บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๓๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๔.๑๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรขึ้นบัลลังก์
และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ
วันพุธที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ
ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำ
ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ครั้งที่ ๓๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน
๒๕๔๗ และครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
จำนวน ๖ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตรา
ศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๓) ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๔) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา)
(๕) ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๖) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๓. ผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญและ
ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยี
ปทุมวัน พ.ศ. ….
๔. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๒๒พฤศจิกายน ๒๕๔๗
ได้ลงมติขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่ง
เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา) ออกไปเป็นกรณีพิเศษ อีก ๓๐ วัน ให้ขยายเวลานับแต่วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๔
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้
ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ (สมัยสามัญ
นิติบัญญัติ) จำนวน ๓ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๔ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๕ วันพุธที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๘ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๗
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๓ ครั้งดังกล่าว
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระตามลำดับดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติความรับผิด
ทางแพ่งและค่าเสียหายจากเรือโดนกัน พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ….
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบ
วาระเรื่องด่วนที่ ๒๑)
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ….
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๒๒)
๔. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติสถาบัน
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๓)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุม
พิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติความรับผิด
ทางแพ่งและค่าเสียหายจากเรือโดนกัน พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้รับความ
เห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓)
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ….
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบ
วาระเรื่องด่วนที่ ๒๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายกระแส ชนะวงศ์ ๒. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์
๓. รองศาสตราจารย์ภาวิช ทองโรจน์ ๔. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข
๕. นายอรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ ๖. นายชวลิต วิชยสุทธิ์
๗. นายศุภชัย โพธิ์สุ ๘. นายไพจิต ศรีวรขาน
๙. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ๑๐. นายวิฑูรย์ นามบุตร
๑๑. นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ ๑๒. นายอานนท์ เที่ยงตรง
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ….
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๒๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ๒. นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ
๓. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ๔. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง
๕. นายจิตรนรา นวรัตน์ ๖. นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล
๗. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ๘. นางลลิตา ฤกษ์สำราญ
๙. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ๑๐. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
๑๑. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๑๒. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๔. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติสถาบัน
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้รับความ
เห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓)
เลิกประชุมเวลา ๑๕.๑๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๒ ฉบับ
๑. ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางแพ่งและค่าเสียหายจากเรือโดนกัน พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๒ ฉบับ
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ….
*******************************
ครั้งที่ ๓๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๔.๑๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรขึ้นบัลลังก์
และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ
วันพุธที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ
ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำ
ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ครั้งที่ ๓๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน
๒๕๔๗ และครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
จำนวน ๖ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตรา
ศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๓) ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๔) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา)
(๕) ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๖) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๓. ผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญและ
ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยี
ปทุมวัน พ.ศ. ….
๔. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๒๒พฤศจิกายน ๒๕๔๗
ได้ลงมติขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่ง
เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา) ออกไปเป็นกรณีพิเศษ อีก ๓๐ วัน ให้ขยายเวลานับแต่วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๔
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้
ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ (สมัยสามัญ
นิติบัญญัติ) จำนวน ๓ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๔ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๕ วันพุธที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๘ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๗
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๓ ครั้งดังกล่าว
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระตามลำดับดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติความรับผิด
ทางแพ่งและค่าเสียหายจากเรือโดนกัน พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ….
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบ
วาระเรื่องด่วนที่ ๒๑)
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ….
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๒๒)
๔. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติสถาบัน
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๓)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุม
พิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติความรับผิด
ทางแพ่งและค่าเสียหายจากเรือโดนกัน พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้รับความ
เห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓)
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ….
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบ
วาระเรื่องด่วนที่ ๒๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายกระแส ชนะวงศ์ ๒. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์
๓. รองศาสตราจารย์ภาวิช ทองโรจน์ ๔. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข
๕. นายอรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ ๖. นายชวลิต วิชยสุทธิ์
๗. นายศุภชัย โพธิ์สุ ๘. นายไพจิต ศรีวรขาน
๙. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ๑๐. นายวิฑูรย์ นามบุตร
๑๑. นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ ๑๒. นายอานนท์ เที่ยงตรง
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ….
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๒๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ๒. นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ
๓. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ๔. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง
๕. นายจิตรนรา นวรัตน์ ๖. นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล
๗. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ๘. นางลลิตา ฤกษ์สำราญ
๙. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ๑๐. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
๑๑. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๑๒. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๔. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติสถาบัน
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้รับความ
เห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓)
เลิกประชุมเวลา ๑๕.๑๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๒ ฉบับ
๑. ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางแพ่งและค่าเสียหายจากเรือโดนกัน พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๒ ฉบับ
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ….
*******************************