อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ซึ่งประกอบด้วยอุตสาหกรรมต้นน้ำ คือ อุตสาหกรรมฟอกหนัง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องลงทุนและเงินหมุนเวียนสูง อุตสาหกรรมปลายน้ำคือ อุตสาหกรรมรองเท้าและชิ้นส่วน ซึ่งรวมถึงการผลิตรองเท้ากีฬา รองเท้าแตะ รองเท้าหนังแท้และหนังเทียม รองเท้ายางและพลาสติก และรองเท้าอื่นๆ รวมถึงส่วนประกอบของรองเท้า โดยมีการใช้วัตถุดิบในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ และเครื่องหนังเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำที่ใช้หนังฟอกแต่งสำเร็จเป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือ กระเป๋าเอกสาร เครื่องใช้ในการเดินทาง เครื่องใช้สำนักงานและเข็มขัด เป็นต้น
1. การผลิต
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังจำแนกได้ดังนี้
- หนังดิบและหนังฟอก ดัชนีผลผลิตในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ลดลงร้อยละ 16.2 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -16.2 เนื่องจากการนำเข้าที่สูงขึ้นของหนังดิบและหนังฟอก
- กระเป๋า ดัชนีผลผลิตในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ลดลงร้อยละ 14.4 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.2
- รองเท้า ดัชนีผลผลิตในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ทรงตัวที่ร้อยละ 0.3 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 4.7
2. การตลาด
การส่งออก
รองเท้าและชิ้นส่วน ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 6.7 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือรองเท้ากีฬา รองเท้าแตะ และรองเท้าอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 9.9, 25.1 และ 8.8 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ รองเท้าหนังเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ส่วนประกอบของรองเท้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.0
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 4.3 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ รองเท้าหนัง และรองเท้าอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 15.7 และ 28.8 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ รองเท้ากีฬา รองเท้าแตะและส่วนประกอบของรองเท้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1, 16.0 และ 50.0 ตามลำดับ ตลาดสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.1 34.2 31.7 9.9 และ 3.4 ตามลำดับ ตลาดหลักที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร มีสัดส่วนร้อยละ 33.2 10.6 7.4 6.0 และ 5.0 ตามลำดับ
เครื่องใช้เดินทาง ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ กระเป๋าใส่เศษสตางค์ และเครื่องเดินทางอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.4 และ 19.9 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ลดลงคือกระเป๋าเดินทาง และกระเป๋าถือ ลดลงร้อยละ 8.3 และ 8.6 ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 3.9 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือกระเป๋าเดินทางและกระเป๋าถือ ลดลงร้อยละ 18.2 และ 17.9 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ กระเป๋าใส่เศษสตางค์ และเครื่องเดินทางอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 และ 35.5 ตามลำดับ ตลาดสำคัญที่เพิ่มขึ้นได้แก่ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.8 60.0 27.3 และ 17.2 ตลาดหลักที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี และสหราชอาณาจักร มีสัดส่วนร้อยละ 39.8 9.4 9.4 7.1 และ 4.0 ตามลำดับ
หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 11.3 ซึ่งลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่ หนังโคกระบือฟอก ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง ถุงมือหนัง เครื่องแต่งกายและเข็มขัด หนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่นๆ ลดลงร้อยละ 4.8, 33.6, 19.2, 31.3 และ 6.7 ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ เครื่องแต่งกายและเข็มขัด หนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 และ 4.5 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ได้แก่ หนังโคกระบือฟอก ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง และถุงมือหนัง ลดลงร้อยละ 3.8, 4.7 และ 4.7 ตามลำดับ ตลาดส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ อิตาลี เวียดนาม และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 394.1 65.6 และ 55.5 ตลาดหลักที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา จีน เวียดนาม และไตหวัน มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 17.8 14.0 12.4 12.9 และ 6.5 ตามลำดับ
การนำเข้า
หนังดิบและหนังฟอก ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เทียบกับ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 ตลาดสำคัญที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น คือ ออสเตรเลีย จีน และอาร์เจนตินา เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.2 37.2 และ 36.2 ตามลำดับ
รองเท้า ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีมูลค่าการนำ เข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 ตลาดสำคัญที่นำเข้าเพิ่มขึ้น คือ มาเลเซีย ฝรั่งเศส เวียดนาม และ จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.0 44.4 31.3 และ 23.3 ตามลำดับ
ผลิตภัณฑ์หนัง ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.8 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.6 ตลาดสำคัญที่เพิ่มขึ้น คือ จีน ฝรั่งเศส และนิวซีแลนด์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 160.0 53.0 และ 17.2 ตามลำดับ
3. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ยกเว้นเพียงกระเป๋าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น จึงคาดว่าการผลิตในไตรมาสที่ที่ 4 อาจอยู่ในภาวะทรงตัว หรืออาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากปัญหาคู่แข่งที่สำคัญ คือจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็ว อีกทั้งตลาดภายในประเทศของไทยเอง มีการนำเข้าตั้งแต่วัตถุดิบคือหนังดิบและหนังฟอก รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ไทยนำเข้าหนังดิบและหนังฟอก เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 รองเท้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 และผลิตภัณฑ์หนังเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.6
อย่างไรก็ตามการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปจากจีนและเวียดนาม ยังคงส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตของไทยค่อนข้างมาก ซึ่งภาครัฐเองก็ได้ร่วมมือกับภาคเอกชนหามาตรการเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าคุณภาพต่ำและราคาที่ถูกกว่าไหลทะลักเข้ามาในประเทศ ตลอดจนการดำเนินโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น คาดว่าจะช่วยให้อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังมีภาวะการผลิตและการส่งออกที่ดีขึ้นได้ส่วนหนึ่งในตลาดระดับกลางและระดับบน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1. การผลิต
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังจำแนกได้ดังนี้
- หนังดิบและหนังฟอก ดัชนีผลผลิตในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ลดลงร้อยละ 16.2 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -16.2 เนื่องจากการนำเข้าที่สูงขึ้นของหนังดิบและหนังฟอก
- กระเป๋า ดัชนีผลผลิตในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ลดลงร้อยละ 14.4 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.2
- รองเท้า ดัชนีผลผลิตในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ทรงตัวที่ร้อยละ 0.3 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 4.7
2. การตลาด
การส่งออก
รองเท้าและชิ้นส่วน ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 6.7 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือรองเท้ากีฬา รองเท้าแตะ และรองเท้าอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 9.9, 25.1 และ 8.8 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ รองเท้าหนังเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ส่วนประกอบของรองเท้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.0
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 4.3 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ รองเท้าหนัง และรองเท้าอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 15.7 และ 28.8 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ รองเท้ากีฬา รองเท้าแตะและส่วนประกอบของรองเท้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1, 16.0 และ 50.0 ตามลำดับ ตลาดสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.1 34.2 31.7 9.9 และ 3.4 ตามลำดับ ตลาดหลักที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร มีสัดส่วนร้อยละ 33.2 10.6 7.4 6.0 และ 5.0 ตามลำดับ
เครื่องใช้เดินทาง ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ กระเป๋าใส่เศษสตางค์ และเครื่องเดินทางอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.4 และ 19.9 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ลดลงคือกระเป๋าเดินทาง และกระเป๋าถือ ลดลงร้อยละ 8.3 และ 8.6 ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 3.9 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือกระเป๋าเดินทางและกระเป๋าถือ ลดลงร้อยละ 18.2 และ 17.9 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ กระเป๋าใส่เศษสตางค์ และเครื่องเดินทางอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 และ 35.5 ตามลำดับ ตลาดสำคัญที่เพิ่มขึ้นได้แก่ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.8 60.0 27.3 และ 17.2 ตลาดหลักที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี และสหราชอาณาจักร มีสัดส่วนร้อยละ 39.8 9.4 9.4 7.1 และ 4.0 ตามลำดับ
หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 11.3 ซึ่งลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่ หนังโคกระบือฟอก ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง ถุงมือหนัง เครื่องแต่งกายและเข็มขัด หนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่นๆ ลดลงร้อยละ 4.8, 33.6, 19.2, 31.3 และ 6.7 ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ เครื่องแต่งกายและเข็มขัด หนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 และ 4.5 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ได้แก่ หนังโคกระบือฟอก ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง และถุงมือหนัง ลดลงร้อยละ 3.8, 4.7 และ 4.7 ตามลำดับ ตลาดส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ อิตาลี เวียดนาม และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 394.1 65.6 และ 55.5 ตลาดหลักที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา จีน เวียดนาม และไตหวัน มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 17.8 14.0 12.4 12.9 และ 6.5 ตามลำดับ
การนำเข้า
หนังดิบและหนังฟอก ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เทียบกับ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 ตลาดสำคัญที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น คือ ออสเตรเลีย จีน และอาร์เจนตินา เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.2 37.2 และ 36.2 ตามลำดับ
รองเท้า ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีมูลค่าการนำ เข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 ตลาดสำคัญที่นำเข้าเพิ่มขึ้น คือ มาเลเซีย ฝรั่งเศส เวียดนาม และ จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.0 44.4 31.3 และ 23.3 ตามลำดับ
ผลิตภัณฑ์หนัง ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.8 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.6 ตลาดสำคัญที่เพิ่มขึ้น คือ จีน ฝรั่งเศส และนิวซีแลนด์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 160.0 53.0 และ 17.2 ตามลำดับ
3. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ยกเว้นเพียงกระเป๋าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น จึงคาดว่าการผลิตในไตรมาสที่ที่ 4 อาจอยู่ในภาวะทรงตัว หรืออาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากปัญหาคู่แข่งที่สำคัญ คือจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็ว อีกทั้งตลาดภายในประเทศของไทยเอง มีการนำเข้าตั้งแต่วัตถุดิบคือหนังดิบและหนังฟอก รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ไทยนำเข้าหนังดิบและหนังฟอก เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 รองเท้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 และผลิตภัณฑ์หนังเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.6
อย่างไรก็ตามการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปจากจีนและเวียดนาม ยังคงส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตของไทยค่อนข้างมาก ซึ่งภาครัฐเองก็ได้ร่วมมือกับภาคเอกชนหามาตรการเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าคุณภาพต่ำและราคาที่ถูกกว่าไหลทะลักเข้ามาในประเทศ ตลอดจนการดำเนินโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น คาดว่าจะช่วยให้อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังมีภาวะการผลิตและการส่งออกที่ดีขึ้นได้ส่วนหนึ่งในตลาดระดับกลางและระดับบน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-