สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๓๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา โดยนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในการประชุม เมื่อครบ องค์ประชุมประธานการประชุมได้ดำเนินการพิจารณาตามระเบียบวาระ คือ ระเบียบวาระที่ ๑
กระทู้ถามสด จำนวน ๔ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ จำนวน ๔.๖ หมื่นล้านบาท จากสหราชอาณาจักร ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอก สัมพันธ์ บุญญานันต์) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า โครงการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ที่ผ่านมานั้นรัฐบาล โดยกระทรวงกลาโหมได้มีการจัดซื้อเพียงปืนใหญ่ จำนวน ๒๒ กระบอก ในวงเงิน ๒,๕๐๐ ล้านบาท เท่านั้น และได้มีการตอบแทนโดยการส่งอุปกรณ์ด้านการศึกษาสมัยใหม่ ซึ่งประเทศอังกฤษเป็นผู้ส่งมอบให้แก่ประเทศไทย มีโครงการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสุขภาพ รวมทั้งมีการสนับสนุนในการประกอบปืนใหญ่ และซ่อมบำรุง รถถังที่ประเทศไทยมีอยู่และเก่าแล้ว
ส่วนโครงการจัดซื้อเรือฟรีเกตนั้น ในเรื่องดังกล่าวนี้ยังไม่มีการจัดซื้อ แต่อยู่ระหว่าง การพิจารณาของคณะกรรมการ และที่ผ่านมาไม่ได้พิจารณาเฉพาะเพียงบริษัท BAE SYSTEMS เท่านั้น แต่ได้มีการพิจารณาบริษัทของประเทศอื่นด้วย
๒. กระทู้ถามสดของนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง กรณีกองทัพอากาศของสาธารณรัฐ สิงคโปร์ขอแลกเครื่องบิน F-๑๖ a/b จำนวน ๗ ลำ กับการเช่าพื้นที่บริเวณกองบิน ๒๓ จังหวัดอุดรธานี ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอก สัมพันธ์ บุญญานันต์) เป็นผู้ตอบ กระทู้ว่า การเช่าพื้นที่บริเวณกองบิน ๒๓ จังหวัดอุดรธานี เพื่อแลกเปลี่ยนเครื่องบิน F-๑๖ a/b นั้น ที่ผ่านมาการฝึกจะไม่ได้ใช้กองบิน ๒๓ ที่เดียว แต่มีการฝึกบินร่วมกับต่างประเทศที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดอื่นด้วย และเหตุที่ได้มีการทำสัญญา ๑๕ ปีนั้น ในเรื่องดังกล่าวนี้จะไม่มีการผูกมัดว่าจะเป็น ๑๕ ปี แต่จะเลิกเมื่อไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของประเทศไทย และการทำสัญญาเช่าพื้นที่ฝึก ๑๕ ปี นั้น ในทุก ๆ ๕ ปี จะมีการดูสัญญากันใหม่ ส่วนการดูแลพื้นที่การฝึกบนอากาศ ในเรื่องดังกล่าวนี้ประเทศไทยเป็นผู้ดูแลควบคุมการฝึก
๓. กระทู้ถามสดของนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชี
รายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การแก้ปัญหาภาพพจน์ของประเทศไทยในสังคมระหว่างประเทศ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า ที่ผ่านมาได้มีการรวบรวมความคิดเห็นต่าง ๆ รวมทั้งได้มีการประชุม คณะรัฐมนตรีเพื่อหาแนวทางในการสร้างภาพพจน์ของประเทศไทยในการสลายม็อบให้ดีขึ้นด้วย ส่วนเรื่องความคิดเห็นขององค์กรระหว่างประเทศนั้น ได้มีการชี้แจงมาตรการในการดำเนินการ อย่างโปร่งใสและข้อมูลมีความชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อถือให้เกิดขึ้นแก่องค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น รวมทั้งรัฐบาลได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบอิสระขึ้น และจากการพิจารณาท่าทีและความคิดเห็นจากประเทศต่าง ๆ แล้ว เห็นว่าประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นให้การสนับสนุนในแนวทางที่รัฐบาล ได้ดำเนินการไป
๔. กระทู้ถามสดของนายตรีพล เจาะจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาสัญญาว่าจ้างบริษัทเอกชน ในโครงการอบลำไยแห้ง และโครงการลำไยกระป๋อง ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า การว่าจ้างบริษัทเอกชนบริษัทเดียวนั้น เกิดจากการประกาศประกวดราคาจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และจากการประชุมได้มีมติเห็นชอบให้บริษัทเอกชนเป็นคู่สัญญาและระหว่างดำเนินการจนถึงวันทำสัญญา บริษัทได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่ได้ประกาศไว้ ส่วนเรื่องการเซ็นสัญญาตั้งแต่วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗ และได้มีคำสั่งให้อบลำไยตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ซึ่งข้อเท็จจริงคือ ในวันที่ ๑ กรกฎาคม - ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ยังไม่มีลำไยสดจากองค์การตลาดเพื่อการเกษตร (อตก.) ไปให้ อบเลย เพราะการสั่งและการรับซื้อลำไยสดของ อตก. ได้เปิดจุดรับซื้อตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗ หลังจากได้มีการลงนามในสัญญาจ้างกับบริษัทที่รับในการอบ ดังนั้นจึงไม่มีการอบลำไยก่อนที่จะมี การเซ็นสัญญา เพราะการซื้อลำไยสดจะซื้อหลังจากการทำสัญญาแล้ว
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๘ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายนคร มาฉิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก พรรค
ประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การติดตั้งวิทยุโทรทัศน์ระบบ TDMA ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร (นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า ที่ผ่านมาได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการติดตั้งโทรศัพท์ในพื้นที่โรงเรียนและหลาย ๆ พื้นที่ในประเทศ รวมทั้งระบบอินเตอร์เน็ตที่จะใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับ นักเรียน นักศึกษา ในต่างจังหวัด และที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการไปแล้ว และคาดว่าภายใน ๗ เดือน ข้างหน้า โรงเรียนทุกแห่งในประเทศจะมีโทรศัพท์พื้นฐานและระบบอินเตอร์เน็ตควบคู่ไปด้วยทุกโรงเรียน โดยมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร เป็นผู้ดูแลโรงเรียน ในพื้นที่เกี่ยวกับระบบดังกล่าวนี้
๒. กระทู้ถามของนายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การจัดตั้งโรงเรียนปอเนาะ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอารีย์ วงษ์อารยะ) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า รัฐบาลมีนโยบายในการจัดตั้งโรงเรียนปอเนาะ โดยดำเนินการตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๔ มีโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลามที่พัฒนามาจากโรงเรียนปอเนาะตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จำนวน ๓ ประเภท
- โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่กับวิชาสามัญตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ คือ ตามพระราชบัญญัติ มาตรา ๑๕ (๑) ซึ่งมีการจัดตั้งจำนวน ๑๒๕ โรง มีนักเรียนรวม ๑,๖๓๐ คน รัฐบาลได้ให้การสนับสนุน ๕ ด้าน ได้แก่ อุดหนุนด้านการเงิน บุคลากร สื่อการเรียนการสอน วิทยาการสงเคราะห์ และด้านวิชาการ
- โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาเพียงอย่างเดียว หรือโรงเรียนเอกชนตามมาตรา ๑๕ (๒) มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๗๓ โรง ซึ่งเปิดดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ๙๓ โรง และขอหยุด กิจการชั่วคราว ๘๐ โรง ซึ่งรัฐบาลให้การสนับสนุนเฉพาะด้านสื่อการเรียนการสอนและด้านวิชาการเท่านั้น ขณะเดียวกันถ้ามีความต้องการจะเรียนในด้านสามัญ กรมการศึกษานอกโรงเรียนจะเข้าไปดูแล
- สถาบันปอเนาะ ซึ่งเดิมไม่มีการจดทะเบียน แต่ในปัจจุบันได้มีการจดทะเบียนแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น ๒๕๕ สถาบันปอเนาะ ซึ่งมีอยู่ในเฉพาะ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
และในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายที่จะพัฒนาสถาบันปอเนาะในด้านต่าง ๆ คือ
- การพัฒนาโครงสร้างและพัฒนากายภาพของปอเนาะ
- จัดให้มีหลักสูตรปอเนาะ
- พัฒนาบุคลากรในปอเนาะ
๓. กระทู้ถามของนายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การลงโทษนักเรียนเกินกว่าเหตุ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอารีย์ วงษ์อารยะ) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า มาตรการของกระทรวงศึกษาธิการกับครู ที่มีสภาพจิตใจผิดปกตินั้น กระทรวงโดยสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีการดูแลในเรื่องดังกล่าวนี้ โดยมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชา เบื้องต้นของครู คอยดูแลติดตามพฤติกรรมของครูที่มีพฤติกรรมผิดปกติ โดยมีการประเมินเป็นระยะ ๆ รวมทั้งได้มีหนังสือสั่งการในการปฏิบัติตนว่า จะปฏิบัติตนอย่างไร ถ้าเกิดอาการรุนแรงจะมีมาตรการขั้นเด็ดขาด โดยการย้ายครูที่มีพฤติกรรมดังกล่าวไปปฏิบัติงานในหน้าที่อื่นต่อไป รวมทั้งผู้ปกครอง ต้องประเมินผลพฤติกรรมของครูดังกล่าว โดยส่งผลประเมินไปยังผู้บังคับบัญชาของครูในเบื้องต้น และนักเรียนต้องประเมินด้วยว่า นักเรียนมองภาพครูที่สอนนักเรียนสามารถสอนได้มากน้อยเพียงใด และนักเรียนมีความรู้สึกอย่างไร และส่งผลประเมินไปยังผู้บังคับบัญชาเบื้องต้นเช่นเดียวกัน ตลอดจนครูต้องประเมินตนเอง และประเมินด้วยกันเองว่าความประพฤติของครูเป็นอย่างไร
ส่วนเรื่องจรรยาบรรณนั้นให้ครูยึดตามกฎหมายสภาครูและบุคลากรในการศึกษา ซึ่งถ้าครูผิดจรรยาบรรณสามารถนำมาตรา ๙๙ แห่งกฎหมายข้าราชการพลเรือนมาใช้ได้
๔. กระทู้ถามของนายสุวโรช พะลัง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร พรรค
ประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการเก็บภาษีล่วงหน้าหัก ณ ที่จ่าย จากเกษตรกร ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า ที่ผ่านมาถ้าเป็นเกษตรกรธรรมดาไม่มีนโยบายในการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ถ้าเป็นเกษตรกร นิติบุคคล จะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย และถ้าประชาชนทั่วไปสนใจเกี่ยวกับเรื่องภาษีสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์กระทรวงการคลัง ๑๖๘๙
๕. กระทู้ถามของนายบุญเติม จันทะวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง โครงการแท็กซี่เอื้ออาทร ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า โครงการแท็กซี่เอื้ออาทร เป็นนโยบายของรัฐบาล ที่ได้ดำเนินการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ โดยสถาบันการเงินของรัฐ คือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME Bank ได้จัดทำโครงการพัฒนาแท็กซี่ไทยขึ้น โดยการให้สินเชื่อแก่ผู้มีความต้องการดำเนินการประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีผู้สนใจและแจ้งความจำนงไว้เป็นจำนวนมาก และขณะนี้ อยู่ในระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติต่าง ๆ และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ต้นปี ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
๖. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรค
ไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง กองทุนวายุภักษ์ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนื่องจาก ผู้ตั้งกระทู้ถามไม่ติดใจที่จะถาม ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไปตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๕
๗. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรค
ไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การจัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า การจัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำนั้นเกิดขึ้นจากนโยบายเสรีทางการบินที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็น ศูนย์กลางในการบิน รวมทั้งเรื่องการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า จากนโยบายดังกล่าวนี้กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการเจรจาในเรื่องของสิทธิทางการบินกับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะในอดีตการบิน ถูกจำกัดด้วยจำนวนเที่ยวบิน จำนวนที่นั่ง ซึ่งในขณะนี้สายการบินที่บินมายังประเทศไทยมีจำนวน เพิ่มมากขึ้นจาก ๗๒ สายการบิน เป็น ๘๔ สายการบิน รวมทั้งเที่ยวบินในการขนส่งสินค้าก็เพิ่มขึ้น เป็นลำดับ เนื่องจากได้มีการเปิดเสรีทางการค้ากับต่างประเทศ
ส่วนการส่งเสริมสายการบินต้นทุนต่ำนั้น กระทรวงคมนาคมซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลกรมการขนส่งทางอากาศได้ยกเลิกอัตราค่าโดยสารขั้นต่ำ ซึ่งเดิมกำหนดอัตราเพดานขั้นสูงและขั้นต่ำไว้ เช่น กำหนดไว้ไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท และไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ บาท ทำให้ผู้มีรายได้น้อยไม่มีโอกาสใช้บริการเดินทางทางเครื่องบินได้ จึงได้มีการยกเลิกอัตราค่าโดยสารขั้นต่ำ แต่ยังคงอัตราค่าโดยสารขั้นสูงไว้ จึงเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้บริษัทต่าง ๆ ที่ทำธุรกิจการบินสามารถปรับปรุงคุณภาพในการบริหารงาน เพื่อให้มีต้นทุนในการบริหารงานต่ำที่สุด และส่งผลถึงค่าโดยสารที่จะแข่งขันกัน แต่ความปลอดภัย จะเท่าเทียมกัน แม้ว่าจะเป็นสายการบินต้นทุนต่ำหรือสายการบินปกติ รวมทั้งได้มีการออกมาตรการ คุ้มครองสิทธิผู้โดยสารด้วย
๘. กระทู้ถามของนายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การก่อสร้างถนนลาดยาวในความดูแลของกรมทางหลวงและทางหลวงชนบทในเขตพื้นที่จังหวัดตรัง ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งรัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า กรมทางหลวงได้รับงบกลาง ในปี ๒๕๔๗ เพื่อใช้ในการขยายช่องจราจร จำนวน ๒ โครงการ ระยะทางรวม ๘๐ กิโลเมตร งบประมาณ ๒๑๐ ล้านบาท ซึ่งการขยายช่องจราจรเป็นสี่ช่องจราจร สำหรับสายห้วยยอดถึงอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ใช้งบประมาณ ๖๐ ล้านบาท และสายตรัง อำเภอห้วยยอด ใช้งบประมาณ ๑๕๐ ล้านบาท ซึ่งทั้ง ๒ โครงการ ขณะนี้กำลังดำเนินการออกแบบการก่อสร้าง
สำหรับสายสิเกา ซึ่งปัจจุบันเป็น ๒ ช่องจราจร ขณะนี้ยังไม่มีแผนในการดำเนินการขยายออกเป็น ๔ ช่องจราจร แต่จะนำเรื่องดังกล่าวนี้ไปดำเนินการต่อไป
ก่อนเลิกประชุม ที่ประชุมได้เห็นชอบให้เปลี่ยนแปลงรายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามที่สมาชิกฯ ร้องขอตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. …. เปลี่ยนจาก นายวิสันต์
เดชเสน เป็น นายอดุลย์ นิลเปรม และเปลี่ยนนายจำรัส เวียงสงค์ เป็นนายสิทธิชัย โควสุรัตน์
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. …. เปลี่ยนจากนายวิสันต์
เดชเสน เป็น นายสุรชัย เบ้าจรรยา
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. …. เปลี่ยนจากนายวิสันต์
เดชเสน เป็น นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
ปิดประชุมเวลา ๑๗.๔๐ นาฬิกา
------------------------------------------------------
วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๓๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา โดยนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในการประชุม เมื่อครบ องค์ประชุมประธานการประชุมได้ดำเนินการพิจารณาตามระเบียบวาระ คือ ระเบียบวาระที่ ๑
กระทู้ถามสด จำนวน ๔ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ จำนวน ๔.๖ หมื่นล้านบาท จากสหราชอาณาจักร ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอก สัมพันธ์ บุญญานันต์) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า โครงการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ที่ผ่านมานั้นรัฐบาล โดยกระทรวงกลาโหมได้มีการจัดซื้อเพียงปืนใหญ่ จำนวน ๒๒ กระบอก ในวงเงิน ๒,๕๐๐ ล้านบาท เท่านั้น และได้มีการตอบแทนโดยการส่งอุปกรณ์ด้านการศึกษาสมัยใหม่ ซึ่งประเทศอังกฤษเป็นผู้ส่งมอบให้แก่ประเทศไทย มีโครงการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสุขภาพ รวมทั้งมีการสนับสนุนในการประกอบปืนใหญ่ และซ่อมบำรุง รถถังที่ประเทศไทยมีอยู่และเก่าแล้ว
ส่วนโครงการจัดซื้อเรือฟรีเกตนั้น ในเรื่องดังกล่าวนี้ยังไม่มีการจัดซื้อ แต่อยู่ระหว่าง การพิจารณาของคณะกรรมการ และที่ผ่านมาไม่ได้พิจารณาเฉพาะเพียงบริษัท BAE SYSTEMS เท่านั้น แต่ได้มีการพิจารณาบริษัทของประเทศอื่นด้วย
๒. กระทู้ถามสดของนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง กรณีกองทัพอากาศของสาธารณรัฐ สิงคโปร์ขอแลกเครื่องบิน F-๑๖ a/b จำนวน ๗ ลำ กับการเช่าพื้นที่บริเวณกองบิน ๒๓ จังหวัดอุดรธานี ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอก สัมพันธ์ บุญญานันต์) เป็นผู้ตอบ กระทู้ว่า การเช่าพื้นที่บริเวณกองบิน ๒๓ จังหวัดอุดรธานี เพื่อแลกเปลี่ยนเครื่องบิน F-๑๖ a/b นั้น ที่ผ่านมาการฝึกจะไม่ได้ใช้กองบิน ๒๓ ที่เดียว แต่มีการฝึกบินร่วมกับต่างประเทศที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดอื่นด้วย และเหตุที่ได้มีการทำสัญญา ๑๕ ปีนั้น ในเรื่องดังกล่าวนี้จะไม่มีการผูกมัดว่าจะเป็น ๑๕ ปี แต่จะเลิกเมื่อไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของประเทศไทย และการทำสัญญาเช่าพื้นที่ฝึก ๑๕ ปี นั้น ในทุก ๆ ๕ ปี จะมีการดูสัญญากันใหม่ ส่วนการดูแลพื้นที่การฝึกบนอากาศ ในเรื่องดังกล่าวนี้ประเทศไทยเป็นผู้ดูแลควบคุมการฝึก
๓. กระทู้ถามสดของนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชี
รายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การแก้ปัญหาภาพพจน์ของประเทศไทยในสังคมระหว่างประเทศ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า ที่ผ่านมาได้มีการรวบรวมความคิดเห็นต่าง ๆ รวมทั้งได้มีการประชุม คณะรัฐมนตรีเพื่อหาแนวทางในการสร้างภาพพจน์ของประเทศไทยในการสลายม็อบให้ดีขึ้นด้วย ส่วนเรื่องความคิดเห็นขององค์กรระหว่างประเทศนั้น ได้มีการชี้แจงมาตรการในการดำเนินการ อย่างโปร่งใสและข้อมูลมีความชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อถือให้เกิดขึ้นแก่องค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น รวมทั้งรัฐบาลได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบอิสระขึ้น และจากการพิจารณาท่าทีและความคิดเห็นจากประเทศต่าง ๆ แล้ว เห็นว่าประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นให้การสนับสนุนในแนวทางที่รัฐบาล ได้ดำเนินการไป
๔. กระทู้ถามสดของนายตรีพล เจาะจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาสัญญาว่าจ้างบริษัทเอกชน ในโครงการอบลำไยแห้ง และโครงการลำไยกระป๋อง ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า การว่าจ้างบริษัทเอกชนบริษัทเดียวนั้น เกิดจากการประกาศประกวดราคาจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และจากการประชุมได้มีมติเห็นชอบให้บริษัทเอกชนเป็นคู่สัญญาและระหว่างดำเนินการจนถึงวันทำสัญญา บริษัทได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่ได้ประกาศไว้ ส่วนเรื่องการเซ็นสัญญาตั้งแต่วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗ และได้มีคำสั่งให้อบลำไยตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ซึ่งข้อเท็จจริงคือ ในวันที่ ๑ กรกฎาคม - ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ยังไม่มีลำไยสดจากองค์การตลาดเพื่อการเกษตร (อตก.) ไปให้ อบเลย เพราะการสั่งและการรับซื้อลำไยสดของ อตก. ได้เปิดจุดรับซื้อตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗ หลังจากได้มีการลงนามในสัญญาจ้างกับบริษัทที่รับในการอบ ดังนั้นจึงไม่มีการอบลำไยก่อนที่จะมี การเซ็นสัญญา เพราะการซื้อลำไยสดจะซื้อหลังจากการทำสัญญาแล้ว
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๘ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายนคร มาฉิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก พรรค
ประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การติดตั้งวิทยุโทรทัศน์ระบบ TDMA ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร (นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า ที่ผ่านมาได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการติดตั้งโทรศัพท์ในพื้นที่โรงเรียนและหลาย ๆ พื้นที่ในประเทศ รวมทั้งระบบอินเตอร์เน็ตที่จะใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับ นักเรียน นักศึกษา ในต่างจังหวัด และที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการไปแล้ว และคาดว่าภายใน ๗ เดือน ข้างหน้า โรงเรียนทุกแห่งในประเทศจะมีโทรศัพท์พื้นฐานและระบบอินเตอร์เน็ตควบคู่ไปด้วยทุกโรงเรียน โดยมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร เป็นผู้ดูแลโรงเรียน ในพื้นที่เกี่ยวกับระบบดังกล่าวนี้
๒. กระทู้ถามของนายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การจัดตั้งโรงเรียนปอเนาะ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอารีย์ วงษ์อารยะ) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า รัฐบาลมีนโยบายในการจัดตั้งโรงเรียนปอเนาะ โดยดำเนินการตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๔ มีโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลามที่พัฒนามาจากโรงเรียนปอเนาะตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จำนวน ๓ ประเภท
- โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่กับวิชาสามัญตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ คือ ตามพระราชบัญญัติ มาตรา ๑๕ (๑) ซึ่งมีการจัดตั้งจำนวน ๑๒๕ โรง มีนักเรียนรวม ๑,๖๓๐ คน รัฐบาลได้ให้การสนับสนุน ๕ ด้าน ได้แก่ อุดหนุนด้านการเงิน บุคลากร สื่อการเรียนการสอน วิทยาการสงเคราะห์ และด้านวิชาการ
- โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาเพียงอย่างเดียว หรือโรงเรียนเอกชนตามมาตรา ๑๕ (๒) มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๗๓ โรง ซึ่งเปิดดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ๙๓ โรง และขอหยุด กิจการชั่วคราว ๘๐ โรง ซึ่งรัฐบาลให้การสนับสนุนเฉพาะด้านสื่อการเรียนการสอนและด้านวิชาการเท่านั้น ขณะเดียวกันถ้ามีความต้องการจะเรียนในด้านสามัญ กรมการศึกษานอกโรงเรียนจะเข้าไปดูแล
- สถาบันปอเนาะ ซึ่งเดิมไม่มีการจดทะเบียน แต่ในปัจจุบันได้มีการจดทะเบียนแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น ๒๕๕ สถาบันปอเนาะ ซึ่งมีอยู่ในเฉพาะ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
และในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายที่จะพัฒนาสถาบันปอเนาะในด้านต่าง ๆ คือ
- การพัฒนาโครงสร้างและพัฒนากายภาพของปอเนาะ
- จัดให้มีหลักสูตรปอเนาะ
- พัฒนาบุคลากรในปอเนาะ
๓. กระทู้ถามของนายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การลงโทษนักเรียนเกินกว่าเหตุ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอารีย์ วงษ์อารยะ) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า มาตรการของกระทรวงศึกษาธิการกับครู ที่มีสภาพจิตใจผิดปกตินั้น กระทรวงโดยสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีการดูแลในเรื่องดังกล่าวนี้ โดยมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชา เบื้องต้นของครู คอยดูแลติดตามพฤติกรรมของครูที่มีพฤติกรรมผิดปกติ โดยมีการประเมินเป็นระยะ ๆ รวมทั้งได้มีหนังสือสั่งการในการปฏิบัติตนว่า จะปฏิบัติตนอย่างไร ถ้าเกิดอาการรุนแรงจะมีมาตรการขั้นเด็ดขาด โดยการย้ายครูที่มีพฤติกรรมดังกล่าวไปปฏิบัติงานในหน้าที่อื่นต่อไป รวมทั้งผู้ปกครอง ต้องประเมินผลพฤติกรรมของครูดังกล่าว โดยส่งผลประเมินไปยังผู้บังคับบัญชาของครูในเบื้องต้น และนักเรียนต้องประเมินด้วยว่า นักเรียนมองภาพครูที่สอนนักเรียนสามารถสอนได้มากน้อยเพียงใด และนักเรียนมีความรู้สึกอย่างไร และส่งผลประเมินไปยังผู้บังคับบัญชาเบื้องต้นเช่นเดียวกัน ตลอดจนครูต้องประเมินตนเอง และประเมินด้วยกันเองว่าความประพฤติของครูเป็นอย่างไร
ส่วนเรื่องจรรยาบรรณนั้นให้ครูยึดตามกฎหมายสภาครูและบุคลากรในการศึกษา ซึ่งถ้าครูผิดจรรยาบรรณสามารถนำมาตรา ๙๙ แห่งกฎหมายข้าราชการพลเรือนมาใช้ได้
๔. กระทู้ถามของนายสุวโรช พะลัง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร พรรค
ประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการเก็บภาษีล่วงหน้าหัก ณ ที่จ่าย จากเกษตรกร ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า ที่ผ่านมาถ้าเป็นเกษตรกรธรรมดาไม่มีนโยบายในการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ถ้าเป็นเกษตรกร นิติบุคคล จะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย และถ้าประชาชนทั่วไปสนใจเกี่ยวกับเรื่องภาษีสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์กระทรวงการคลัง ๑๖๘๙
๕. กระทู้ถามของนายบุญเติม จันทะวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง โครงการแท็กซี่เอื้ออาทร ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า โครงการแท็กซี่เอื้ออาทร เป็นนโยบายของรัฐบาล ที่ได้ดำเนินการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ โดยสถาบันการเงินของรัฐ คือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME Bank ได้จัดทำโครงการพัฒนาแท็กซี่ไทยขึ้น โดยการให้สินเชื่อแก่ผู้มีความต้องการดำเนินการประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีผู้สนใจและแจ้งความจำนงไว้เป็นจำนวนมาก และขณะนี้ อยู่ในระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติต่าง ๆ และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ต้นปี ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
๖. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรค
ไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง กองทุนวายุภักษ์ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนื่องจาก ผู้ตั้งกระทู้ถามไม่ติดใจที่จะถาม ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไปตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๕
๗. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรค
ไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การจัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า การจัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำนั้นเกิดขึ้นจากนโยบายเสรีทางการบินที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็น ศูนย์กลางในการบิน รวมทั้งเรื่องการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า จากนโยบายดังกล่าวนี้กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการเจรจาในเรื่องของสิทธิทางการบินกับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะในอดีตการบิน ถูกจำกัดด้วยจำนวนเที่ยวบิน จำนวนที่นั่ง ซึ่งในขณะนี้สายการบินที่บินมายังประเทศไทยมีจำนวน เพิ่มมากขึ้นจาก ๗๒ สายการบิน เป็น ๘๔ สายการบิน รวมทั้งเที่ยวบินในการขนส่งสินค้าก็เพิ่มขึ้น เป็นลำดับ เนื่องจากได้มีการเปิดเสรีทางการค้ากับต่างประเทศ
ส่วนการส่งเสริมสายการบินต้นทุนต่ำนั้น กระทรวงคมนาคมซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลกรมการขนส่งทางอากาศได้ยกเลิกอัตราค่าโดยสารขั้นต่ำ ซึ่งเดิมกำหนดอัตราเพดานขั้นสูงและขั้นต่ำไว้ เช่น กำหนดไว้ไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท และไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ บาท ทำให้ผู้มีรายได้น้อยไม่มีโอกาสใช้บริการเดินทางทางเครื่องบินได้ จึงได้มีการยกเลิกอัตราค่าโดยสารขั้นต่ำ แต่ยังคงอัตราค่าโดยสารขั้นสูงไว้ จึงเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้บริษัทต่าง ๆ ที่ทำธุรกิจการบินสามารถปรับปรุงคุณภาพในการบริหารงาน เพื่อให้มีต้นทุนในการบริหารงานต่ำที่สุด และส่งผลถึงค่าโดยสารที่จะแข่งขันกัน แต่ความปลอดภัย จะเท่าเทียมกัน แม้ว่าจะเป็นสายการบินต้นทุนต่ำหรือสายการบินปกติ รวมทั้งได้มีการออกมาตรการ คุ้มครองสิทธิผู้โดยสารด้วย
๘. กระทู้ถามของนายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การก่อสร้างถนนลาดยาวในความดูแลของกรมทางหลวงและทางหลวงชนบทในเขตพื้นที่จังหวัดตรัง ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งรัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี) เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า กรมทางหลวงได้รับงบกลาง ในปี ๒๕๔๗ เพื่อใช้ในการขยายช่องจราจร จำนวน ๒ โครงการ ระยะทางรวม ๘๐ กิโลเมตร งบประมาณ ๒๑๐ ล้านบาท ซึ่งการขยายช่องจราจรเป็นสี่ช่องจราจร สำหรับสายห้วยยอดถึงอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ใช้งบประมาณ ๖๐ ล้านบาท และสายตรัง อำเภอห้วยยอด ใช้งบประมาณ ๑๕๐ ล้านบาท ซึ่งทั้ง ๒ โครงการ ขณะนี้กำลังดำเนินการออกแบบการก่อสร้าง
สำหรับสายสิเกา ซึ่งปัจจุบันเป็น ๒ ช่องจราจร ขณะนี้ยังไม่มีแผนในการดำเนินการขยายออกเป็น ๔ ช่องจราจร แต่จะนำเรื่องดังกล่าวนี้ไปดำเนินการต่อไป
ก่อนเลิกประชุม ที่ประชุมได้เห็นชอบให้เปลี่ยนแปลงรายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามที่สมาชิกฯ ร้องขอตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. …. เปลี่ยนจาก นายวิสันต์
เดชเสน เป็น นายอดุลย์ นิลเปรม และเปลี่ยนนายจำรัส เวียงสงค์ เป็นนายสิทธิชัย โควสุรัตน์
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. …. เปลี่ยนจากนายวิสันต์
เดชเสน เป็น นายสุรชัย เบ้าจรรยา
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. …. เปลี่ยนจากนายวิสันต์
เดชเสน เป็น นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
ปิดประชุมเวลา ๑๗.๔๐ นาฬิกา
------------------------------------------------------