ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ปฏิเสธคำขอเพิ่มวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตของชมรมธุรกิจบัตรเครดิต ผอส. สาย
นโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าเรื่องประธานชมรมธุรกิจ
บัตรเครดิตได้เข้ายื่นหนังสือต่อ ธปท.เมื่อ 26 ต.ค.ที่ผ่านมา ต้องการให้ ธปท.พิจารณารายละเอียดใน 4
เรื่องที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานของธุรกิจบัตรเครดิต เช่น ขอให้ ธปท.อนุมัติขยายวงเงินในการให้สินเชื่อ
บัตรเครดิตได้เกิน 5 เท่าของเงินเดือนในทุกบัตรรวมกัน สำหรับลูกค้าเก่าที่มีพฤติกรรมการผ่อนชำระหนี้ที่ตรงต่อ
เวลา ซึ่ง ธปท.ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถอนุมัติให้ขยายวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตเกิน 5 เท่าของเงิน
เดือนได้ เนื่องจากวงเงินที่กำหนดไว้เดิมถือว่าเป็นจำนวนมากแล้ว หากขยายเพิ่มขึ้นอีก จำนวนหนี้ก็จะก่อตัวเพิ่ม
ขึ้น ซึ่งเป็นความเสี่ยงในการสร้างปัญหาต่อการชำระเงินในอนาคต จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโดย
รวมได้ในที่สุด ส่วนกรณีขอวงเงินฉุกเฉินสามารถให้ได้แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องจ่ายเงินที่อนุมัติวงเงินฉุกเฉินส่วนนั้น
ให้ครบภายในครั้งเดียวและไม่ให้ผ่อนชำระ นอกจากนี้ สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ ธพ. (Non-Bank) ขอเงินฝาก
ประจำเพื่อเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการขออนุมัติสินเชื่อได้ เนื่องจาก ธพ.พิจารณาผู้ขอกู้ หากเป็น Non-Bank
ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคาร แต่ต้องเป็นไปตามเกณฑ์วัดความเสี่ยงของ Non-Bank ด้วย (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.อาจกำหนดให้ ธพ.ที่ถือหุ้นในบริษัทอื่นเกินร้อยละ 10 ต้องหักออกจากเงินกองทุนของ
สินทรัพย์เสี่ยง ผอส.สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หาก พ.ร.บ.
ธุรกิจสถาบันการเงินไม่สามารถนำเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนี้ได้ทัน ธปท.อาจกำหนดให้ ธพ.ที่ถือหุ้น
ในบริษัทลูกเกินร้อยละ 10 ของหลักทรัพย์ของบริษัทที่เข้าไปลงทุนนำเงินจำนวนเงินลงทุนที่เกินไปจากร้อยละ
10 หักออกจากเงินกองทุนของสินทรัพย์เสี่ยงของ ธพ.ที่ลงทุนด้วย เพื่อรองรับความเสี่ยงที่ ธพ.มีอยู่จริง โดย
เฉพาะกรณีที่ ธพ.ถือหุ้นในบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับการเงิน เช่น บริษัทเช่าซื้อ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกัน
ภัย จะถูกเข้มงวดมากกว่าถือหุ้นในบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ซึ่งในขณะนี้ ธปท.ยังไม่กำหนดว่าต้องถือหุ้นเป็น
สัดส่วนเท่าใดถึงต้องหักออกจากเงินกองทุน (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ทีดีอาร์ไอชี้ความเหลื่อมล้ำรายได้ของคนไทยขยายช่วงห่างมากขึ้น ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการ
พัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า การสัมมนาประจำปี 2547 ในหัวข้อ “เหลียวหลังแลหน้า : 20 ปี
เศรษฐกิจสังคมไทย” เพื่อรวบรวมปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นกับประเทศในอดีตจนถึงปัจจุบันและ
การมองในอนาคตว่า แนวโน้มในอนาคตความหลากหลายของระบบเศรษฐกิจไทยจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวใน
ระดับปานกลางได้ร้อยละ 5.0-7.0 ในช่วง 20 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ใกล้เคียงกับเศรษฐกิจของประเทศที่
พัฒนาแล้วในเชิงรายได้ และยังมีความท้าทายและความเสี่ยงจากการพัฒนา อาทิ ความเสี่ยงที่มาจากต่าง
ประเทศที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนอัตรแลกเปลี่ยน การเชื่อมโยงเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจของโลกทั้งในระดับ
ทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี จะทำให้การแข่งขันทางการค้าจะรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาที่รุนแรงมากขึ้นใน
ขณะนี้ คือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านกระจายรายได้ ซึ่งพบว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาความเหลื่อมล้ำรายได้
ระหว่างคนรวยกับคนจนได้ขยายช่วงห่างมากขึ้นจนใกล้เคียงกับกลุ่มประเทศในละตินอเมริกา หากไม่แก้ไขจะ
สร้างความขัดแย้งทางสังคมให้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เพราะจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและนโยบาย
เอื้ออาทรไม่ใช่มาตรการที่ยั่งยืน (ข่าวสด, ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ก.คลังมีแนวคิดเพิ่มข้อมูลดัชนีความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชน ผู้ช่วย รมว.คลัง
(นายวีระชัย วีระเมธีกุล) เปิดเผยว่า ก.คลังมีแนวคิดที่จะเพิ่มข้อมูลเรื่องดัชนีความสามารถในการซื้อที่อยู่
อาศัยของประชาชน ไว้เป็นส่วนหนึ่งในศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ของ ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธ.อ.ส.) เนื่อง
จากถือเป็นข้อมูลที่สำคัญเป็นอันดับแรก ในการบ่งชี้ถึงปริมาณความต้องการซื้อของประชาชนซึ่งเป็นตัวชี้วัดในเรื่อง
นี้จะมีหลายปัจจัย แต่ที่สำคัญคือเรื่องของรายได้ เนื่องจากจะเป็นตัวที่บอกว่าผู้ซื้อมีความสามารถในการซื้อบ้าน
ระดับราคาเท่าใด มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้จะมีการหารือกับผู้บริหารศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ในช่วงสิ้นเดือน พ.ย.47
และคาดว่าภายในปี 48 จะสามารถจัดทำดัชนีดังกล่าวได้ (แนวหน้า)
5. ทริสเตรียมเปิดบริการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในผลิตภัณฑ์การเงิน 3 ประเภทใหม่ในปี 48
กรรมการผู้จัดการ บ.ทริส เรทติ้ง จำกัด (ทริส) เปิดเผยว่า ทริสวางแผนธุรกิจปี 48 จะเร่งเปิดให้บริการจัด
อันดับความน่าเชื่อถือในผลิตภัณฑ์การเงินประเภทใหม่ ๆ มากขึ้น รองรับกับนวัตกรรมการเงินรูปแบบใหม่ที่คาด
ว่า รัฐบาลและเอกชนจะนำออกมาระดมทุนในปีหน้า ซึ่งแผนที่วางไว้จะมี 3 ธุรกิจใหม่ คือ 1) ธุรกิจจัดอันดับ
ความน่าเชื่อถือให้กับกองทุนรวมตราสารหนี้และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) 2) จัดอันดับความน่า
เชื่อถือในตราสารหนี้ ที่เกิดจากกระบวนการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ซิเคียวริไทเซชั่น) โดยเฉพาะในกลุ่ม
บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และบริษัทให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล
(Magaproject) และ 3) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าของ ธพ. หลัง ธปท.ประกาศใช้กฎ
Basel II (สยามรัฐ, บ้านเมือง, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เศรษฐกิจอังกฤษในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวต่ำสุดในรอบปีครึ่ง รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่
26 พ.ย 47 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 47 เศรษฐกิจอังกฤษ
ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล) ต่ำกว่าไตรมาสก่อนที่เศรษฐกิจขยายตัวเพียงร้อยละ 0.9
และสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเศรษฐกิจอังกฤษในไตรมาสที่ 3
ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากร้อยละ 3.0 ในไตรมาสที่ 2 เนื่องจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัวต่ำสุดนับ
ตั้งแต่ที่อังกฤษเข้าไปมีส่วนร่วมในสงครามอิรักรวมทั้งการลดลงของผลผลิตอุตสาหกรรมเมื่อปีที่แล้ว นักวิเคราะห์
กล่าวว่าเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบปีครึ่ง ทำให้คาดว่าธ.กลางอังกฤษจะยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่
ระดับร้อยละ 4.75 เพื่อรอดูภาพเศรษฐกิจ นอกจากนั้นหัวหน้าเศรษฐกรธ.กลางอังกฤษคาดว่าการใช้จ่ายภาค
ครัวเรือนจะขยายตัวไม่มากและอาจจะชะลอตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ซึ่งแนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นกับตัว
เลขการใช้จ่ายผู้บริโภค(รอยเตอร์)
2. ยอดขายปลีกของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.47 ลดลงร้อยละ 1.4 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 29 พ.ย.47 The Ministry of Economy, Trade and Industry (METI) เปิดเผยว่า ยอดขาย
ปลีกของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.47 ลดลงร้อยละ 1.4 เทียบต่อปี หลังจากที่ลดลงเพียงร้อยละ 0.3 ในเดือนก่อน
หน้า และเป็นการลดลงมากเมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของตลาดซึ่งคาดว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.5 ขณะที่เมื่อ
เทียบต่อเดือนยอดขายปลีกลดลงร้อยละ 0.1 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ในเดือนก่อน โดยเป็นการลดลง
ของยอดขายของร้านค้าขนาดใหญ่ถึงร้อยละ 4.1 เทียบต่อปี ทั้งนี้ การลดลงของยอดขายปลีกมีสาเหตุจาก การ
เกิดพายุไต้ฝุ่นถล่มญี่ปุ่นเป็นจำนวนหลายครั้งในเดือน ต.ค.47 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือนและร้านค้า
และทำให้ผู้คนเก็บตัวอยู่ในบ้านไม่ออกมาจับจ่ายใช้สอยกันตามปกติ นอกจากนี้ การเกิดแผ่นดินไหวในเมือง
Niigata ทางตอนเหนือของญี่ปุ่นเมื่อปลายเดือนที่แล้ว ยังเป็นเหตุแห่งความเสียหายซึ่งส่งผลกระทบต่อยอดขาย
ปลีกในเดือน ต.ค.47 เช่นกัน อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ยอดขายปลีกเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการ
ใช้จ่ายโดยรวมและยังไม่มีนัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความกังวลมากนัก (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือนต.ค.ขยายตัวอย่างผิดคาด รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ
วันที่ 26 พ.ย 47 ทางการสิงคโปร์เปิดเผยตัวเลขอุตสาหกรรมการผลิตในเดือนต.ค.47 ขยายตัวร้อยละ 5.1
(ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) จากที่ลดลงร้อยละ 0.7 (ตัวเลขที่ปรับแล้ว) ในเดือนก.ย. และมากกว่าที่ได้คาด
การณ์ไว้ก่อนหน้าว่าผลผลิตดัวกล่าวจะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 1.5 ถึง 3 เท่า และเมื่อเทียบต่อปี ผลผลิต
อุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.4 และสูงกว่าที่คาดว่าจะขยาย
ตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 แต่ชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วจากที่ขยายตัวร้อยละ 12.5 ในเดือนก่อนหน้า ทำให้คาดว่า
เศรษฐกิจของสิงคโปร์จะฟื้นตัวในไตรมาสที่ 4 หลังจากที่หดตัวในไตรมาสที่ 3 นักวิเคราะห์กล่าวว่าคำสั่งซื้อ
สินค้าอุตสาหกรรมของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์จำนวนมากในฤดูกาลคริสต์มาส แต่ราคาน้ำมันที่สูงจะเป็น
อุปสรรคสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีของสิงคโปร์ในเดือนหน้า (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน ต.ค.47 ลดลงเกินความคาดหมาย รายงาน
จากโซลเมื่อ 29 พ.ย.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน ต.ค.47
ลดลงร้อยละ 0.9 นับเป็นการลดลงหลังจากที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2.5 ในเดือนก่อน และตรงข้ามกับการ
คาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 สำหรับผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือน
(ม.ค.-ต.ค.47) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ทั้งนี้ การ
ลดลงของผลผลิตอุตสาหกรรม มีสาเหตุจากการชะลอตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศและการส่งออก โดยภาวะ
การใช้จ่ายภายในประเทศของเกาหลีใต้ยังคงซบเซา หลังจากเกิดภาวะวิกฤตฟองสบู่บัตรเครดิตในช่วงปลายปี
45 ส่งผลให้ครัวเรือนมีหนี้สินในระดับที่สูงขึ้น ส่วนการส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ
เกาหลีใต้ก็ประสบภาวะชะลอตัวตั้งแต่ต้นปี 46 เนื่องจากความต้องการสินค้าจากประเทศคู่ค้าหลักคือจีนและ
สรอ.ลดลง นอกจากนี้ การที่เงินวอนแข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ยังเป็น
ปัจจัยที่สร้างความกังวลให้กับเกาหลีใต้ในด้านการแข่งขันกับตลาดโลกด้วย อย่างไรก็ตาม ดัชนีการขายส่งและ
ขายปลีก (หลังปรับฤดูกาล) ในเดือนเดียวกันได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.2 หลังจากที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5
ในเดือนก่อน อนึ่ง ทางการเกาหลีใต้ได้ยอมรับเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของเกาหลีใต้ในปี 47 อาจจะไม่สามารถเติบโตในระดับร้อยละ 5 ตามที่เคยคาดการณ์ไว้ แต่เชื่อมั่นว่าจะ
สามารถเติบโตที่ระดับร้อยละ 5 ได้ในปีหน้า โดยอาศัยแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของการใช้จ่ายด้าน งปม.
เป็นหลัก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 พ.ย. 47 26 พ.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.443 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.2325/39.5114 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.7500-1.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 648.75/ 14.37 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,400/8,500 8,400/8,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.18 35.15 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.19*/14.59 21.19/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 19 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ปฏิเสธคำขอเพิ่มวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตของชมรมธุรกิจบัตรเครดิต ผอส. สาย
นโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าเรื่องประธานชมรมธุรกิจ
บัตรเครดิตได้เข้ายื่นหนังสือต่อ ธปท.เมื่อ 26 ต.ค.ที่ผ่านมา ต้องการให้ ธปท.พิจารณารายละเอียดใน 4
เรื่องที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานของธุรกิจบัตรเครดิต เช่น ขอให้ ธปท.อนุมัติขยายวงเงินในการให้สินเชื่อ
บัตรเครดิตได้เกิน 5 เท่าของเงินเดือนในทุกบัตรรวมกัน สำหรับลูกค้าเก่าที่มีพฤติกรรมการผ่อนชำระหนี้ที่ตรงต่อ
เวลา ซึ่ง ธปท.ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถอนุมัติให้ขยายวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตเกิน 5 เท่าของเงิน
เดือนได้ เนื่องจากวงเงินที่กำหนดไว้เดิมถือว่าเป็นจำนวนมากแล้ว หากขยายเพิ่มขึ้นอีก จำนวนหนี้ก็จะก่อตัวเพิ่ม
ขึ้น ซึ่งเป็นความเสี่ยงในการสร้างปัญหาต่อการชำระเงินในอนาคต จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโดย
รวมได้ในที่สุด ส่วนกรณีขอวงเงินฉุกเฉินสามารถให้ได้แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องจ่ายเงินที่อนุมัติวงเงินฉุกเฉินส่วนนั้น
ให้ครบภายในครั้งเดียวและไม่ให้ผ่อนชำระ นอกจากนี้ สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ ธพ. (Non-Bank) ขอเงินฝาก
ประจำเพื่อเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการขออนุมัติสินเชื่อได้ เนื่องจาก ธพ.พิจารณาผู้ขอกู้ หากเป็น Non-Bank
ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคาร แต่ต้องเป็นไปตามเกณฑ์วัดความเสี่ยงของ Non-Bank ด้วย (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.อาจกำหนดให้ ธพ.ที่ถือหุ้นในบริษัทอื่นเกินร้อยละ 10 ต้องหักออกจากเงินกองทุนของ
สินทรัพย์เสี่ยง ผอส.สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หาก พ.ร.บ.
ธุรกิจสถาบันการเงินไม่สามารถนำเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนี้ได้ทัน ธปท.อาจกำหนดให้ ธพ.ที่ถือหุ้น
ในบริษัทลูกเกินร้อยละ 10 ของหลักทรัพย์ของบริษัทที่เข้าไปลงทุนนำเงินจำนวนเงินลงทุนที่เกินไปจากร้อยละ
10 หักออกจากเงินกองทุนของสินทรัพย์เสี่ยงของ ธพ.ที่ลงทุนด้วย เพื่อรองรับความเสี่ยงที่ ธพ.มีอยู่จริง โดย
เฉพาะกรณีที่ ธพ.ถือหุ้นในบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับการเงิน เช่น บริษัทเช่าซื้อ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกัน
ภัย จะถูกเข้มงวดมากกว่าถือหุ้นในบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ซึ่งในขณะนี้ ธปท.ยังไม่กำหนดว่าต้องถือหุ้นเป็น
สัดส่วนเท่าใดถึงต้องหักออกจากเงินกองทุน (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ทีดีอาร์ไอชี้ความเหลื่อมล้ำรายได้ของคนไทยขยายช่วงห่างมากขึ้น ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการ
พัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า การสัมมนาประจำปี 2547 ในหัวข้อ “เหลียวหลังแลหน้า : 20 ปี
เศรษฐกิจสังคมไทย” เพื่อรวบรวมปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นกับประเทศในอดีตจนถึงปัจจุบันและ
การมองในอนาคตว่า แนวโน้มในอนาคตความหลากหลายของระบบเศรษฐกิจไทยจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวใน
ระดับปานกลางได้ร้อยละ 5.0-7.0 ในช่วง 20 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ใกล้เคียงกับเศรษฐกิจของประเทศที่
พัฒนาแล้วในเชิงรายได้ และยังมีความท้าทายและความเสี่ยงจากการพัฒนา อาทิ ความเสี่ยงที่มาจากต่าง
ประเทศที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนอัตรแลกเปลี่ยน การเชื่อมโยงเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจของโลกทั้งในระดับ
ทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี จะทำให้การแข่งขันทางการค้าจะรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาที่รุนแรงมากขึ้นใน
ขณะนี้ คือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านกระจายรายได้ ซึ่งพบว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาความเหลื่อมล้ำรายได้
ระหว่างคนรวยกับคนจนได้ขยายช่วงห่างมากขึ้นจนใกล้เคียงกับกลุ่มประเทศในละตินอเมริกา หากไม่แก้ไขจะ
สร้างความขัดแย้งทางสังคมให้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เพราะจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและนโยบาย
เอื้ออาทรไม่ใช่มาตรการที่ยั่งยืน (ข่าวสด, ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ก.คลังมีแนวคิดเพิ่มข้อมูลดัชนีความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชน ผู้ช่วย รมว.คลัง
(นายวีระชัย วีระเมธีกุล) เปิดเผยว่า ก.คลังมีแนวคิดที่จะเพิ่มข้อมูลเรื่องดัชนีความสามารถในการซื้อที่อยู่
อาศัยของประชาชน ไว้เป็นส่วนหนึ่งในศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ของ ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธ.อ.ส.) เนื่อง
จากถือเป็นข้อมูลที่สำคัญเป็นอันดับแรก ในการบ่งชี้ถึงปริมาณความต้องการซื้อของประชาชนซึ่งเป็นตัวชี้วัดในเรื่อง
นี้จะมีหลายปัจจัย แต่ที่สำคัญคือเรื่องของรายได้ เนื่องจากจะเป็นตัวที่บอกว่าผู้ซื้อมีความสามารถในการซื้อบ้าน
ระดับราคาเท่าใด มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้จะมีการหารือกับผู้บริหารศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ในช่วงสิ้นเดือน พ.ย.47
และคาดว่าภายในปี 48 จะสามารถจัดทำดัชนีดังกล่าวได้ (แนวหน้า)
5. ทริสเตรียมเปิดบริการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในผลิตภัณฑ์การเงิน 3 ประเภทใหม่ในปี 48
กรรมการผู้จัดการ บ.ทริส เรทติ้ง จำกัด (ทริส) เปิดเผยว่า ทริสวางแผนธุรกิจปี 48 จะเร่งเปิดให้บริการจัด
อันดับความน่าเชื่อถือในผลิตภัณฑ์การเงินประเภทใหม่ ๆ มากขึ้น รองรับกับนวัตกรรมการเงินรูปแบบใหม่ที่คาด
ว่า รัฐบาลและเอกชนจะนำออกมาระดมทุนในปีหน้า ซึ่งแผนที่วางไว้จะมี 3 ธุรกิจใหม่ คือ 1) ธุรกิจจัดอันดับ
ความน่าเชื่อถือให้กับกองทุนรวมตราสารหนี้และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) 2) จัดอันดับความน่า
เชื่อถือในตราสารหนี้ ที่เกิดจากกระบวนการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ซิเคียวริไทเซชั่น) โดยเฉพาะในกลุ่ม
บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และบริษัทให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล
(Magaproject) และ 3) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าของ ธพ. หลัง ธปท.ประกาศใช้กฎ
Basel II (สยามรัฐ, บ้านเมือง, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เศรษฐกิจอังกฤษในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวต่ำสุดในรอบปีครึ่ง รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่
26 พ.ย 47 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 47 เศรษฐกิจอังกฤษ
ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล) ต่ำกว่าไตรมาสก่อนที่เศรษฐกิจขยายตัวเพียงร้อยละ 0.9
และสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเศรษฐกิจอังกฤษในไตรมาสที่ 3
ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากร้อยละ 3.0 ในไตรมาสที่ 2 เนื่องจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัวต่ำสุดนับ
ตั้งแต่ที่อังกฤษเข้าไปมีส่วนร่วมในสงครามอิรักรวมทั้งการลดลงของผลผลิตอุตสาหกรรมเมื่อปีที่แล้ว นักวิเคราะห์
กล่าวว่าเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบปีครึ่ง ทำให้คาดว่าธ.กลางอังกฤษจะยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่
ระดับร้อยละ 4.75 เพื่อรอดูภาพเศรษฐกิจ นอกจากนั้นหัวหน้าเศรษฐกรธ.กลางอังกฤษคาดว่าการใช้จ่ายภาค
ครัวเรือนจะขยายตัวไม่มากและอาจจะชะลอตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ซึ่งแนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นกับตัว
เลขการใช้จ่ายผู้บริโภค(รอยเตอร์)
2. ยอดขายปลีกของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.47 ลดลงร้อยละ 1.4 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 29 พ.ย.47 The Ministry of Economy, Trade and Industry (METI) เปิดเผยว่า ยอดขาย
ปลีกของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.47 ลดลงร้อยละ 1.4 เทียบต่อปี หลังจากที่ลดลงเพียงร้อยละ 0.3 ในเดือนก่อน
หน้า และเป็นการลดลงมากเมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของตลาดซึ่งคาดว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.5 ขณะที่เมื่อ
เทียบต่อเดือนยอดขายปลีกลดลงร้อยละ 0.1 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ในเดือนก่อน โดยเป็นการลดลง
ของยอดขายของร้านค้าขนาดใหญ่ถึงร้อยละ 4.1 เทียบต่อปี ทั้งนี้ การลดลงของยอดขายปลีกมีสาเหตุจาก การ
เกิดพายุไต้ฝุ่นถล่มญี่ปุ่นเป็นจำนวนหลายครั้งในเดือน ต.ค.47 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือนและร้านค้า
และทำให้ผู้คนเก็บตัวอยู่ในบ้านไม่ออกมาจับจ่ายใช้สอยกันตามปกติ นอกจากนี้ การเกิดแผ่นดินไหวในเมือง
Niigata ทางตอนเหนือของญี่ปุ่นเมื่อปลายเดือนที่แล้ว ยังเป็นเหตุแห่งความเสียหายซึ่งส่งผลกระทบต่อยอดขาย
ปลีกในเดือน ต.ค.47 เช่นกัน อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ยอดขายปลีกเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการ
ใช้จ่ายโดยรวมและยังไม่มีนัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความกังวลมากนัก (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือนต.ค.ขยายตัวอย่างผิดคาด รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ
วันที่ 26 พ.ย 47 ทางการสิงคโปร์เปิดเผยตัวเลขอุตสาหกรรมการผลิตในเดือนต.ค.47 ขยายตัวร้อยละ 5.1
(ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) จากที่ลดลงร้อยละ 0.7 (ตัวเลขที่ปรับแล้ว) ในเดือนก.ย. และมากกว่าที่ได้คาด
การณ์ไว้ก่อนหน้าว่าผลผลิตดัวกล่าวจะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 1.5 ถึง 3 เท่า และเมื่อเทียบต่อปี ผลผลิต
อุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.4 และสูงกว่าที่คาดว่าจะขยาย
ตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 แต่ชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วจากที่ขยายตัวร้อยละ 12.5 ในเดือนก่อนหน้า ทำให้คาดว่า
เศรษฐกิจของสิงคโปร์จะฟื้นตัวในไตรมาสที่ 4 หลังจากที่หดตัวในไตรมาสที่ 3 นักวิเคราะห์กล่าวว่าคำสั่งซื้อ
สินค้าอุตสาหกรรมของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์จำนวนมากในฤดูกาลคริสต์มาส แต่ราคาน้ำมันที่สูงจะเป็น
อุปสรรคสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีของสิงคโปร์ในเดือนหน้า (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน ต.ค.47 ลดลงเกินความคาดหมาย รายงาน
จากโซลเมื่อ 29 พ.ย.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน ต.ค.47
ลดลงร้อยละ 0.9 นับเป็นการลดลงหลังจากที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2.5 ในเดือนก่อน และตรงข้ามกับการ
คาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 สำหรับผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือน
(ม.ค.-ต.ค.47) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ทั้งนี้ การ
ลดลงของผลผลิตอุตสาหกรรม มีสาเหตุจากการชะลอตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศและการส่งออก โดยภาวะ
การใช้จ่ายภายในประเทศของเกาหลีใต้ยังคงซบเซา หลังจากเกิดภาวะวิกฤตฟองสบู่บัตรเครดิตในช่วงปลายปี
45 ส่งผลให้ครัวเรือนมีหนี้สินในระดับที่สูงขึ้น ส่วนการส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ
เกาหลีใต้ก็ประสบภาวะชะลอตัวตั้งแต่ต้นปี 46 เนื่องจากความต้องการสินค้าจากประเทศคู่ค้าหลักคือจีนและ
สรอ.ลดลง นอกจากนี้ การที่เงินวอนแข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ยังเป็น
ปัจจัยที่สร้างความกังวลให้กับเกาหลีใต้ในด้านการแข่งขันกับตลาดโลกด้วย อย่างไรก็ตาม ดัชนีการขายส่งและ
ขายปลีก (หลังปรับฤดูกาล) ในเดือนเดียวกันได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.2 หลังจากที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5
ในเดือนก่อน อนึ่ง ทางการเกาหลีใต้ได้ยอมรับเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของเกาหลีใต้ในปี 47 อาจจะไม่สามารถเติบโตในระดับร้อยละ 5 ตามที่เคยคาดการณ์ไว้ แต่เชื่อมั่นว่าจะ
สามารถเติบโตที่ระดับร้อยละ 5 ได้ในปีหน้า โดยอาศัยแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของการใช้จ่ายด้าน งปม.
เป็นหลัก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 พ.ย. 47 26 พ.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.443 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.2325/39.5114 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.7500-1.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 648.75/ 14.37 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,400/8,500 8,400/8,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.18 35.15 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.19*/14.59 21.19/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 19 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-