ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ครม. เห็นชอบในหลักการร่าง พรบ.สถาบันประกันเงินฝาก นางศันสนีย์ นาคพงศ์ รองโฆษก
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการร่าง พรบ.สถาบันประกันเงินฝากตามที่ ก.
คลังเสนอ โดยให้ส่ง สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา พร้อมรับข้อสังเกตของ สนง.ศาลยุติธรรม ก.พาณิชย์
สำนักงบประมาณ สศช. และ ก.ยุติธรรม ไปพิจารณาประกอบ หลังจากนั้น ให้ส่งคณะกรรมการประสานงาน
พรรคร่วมรัฐบาลพิจารณา เพื่อเสนอเข้าสภาผู้แทนราษฎรในสมัยหน้าพิจารณาต่อไป โดยจะจัดตั้งด้วยทุนประเดิมจาก
รัฐบาลไม่เกิน 1 พันล้านบาท หลังจัดตั้งสมบูรณ์แล้วจะยกเลิกกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
โดยให้สถาบันเรียกเก็บเบี้ยประกันจากสมาชิกไม่เกินร้อยละ 1 ของยอดเงินฝากเฉลี่ยในช่วงระยะเวลา 1 ปี ซึ่ง
กรรมการจะกำหนดอีกครั้งผ่านความเห็นชอบของ ครม. รวมถึงมีอำนาจให้สมาชิกยื่นรายงานลับตามระยะเวลาหรือ
เป็นครั้งคราวได้ และร้องขอให้ ธปท. หรือหน่วยงานอื่นที่กำกับดูแลตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์และหนี้สินของ
สมาชิกได้ ทั้งนี้ สถาบันประกันเงินฝากจะเริ่มดำเนินการประมาณปลายปี 2548 (โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์,
ผู้จัดการรายวัน)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ต.ค.47 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 นางอมรา ศรีพยัคฆ์
ผอ.สายนโยบายการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ธปท. เป็นห่วงว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว หลังจากติดตามดูข้อมูลการใช้
กำลังการผลิตที่มีการขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดการใช้กำลังการผลิตเดือน ก.ย.47 อยู่ที่ระดับร้อยละ 69.9
และเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 74.6 แต่ยังไม่เกิดการลงทุนใหม่ ซึ่งภาวะดังกล่าวน่าจะมีสาเหตุมา
จากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ต.ค.47 อยู่ที่ระดับ 47.4 ลด
ลงติดต่อเป็นเดือนที่ 6 ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การลงทุนไม่เพิ่มอาจจะเป็นเพราะการบริโภคภายในประเทศลดลง
เรื่อย ๆ โดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชนลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาส 2 ปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ไตรมาส 3 อยู่ที่
ร้อยละ 3.8 ล่าสุดเดือน ต.ค.47 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ต.ค.47 ดัชนีชี้วัดที่สำคัญส่วน
ใหญ่แสดงการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ส่วนการใช้จ่ายภายในประเทศชะลอลงเช่นกัน โดยดัชนีการบริโภคภาค
เอกชนมีอัตราลดลงเป็นร้อยละ 2.1 จากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 3.5 ด้านดัชนีการลงทุนภาคเอกชนก็ลดลงเป็นร้อยละ 3.9
จากร้อยละ 8.9 ในเดือนก่อนหน้า สำหรับภาคการคลังรัฐบาลมีรายได้ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 22.9 แต่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 ทำให้ดุลใน งปม.ขาดดุล 3.6 หมื่นล้านบาท ดุลนอก งปม.เกิน
ดุล 2.47 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเบิกเงินจาก งปม. มาพักไว้ที่เงินนอก งปม. แล้วเบิกจ่ายไม่หมด รัฐบาลจึง
ขาดดุลเงินสด 1.13 หมื่นล้านบาท ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 3.5 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.6 สำหรับการส่งออก
เดือน ต.ค.47 มีมูลค่ารวมสูงเป็นประวัติการณ์ จำนวน 8,909 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 ด้านการ
นำเข้ามีมูลค่า 8,257 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงร้อยละ 15.2 (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค.47 ปรับตัวดีขึ้น นายสันติ วิลาสศักดานนท์ รอง
ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยเดือน ต.ค.47
อยู่ที่ระดับ 104.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 102.2 ในเดือน ก.ย.47 เป็นผลมาจากยอดคำสั่งซื้อสินค้าทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ ยอดขาย กำไรสุทธิ และปริมาณการผลิต เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น ประกอบกับปัญหาต้นทุนการผลิตด้านพลังงาน
และราคาวัตถุดิบหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นฯ โดยจำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม
เปรียบเทียบระหว่างเดือน ก.ย. กับ เดือน ต.ค.47 มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น 16 กลุ่ม และปรับตัวลดลง 14 กลุ่ม
ส่วนแนวโน้มในปีหน้ายังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะปัญหาราคาน้ำมัน และค่าเงินบาที่แข็งตัวขึ้น รวมถึงผลกระทบจาก
การจัดตั้งเขตการค้าเสรีกับหลายประเทศ ทำให้มีสินค้าจากประเทศคู่ค้าเข้ามาเป็นคู่แข่งกับผู้ประกอบการไทย
ดังนั้น รัฐบาลควรเข้ามาดูแลผู้ประกอบการธุรกิจรายเล็กและผู้ประกอบการด้านสินค้าการเกษตร เนื่องจากสินค้า
เหล่านี้มักถูกกีดกันโดยมาตรการอื่นที่ไม่ใช่ภาษี (โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า, ข่าวสด)
4. ก.คลังกำหนดกรอบการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัด ก.คลัง เปิด
เผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกำกับการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐว่า ที่ประชุมได้หารือเพื่อเตรียม
ความพร้อมและกำหนดกรอบดูแลการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท ภายในปี 2551 ซึ่ง
ต้องกำหนดรายละเอียดและแผนการลงทุนให้รอบคอบ โดย ก.คลังจะเป็นผู้กำกับดูแลไม่ให้การลงทุนของแต่ละหน่วย
งานที่เกี่ยวข้องมีผลกระทบต่อภาระหนี้สาธารณะของประเทศ ที่ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2551 จะอยู่ในระดับร้อยละ 35
ของจีดีพี โดยการลงทุนจะไม่มีการดำเนินการด้วยวิธีการพิเศษแต่อย่างใด แต่จะเป็นไปตามขั้นตอนของการลงทุน
ทุกด้าน ซึ่งแต่ละโครงการต้องผ่านการพิจารณาของ สนง.คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือต้อง
ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. หรือหน่วยงานอื่น ๆ ใด ก็ต้องทำตามขั้นตอนทุกอย่าง ไม่มีการลัดขั้นตอน ทั้งนี้ ก.
คลังประเมินว่าหากรัฐจะลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ตามแผน 4 ปี (2548 — 2551) คาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนสูง
ถึง 1.5 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 3.5 แสนล้านบาท (ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. OECD เห็นว่าธ.กลางสรอ.ควรจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกขณะที่ยูโรโซนควรจะคงอัตราดอกเบี้ย
ต่อไป รายงานจากปารีสเมื่อวันที่ 30 พ.ย 47 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการพัฒนา (OECD)
เผยแพร่รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจงวดครึ่งปี ซึ่งมีการคาดคะเนว่า ในไตรมาสที่ 1 ปี 48 ธ.กลางสรอ.น่าจะปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งเพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อขณะที่ยูโรโซนควรจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่
ระดับเดิม ส่วนญี่ปุ่นควรจะเข้มงวดกับนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำใกล้ศูนย์ต่อไป ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายของญี่ปุ่นควร
จะเริ่มเป็นปกติหลังจากที่อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นมีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ที่ผ่านมา ธ.กลาง สรอ.ได้ปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว 4 ครั้งในปี นี้ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจในภาพรวมดีขึ้น ดังนั้นการปรับเพิ่มครั้งต่อไปต้อง
ประกันได้ว่าจะเป็นการปรับเพิ่มในอัตราที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ระดับร้อยละ 3.3
ในปี 48 และร้อยละ 3.6 ในปี 49 ทั้งนี้คาดว่า อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของสรอ.จะถึงร้อยละ 4.0 ในราว
ปลายปี 49 (รอยเตอร์)
2. เดือน พ.ย.47 Economic Sentiment Index และ Business Climate Indicator
ของ Euro Zoneปรับตัวลดลง ขณะที่สถานการณ์ภาวะเงินเฟ้อเริ่มผ่อนคลาย รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 30 พ.ย.47
The European Commission เปิดเผยว่า Economic Sentiment Index ของเขตเศรษฐกิจยุโรป
(Euro Zone) ในเดือน พ.ย.47 ลดลงที่ระดับ 100.8 จากระดับ 101.3 ในเดือนก่อน เป็นผลจาก Service
Sector Index ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.47 ที่ระดับ 10 จากระดับ 12 ในเดือน
ก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการในภาคบริการมีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ธุรกิจในปัจจุบันและแนวโน้มในระยะต่อไปไม่ดี
เท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ส่วนประกอบอื่นๆ ของ Economic Sentiment Index ยังคงมีทิศทางที่ดี โดย The
Consumer Sentiment Index ปรับตัวดีขึ้นเป็น —13 จาก —14 ในเดือนก่อน เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อ
ภาวะการออมของตนและแนวโน้มการออมในอนาคตในทางที่ดีขึ้น รวมทั้ง Industrial Confidence Index ก็
ทรงตัวอยู่ที่ระดับ —3 เป็นเวลา 3 เดือนต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน Business Climate Indicator ในเดือน พ.ย.47
ลดลงเช่นกันที่ระดับ 0.39 จากระดับ 0.51 ในเดือนก่อน นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนตั้งแต่เดือน พ.ค.47
เป็นผลจากดัชนีฯ ที่เป็นส่วนประกอบทุกตัวลดลง อย่างไรก็ตาม จากการที่สถานการณ์ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง
เป็นปัจจัยสนับสนุนให้สถานการณ์ภาวะเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปผ่อนคลายลง โดยดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็น
ปัจจัยชี้วัดภาวะเงินเฟ้อขยายตัวลดลงที่ระดับร้อยละ 2.2 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นไป
ตามความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ และใกล้เคียงกับระดับเป้าหมายของ The European Central Bank
ซึ่งกำหนดอัตราการขยายตัวไว้ที่ร้อยละ 2 (รอยเตอร์)
3. ยอดขายปลีกของอังกฤษในเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 เดือน รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 30 พ.ย.47 The Confederation of British Industry’s distributive trades เปิดเผยผล
สำรวจว่า ร้อยละ 43 ของผู้ประกอบการขายปลีกเห็นว่ายอดการขายปลีกของอังกฤษในเดือน พ.ย.47 จะเพิ่มขึ้น
ขณะที่ร้อยละ 24 เห็นว่าชะลอตัวลง โดยยอดการขายปลีกในเดือน พ.ย.47 จะเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 เดือน (ก.ค.47)
อยู่ที่ร้อยละ +19 หลังจากที่อยู่ที่ระดับ + 11 ในเดือนก่อน และอยู่ในระดับที่ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ +9
เนื่องจากผู้ประกอบการขายปลีกปรับลดราคาอย่างต่อเนื่องเพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อ ทั้งนี้ แนวโน้มยอดการขายปลีกเริ่มปรับ
เพิ่มสูงขึ้นหลังจากลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อ 4 เดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงเป็นระดับที่ห่างไกลจากระดับเมื่อช่วง
ต้นปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เจ้าของร้านค้าปลีกคาดว่าในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ในปีนี้จะมียอดขายเพียงเล็กน้อย โดยคาดว่า
จะมียอดขายในเดือน ธ.ค.ลดลงอยู่ที่ระดับ +9 จากระดับ +12 ในเดือนก่อน ซึ่งผู้ขายปลีกพยายามจะส่งเสริม
การขายในช่วงเทศกาลคริสมาสต์นี้ เนื่องจากผู้บริโภคไม่เต็มใจที่จะจับจ่ายใช้สอยเท่าใดนักจากภาวะอัตราดอกเบี้ย
ที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งความกังวลด้านเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.47 ลดลงร้อยละ 1.6 จากเดือนก่อนสร้างความกังวล
ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังชะลอตัว รายงานจากโตเกียว เมื่อ 30 พ.ย.47 ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.47
ลดลงร้อยละ 1.6 จากเดือนก่อน จากที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ผลจากความต้องการชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือและทีวีจอแบนในตลาดโลกลดลง ส่งผลให้ปริมาณสินค้าคงคลังของชิ้น
ส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 จากเดือนก่อนและอยู่ในระดับสูงกว่าปีก่อนถึงร้อยละ 36.4 ชี้ให้เห็นว่า
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังมีปัญหาในการปรับตัวเมื่อความต้องการลดลง อย่างไรก็ดีทั้งรัฐบาลญี่ปุ่นและองค์การเพื่อ
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ OECD ให้ความเห็นว่าผลผลิตที่ลดลงในเดือน ต.ค.47 เนื่องจากอยู่ใน
ช่วงปรับตัวก่อนที่จะเพิ่มขึ้น โดย OECD คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 4.0 ในปีนี้ก่อนที่จะชะลอตัวเหลือ
ร้อยละ 2.1 และ 2.3 ในปี 2005 และ 2006 ตามลำดับ ในขณะที่ผลสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการ
อุตสาหกรรมคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.47 จะขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบ 16 เดือนเมื่อคำสั่งซื้อ
จากต่างประเทศโดยเฉพาะจีนลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงกลางปี 46 เช่นเดียวกับดัชนี PMI สำหรับเดือน พ.ย.47
ซึ่งได้จากความเห็นของผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อของบริษัทต่าง ๆ ลดลงอยู่ที่ระดับ 51.3 จากระดับ 52.9 ในเดือน ต.ค.47
และอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.46 ทำให้เกิดคำถามว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวต่อเนื่องอย่างมีเสถียรภาพไปถึง
ปีหน้าหรือไม่ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 1 ธ.ค.47 30 พ.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.536 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.3696/39.6519 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.7500-1.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 656.73/ 27.25 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,400/8,500 8,400/8,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.39 36.46 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.19*/14.59 21.19/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 19 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ครม. เห็นชอบในหลักการร่าง พรบ.สถาบันประกันเงินฝาก นางศันสนีย์ นาคพงศ์ รองโฆษก
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการร่าง พรบ.สถาบันประกันเงินฝากตามที่ ก.
คลังเสนอ โดยให้ส่ง สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา พร้อมรับข้อสังเกตของ สนง.ศาลยุติธรรม ก.พาณิชย์
สำนักงบประมาณ สศช. และ ก.ยุติธรรม ไปพิจารณาประกอบ หลังจากนั้น ให้ส่งคณะกรรมการประสานงาน
พรรคร่วมรัฐบาลพิจารณา เพื่อเสนอเข้าสภาผู้แทนราษฎรในสมัยหน้าพิจารณาต่อไป โดยจะจัดตั้งด้วยทุนประเดิมจาก
รัฐบาลไม่เกิน 1 พันล้านบาท หลังจัดตั้งสมบูรณ์แล้วจะยกเลิกกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
โดยให้สถาบันเรียกเก็บเบี้ยประกันจากสมาชิกไม่เกินร้อยละ 1 ของยอดเงินฝากเฉลี่ยในช่วงระยะเวลา 1 ปี ซึ่ง
กรรมการจะกำหนดอีกครั้งผ่านความเห็นชอบของ ครม. รวมถึงมีอำนาจให้สมาชิกยื่นรายงานลับตามระยะเวลาหรือ
เป็นครั้งคราวได้ และร้องขอให้ ธปท. หรือหน่วยงานอื่นที่กำกับดูแลตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์และหนี้สินของ
สมาชิกได้ ทั้งนี้ สถาบันประกันเงินฝากจะเริ่มดำเนินการประมาณปลายปี 2548 (โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์,
ผู้จัดการรายวัน)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ต.ค.47 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 นางอมรา ศรีพยัคฆ์
ผอ.สายนโยบายการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ธปท. เป็นห่วงว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว หลังจากติดตามดูข้อมูลการใช้
กำลังการผลิตที่มีการขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดการใช้กำลังการผลิตเดือน ก.ย.47 อยู่ที่ระดับร้อยละ 69.9
และเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 74.6 แต่ยังไม่เกิดการลงทุนใหม่ ซึ่งภาวะดังกล่าวน่าจะมีสาเหตุมา
จากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ต.ค.47 อยู่ที่ระดับ 47.4 ลด
ลงติดต่อเป็นเดือนที่ 6 ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การลงทุนไม่เพิ่มอาจจะเป็นเพราะการบริโภคภายในประเทศลดลง
เรื่อย ๆ โดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชนลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาส 2 ปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ไตรมาส 3 อยู่ที่
ร้อยละ 3.8 ล่าสุดเดือน ต.ค.47 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ต.ค.47 ดัชนีชี้วัดที่สำคัญส่วน
ใหญ่แสดงการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ส่วนการใช้จ่ายภายในประเทศชะลอลงเช่นกัน โดยดัชนีการบริโภคภาค
เอกชนมีอัตราลดลงเป็นร้อยละ 2.1 จากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 3.5 ด้านดัชนีการลงทุนภาคเอกชนก็ลดลงเป็นร้อยละ 3.9
จากร้อยละ 8.9 ในเดือนก่อนหน้า สำหรับภาคการคลังรัฐบาลมีรายได้ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 22.9 แต่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 ทำให้ดุลใน งปม.ขาดดุล 3.6 หมื่นล้านบาท ดุลนอก งปม.เกิน
ดุล 2.47 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเบิกเงินจาก งปม. มาพักไว้ที่เงินนอก งปม. แล้วเบิกจ่ายไม่หมด รัฐบาลจึง
ขาดดุลเงินสด 1.13 หมื่นล้านบาท ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 3.5 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.6 สำหรับการส่งออก
เดือน ต.ค.47 มีมูลค่ารวมสูงเป็นประวัติการณ์ จำนวน 8,909 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 ด้านการ
นำเข้ามีมูลค่า 8,257 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงร้อยละ 15.2 (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค.47 ปรับตัวดีขึ้น นายสันติ วิลาสศักดานนท์ รอง
ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยเดือน ต.ค.47
อยู่ที่ระดับ 104.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 102.2 ในเดือน ก.ย.47 เป็นผลมาจากยอดคำสั่งซื้อสินค้าทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ ยอดขาย กำไรสุทธิ และปริมาณการผลิต เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น ประกอบกับปัญหาต้นทุนการผลิตด้านพลังงาน
และราคาวัตถุดิบหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นฯ โดยจำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม
เปรียบเทียบระหว่างเดือน ก.ย. กับ เดือน ต.ค.47 มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น 16 กลุ่ม และปรับตัวลดลง 14 กลุ่ม
ส่วนแนวโน้มในปีหน้ายังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะปัญหาราคาน้ำมัน และค่าเงินบาที่แข็งตัวขึ้น รวมถึงผลกระทบจาก
การจัดตั้งเขตการค้าเสรีกับหลายประเทศ ทำให้มีสินค้าจากประเทศคู่ค้าเข้ามาเป็นคู่แข่งกับผู้ประกอบการไทย
ดังนั้น รัฐบาลควรเข้ามาดูแลผู้ประกอบการธุรกิจรายเล็กและผู้ประกอบการด้านสินค้าการเกษตร เนื่องจากสินค้า
เหล่านี้มักถูกกีดกันโดยมาตรการอื่นที่ไม่ใช่ภาษี (โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า, ข่าวสด)
4. ก.คลังกำหนดกรอบการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัด ก.คลัง เปิด
เผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกำกับการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐว่า ที่ประชุมได้หารือเพื่อเตรียม
ความพร้อมและกำหนดกรอบดูแลการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท ภายในปี 2551 ซึ่ง
ต้องกำหนดรายละเอียดและแผนการลงทุนให้รอบคอบ โดย ก.คลังจะเป็นผู้กำกับดูแลไม่ให้การลงทุนของแต่ละหน่วย
งานที่เกี่ยวข้องมีผลกระทบต่อภาระหนี้สาธารณะของประเทศ ที่ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2551 จะอยู่ในระดับร้อยละ 35
ของจีดีพี โดยการลงทุนจะไม่มีการดำเนินการด้วยวิธีการพิเศษแต่อย่างใด แต่จะเป็นไปตามขั้นตอนของการลงทุน
ทุกด้าน ซึ่งแต่ละโครงการต้องผ่านการพิจารณาของ สนง.คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือต้อง
ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. หรือหน่วยงานอื่น ๆ ใด ก็ต้องทำตามขั้นตอนทุกอย่าง ไม่มีการลัดขั้นตอน ทั้งนี้ ก.
คลังประเมินว่าหากรัฐจะลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ตามแผน 4 ปี (2548 — 2551) คาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนสูง
ถึง 1.5 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 3.5 แสนล้านบาท (ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. OECD เห็นว่าธ.กลางสรอ.ควรจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกขณะที่ยูโรโซนควรจะคงอัตราดอกเบี้ย
ต่อไป รายงานจากปารีสเมื่อวันที่ 30 พ.ย 47 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการพัฒนา (OECD)
เผยแพร่รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจงวดครึ่งปี ซึ่งมีการคาดคะเนว่า ในไตรมาสที่ 1 ปี 48 ธ.กลางสรอ.น่าจะปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งเพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อขณะที่ยูโรโซนควรจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่
ระดับเดิม ส่วนญี่ปุ่นควรจะเข้มงวดกับนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำใกล้ศูนย์ต่อไป ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายของญี่ปุ่นควร
จะเริ่มเป็นปกติหลังจากที่อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นมีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ที่ผ่านมา ธ.กลาง สรอ.ได้ปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว 4 ครั้งในปี นี้ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจในภาพรวมดีขึ้น ดังนั้นการปรับเพิ่มครั้งต่อไปต้อง
ประกันได้ว่าจะเป็นการปรับเพิ่มในอัตราที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ระดับร้อยละ 3.3
ในปี 48 และร้อยละ 3.6 ในปี 49 ทั้งนี้คาดว่า อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของสรอ.จะถึงร้อยละ 4.0 ในราว
ปลายปี 49 (รอยเตอร์)
2. เดือน พ.ย.47 Economic Sentiment Index และ Business Climate Indicator
ของ Euro Zoneปรับตัวลดลง ขณะที่สถานการณ์ภาวะเงินเฟ้อเริ่มผ่อนคลาย รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 30 พ.ย.47
The European Commission เปิดเผยว่า Economic Sentiment Index ของเขตเศรษฐกิจยุโรป
(Euro Zone) ในเดือน พ.ย.47 ลดลงที่ระดับ 100.8 จากระดับ 101.3 ในเดือนก่อน เป็นผลจาก Service
Sector Index ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.47 ที่ระดับ 10 จากระดับ 12 ในเดือน
ก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการในภาคบริการมีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ธุรกิจในปัจจุบันและแนวโน้มในระยะต่อไปไม่ดี
เท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ส่วนประกอบอื่นๆ ของ Economic Sentiment Index ยังคงมีทิศทางที่ดี โดย The
Consumer Sentiment Index ปรับตัวดีขึ้นเป็น —13 จาก —14 ในเดือนก่อน เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อ
ภาวะการออมของตนและแนวโน้มการออมในอนาคตในทางที่ดีขึ้น รวมทั้ง Industrial Confidence Index ก็
ทรงตัวอยู่ที่ระดับ —3 เป็นเวลา 3 เดือนต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน Business Climate Indicator ในเดือน พ.ย.47
ลดลงเช่นกันที่ระดับ 0.39 จากระดับ 0.51 ในเดือนก่อน นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนตั้งแต่เดือน พ.ค.47
เป็นผลจากดัชนีฯ ที่เป็นส่วนประกอบทุกตัวลดลง อย่างไรก็ตาม จากการที่สถานการณ์ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง
เป็นปัจจัยสนับสนุนให้สถานการณ์ภาวะเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปผ่อนคลายลง โดยดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็น
ปัจจัยชี้วัดภาวะเงินเฟ้อขยายตัวลดลงที่ระดับร้อยละ 2.2 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นไป
ตามความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ และใกล้เคียงกับระดับเป้าหมายของ The European Central Bank
ซึ่งกำหนดอัตราการขยายตัวไว้ที่ร้อยละ 2 (รอยเตอร์)
3. ยอดขายปลีกของอังกฤษในเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 เดือน รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 30 พ.ย.47 The Confederation of British Industry’s distributive trades เปิดเผยผล
สำรวจว่า ร้อยละ 43 ของผู้ประกอบการขายปลีกเห็นว่ายอดการขายปลีกของอังกฤษในเดือน พ.ย.47 จะเพิ่มขึ้น
ขณะที่ร้อยละ 24 เห็นว่าชะลอตัวลง โดยยอดการขายปลีกในเดือน พ.ย.47 จะเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 เดือน (ก.ค.47)
อยู่ที่ร้อยละ +19 หลังจากที่อยู่ที่ระดับ + 11 ในเดือนก่อน และอยู่ในระดับที่ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ +9
เนื่องจากผู้ประกอบการขายปลีกปรับลดราคาอย่างต่อเนื่องเพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อ ทั้งนี้ แนวโน้มยอดการขายปลีกเริ่มปรับ
เพิ่มสูงขึ้นหลังจากลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อ 4 เดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงเป็นระดับที่ห่างไกลจากระดับเมื่อช่วง
ต้นปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เจ้าของร้านค้าปลีกคาดว่าในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ในปีนี้จะมียอดขายเพียงเล็กน้อย โดยคาดว่า
จะมียอดขายในเดือน ธ.ค.ลดลงอยู่ที่ระดับ +9 จากระดับ +12 ในเดือนก่อน ซึ่งผู้ขายปลีกพยายามจะส่งเสริม
การขายในช่วงเทศกาลคริสมาสต์นี้ เนื่องจากผู้บริโภคไม่เต็มใจที่จะจับจ่ายใช้สอยเท่าใดนักจากภาวะอัตราดอกเบี้ย
ที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งความกังวลด้านเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.47 ลดลงร้อยละ 1.6 จากเดือนก่อนสร้างความกังวล
ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังชะลอตัว รายงานจากโตเกียว เมื่อ 30 พ.ย.47 ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.47
ลดลงร้อยละ 1.6 จากเดือนก่อน จากที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ผลจากความต้องการชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือและทีวีจอแบนในตลาดโลกลดลง ส่งผลให้ปริมาณสินค้าคงคลังของชิ้น
ส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 จากเดือนก่อนและอยู่ในระดับสูงกว่าปีก่อนถึงร้อยละ 36.4 ชี้ให้เห็นว่า
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังมีปัญหาในการปรับตัวเมื่อความต้องการลดลง อย่างไรก็ดีทั้งรัฐบาลญี่ปุ่นและองค์การเพื่อ
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ OECD ให้ความเห็นว่าผลผลิตที่ลดลงในเดือน ต.ค.47 เนื่องจากอยู่ใน
ช่วงปรับตัวก่อนที่จะเพิ่มขึ้น โดย OECD คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 4.0 ในปีนี้ก่อนที่จะชะลอตัวเหลือ
ร้อยละ 2.1 และ 2.3 ในปี 2005 และ 2006 ตามลำดับ ในขณะที่ผลสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการ
อุตสาหกรรมคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.47 จะขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบ 16 เดือนเมื่อคำสั่งซื้อ
จากต่างประเทศโดยเฉพาะจีนลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงกลางปี 46 เช่นเดียวกับดัชนี PMI สำหรับเดือน พ.ย.47
ซึ่งได้จากความเห็นของผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อของบริษัทต่าง ๆ ลดลงอยู่ที่ระดับ 51.3 จากระดับ 52.9 ในเดือน ต.ค.47
และอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.46 ทำให้เกิดคำถามว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวต่อเนื่องอย่างมีเสถียรภาพไปถึง
ปีหน้าหรือไม่ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 1 ธ.ค.47 30 พ.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.536 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.3696/39.6519 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.7500-1.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 656.73/ 27.25 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,400/8,500 8,400/8,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.39 36.46 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.19*/14.59 21.19/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 19 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--