กรุงเทพ--30 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในอดีต การค้าขายและขนส่งสินค้าระหว่างไทยและเวียดนามอาศัยเส้นทางถนนทางบกที่เชื่อมโยงภาคอีสานของไทย ผ่านกัมพูชา และเข้าสู่ภาคใต้เวียดนาม เนื่องจากเป็นเส้นทางการขนส่งที่มีระยะทางไม่ไกล และมีความสะดวกพอสมควรโดยใช้เวลาเดินทางทางรถยนต์เพียง 2 ชม. จึงส่งผลให้จังหวัดชายแดนเวียดนามในเส้นทางคมนาคมดังกล่าวมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจมีความสำคัญ และในบทความนี้ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ ขอเสนอข้อมูลที่น่าสนใจ 2 จังหวัด คือ
จังหวัดเตนินห์ (Tay Ninh) เป็นจังหวัดชายแดนเวียดนาม-กัมพูชา ที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง จังหวัดเตนินห์ มีพื้นที่ 4,028 ตารางกม. มีประชากร 1.03 ล้านคน มีดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น อ้อย ข้าวสาลี ถั่วลิสง ยางพารา จังหวัดเตนินห์ อยู่ติดกับนครโฮจิมินห์ และห่างจากกรุงพนมเปญเพียง 170 กม. และมีชายแดนติดกับกัมพูชายาว 240 กม. การเดินทางจากจังหวัดเตนินห์ ไปยังนครโฮจิมินห์ด้วยเส้นทางถนนสายเอเชีย (Trans-Asia Highway) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ South West Economic Corridor ความยาวถนนทั้งหมด 80 กม. ใช้เวลาไม่เกิน 2 ชม.
จังหวัดเตนินห์มีจุดผ่านแดนท้องถิ่น 14 แห่ง และมีด่านชายแดน 3 แห่ง โดยเป็นด่านระหว่างประเทศ 1 แห่ง ได้แก่ ด่านม๊อก บ่าย (Moc Bai) ซึ่งมีผู้คนและสินค้าผ่านเข้า-ออกเป็นจำนวนมาก ปริมาณสินค้าที่ผ่าน-เข้าออกด่านม๊อก บ่าย คิดเป็นร้อยละ 8.18 ของการค้าระหว่างเวียดนามและกัมพูชา สินค้าส่งออกไปกัมพูชาจากจังหวัดเตนินห์ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น สินค้าพลาสติก สิ่งทอ อาหารและข้าว และสินค้านำเข้าจากกัมพูชาได้แก่ ผลิตผลทางการเกษตร เช่น ถั่วเขียว งา และไม้ยาง ทั้งนี้ มีสินค้าของไทยประเภทเสื้อผ้า อาหาร ผลไม้และเครื่องดื่ม ผ่านเข้าด่านม๊อก บ่ายเป็นจำนวนมากด้วย ปริมาณนักท่องเที่ยวผ่านด่านชายแดนม๊อก บ่าย ซึ่งเป็นด่านระหว่างประเทศ
ระหว่างจังหวัดเตนินห์และกัมพูชา มีอัตราการขยายตัวประมาณ 35% ต่อปี จังหวัดเตนินห์มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูง โดยจังหวัดเตนินห์ เป็นที่ตั้งของอุโมงค์กู๋จี ซึ่งเป็นอุโมงค์ฐานบัญชาการใต้ดินของกองทัพเวียดนามเหนือในช่วงสงครามเวียดนาม มีวัดเก๋าได ของศาสนาเก๋าไดในเวียดนาม มีเขตป่าสงวนเขาบ่า แดง (Ba Dang) และอ่างเก็บน้ำที่เยิวเตี๊ยน (Yeu Tien)
จังหวัดเตนินห์มีนิคมอุตสาหกรรม 2 แห่ง ได้แก่นิคมอุตสาหกรรม จ่าง บั๋ง (Trang Bang) กับเขตเศรษฐกิจชายแดนด่านม๊อก บ่าย และกำลังจะก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มเติมอีก 9 แห่ง รวมทั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนด่านซา มั๊ต (Xa Mat) ปัจจุบัน มีโครงการการลงทุนทั้งหมด 60 โครงการในจังหวัดเตนินห์ รวมมูลค่าการลงทุนทั้งหมด 144 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นักลงทุนส่วนใหญ่ไปจากเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฝรั่งเศส อินเดีย และมาเลเซีย
จังหวัดเตนินห์ได้รับการสนับสนุนจากนครโฮจิมินห์ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การส่งออกสินค้าและการบริการ
ปัจจุบัน จังหวัดเตนินห์เชิญชวนนักลงทุนต่างชาติด้านโครงสร้างพื้นฐาน การท่องเที่ยว โรงพยาบาล ปศุสัตว์ และการแปรรูปสินค้าเกษตร โดยนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในจังหวัดเตนินห์จะได้รับยกเว้นค่าเช่าที่ดินในช่วง 7-11 ปีแรกของการลงทุน และได้สิทธิเสียค่าเช่าที่ดินเพียงร้อยละ 30 ภายหลังระยะเวลาการได้รับยกเว้นค่าเช่าที่ดินสิ้นสุดลง
จังหวัดอัน ยาง (An Giang) เป็นจังหวัดชายแดนเวียดนาม-กัมพูชาอีกแห่งที่สำคัญ จังหวัดอัน ยาง มีพื้นที่ 3,424 ตารางกม. มีประชากร 2.1 ล้านคน และมีชายแดนติดกับกัมพูชายาว 90 กม. มีด่านชายแดนชายแดน 5 แห่ง โดยเป็นด่านระหว่างประเทศ 2 แห่ง ได้แก่ ด่านซง เตี่ยน (Song Tien) ที่อ. หวิน เซือง (Vinh Suong) ซึ่งเป็นด่านทางน้ำ และด่านติ่น เบียนห์ (Tinh Bien) ซึ่งเป็นด่านทางบก มีการขนส่งสินค้าเข้า-ออกอย่างคึกคัก รวมทั้ง มีตลาดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคจากไทย เช่น เครื่องสำอาง ผลไม้ ผงซักฟอก เสื้อผ้า อยู่ไม่ไกลจากด่าน
จังหวัดอัน ยาง เป็นจังหวัดเกษตรกรรมที่ผลิตข้าวได้มากที่สุดในบรรดาจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงเวียดนามทั้งหมด ทำให้สามารถส่งออกข้าว 3 ล้านตันต่อปี และมีการทำประมงอย่างกว้างขวาง โดยส่งออกปลาสวาย และปลาบาซา จำนวนมากถึง 150,000 ตันต่อปี นอกจากนี้ จังหวัดอัน ยาง ยังเป็นฐานการผลิตสินค้าส่งออกของเวียดนาม เช่น สินค้าหัตถกรรม อาหารสำเร็จรูป หิน รองเท้ากีฬา สิ่งทอ และแป้งมันสำปะหลัง จังหวัดอัน ยาง มีนิคมอุตสาหกรรม 5 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมบินห์ หล่อง (Binh Long) นิคมอุตสาหกรรมบินห์ ฮัว (Binh Hoa) นิคมอุตสาหกรรมวินห์ หมี (Vinh My) เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนตินห์ เบียน (Tinh Bien) และเขตเศรษฐกิจพิเศษวินห์ เซือง (Vinh Suong) ปัจจุบัน จังหวัดอัน ยาง เชิญชวนการลงทุนต่างชาติด้านปศุสัตว์ (สุกรและโคนม) ข้าว ข้าวโพด น้ำมันพืช ศูนย์การค้า การท่องเที่ยว การศึกษา และโครงสร้างพื้นฐาน และนักลงทุนต่างชาติจะได้รับสิทธิยกเว้นค่าธรรมเนียมภาษี 5-10 ปี
จังหวัดอัน ยาง มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ ซากอารยธรรมโบราณ อก แอว (Oc Eo) ซากอารยธรรม ถว่าย เซิน (Thuay Son)เจดีย์หลิน เซิน (Linh Son) เจดีย์ฮัว ถั่น (Hoa Thanh) วัดหล่ง ฮึง (Long Hung) ภูเขาตึก ดุบ (Tuc Dup) นักท่องเที่ยวทั้งชาวเวียดนามและชาวต่างชาติไปเยือนจังหวัดอัน ยาง ประมาณ 2 ล้านคนต่อปี และมีการออก visa on arrival ให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าด่านตินห์ เบียน ของจังหวัดอัน ยาง ด้วย
ปัจจุบัน ยังไม่มีการลงทุนจากไทยในจังหวัด เต นินห์ หรือจังหวัด อัน ยาง มากนัก โดยมีการลงทุนจากไทยด้านแป้งมันสำปะหลังที่จังหวัดเต นินห์ อย่างไรก็ดี โดยที่ทางการนครโฮจิมินห์ก็ให้การสนับสนุนร่วมพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและทรัพยกร
มนุษย์ของจังหวัดในภาคใต้เวียดนาม ตามนโยบายทางการรัฐบาลเวียดนาม การค้าขายและ
ลงทุนในจังหวัดชายแดนเวียดนามทั้งสองจังหวัดในข้างต้น จึงมีความน่าสนใจไม่น้อยสำหรับนักธุรกิจไทย โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับด้านความสะดวกสบายจากระบบการคมนาคมที่กำลังได้รับการพัฒนา ทรัพยากรทางธรรมชาติ แรงงานราคาต่ำ และสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนอื่นๆ ที่จังหวัดเต นินห์ และจังหวัดอัน ยาง พร้อมจะให้แก่นักลงทุนต่างชาติ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ในอดีต การค้าขายและขนส่งสินค้าระหว่างไทยและเวียดนามอาศัยเส้นทางถนนทางบกที่เชื่อมโยงภาคอีสานของไทย ผ่านกัมพูชา และเข้าสู่ภาคใต้เวียดนาม เนื่องจากเป็นเส้นทางการขนส่งที่มีระยะทางไม่ไกล และมีความสะดวกพอสมควรโดยใช้เวลาเดินทางทางรถยนต์เพียง 2 ชม. จึงส่งผลให้จังหวัดชายแดนเวียดนามในเส้นทางคมนาคมดังกล่าวมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจมีความสำคัญ และในบทความนี้ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ ขอเสนอข้อมูลที่น่าสนใจ 2 จังหวัด คือ
จังหวัดเตนินห์ (Tay Ninh) เป็นจังหวัดชายแดนเวียดนาม-กัมพูชา ที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง จังหวัดเตนินห์ มีพื้นที่ 4,028 ตารางกม. มีประชากร 1.03 ล้านคน มีดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น อ้อย ข้าวสาลี ถั่วลิสง ยางพารา จังหวัดเตนินห์ อยู่ติดกับนครโฮจิมินห์ และห่างจากกรุงพนมเปญเพียง 170 กม. และมีชายแดนติดกับกัมพูชายาว 240 กม. การเดินทางจากจังหวัดเตนินห์ ไปยังนครโฮจิมินห์ด้วยเส้นทางถนนสายเอเชีย (Trans-Asia Highway) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ South West Economic Corridor ความยาวถนนทั้งหมด 80 กม. ใช้เวลาไม่เกิน 2 ชม.
จังหวัดเตนินห์มีจุดผ่านแดนท้องถิ่น 14 แห่ง และมีด่านชายแดน 3 แห่ง โดยเป็นด่านระหว่างประเทศ 1 แห่ง ได้แก่ ด่านม๊อก บ่าย (Moc Bai) ซึ่งมีผู้คนและสินค้าผ่านเข้า-ออกเป็นจำนวนมาก ปริมาณสินค้าที่ผ่าน-เข้าออกด่านม๊อก บ่าย คิดเป็นร้อยละ 8.18 ของการค้าระหว่างเวียดนามและกัมพูชา สินค้าส่งออกไปกัมพูชาจากจังหวัดเตนินห์ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น สินค้าพลาสติก สิ่งทอ อาหารและข้าว และสินค้านำเข้าจากกัมพูชาได้แก่ ผลิตผลทางการเกษตร เช่น ถั่วเขียว งา และไม้ยาง ทั้งนี้ มีสินค้าของไทยประเภทเสื้อผ้า อาหาร ผลไม้และเครื่องดื่ม ผ่านเข้าด่านม๊อก บ่ายเป็นจำนวนมากด้วย ปริมาณนักท่องเที่ยวผ่านด่านชายแดนม๊อก บ่าย ซึ่งเป็นด่านระหว่างประเทศ
ระหว่างจังหวัดเตนินห์และกัมพูชา มีอัตราการขยายตัวประมาณ 35% ต่อปี จังหวัดเตนินห์มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูง โดยจังหวัดเตนินห์ เป็นที่ตั้งของอุโมงค์กู๋จี ซึ่งเป็นอุโมงค์ฐานบัญชาการใต้ดินของกองทัพเวียดนามเหนือในช่วงสงครามเวียดนาม มีวัดเก๋าได ของศาสนาเก๋าไดในเวียดนาม มีเขตป่าสงวนเขาบ่า แดง (Ba Dang) และอ่างเก็บน้ำที่เยิวเตี๊ยน (Yeu Tien)
จังหวัดเตนินห์มีนิคมอุตสาหกรรม 2 แห่ง ได้แก่นิคมอุตสาหกรรม จ่าง บั๋ง (Trang Bang) กับเขตเศรษฐกิจชายแดนด่านม๊อก บ่าย และกำลังจะก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มเติมอีก 9 แห่ง รวมทั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนด่านซา มั๊ต (Xa Mat) ปัจจุบัน มีโครงการการลงทุนทั้งหมด 60 โครงการในจังหวัดเตนินห์ รวมมูลค่าการลงทุนทั้งหมด 144 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นักลงทุนส่วนใหญ่ไปจากเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฝรั่งเศส อินเดีย และมาเลเซีย
จังหวัดเตนินห์ได้รับการสนับสนุนจากนครโฮจิมินห์ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การส่งออกสินค้าและการบริการ
ปัจจุบัน จังหวัดเตนินห์เชิญชวนนักลงทุนต่างชาติด้านโครงสร้างพื้นฐาน การท่องเที่ยว โรงพยาบาล ปศุสัตว์ และการแปรรูปสินค้าเกษตร โดยนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในจังหวัดเตนินห์จะได้รับยกเว้นค่าเช่าที่ดินในช่วง 7-11 ปีแรกของการลงทุน และได้สิทธิเสียค่าเช่าที่ดินเพียงร้อยละ 30 ภายหลังระยะเวลาการได้รับยกเว้นค่าเช่าที่ดินสิ้นสุดลง
จังหวัดอัน ยาง (An Giang) เป็นจังหวัดชายแดนเวียดนาม-กัมพูชาอีกแห่งที่สำคัญ จังหวัดอัน ยาง มีพื้นที่ 3,424 ตารางกม. มีประชากร 2.1 ล้านคน และมีชายแดนติดกับกัมพูชายาว 90 กม. มีด่านชายแดนชายแดน 5 แห่ง โดยเป็นด่านระหว่างประเทศ 2 แห่ง ได้แก่ ด่านซง เตี่ยน (Song Tien) ที่อ. หวิน เซือง (Vinh Suong) ซึ่งเป็นด่านทางน้ำ และด่านติ่น เบียนห์ (Tinh Bien) ซึ่งเป็นด่านทางบก มีการขนส่งสินค้าเข้า-ออกอย่างคึกคัก รวมทั้ง มีตลาดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคจากไทย เช่น เครื่องสำอาง ผลไม้ ผงซักฟอก เสื้อผ้า อยู่ไม่ไกลจากด่าน
จังหวัดอัน ยาง เป็นจังหวัดเกษตรกรรมที่ผลิตข้าวได้มากที่สุดในบรรดาจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงเวียดนามทั้งหมด ทำให้สามารถส่งออกข้าว 3 ล้านตันต่อปี และมีการทำประมงอย่างกว้างขวาง โดยส่งออกปลาสวาย และปลาบาซา จำนวนมากถึง 150,000 ตันต่อปี นอกจากนี้ จังหวัดอัน ยาง ยังเป็นฐานการผลิตสินค้าส่งออกของเวียดนาม เช่น สินค้าหัตถกรรม อาหารสำเร็จรูป หิน รองเท้ากีฬา สิ่งทอ และแป้งมันสำปะหลัง จังหวัดอัน ยาง มีนิคมอุตสาหกรรม 5 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมบินห์ หล่อง (Binh Long) นิคมอุตสาหกรรมบินห์ ฮัว (Binh Hoa) นิคมอุตสาหกรรมวินห์ หมี (Vinh My) เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนตินห์ เบียน (Tinh Bien) และเขตเศรษฐกิจพิเศษวินห์ เซือง (Vinh Suong) ปัจจุบัน จังหวัดอัน ยาง เชิญชวนการลงทุนต่างชาติด้านปศุสัตว์ (สุกรและโคนม) ข้าว ข้าวโพด น้ำมันพืช ศูนย์การค้า การท่องเที่ยว การศึกษา และโครงสร้างพื้นฐาน และนักลงทุนต่างชาติจะได้รับสิทธิยกเว้นค่าธรรมเนียมภาษี 5-10 ปี
จังหวัดอัน ยาง มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ ซากอารยธรรมโบราณ อก แอว (Oc Eo) ซากอารยธรรม ถว่าย เซิน (Thuay Son)เจดีย์หลิน เซิน (Linh Son) เจดีย์ฮัว ถั่น (Hoa Thanh) วัดหล่ง ฮึง (Long Hung) ภูเขาตึก ดุบ (Tuc Dup) นักท่องเที่ยวทั้งชาวเวียดนามและชาวต่างชาติไปเยือนจังหวัดอัน ยาง ประมาณ 2 ล้านคนต่อปี และมีการออก visa on arrival ให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าด่านตินห์ เบียน ของจังหวัดอัน ยาง ด้วย
ปัจจุบัน ยังไม่มีการลงทุนจากไทยในจังหวัด เต นินห์ หรือจังหวัด อัน ยาง มากนัก โดยมีการลงทุนจากไทยด้านแป้งมันสำปะหลังที่จังหวัดเต นินห์ อย่างไรก็ดี โดยที่ทางการนครโฮจิมินห์ก็ให้การสนับสนุนร่วมพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและทรัพยกร
มนุษย์ของจังหวัดในภาคใต้เวียดนาม ตามนโยบายทางการรัฐบาลเวียดนาม การค้าขายและ
ลงทุนในจังหวัดชายแดนเวียดนามทั้งสองจังหวัดในข้างต้น จึงมีความน่าสนใจไม่น้อยสำหรับนักธุรกิจไทย โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับด้านความสะดวกสบายจากระบบการคมนาคมที่กำลังได้รับการพัฒนา ทรัพยากรทางธรรมชาติ แรงงานราคาต่ำ และสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนอื่นๆ ที่จังหวัดเต นินห์ และจังหวัดอัน ยาง พร้อมจะให้แก่นักลงทุนต่างชาติ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-