กรุงเทพ--29 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไทยเกี่ยวกับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM) และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และอินเดีย ซึ่งมีขึ้น ณ International Cooperation and Training Centre (ICTC) เวียงจันทน์ สปป. ลาว สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การประชุม AMM
1.1 ที่ประชุมฯ ได้หารือเพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน + 1 (กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย และรัสเซีย) รวมทั้งการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 การประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี) และการประชุมสุดยอดอาเซียนกับอินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งจะมีขึ้นในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ณ เวียงจันทน์
1.2 โดยที่ในโอกาสนี้มีการประชุมผู้นำอาเซียน-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ที่ประชุมฯ จึงเห็นพ้องกันที่จะเชิญให้ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์พิจารณาภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in South East Asia : TAC) ซึ่งจะเป็นการแสดงความสนับสนุนของประเทศทั้งสองต่อแนวปฏิบัติด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอาเซียน ทั้งนี้ ออสเตรเลียประสงค์จะศึกษา TAC ในรายละเอียดก่อน ในขณะที่นิวซีแลนด์มีท่าทีตอบสนองในเชิงบวก
1.3 ในเรื่องการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit) นั้น ที่ประชุมฯ มีมติให้เจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) หารือในรายละเอียดเพิ่มเติมและเสนอความเห็นต่อที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ในเดือนมีนาคม 2548 ทั้งนี้ ไทยสนับสนุนการจัดประชุมสุดยอดดังกล่าว และเห็นว่าไม่ซ้ำซ้อนกับกระบวนการอาเซียน+3 ซึ่งมีกลไกและความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่างๆ หลายประการที่พัฒนามาเป็นลำดับ นับว่ามีศักยภาพที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นประชาคมเอเชียตะวันออกได้ในที่สุด และช่วยสนับสนุนกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคต่างๆ ซึ่งจะเป็น building blocks ที่จะเชื่อมโยงภูมิภาคอื่นๆ ได้ นอกจากนี้การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกจะเป็นโอกาสให้ผู้นำได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asia Community) ด้วย
2. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับจีน ที่ประชุมฯ เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีนเป็นตัวอย่างที่ดีของความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจา ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และประชาชน อาทิ การที่จีนได้ภาคยานุวัติ TAC การเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) และจัดทำ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับทะเลจีนใต้กับอาเซียนและในการประชุมสุดยอดฯ ครั้งนี้ ผู้นำอาเซียนและจีนจะลงนามความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าในกรอบความตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจแบบบูรณาการระหว่างอาเซียน-จีน และความตกลงกลไกแก้ไขข้อพิพาททางการค้าระหว่างอาเซียน-จีน ซึ่งไทยเห็นว่าอาเซียนและจีนสามารถความส่งเสริมความร่วมมือด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ การศึกษา และพลังงาน (ไบโอดีเซล)
3. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับญี่ปุ่น
3.1 อาเซียนประสงค์ให้แผนปฏิบัติการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่นมีความสมดุลย์ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการพัฒนา ในโอกาสนี้ ไทยได้ขอบคุณที่ญี่ปุ่นส่งผู้แทนระดับรัฐมนตรีมาร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีความร่วมมือเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา- แม่โขง (ACMECS) อย่างไม่เป็นทางการ ที่จังหวัดกระบี่เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งความร่วมมือของญี่ปุ่นจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่อาซียนและช่วยลดช่วงว่างทางด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเก่าและใหม่ด้วย
3.2 ไทยให้ความสำคัญต่อความร่วมมืออาเซียนและญี่ปุ่นในด้านความมั่นคงทางทะเล และแจ้งให้ทราบถึงการดำเนินการต่างๆ ในเรื่องนี้ อาทิ มาตรการตรวจสอบและรักษาความปลอดภัยในการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าขายสินค้าและบริการระหว่างกัน
4. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐเกาหลีจะภาคยานุวัติ TAC และลงนามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนแบบบูรณาการระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีในการประชุมสุดยอดฯ ครั้งนี้ และตกลงที่จะเริ่มการหารือ FTA กับอาซียน โดยตั้งเป้าที่จะเริ่มดำเนินการให้ได้ภายในปี 2552 ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก
5. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับอินเดีย
5.1 อาเซียนและอินเดียจะลงนามเอกสารความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียน-อินเดีย เพื่อสันติภาพและความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันปี 2563 ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือในด้านมาตรฐานสินค้า การเงิน พันธบัตรเอเชีย และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ไทยเห็นว่าความร่วมมือระหว่างอาเซียน-อินเดีย ควรให้ความสำคัญในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ และการแพทย์แผนโบราณ ซึ่งอินเดียมีศักยภาพและความเชี่ยวชาญอย่างมาก
5.2 ไทยได้เสนอให้อาเซียนและอินเดียแก้ปัญหาความชะงักงันในการเจรจา FTA ระหว่างกัน ซึ่งยังไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องแหล่งกำเนิดของสินค้า ดังนั้น จึงจำเป็นที่ต้องอาศัยการตัดสินใจทางการเมืองจากทั้งสองฝ่าย
นอกจากนี้ ไทยยังสนับสนุนความร่วมมือ 3 ฝ่ายระหว่างไทย พม่า และอินเดียในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งทางบก นโยบาย Open Sky ของอินเดียเพื่อขยายเส้นทางคมนาคมทางอากาศ และการที่อินเดียจะทำการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะสร้างท่าเรือน้ำลึกที่เมืองทวาย โดยไทยพร้อมที่จะร่วมกับอินเดียในการให้เงินกู้แก่พม่าเพื่อสร้างถนนเชื่อมเมืองทวายกับจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงทะเลอันดามันกับอ่าวไทย
5.3 ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ที่ประชุมฯ ทราบถึงพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-SAARC โดยล่าสุดไทยเป็นประธานร่วมกับปากีสถานในการประชุมอาเซียน-SAARC ในระหว่างการประชุมสมัชชาฯ สหประชาชาติ ครั้งที่ 59 เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ การลดความ ตึงเครียดระหว่างอินเดีย-ปากีสถาน จะเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง ทั้งสององค์การ โดยเฉพาะเมื่อคำนึงว่าทั้งสองฝ่ายมีลู่ทางที่จะร่วมมือกันได้ในหลายๆ ด้าน อาทิด้าน HIV/AIDS การท่องเที่ยว และการต่อต้านการก่อการร้ายข้ามชาติ
ในโอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับปัญหาสถานการณ์ในภาคใต้ของไทยว่า
- ไทยเห็นว่าสถานการณ์ภาคใต้เป็นกิจการภายในประเทศ เนื่องจากมิได้มีผลกระทบต่อภูมิภาคหรือกรอบการหารือพหุภาคี ดังนั้น จึงไม่สมควรที่จะมีการหยิบยกขึ้นหารือในเวทีการประชุมพหุภาคีใดๆ ทั้งนี้ ที่ผ่านมาฝ่ายไทยได้มีการพูดคุยกับประเทศต่างๆ ในระดับทวิภาคีโดยเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศมุสลิม ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ทั้งในระดับผู้นำและระดับรัฐมนตรีในโอกาสต่างๆ อยู่แล้ว ซึ่งทุกฝ่ายได้แสดงความเข้าใจและเห็นว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาของไทย โดยเฉพาะการแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 เป็นการดำเนินการที่เหมาะสมแล้ว
- ในการพบหารือระหว่าง ดร. สุรเกียรติ์ฯ กับ Dato’ Seri Syed Hamid Albar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย ฝ่ายมาเลเซียแจ้งว่าข่าวที่ปรากฏในสื่อมวลชนว่าสภานิติบัญญัติของมาเลเซียได้ลงมติตำหนิการดำเนินการของทางการไทยต่อสถานการณ์ภาคใต้นั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจากเป็นเพียงการอภิปรายและตอบกระทู้ที่เสนอโดยพรรค PAS ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านเท่านั้น มิใช่ท่าทีของรัฐบาลมาเลเซียแต่อย่างใด ส่วนรายงานของสำนักข่าว AP ที่ว่ารัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียตำหนิ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียได้มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงถึงสำนักข่าว AP ด้วยแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไทยเกี่ยวกับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM) และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และอินเดีย ซึ่งมีขึ้น ณ International Cooperation and Training Centre (ICTC) เวียงจันทน์ สปป. ลาว สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การประชุม AMM
1.1 ที่ประชุมฯ ได้หารือเพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน + 1 (กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย และรัสเซีย) รวมทั้งการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 การประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี) และการประชุมสุดยอดอาเซียนกับอินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งจะมีขึ้นในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ณ เวียงจันทน์
1.2 โดยที่ในโอกาสนี้มีการประชุมผู้นำอาเซียน-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ที่ประชุมฯ จึงเห็นพ้องกันที่จะเชิญให้ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์พิจารณาภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in South East Asia : TAC) ซึ่งจะเป็นการแสดงความสนับสนุนของประเทศทั้งสองต่อแนวปฏิบัติด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอาเซียน ทั้งนี้ ออสเตรเลียประสงค์จะศึกษา TAC ในรายละเอียดก่อน ในขณะที่นิวซีแลนด์มีท่าทีตอบสนองในเชิงบวก
1.3 ในเรื่องการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit) นั้น ที่ประชุมฯ มีมติให้เจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) หารือในรายละเอียดเพิ่มเติมและเสนอความเห็นต่อที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ในเดือนมีนาคม 2548 ทั้งนี้ ไทยสนับสนุนการจัดประชุมสุดยอดดังกล่าว และเห็นว่าไม่ซ้ำซ้อนกับกระบวนการอาเซียน+3 ซึ่งมีกลไกและความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่างๆ หลายประการที่พัฒนามาเป็นลำดับ นับว่ามีศักยภาพที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นประชาคมเอเชียตะวันออกได้ในที่สุด และช่วยสนับสนุนกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคต่างๆ ซึ่งจะเป็น building blocks ที่จะเชื่อมโยงภูมิภาคอื่นๆ ได้ นอกจากนี้การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกจะเป็นโอกาสให้ผู้นำได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asia Community) ด้วย
2. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับจีน ที่ประชุมฯ เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีนเป็นตัวอย่างที่ดีของความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจา ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และประชาชน อาทิ การที่จีนได้ภาคยานุวัติ TAC การเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) และจัดทำ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับทะเลจีนใต้กับอาเซียนและในการประชุมสุดยอดฯ ครั้งนี้ ผู้นำอาเซียนและจีนจะลงนามความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าในกรอบความตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจแบบบูรณาการระหว่างอาเซียน-จีน และความตกลงกลไกแก้ไขข้อพิพาททางการค้าระหว่างอาเซียน-จีน ซึ่งไทยเห็นว่าอาเซียนและจีนสามารถความส่งเสริมความร่วมมือด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ การศึกษา และพลังงาน (ไบโอดีเซล)
3. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับญี่ปุ่น
3.1 อาเซียนประสงค์ให้แผนปฏิบัติการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่นมีความสมดุลย์ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการพัฒนา ในโอกาสนี้ ไทยได้ขอบคุณที่ญี่ปุ่นส่งผู้แทนระดับรัฐมนตรีมาร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีความร่วมมือเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา- แม่โขง (ACMECS) อย่างไม่เป็นทางการ ที่จังหวัดกระบี่เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งความร่วมมือของญี่ปุ่นจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่อาซียนและช่วยลดช่วงว่างทางด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเก่าและใหม่ด้วย
3.2 ไทยให้ความสำคัญต่อความร่วมมืออาเซียนและญี่ปุ่นในด้านความมั่นคงทางทะเล และแจ้งให้ทราบถึงการดำเนินการต่างๆ ในเรื่องนี้ อาทิ มาตรการตรวจสอบและรักษาความปลอดภัยในการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าขายสินค้าและบริการระหว่างกัน
4. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐเกาหลีจะภาคยานุวัติ TAC และลงนามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนแบบบูรณาการระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีในการประชุมสุดยอดฯ ครั้งนี้ และตกลงที่จะเริ่มการหารือ FTA กับอาซียน โดยตั้งเป้าที่จะเริ่มดำเนินการให้ได้ภายในปี 2552 ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก
5. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับอินเดีย
5.1 อาเซียนและอินเดียจะลงนามเอกสารความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียน-อินเดีย เพื่อสันติภาพและความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันปี 2563 ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือในด้านมาตรฐานสินค้า การเงิน พันธบัตรเอเชีย และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ไทยเห็นว่าความร่วมมือระหว่างอาเซียน-อินเดีย ควรให้ความสำคัญในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ และการแพทย์แผนโบราณ ซึ่งอินเดียมีศักยภาพและความเชี่ยวชาญอย่างมาก
5.2 ไทยได้เสนอให้อาเซียนและอินเดียแก้ปัญหาความชะงักงันในการเจรจา FTA ระหว่างกัน ซึ่งยังไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องแหล่งกำเนิดของสินค้า ดังนั้น จึงจำเป็นที่ต้องอาศัยการตัดสินใจทางการเมืองจากทั้งสองฝ่าย
นอกจากนี้ ไทยยังสนับสนุนความร่วมมือ 3 ฝ่ายระหว่างไทย พม่า และอินเดียในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งทางบก นโยบาย Open Sky ของอินเดียเพื่อขยายเส้นทางคมนาคมทางอากาศ และการที่อินเดียจะทำการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะสร้างท่าเรือน้ำลึกที่เมืองทวาย โดยไทยพร้อมที่จะร่วมกับอินเดียในการให้เงินกู้แก่พม่าเพื่อสร้างถนนเชื่อมเมืองทวายกับจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงทะเลอันดามันกับอ่าวไทย
5.3 ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ที่ประชุมฯ ทราบถึงพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-SAARC โดยล่าสุดไทยเป็นประธานร่วมกับปากีสถานในการประชุมอาเซียน-SAARC ในระหว่างการประชุมสมัชชาฯ สหประชาชาติ ครั้งที่ 59 เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ การลดความ ตึงเครียดระหว่างอินเดีย-ปากีสถาน จะเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง ทั้งสององค์การ โดยเฉพาะเมื่อคำนึงว่าทั้งสองฝ่ายมีลู่ทางที่จะร่วมมือกันได้ในหลายๆ ด้าน อาทิด้าน HIV/AIDS การท่องเที่ยว และการต่อต้านการก่อการร้ายข้ามชาติ
ในโอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับปัญหาสถานการณ์ในภาคใต้ของไทยว่า
- ไทยเห็นว่าสถานการณ์ภาคใต้เป็นกิจการภายในประเทศ เนื่องจากมิได้มีผลกระทบต่อภูมิภาคหรือกรอบการหารือพหุภาคี ดังนั้น จึงไม่สมควรที่จะมีการหยิบยกขึ้นหารือในเวทีการประชุมพหุภาคีใดๆ ทั้งนี้ ที่ผ่านมาฝ่ายไทยได้มีการพูดคุยกับประเทศต่างๆ ในระดับทวิภาคีโดยเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศมุสลิม ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ทั้งในระดับผู้นำและระดับรัฐมนตรีในโอกาสต่างๆ อยู่แล้ว ซึ่งทุกฝ่ายได้แสดงความเข้าใจและเห็นว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาของไทย โดยเฉพาะการแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 เป็นการดำเนินการที่เหมาะสมแล้ว
- ในการพบหารือระหว่าง ดร. สุรเกียรติ์ฯ กับ Dato’ Seri Syed Hamid Albar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย ฝ่ายมาเลเซียแจ้งว่าข่าวที่ปรากฏในสื่อมวลชนว่าสภานิติบัญญัติของมาเลเซียได้ลงมติตำหนิการดำเนินการของทางการไทยต่อสถานการณ์ภาคใต้นั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจากเป็นเพียงการอภิปรายและตอบกระทู้ที่เสนอโดยพรรค PAS ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านเท่านั้น มิใช่ท่าทีของรัฐบาลมาเลเซียแต่อย่างใด ส่วนรายงานของสำนักข่าว AP ที่ว่ารัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียตำหนิ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียได้มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงถึงสำนักข่าว AP ด้วยแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-