึ้นจ กกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 206.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 213.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 ปลาทูปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.66 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.36 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉ ลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงาน
ราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 104.29 บาท สูงขึ้นจ กกิโลกรัมละ 100.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.29 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.36 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.26 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ( ระหว่างวัน ที่ 28 มี.ค. - 1 เม.ย. 2548 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.06 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 13 ประจำวันที่ 28 มี.ค.-3 เม.ย.2548--
-สก-