กรุงเทพ--30 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
I. บทนำ
แนวคิดหลัก : สู่ความมั่งคั่งและจุดมุ่งหมายร่วมกันในประชาคมอาเซียนที่เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน มีสันติสุข และเอื้ออาทร
พวกเรา ผู้นำของรัฐและรัฐบาลขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ในที่นี้ หมายถึง “อาเซียน”) มาพบกัน ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10
ตระหนักว่า วิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563 มีเจตนารมณ์ให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีการรวมตัวของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีความสัมพันธ์กับภายนอก อยู่ด้วยกัน อย่างสันติสุข มีความมั่นคงและมั่งคั่ง อีกทั้งเชื่อมโยงกันในฐานะหุ้นส่วนในการพัฒนาที่มีพลวัต และในประชาคมที่เอื้ออาทร
ตระหนักด้วยว่า แผนปฏิบัติการฮานอย ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการหรือแผนงานฉบับแรก ซึ่งจะนำไปสู่การอนุวัติให้เป็นไปตามเป้าหมายของวิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563 จะหมดวาระในปี 2547 และจำเป็นต้องมีแผนปฏิบัติการหรือแผนงานอีกฉบับเพื่อเป็นเครื่องชี้นำให้เกิดความคืบหน้าในการบรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563 ต่อไป
ระลึกว่า ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 ซึ่งได้ขยายแนวคิดหลักต่างๆ ของ วิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563 โดยการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการบรรลุเป้าหมายในการ จัดตั้งประชาคมอาเซียนที่เปิดกว้างและคลอบคลุมความร่วมมือรอบด้าน โดยตั้งอยู่บนสาม เสาหลัก กล่าวคือ ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง การรวมตัวทางเศรษฐกิจ และ ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม เพื่อให้มีประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2563
รับทราบว่า สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจโลกและภายในภูมิภาคได้มีการเปลี่ยนแปลงและ ถูกท้าทายอย่างต่อเนื่องด้วยพัฒนาการใหม่ๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อการค้าและการไหลเวียนของ การลงทุน ตลอดจนขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน และอาเซียนจำเป็นต้องดำเงินงานไปท่ามกลางสภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ใหม่
ยอมรับว่า การรวมตัวของอาเซียนที่ลึกลงและขยายขอบเขตมากยิ่งขึ้นจะต้องดำเนินไปควบคู่กับความร่วมมือด้านวิชาการและความร่วมมือด้านการพัฒนา เพื่อรับมือกับช่องว่างของระดับ การพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และเพื่อให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศได้รับ ผลประโยชน์ของการรวมตัวของอาเซียนร่วมกัน ซึ่งจะเอื้อต่อการก้าวต่อไปข้างหน้าในลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงกัน
ย้ำว่า คำมั่นของพวกเราที่จะส่งเสริมความพยายามในการลดช่องว่างของระดับการพัฒนาใน อาเซียน โดยต่อยอดจากข้อริเริ่มต่างๆ ที่มีอยู่ เช่น ข้อริเริ่มว่าด้วยการรวมตัวของอาเซียน แผนการรวมตัวของอาเซียน ปฏิญญาฮานอยว่าด้วยการลดช่องว่างของระดับการพัฒนาเพื่อการรวมตัวของอาเซียนที่ใกล้ชิดขึ้น เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2544 และปฏิญญาร่วมระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2547
ขอประกาศ ณ ที่นี้ ว่า
1. พวกเราเห็นชอบให้มีการรวมตัวของอาเซียนอย่างรอบด้านเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งประชาคม อาเซียนที่เปิดกว้าง มีพลวัต และฟื้นตัวได้เร็ว ภายในปี พ.ศ. 2563 ตามเจตนารมณ์ที่ปรากฏในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 และภาคผนวก กล่าวคือ แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน แผนปฏิบัติการประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และ ข้อเสนอแนะจาก คณะทำงานระดับสูงเพื่อการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
2. พวกเราจะตอบสนองด้วยวิธีและแนวทางต่างๆ ต่อประเด็นด้านการพัฒนาและความต้องการเฉพาะของประเทศสมาชิกอาเซียนที่พัฒนาช้ากว่าประเทศอื่นๆ และพื้นที่ในอนุภูมิภาคของ อาเซียน ซึ่งรวมถึง การนำแนวคิด “การสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับประเทศเพื่อนบ้าน” มาปฏิบัติ โดยการริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนา ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม-เศรษฐกิจ และขจัดความยากจนภายในอาเซียน ซึ่งจะส่งผลให้แต่ละประเทศ ก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆ กันและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อความมั่งคั่งของอาเซียน นอกจากนี้ พวกเรายังตระหนักถึงบทบาทของกรอบความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาค เช่น เขตพัฒนา อาเซียนตะวันออก-อินโดนีเซีย-พม่า-ฟิลิปปินส์ แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย- สิงคโปร์ ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มแม่น้ำโขง ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี- เจ้าพระยา- แม่โขง และโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อลดช่องว่างในระดับการพัฒนาในภูมิภาค
3. พวกเราจะส่งเสริมกลไกการทำงานต่างๆ ของอาเซียนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นต่อไป ทั้งในด้าน โครงสร้างและขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อให้แน่ใจว่าอาเซียนจะสามารถรับมือกับสิ่งท้าทายและความต้องการอันจะนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมอาเซียน รวมทั้งการประสานงานและ ประสิทธิผลในการทำงาน ตลอดจนส่งเสริมความสามารถของอาเซียนในการกำหนด สภาพแวดล้อมทั้งในและนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4. พวกเราจะเห็นชอบให้มียุทธศาสตร์การดำเนินความสัมพันธ์ที่เปิดกว้างกับภายนอกมากยิ่งขึ้น ทั้งกับประเทศคู่เจราจาและมิตรประเทศ เพื่อเสริมสร้างอาเซียนที่มีสันติสุข มั่นคงและมั่งคั่ง อีกทั้งส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมกับ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและภูมิภาคอื่นๆ
5. พวกเราตระหนักถึงความจำเป็นที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้อาเซียนและจะดำเนินการเพื่อ นำไปสู่การจัดทำกฎบัตรอาเซียน
6. ในอันดับแรก พวกเราจะร่วมมือกันเพื่อสร้างสรรค์ทรัพยากรอันเป็นของภูมิภาคของเราเองและขยายความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาและประเทศอื่นๆ ที่ปรารถนาจะร่วมมือกับอาเซียน บนพื้นฐานของความเท่าเทียม การไม่เลือกปฏิบัติและการได้รับประโยชน์ร่วมกัน อีกทั้ง สร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐกับภาคอื่นๆ ในสังคมทั้งในภูมิภาคและนอกภูมิภาค อาเซียนเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อบรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
7. พวกเราจะส่งเสริมให้มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียนเป็นการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ถึงจิตวิญญาณของอาเซียนและเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์อันยาวนานของอัตลักษณ์ของภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากอาเซียนได้กำเนิดจากความสัมพันธ์ร่วมกันตั้งแต่อดีตและ ความปรารถนาร่วมกันที่จะให้มีสันติภาพและความมั่งคั่ง
8. พวกเรา ณ ที่นี้ รับรองแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการที่ต่อจาก แผนปฏิบัติการฮานอย ซึ่งจะครอบคลุมช่วงปี 2547-2553 และจะเป็นกลไกในการรวบรวมและสร้างความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์และเป้าหมายของสามเสาหลักในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และเป็นส่วนสำคัญของแผนปฏิบัติการและโครงการต่างๆ เพื่อการอนุวัติให้เป็นไปตามเป้าหมายของวิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563
9. โดยที่ขั้นตอนที่นำไปสู่การจัดตั้งประชาคมอาเซียนกำลังพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์จึงควรเป็นเอกสารที่สามารถแก้ไข/ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา กิจกรรมต่างๆ ที่รวมไว้ ซึ่งตั้งเป้าไว้ว่าจะสามารถดำเนินการได้ในช่วงปี 2547-2553 ซึ่งปรากฏอยู่ในภาคผนวกของแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์จึงควรมีลักษณะที่สามารถเพิ่มเติมได้อีก
10. พวกเราให้คำมั่นที่จะนำแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์มาปฏิบัติ โดยให้ความสำคัญกับทั้งสองมิติของแผนปฏิบัติการฯ กล่าวคือ (1) ส่งเสริมการขยายการรวมตัวของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศให้เป็นประชาคมอาเซียนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และ (2) กำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ๆ เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาซึ่งจะทำให้การรวมตัวดำเนินไปเร็วยิ่งขึ้น โดยจะร่วมมือกันทั้งในระหว่างประเทศสมาชิกและกับประเทศคู่เจรจาและประเทศอื่นๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดเจตนารมณ์ทางการเมืองและมีทรัพยากรที่จำเป็นในการนำแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์มาปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
II เป้าหมายและยุทธศาสตร์ในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
1. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน
แนวคิดหลัก: ส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ประชาธิปไตย และความมั่งคั่งใน ภูมิภาค โดยความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคงอย่างรอบด้าน
แนวยุทธศาสตร์
ประชาคมความมั่นคงอาเซียนได้รวมเจตนารมณ์ของอาเซียนที่จะทำให้ภูมิภาคมี สันติภาพ เสถียรภาพ ประชาธิปไตย และความมั่งคั่งในภูมิภาค และเป็นที่ซึ่งประเทศสมาชิก อาเซียนอยู่ร่วมกันด้วยสันติสุขทั้งในระหว่างกันเองและกับโลกภายนอก ในสภาวะแวดล้อมที่ เป็นธรรม มีประชาธิปไตย และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประชาคมความมั่นคงอาเซียนยึดหลักการความมั่นคงแบบรอบด้าน ซึ่งเล็งเห็นความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคมในภูมิภาค ดังนั้น ความมั่นคงทางการเมืองและสังคม และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และระดับการพัฒนาที่เท่าเทียมกันจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับประชาคมอาเซียน และจะริเริ่ม แผนงานที่สอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว เป็นหลักต่อไป
ในด้านความสัมพันธ์กับภายนอก ประชาคมความมั่นคงอาเซียนจะเอื้อต่อการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก การส่งเสริมบทบาทของอาเซียนในฐานะ ผู้ขับเคลื่อนในเวทีการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และยังคงส่งเสริมความสัมพันธ์กับมิตรประเทศและประเทศคู่เจรจาต่อไป
เพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน แผนปฏิบัติการ เวียงจันทน์ในส่วนของประชาคมความมั่นคงอาเซียนควรดำเนินการตามแนวยุทธศาสตร์ทั้ง 5 กล่าวคือ พัฒนาการทางการเมือง การกำหนดบรรทัดฐานร่วมกัน การป้องกันการเกิดข้อพิพาท การยุติข้อพิพาท การเสริมสร้างสันติภาพหลังการยุติข้อพิพาท และในการนำแนวยุทธศาสตร์ เหล่านี้มาปฏิบัติควรเน้นกิจกรรมที่เห็นว่าสามารถบรรลุได้ภายในปี 2563 แนวยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ได้แก่
1.1 พัฒนาการทางการเมือง
เพื่อเป็นการสนับสนุนพันธกิจของเราที่จะส่งเสริมให้สภาวะแวดล้อมทางการเมืองเป็น ที่ซึ่งแต่ละประเทศสมาชิกยึดมั่นในแนวทางสันติวิธีอย่างแน่วแน่ในการยุติความแตกต่างภายใน ภูมิภาคและต่างตระหนักว่าความมั่นคงของแต่ละประเทศนั้นเชื่อมโยงกันโดยพื้นฐาน และผูกพันกันด้วยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ การมีวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วมกัน ยุทธศาตร์สำหรับการพัฒนาทางการเมือง คือ
1. ส่งเสริมความเข้าใจและความชื่นชมในระบอบทางการเมือง วัฒนธรรมและ ประวัติศาสตร์ของประเทศสมาชิก โดยให้มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและ กิจกรรมนอกเหนือจากในระดับรัฐบาลมากยิ่งขึ้น
2. ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและหน้าที่
3. วางรากฐานเพื่อจัดตั้งกลไกการทำงานเพื่อสนันสนุนการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างเสรี
4. จัดทำแผนงานเพื่อให้การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อนำไปสู่การพัฒนายุทธศาสตร์ในการเสริมสร้างระบอบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมและโครงสร้างทางกฏหมาย ตลอดจนการพัฒนาข้าราชการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีกทั้งส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลใน ภาครัฐและภาคเอกชน
5. ให้องค์กรอิสระ เช่น องค์การรัฐสภาอาเซียน สมัชชาประชาชนของอาเซียน สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติของอาเซียนในการพัฒนาด้านการเมือง ตลอดจนนักวิชาการ โดยเฉพาะเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน มีส่วนร่วมในการผลักดันข้อริเริ่มต่างๆ ในด้านการพัฒนาทางการเมืองและส่งเสริมบทบาทของมูลนิธิอาเซียนมากขึ้น และ
6. ป้องกันและต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง
1.2 การกำหนดการใช้บรรทัดฐานร่วมกัน
เพื่อสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกของการรับผิดชอบร่วมกันและสร้างบรรทัดฐานร่วมกันในการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่ดีในประชาคมที่เป็นประชาธิปไตย มีขันติธรรม ที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมและเปิดกว้าง เพื่อเป็นวิธีในการส่งเสริมความเป็นปึกแผ่น ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (ความรู้สึก “เรา”) ยุทธศาสตร์สำหรับการกำหนดการใช้บรรทัดฐานร่วมกัน ได้แก่
1. ริเริ่มกิจกรรมเพื่อเตรียมการจัดทำกฎบัตรอาเซียน
2. โน้มน้าวให้ประเทศนอกภูมิภาคอาเซียนภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3. ให้มีการปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในทะเลจีนใต้และดำเนินการเพื่อนำไปสู่การรับรองแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้
4. ดำเนินการเพื่อหาทางออกในประเด็นที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ เพื่อให้ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ลงนามในพิธีสารแนบท้ายสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
5. ดำเนินการเพื่อจัดทำสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและสนธิสัญญาของอาเซียนเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ตามที่ปรากฏในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ปี 2519
1.3 การป้องกันการเกิดข้อพิพาท
บนพื้นฐานของหลักการที่ปรากฏในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติหลักของอาเซียนในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกและเป็นกลไกหลักทางการทูตเพื่อส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคยุทธศาสตร์สำหรับการป้องกันการเกิดข้อพิพาท คือ
1. ส่งเสริมมาตรการการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ โดยเพิ่มโอกาสในการแลกเปลี่ยนและ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร และระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและพลเรือนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านทหาร อีกทั้งส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนการเข้าสังเกตการณ์ในการฝึกซ้อมทางทหารตามที่เห็นสมควร
2. ส่งเสริมให้มีความโปร่งใสและความเข้าใจในนโยบายทางทหารและมุมมองเกี่ยวกับภัยคุกคาม โดยการจัดทำและแลกเปลี่ยนรายงานการประเมินแนวโน้มความมั่นคง หรือเอกสารรายงานพัฒนาการทางทหารของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนและให้มีการบรรยายสรุปเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค ตามความสมัครใจ
3. จัดตั้งระบบการเตือนภัยล่วงหน้าจากกลไกในการป้องกันการเกิดหรือการทวีความ รุนแรงของข้อพิพาทที่มีอยู่
4. ส่งเสริมกระบวนการการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและ ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
5. ต่อสู้กับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติและปัญหาข้ามชาติอื่นๆ ผ่านกิจกรรมความ ร่วมมือในภูมิภาค และ
6. จัดให้มีการขึ้นทะเบียนอาวุธของอาเซียน โดยให้สำนักเลขาธิการอาเซียนเป็น ผู้ดำเนินการ ซึ่งสอดคล้องกับกิจกรรมในกรอบการประชุมอาเซียนว่าด้วย ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
7. ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล
1.4 การยุติข้อพิพาท
เพื่อเป็นการสนับสนุนผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกอาเซียนในการหาทางออกที่ รอบด้านต่อข้อพิพาทต่างๆ และเพื่อก่อให้เกิดสันติภาพและความมั่นคงที่ยั่งยืน และ ในขณะเดียวกันก็ยังใช้กลไกในแต่ละประเทศ การหารือทวิภาคี และกลไกระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหา ยุทธศาสตร์สำหรับการยุติข้อพิพาทควรมุ่งการหาแนวทางหรือรูปแบบใหม่ๆ เช่น
1. ใช้ศูนย์รักษาสันติภาพที่มีอยู่หรือที่กำลังจะจัดตั้งในประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อให้มีความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อรักษาสันติภาพและเสถียรภาพ
2. ใช้ประโยชน์จากแนวทางที่มีอยู่ในการยุติข้อพิพาทอย่างสันติ และสร้างความ แข็งแกร่งให้แนวทางดังกล่าวด้วยกลไกต่างๆ ตามที่จำเป็น และ
3. ดำเนินการร่วมกันในการรับมือกับข้อพิพาทและการศึกษาวิจัยวิธียุติข้อพิพาทและ การแลกเปลี่ยนระหว่างศูนย์การศึกษาเพื่อสันติภาพ
1.5 การส่งเสริมสันติภาพหลังการยุติข้อพิพาท
การสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการนำมาซึ่งสันติภาพที่ยั่งยืนและการป้องกันมิให้ ข้อพิพาทเกิดขึ้นอีกจำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและกลไกในหลายด้าน ดังนั้น ยุทธศาสตร์สำหรับการส่งเสริมสันติภาพหลังการยุติข้อพิพาท ได้แก่
1. ส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยกำหนดเขตปลอดการใช้กำลังในบริเวณที่มีการสู้รบ
2. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และโครงการเพื่อสร้างขีดความสามารถในบริเวณที่กำลังอยู่ในช่วงหลังการยุติข้อพิพาทและการฟื้นฟู และ
3. ดำเนินการเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งศูนย์ที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของอาเซียน
4. ลดความขัดแย้งระหว่างสังคมต่างๆ โดยการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา
5. เพิ่มความร่วมมือในการปรองดองและส่งเสริมวัฒนธรรมการรักสันติภาพ
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
แนวคิดหลัก: ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาโดยการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดขึ้น
แนวยุทธศาสตร์
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วยการทำให้ความมุ่งหวังของอาเซียนเป็นจริงในการทำให้ อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีเสถียรภาพ เจริญรุ่งเรืองและมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง โดยมีการรวมตัวเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวภายในปี 2563 ซึ่งจะมีการไหลเวียนของสินค้า การบริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมือโดยเสรี และการไหลเวียนของเงินทุนที่เสรีขึ้น รวมทั้งมีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างทัดเทียมกันและการลดลงของความยากจนและความแตกต่างกัน ด้านเศรษฐกิจและสังคมทั้งภายในและระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
ยุทธศาสตร์โดยรวมเพื่อบรรลุการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วยการ เพิ่มและขยายการรวมตัวทางเศรษฐกิจทั้งในด้านการผลิตและปัจจัยการผลิต และการเร่งรัดกระบวนการรวมตัวไปสู่ตลาดและฐานการผลิตเดียว แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์มีจุดประสงค์ ดังนี้
- เร่งรัดการดำเนินการตามข้อริเริ่มและมาตรการความร่วมมือด้านเศรษฐกิจต่างๆ ที่มีอยู่ ให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี 2553 หรือก่อนปี 2553 และดำเนินข้อริเริ่มใหม่เพื่อเร่งการรวมกลุ่มของสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา ตามข้อเสนอแนะของคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งผนวกอยู่กับปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2
- กำจัดอุปสรรคกีดกันการไหลเวียนของสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานมีฝีมือ อย่างเสรี และการไหลเวียนของเงินทุนที่เสรีขึ้น ในปี 2553 เท่าที่จะเป็นไปได้และ ตามที่ตกลงเห็นชอบโดยประเทศสมาชิกทุกประเทศ
- กำหนดและดำเนินการตามมาตรการอื่นๆ ที่จะสร้างองค์ประกอบและเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการจัดตั้งตลาดและฐานการผลิตเดียวในอาเซียนสำหรับสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขาในปี 2553 ในเบื้องแรกก่อน มาตรการเหล่านี้รวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะแหล่งลงทุน การเร่งรัดการเปิดเสรีการค้าสินค้า การปรับปรุงการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการดำเนินธุรกิจ การลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมด้านการค้า การส่งเสริมการค้าบริการในภูมิภาค การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมของ อาเซียน การเสริมสร้างระบบการยุติข้อพิพาทของอาเซียน และมาตรการอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการสนับสนุนการรวมตัวทางเศรษฐกิจ
การดำเนินตามแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อริเริ่มที่มีอยู่ในปัจจุบันและข้อริเริ่มใหม่
2.1 การรวมตัวของสินค้าและบริการสำคัญเริ่มแรก 11 สาขา
การเร่งรัดการรวมตัวทางเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่ตลาดและฐานการผลิตเดียวจะเริ่มด้วย สินค้าและบริการ 11 สาขา ซึ่งคัดเลือกจากความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่ ความชำนาญของแรงงานและความได้เปรียบด้านต้นทุน และการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้ เป็นที่คาดหวังว่าสาขาเหล่านี้จะแสดงให้เห็นว่าการรวมตัวทางเศรษฐกิจจะเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและความน่าสนใจของอาเซียนในฐานะแหล่งลงทุน และเมื่ออาเซียนมีขีดความสามารถมากขึ้นในด้านการรวมตัวทางเศรษฐกิจจากประสบการณ์ที่จะเพิ่มพูนขึ้น จะมีการเพิ่มสาขาที่จะเร่งรัดการรวมตัวในแผนการรวมกลุ่มของสินค้าและบริการสำคัญ สินค้าและบริการสำคัญที่ได้มีการกำหนดให้มีการรวมตัวภายในปี 2553 มีดังนี้
1) สินค้าเกษตร; 2) ยานยนต์; 3) อิเล็กทรอนิกส์; 4) ประมง; 5) ผลิตภัณฑ์ยาง; 6) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม; 7) ผลิตภัณฑ์ไม้; 8) การขนส่งทางอากาศ 9) เทคโนโลยีสารสนเทศ; 10) ผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ; 11) ท่องเที่ยว
แนวทางที่เสนอเพื่อรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญตั้งอยู่บนพื้นฐานของการรวม ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อสร้างความได้เปรียบในระดับภูมิภาค อำนวยความสะดวกสำหรับการส่งเสริมการลงทุนระหว่างกันในอาเซียน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่อดึงดูดและคงอุตสาหกรรมการผลิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ ภายในภูมิภาค ส่งเสริม การค้าระหว่างภาคอุตสาหกรรมในอาเซียนและการซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตในอาเซียน และส่งเสริมการพัฒนาตราสินค้าและบริการที่ผลิตในอาเซียน
มีการจัดทำแผนงานสำหรับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละสินค้าและบริการสำคัญ โดยภาคเอกชนได้เข้าร่วมในการจัดทำอย่างแข็งขัน และกรอบความตกลงสำหรับการรวมกลุ่ม สินค้าและบริการสำคัญและพิธีสารสำหรับแผนงานการรวมกลุ่มของสินค้าและบริการสำคัญ รายสาขาระบุมาตรการเฉพาะในรายละเอียดที่จะดำเนินการตั้งแต่ปี 2548 — 2553
2.2 เขตการลงทุนอาเซียน
กฎเกณฑ์ด้านการลงทุนที่เปิดเสรีในอาเซียนเป็นกุญแจที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันของอาเซียนในฐานะฐานการผลิตเดียว การไหลเข้าของการลงทุนอย่างต่อเนื่องจะรักษาการพัฒนาเครือข่ายการผลิตและการกระจายสินค้าในภูมิภาค ทั้งนี้ จะเร่งรัดการดำเนินการเพื่อจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียนซึ่งได้เริ่มเมื่อปี 2541 ดังนี้
2.2.1 การเปิดเสรีด้านการลงทุน
ขยายขอบเขตสาขาการลงทุนภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยเขตการลงทุน อาเซียนเพื่อจัดตั้งอาเซียนเป็นเขตการลงทุนที่มีศักยภาพในการแข่งขัน ปรับกำหนดปีสำหรับ การเปิดเสรีด้านการลงทุนที่แตกต่างกันระหว่างประเทศสมาชิกให้เป็นกรอบเวลาเดียวกัน เปิดเสรีด้านการลงทุนสำหรับทุกสาขาอุตสาหกรรม ตกลงกันเรื่องกำหนดเวลาสำหรับการยกเลิกสาขา การลงทุนที่ยังไม่เป็นเสรีซึ่งอยู่ในรายการอ่อนไหว และให้การประติบัติเยี่ยงคนชาติแก่ทั้งนักลงทุนอาเซียนและนอกอาเซียน
2.2.2 การอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน
ปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนทั้งในประเทศสมาชิกและในภูมิภาค เปรียบเทียบขีดความสามารถในการแข่งขันและผ่อนปรนกฎเกณฑ์ด้านการลงทุนในอาเซียนเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ กำหนดอุปสรรคกีดกันการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่จะยกเลิกและลดลง ประเมินกรอบนโยบายด้านการลงทุนอย่างต่อเนื่องโดยพิจารณาความเหมาะสมของนโยบายดังกล่าวเทียบเคียงกับแนวโน้มการ ลงทุนโดยตรงในภูมิภาคและโลก และเสริมสร้าง ขีดความสามารถด้านสถาบันของอาเซียนสำหรับมาตรการที่เกี่ยวกับการลงทุนทั้งหมด
2.2.3 การส่งเสริมการลงทุน
รับรองโครงการยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่การลงทุนโดยเน้นประเทศและภูมิภาค เป้าหมายที่มีศักยภาพสูง เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน อินเดีย และสาธารณรัฐเกาหลี
จะดำเนินยุทธศาสตร์นี้โดยการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ด้านการลงทุน อาเซียนปี 2547 -2551 และแผนกลยุทธ์ฯ ที่สืบเนื่องจากแผนงานดังกล่าวนับจากปี 2551 ต่อเนื่องไป
2.3 การค้าสินค้า
การไหลเวียนของสินค้าโดยเสรีเป็นเงื่อนไขขั้นต่ำสุดที่จำเป็นสำหรับการทำให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว จะมีการยกเลิกอุปสรรคทางภาษีศุลกากรและที่มิใช่ภาษีศุลกากร ต่อการไหลเวียนของสินค้าอย่างค่อยเป็นค่อยไปในจังหวะเวลาที่ประเทศสมาชิกรับได้ ดังนี้
2.3.1 มาตรการด้านภาษี
จะยกเลิกภาษีศุลกากรภายในปี 2553 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศและประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ในปี 2558
2.3.2 อุปสรรคที่มิใช่ภาษีศุลกากร
ให้มีความโปร่งใสเกี่ยวกับมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากรโดยการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าวของอาเซียน จัดทำหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อจำแนกมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าเพื่อทำการยกเลิกต่อไป กำหนดแผนการและกำหนดเวลาดำเนินงานที่ชัดเจนและแน่นอนในการยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากร และรับรองและปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ขั้นตอนการออกใบอนุญาตนำเข้าขององค์การการค้าโลก รวมทั้งดำเนินการตามแนวทางที่เหมาะสมของอาเซียนสำหรับการดำเนินการตามความตกลงดังกล่าว
2.3.3 โครงการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน
ปรับปรุงโครงการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อประโยชน์ของประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม และเร่งการรวมตัวของประเทศ ดังกล่าวในอาเซียน
2.3.4 การค้าแร่
เสริมสร้างการค้าและการลงทุนในสาขาเหมืองแร่
2.3.5 การอำนวยความสะดวกด้านการค้า
2.3.5.1 ศุลกากร
ปรับประสานพิธีการด้านศุลกากรโดยการรับรองความตกลงขององค์การการค้าโลกว่าด้วยการประเมินราคาศุลกากร ความตกลงอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับศุลกากรภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก องค์การศุลกากรโลก องค์การต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ และองค์การระหว่างประเทศ และจัดทำข้อผูกพันด้านการบริการที่ให้แก่ผู้ใช้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า โดยมียุทธศาสตร์ดังนี้ การพัฒนาระบบศุลกากรแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาพิธีการด้านศุลกากรให้ทันสมัยและปรับปรุงการควบคุมและการปฏิบัติตามพิธีการศุลกากรโดยร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและภาคธุรกิจโดยการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาศุลกากรของอาเซียน ปี 2548-2553
2.3.5.2 กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
(ยังมีต่อ)
I. บทนำ
แนวคิดหลัก : สู่ความมั่งคั่งและจุดมุ่งหมายร่วมกันในประชาคมอาเซียนที่เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน มีสันติสุข และเอื้ออาทร
พวกเรา ผู้นำของรัฐและรัฐบาลขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ในที่นี้ หมายถึง “อาเซียน”) มาพบกัน ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10
ตระหนักว่า วิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563 มีเจตนารมณ์ให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีการรวมตัวของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีความสัมพันธ์กับภายนอก อยู่ด้วยกัน อย่างสันติสุข มีความมั่นคงและมั่งคั่ง อีกทั้งเชื่อมโยงกันในฐานะหุ้นส่วนในการพัฒนาที่มีพลวัต และในประชาคมที่เอื้ออาทร
ตระหนักด้วยว่า แผนปฏิบัติการฮานอย ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการหรือแผนงานฉบับแรก ซึ่งจะนำไปสู่การอนุวัติให้เป็นไปตามเป้าหมายของวิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563 จะหมดวาระในปี 2547 และจำเป็นต้องมีแผนปฏิบัติการหรือแผนงานอีกฉบับเพื่อเป็นเครื่องชี้นำให้เกิดความคืบหน้าในการบรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563 ต่อไป
ระลึกว่า ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 ซึ่งได้ขยายแนวคิดหลักต่างๆ ของ วิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563 โดยการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการบรรลุเป้าหมายในการ จัดตั้งประชาคมอาเซียนที่เปิดกว้างและคลอบคลุมความร่วมมือรอบด้าน โดยตั้งอยู่บนสาม เสาหลัก กล่าวคือ ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง การรวมตัวทางเศรษฐกิจ และ ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม เพื่อให้มีประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2563
รับทราบว่า สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจโลกและภายในภูมิภาคได้มีการเปลี่ยนแปลงและ ถูกท้าทายอย่างต่อเนื่องด้วยพัฒนาการใหม่ๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อการค้าและการไหลเวียนของ การลงทุน ตลอดจนขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน และอาเซียนจำเป็นต้องดำเงินงานไปท่ามกลางสภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ใหม่
ยอมรับว่า การรวมตัวของอาเซียนที่ลึกลงและขยายขอบเขตมากยิ่งขึ้นจะต้องดำเนินไปควบคู่กับความร่วมมือด้านวิชาการและความร่วมมือด้านการพัฒนา เพื่อรับมือกับช่องว่างของระดับ การพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และเพื่อให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศได้รับ ผลประโยชน์ของการรวมตัวของอาเซียนร่วมกัน ซึ่งจะเอื้อต่อการก้าวต่อไปข้างหน้าในลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงกัน
ย้ำว่า คำมั่นของพวกเราที่จะส่งเสริมความพยายามในการลดช่องว่างของระดับการพัฒนาใน อาเซียน โดยต่อยอดจากข้อริเริ่มต่างๆ ที่มีอยู่ เช่น ข้อริเริ่มว่าด้วยการรวมตัวของอาเซียน แผนการรวมตัวของอาเซียน ปฏิญญาฮานอยว่าด้วยการลดช่องว่างของระดับการพัฒนาเพื่อการรวมตัวของอาเซียนที่ใกล้ชิดขึ้น เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2544 และปฏิญญาร่วมระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2547
ขอประกาศ ณ ที่นี้ ว่า
1. พวกเราเห็นชอบให้มีการรวมตัวของอาเซียนอย่างรอบด้านเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งประชาคม อาเซียนที่เปิดกว้าง มีพลวัต และฟื้นตัวได้เร็ว ภายในปี พ.ศ. 2563 ตามเจตนารมณ์ที่ปรากฏในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 และภาคผนวก กล่าวคือ แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน แผนปฏิบัติการประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และ ข้อเสนอแนะจาก คณะทำงานระดับสูงเพื่อการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
2. พวกเราจะตอบสนองด้วยวิธีและแนวทางต่างๆ ต่อประเด็นด้านการพัฒนาและความต้องการเฉพาะของประเทศสมาชิกอาเซียนที่พัฒนาช้ากว่าประเทศอื่นๆ และพื้นที่ในอนุภูมิภาคของ อาเซียน ซึ่งรวมถึง การนำแนวคิด “การสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับประเทศเพื่อนบ้าน” มาปฏิบัติ โดยการริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนา ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม-เศรษฐกิจ และขจัดความยากจนภายในอาเซียน ซึ่งจะส่งผลให้แต่ละประเทศ ก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆ กันและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อความมั่งคั่งของอาเซียน นอกจากนี้ พวกเรายังตระหนักถึงบทบาทของกรอบความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาค เช่น เขตพัฒนา อาเซียนตะวันออก-อินโดนีเซีย-พม่า-ฟิลิปปินส์ แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย- สิงคโปร์ ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มแม่น้ำโขง ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี- เจ้าพระยา- แม่โขง และโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อลดช่องว่างในระดับการพัฒนาในภูมิภาค
3. พวกเราจะส่งเสริมกลไกการทำงานต่างๆ ของอาเซียนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นต่อไป ทั้งในด้าน โครงสร้างและขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อให้แน่ใจว่าอาเซียนจะสามารถรับมือกับสิ่งท้าทายและความต้องการอันจะนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมอาเซียน รวมทั้งการประสานงานและ ประสิทธิผลในการทำงาน ตลอดจนส่งเสริมความสามารถของอาเซียนในการกำหนด สภาพแวดล้อมทั้งในและนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4. พวกเราจะเห็นชอบให้มียุทธศาสตร์การดำเนินความสัมพันธ์ที่เปิดกว้างกับภายนอกมากยิ่งขึ้น ทั้งกับประเทศคู่เจราจาและมิตรประเทศ เพื่อเสริมสร้างอาเซียนที่มีสันติสุข มั่นคงและมั่งคั่ง อีกทั้งส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมกับ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและภูมิภาคอื่นๆ
5. พวกเราตระหนักถึงความจำเป็นที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้อาเซียนและจะดำเนินการเพื่อ นำไปสู่การจัดทำกฎบัตรอาเซียน
6. ในอันดับแรก พวกเราจะร่วมมือกันเพื่อสร้างสรรค์ทรัพยากรอันเป็นของภูมิภาคของเราเองและขยายความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาและประเทศอื่นๆ ที่ปรารถนาจะร่วมมือกับอาเซียน บนพื้นฐานของความเท่าเทียม การไม่เลือกปฏิบัติและการได้รับประโยชน์ร่วมกัน อีกทั้ง สร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐกับภาคอื่นๆ ในสังคมทั้งในภูมิภาคและนอกภูมิภาค อาเซียนเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อบรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
7. พวกเราจะส่งเสริมให้มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียนเป็นการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ถึงจิตวิญญาณของอาเซียนและเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์อันยาวนานของอัตลักษณ์ของภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากอาเซียนได้กำเนิดจากความสัมพันธ์ร่วมกันตั้งแต่อดีตและ ความปรารถนาร่วมกันที่จะให้มีสันติภาพและความมั่งคั่ง
8. พวกเรา ณ ที่นี้ รับรองแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการที่ต่อจาก แผนปฏิบัติการฮานอย ซึ่งจะครอบคลุมช่วงปี 2547-2553 และจะเป็นกลไกในการรวบรวมและสร้างความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์และเป้าหมายของสามเสาหลักในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และเป็นส่วนสำคัญของแผนปฏิบัติการและโครงการต่างๆ เพื่อการอนุวัติให้เป็นไปตามเป้าหมายของวิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563
9. โดยที่ขั้นตอนที่นำไปสู่การจัดตั้งประชาคมอาเซียนกำลังพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์จึงควรเป็นเอกสารที่สามารถแก้ไข/ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา กิจกรรมต่างๆ ที่รวมไว้ ซึ่งตั้งเป้าไว้ว่าจะสามารถดำเนินการได้ในช่วงปี 2547-2553 ซึ่งปรากฏอยู่ในภาคผนวกของแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์จึงควรมีลักษณะที่สามารถเพิ่มเติมได้อีก
10. พวกเราให้คำมั่นที่จะนำแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์มาปฏิบัติ โดยให้ความสำคัญกับทั้งสองมิติของแผนปฏิบัติการฯ กล่าวคือ (1) ส่งเสริมการขยายการรวมตัวของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศให้เป็นประชาคมอาเซียนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และ (2) กำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ๆ เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาซึ่งจะทำให้การรวมตัวดำเนินไปเร็วยิ่งขึ้น โดยจะร่วมมือกันทั้งในระหว่างประเทศสมาชิกและกับประเทศคู่เจรจาและประเทศอื่นๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดเจตนารมณ์ทางการเมืองและมีทรัพยากรที่จำเป็นในการนำแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์มาปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
II เป้าหมายและยุทธศาสตร์ในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
1. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน
แนวคิดหลัก: ส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ประชาธิปไตย และความมั่งคั่งใน ภูมิภาค โดยความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคงอย่างรอบด้าน
แนวยุทธศาสตร์
ประชาคมความมั่นคงอาเซียนได้รวมเจตนารมณ์ของอาเซียนที่จะทำให้ภูมิภาคมี สันติภาพ เสถียรภาพ ประชาธิปไตย และความมั่งคั่งในภูมิภาค และเป็นที่ซึ่งประเทศสมาชิก อาเซียนอยู่ร่วมกันด้วยสันติสุขทั้งในระหว่างกันเองและกับโลกภายนอก ในสภาวะแวดล้อมที่ เป็นธรรม มีประชาธิปไตย และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประชาคมความมั่นคงอาเซียนยึดหลักการความมั่นคงแบบรอบด้าน ซึ่งเล็งเห็นความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคมในภูมิภาค ดังนั้น ความมั่นคงทางการเมืองและสังคม และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และระดับการพัฒนาที่เท่าเทียมกันจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับประชาคมอาเซียน และจะริเริ่ม แผนงานที่สอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว เป็นหลักต่อไป
ในด้านความสัมพันธ์กับภายนอก ประชาคมความมั่นคงอาเซียนจะเอื้อต่อการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก การส่งเสริมบทบาทของอาเซียนในฐานะ ผู้ขับเคลื่อนในเวทีการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และยังคงส่งเสริมความสัมพันธ์กับมิตรประเทศและประเทศคู่เจรจาต่อไป
เพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน แผนปฏิบัติการ เวียงจันทน์ในส่วนของประชาคมความมั่นคงอาเซียนควรดำเนินการตามแนวยุทธศาสตร์ทั้ง 5 กล่าวคือ พัฒนาการทางการเมือง การกำหนดบรรทัดฐานร่วมกัน การป้องกันการเกิดข้อพิพาท การยุติข้อพิพาท การเสริมสร้างสันติภาพหลังการยุติข้อพิพาท และในการนำแนวยุทธศาสตร์ เหล่านี้มาปฏิบัติควรเน้นกิจกรรมที่เห็นว่าสามารถบรรลุได้ภายในปี 2563 แนวยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ได้แก่
1.1 พัฒนาการทางการเมือง
เพื่อเป็นการสนับสนุนพันธกิจของเราที่จะส่งเสริมให้สภาวะแวดล้อมทางการเมืองเป็น ที่ซึ่งแต่ละประเทศสมาชิกยึดมั่นในแนวทางสันติวิธีอย่างแน่วแน่ในการยุติความแตกต่างภายใน ภูมิภาคและต่างตระหนักว่าความมั่นคงของแต่ละประเทศนั้นเชื่อมโยงกันโดยพื้นฐาน และผูกพันกันด้วยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ การมีวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วมกัน ยุทธศาตร์สำหรับการพัฒนาทางการเมือง คือ
1. ส่งเสริมความเข้าใจและความชื่นชมในระบอบทางการเมือง วัฒนธรรมและ ประวัติศาสตร์ของประเทศสมาชิก โดยให้มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและ กิจกรรมนอกเหนือจากในระดับรัฐบาลมากยิ่งขึ้น
2. ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและหน้าที่
3. วางรากฐานเพื่อจัดตั้งกลไกการทำงานเพื่อสนันสนุนการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างเสรี
4. จัดทำแผนงานเพื่อให้การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อนำไปสู่การพัฒนายุทธศาสตร์ในการเสริมสร้างระบอบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมและโครงสร้างทางกฏหมาย ตลอดจนการพัฒนาข้าราชการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีกทั้งส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลใน ภาครัฐและภาคเอกชน
5. ให้องค์กรอิสระ เช่น องค์การรัฐสภาอาเซียน สมัชชาประชาชนของอาเซียน สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติของอาเซียนในการพัฒนาด้านการเมือง ตลอดจนนักวิชาการ โดยเฉพาะเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน มีส่วนร่วมในการผลักดันข้อริเริ่มต่างๆ ในด้านการพัฒนาทางการเมืองและส่งเสริมบทบาทของมูลนิธิอาเซียนมากขึ้น และ
6. ป้องกันและต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง
1.2 การกำหนดการใช้บรรทัดฐานร่วมกัน
เพื่อสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกของการรับผิดชอบร่วมกันและสร้างบรรทัดฐานร่วมกันในการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่ดีในประชาคมที่เป็นประชาธิปไตย มีขันติธรรม ที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมและเปิดกว้าง เพื่อเป็นวิธีในการส่งเสริมความเป็นปึกแผ่น ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (ความรู้สึก “เรา”) ยุทธศาสตร์สำหรับการกำหนดการใช้บรรทัดฐานร่วมกัน ได้แก่
1. ริเริ่มกิจกรรมเพื่อเตรียมการจัดทำกฎบัตรอาเซียน
2. โน้มน้าวให้ประเทศนอกภูมิภาคอาเซียนภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3. ให้มีการปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในทะเลจีนใต้และดำเนินการเพื่อนำไปสู่การรับรองแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้
4. ดำเนินการเพื่อหาทางออกในประเด็นที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ เพื่อให้ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ลงนามในพิธีสารแนบท้ายสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
5. ดำเนินการเพื่อจัดทำสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและสนธิสัญญาของอาเซียนเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ตามที่ปรากฏในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ปี 2519
1.3 การป้องกันการเกิดข้อพิพาท
บนพื้นฐานของหลักการที่ปรากฏในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติหลักของอาเซียนในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกและเป็นกลไกหลักทางการทูตเพื่อส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคยุทธศาสตร์สำหรับการป้องกันการเกิดข้อพิพาท คือ
1. ส่งเสริมมาตรการการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ โดยเพิ่มโอกาสในการแลกเปลี่ยนและ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร และระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและพลเรือนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านทหาร อีกทั้งส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนการเข้าสังเกตการณ์ในการฝึกซ้อมทางทหารตามที่เห็นสมควร
2. ส่งเสริมให้มีความโปร่งใสและความเข้าใจในนโยบายทางทหารและมุมมองเกี่ยวกับภัยคุกคาม โดยการจัดทำและแลกเปลี่ยนรายงานการประเมินแนวโน้มความมั่นคง หรือเอกสารรายงานพัฒนาการทางทหารของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนและให้มีการบรรยายสรุปเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค ตามความสมัครใจ
3. จัดตั้งระบบการเตือนภัยล่วงหน้าจากกลไกในการป้องกันการเกิดหรือการทวีความ รุนแรงของข้อพิพาทที่มีอยู่
4. ส่งเสริมกระบวนการการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและ ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
5. ต่อสู้กับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติและปัญหาข้ามชาติอื่นๆ ผ่านกิจกรรมความ ร่วมมือในภูมิภาค และ
6. จัดให้มีการขึ้นทะเบียนอาวุธของอาเซียน โดยให้สำนักเลขาธิการอาเซียนเป็น ผู้ดำเนินการ ซึ่งสอดคล้องกับกิจกรรมในกรอบการประชุมอาเซียนว่าด้วย ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
7. ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล
1.4 การยุติข้อพิพาท
เพื่อเป็นการสนับสนุนผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกอาเซียนในการหาทางออกที่ รอบด้านต่อข้อพิพาทต่างๆ และเพื่อก่อให้เกิดสันติภาพและความมั่นคงที่ยั่งยืน และ ในขณะเดียวกันก็ยังใช้กลไกในแต่ละประเทศ การหารือทวิภาคี และกลไกระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหา ยุทธศาสตร์สำหรับการยุติข้อพิพาทควรมุ่งการหาแนวทางหรือรูปแบบใหม่ๆ เช่น
1. ใช้ศูนย์รักษาสันติภาพที่มีอยู่หรือที่กำลังจะจัดตั้งในประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อให้มีความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อรักษาสันติภาพและเสถียรภาพ
2. ใช้ประโยชน์จากแนวทางที่มีอยู่ในการยุติข้อพิพาทอย่างสันติ และสร้างความ แข็งแกร่งให้แนวทางดังกล่าวด้วยกลไกต่างๆ ตามที่จำเป็น และ
3. ดำเนินการร่วมกันในการรับมือกับข้อพิพาทและการศึกษาวิจัยวิธียุติข้อพิพาทและ การแลกเปลี่ยนระหว่างศูนย์การศึกษาเพื่อสันติภาพ
1.5 การส่งเสริมสันติภาพหลังการยุติข้อพิพาท
การสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการนำมาซึ่งสันติภาพที่ยั่งยืนและการป้องกันมิให้ ข้อพิพาทเกิดขึ้นอีกจำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและกลไกในหลายด้าน ดังนั้น ยุทธศาสตร์สำหรับการส่งเสริมสันติภาพหลังการยุติข้อพิพาท ได้แก่
1. ส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยกำหนดเขตปลอดการใช้กำลังในบริเวณที่มีการสู้รบ
2. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และโครงการเพื่อสร้างขีดความสามารถในบริเวณที่กำลังอยู่ในช่วงหลังการยุติข้อพิพาทและการฟื้นฟู และ
3. ดำเนินการเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งศูนย์ที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของอาเซียน
4. ลดความขัดแย้งระหว่างสังคมต่างๆ โดยการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา
5. เพิ่มความร่วมมือในการปรองดองและส่งเสริมวัฒนธรรมการรักสันติภาพ
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
แนวคิดหลัก: ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาโดยการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดขึ้น
แนวยุทธศาสตร์
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วยการทำให้ความมุ่งหวังของอาเซียนเป็นจริงในการทำให้ อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีเสถียรภาพ เจริญรุ่งเรืองและมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง โดยมีการรวมตัวเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวภายในปี 2563 ซึ่งจะมีการไหลเวียนของสินค้า การบริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมือโดยเสรี และการไหลเวียนของเงินทุนที่เสรีขึ้น รวมทั้งมีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างทัดเทียมกันและการลดลงของความยากจนและความแตกต่างกัน ด้านเศรษฐกิจและสังคมทั้งภายในและระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
ยุทธศาสตร์โดยรวมเพื่อบรรลุการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วยการ เพิ่มและขยายการรวมตัวทางเศรษฐกิจทั้งในด้านการผลิตและปัจจัยการผลิต และการเร่งรัดกระบวนการรวมตัวไปสู่ตลาดและฐานการผลิตเดียว แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์มีจุดประสงค์ ดังนี้
- เร่งรัดการดำเนินการตามข้อริเริ่มและมาตรการความร่วมมือด้านเศรษฐกิจต่างๆ ที่มีอยู่ ให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี 2553 หรือก่อนปี 2553 และดำเนินข้อริเริ่มใหม่เพื่อเร่งการรวมกลุ่มของสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา ตามข้อเสนอแนะของคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งผนวกอยู่กับปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2
- กำจัดอุปสรรคกีดกันการไหลเวียนของสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานมีฝีมือ อย่างเสรี และการไหลเวียนของเงินทุนที่เสรีขึ้น ในปี 2553 เท่าที่จะเป็นไปได้และ ตามที่ตกลงเห็นชอบโดยประเทศสมาชิกทุกประเทศ
- กำหนดและดำเนินการตามมาตรการอื่นๆ ที่จะสร้างองค์ประกอบและเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการจัดตั้งตลาดและฐานการผลิตเดียวในอาเซียนสำหรับสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขาในปี 2553 ในเบื้องแรกก่อน มาตรการเหล่านี้รวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะแหล่งลงทุน การเร่งรัดการเปิดเสรีการค้าสินค้า การปรับปรุงการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการดำเนินธุรกิจ การลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมด้านการค้า การส่งเสริมการค้าบริการในภูมิภาค การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมของ อาเซียน การเสริมสร้างระบบการยุติข้อพิพาทของอาเซียน และมาตรการอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการสนับสนุนการรวมตัวทางเศรษฐกิจ
การดำเนินตามแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อริเริ่มที่มีอยู่ในปัจจุบันและข้อริเริ่มใหม่
2.1 การรวมตัวของสินค้าและบริการสำคัญเริ่มแรก 11 สาขา
การเร่งรัดการรวมตัวทางเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่ตลาดและฐานการผลิตเดียวจะเริ่มด้วย สินค้าและบริการ 11 สาขา ซึ่งคัดเลือกจากความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่ ความชำนาญของแรงงานและความได้เปรียบด้านต้นทุน และการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้ เป็นที่คาดหวังว่าสาขาเหล่านี้จะแสดงให้เห็นว่าการรวมตัวทางเศรษฐกิจจะเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและความน่าสนใจของอาเซียนในฐานะแหล่งลงทุน และเมื่ออาเซียนมีขีดความสามารถมากขึ้นในด้านการรวมตัวทางเศรษฐกิจจากประสบการณ์ที่จะเพิ่มพูนขึ้น จะมีการเพิ่มสาขาที่จะเร่งรัดการรวมตัวในแผนการรวมกลุ่มของสินค้าและบริการสำคัญ สินค้าและบริการสำคัญที่ได้มีการกำหนดให้มีการรวมตัวภายในปี 2553 มีดังนี้
1) สินค้าเกษตร; 2) ยานยนต์; 3) อิเล็กทรอนิกส์; 4) ประมง; 5) ผลิตภัณฑ์ยาง; 6) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม; 7) ผลิตภัณฑ์ไม้; 8) การขนส่งทางอากาศ 9) เทคโนโลยีสารสนเทศ; 10) ผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ; 11) ท่องเที่ยว
แนวทางที่เสนอเพื่อรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญตั้งอยู่บนพื้นฐานของการรวม ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อสร้างความได้เปรียบในระดับภูมิภาค อำนวยความสะดวกสำหรับการส่งเสริมการลงทุนระหว่างกันในอาเซียน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่อดึงดูดและคงอุตสาหกรรมการผลิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ ภายในภูมิภาค ส่งเสริม การค้าระหว่างภาคอุตสาหกรรมในอาเซียนและการซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตในอาเซียน และส่งเสริมการพัฒนาตราสินค้าและบริการที่ผลิตในอาเซียน
มีการจัดทำแผนงานสำหรับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละสินค้าและบริการสำคัญ โดยภาคเอกชนได้เข้าร่วมในการจัดทำอย่างแข็งขัน และกรอบความตกลงสำหรับการรวมกลุ่ม สินค้าและบริการสำคัญและพิธีสารสำหรับแผนงานการรวมกลุ่มของสินค้าและบริการสำคัญ รายสาขาระบุมาตรการเฉพาะในรายละเอียดที่จะดำเนินการตั้งแต่ปี 2548 — 2553
2.2 เขตการลงทุนอาเซียน
กฎเกณฑ์ด้านการลงทุนที่เปิดเสรีในอาเซียนเป็นกุญแจที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันของอาเซียนในฐานะฐานการผลิตเดียว การไหลเข้าของการลงทุนอย่างต่อเนื่องจะรักษาการพัฒนาเครือข่ายการผลิตและการกระจายสินค้าในภูมิภาค ทั้งนี้ จะเร่งรัดการดำเนินการเพื่อจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียนซึ่งได้เริ่มเมื่อปี 2541 ดังนี้
2.2.1 การเปิดเสรีด้านการลงทุน
ขยายขอบเขตสาขาการลงทุนภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยเขตการลงทุน อาเซียนเพื่อจัดตั้งอาเซียนเป็นเขตการลงทุนที่มีศักยภาพในการแข่งขัน ปรับกำหนดปีสำหรับ การเปิดเสรีด้านการลงทุนที่แตกต่างกันระหว่างประเทศสมาชิกให้เป็นกรอบเวลาเดียวกัน เปิดเสรีด้านการลงทุนสำหรับทุกสาขาอุตสาหกรรม ตกลงกันเรื่องกำหนดเวลาสำหรับการยกเลิกสาขา การลงทุนที่ยังไม่เป็นเสรีซึ่งอยู่ในรายการอ่อนไหว และให้การประติบัติเยี่ยงคนชาติแก่ทั้งนักลงทุนอาเซียนและนอกอาเซียน
2.2.2 การอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน
ปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนทั้งในประเทศสมาชิกและในภูมิภาค เปรียบเทียบขีดความสามารถในการแข่งขันและผ่อนปรนกฎเกณฑ์ด้านการลงทุนในอาเซียนเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ กำหนดอุปสรรคกีดกันการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่จะยกเลิกและลดลง ประเมินกรอบนโยบายด้านการลงทุนอย่างต่อเนื่องโดยพิจารณาความเหมาะสมของนโยบายดังกล่าวเทียบเคียงกับแนวโน้มการ ลงทุนโดยตรงในภูมิภาคและโลก และเสริมสร้าง ขีดความสามารถด้านสถาบันของอาเซียนสำหรับมาตรการที่เกี่ยวกับการลงทุนทั้งหมด
2.2.3 การส่งเสริมการลงทุน
รับรองโครงการยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่การลงทุนโดยเน้นประเทศและภูมิภาค เป้าหมายที่มีศักยภาพสูง เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน อินเดีย และสาธารณรัฐเกาหลี
จะดำเนินยุทธศาสตร์นี้โดยการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ด้านการลงทุน อาเซียนปี 2547 -2551 และแผนกลยุทธ์ฯ ที่สืบเนื่องจากแผนงานดังกล่าวนับจากปี 2551 ต่อเนื่องไป
2.3 การค้าสินค้า
การไหลเวียนของสินค้าโดยเสรีเป็นเงื่อนไขขั้นต่ำสุดที่จำเป็นสำหรับการทำให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว จะมีการยกเลิกอุปสรรคทางภาษีศุลกากรและที่มิใช่ภาษีศุลกากร ต่อการไหลเวียนของสินค้าอย่างค่อยเป็นค่อยไปในจังหวะเวลาที่ประเทศสมาชิกรับได้ ดังนี้
2.3.1 มาตรการด้านภาษี
จะยกเลิกภาษีศุลกากรภายในปี 2553 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศและประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ในปี 2558
2.3.2 อุปสรรคที่มิใช่ภาษีศุลกากร
ให้มีความโปร่งใสเกี่ยวกับมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากรโดยการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าวของอาเซียน จัดทำหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อจำแนกมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าเพื่อทำการยกเลิกต่อไป กำหนดแผนการและกำหนดเวลาดำเนินงานที่ชัดเจนและแน่นอนในการยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากร และรับรองและปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ขั้นตอนการออกใบอนุญาตนำเข้าขององค์การการค้าโลก รวมทั้งดำเนินการตามแนวทางที่เหมาะสมของอาเซียนสำหรับการดำเนินการตามความตกลงดังกล่าว
2.3.3 โครงการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน
ปรับปรุงโครงการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อประโยชน์ของประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม และเร่งการรวมตัวของประเทศ ดังกล่าวในอาเซียน
2.3.4 การค้าแร่
เสริมสร้างการค้าและการลงทุนในสาขาเหมืองแร่
2.3.5 การอำนวยความสะดวกด้านการค้า
2.3.5.1 ศุลกากร
ปรับประสานพิธีการด้านศุลกากรโดยการรับรองความตกลงขององค์การการค้าโลกว่าด้วยการประเมินราคาศุลกากร ความตกลงอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับศุลกากรภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก องค์การศุลกากรโลก องค์การต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ และองค์การระหว่างประเทศ และจัดทำข้อผูกพันด้านการบริการที่ให้แก่ผู้ใช้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า โดยมียุทธศาสตร์ดังนี้ การพัฒนาระบบศุลกากรแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาพิธีการด้านศุลกากรให้ทันสมัยและปรับปรุงการควบคุมและการปฏิบัติตามพิธีการศุลกากรโดยร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและภาคธุรกิจโดยการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาศุลกากรของอาเซียน ปี 2548-2553
2.3.5.2 กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
(ยังมีต่อ)