ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลังตั้งคณะกรรมการพิเศษพิจารณา บง.-บค. ขอยกฐานะเป็น ธ.พาณิชย์ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รมว.คลัง เปิดเผยว่า คณะกรรมการกลั่นกรองพิเศษที่ ก.คลังตั้งขึ้นจะมี นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัด ก.คลัง
เป็นประธาน มีกรรมการประกอบด้วย นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ที่ปรึกษา รมว.คลัง นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา
อธิบดีกรมบัญชีกลาง และ นายนริศ ชัยสูตร ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง ทำหน้าที่ช่วยกลั่นกรองรายชื่อ
สถาบันการเงินที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการชุดของ ธปท. ส่งมาให้ ก.คลังอนุมัติ ซึ่งการตั้งคณะกรรมการ
ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งจะทำให้เกิดความรอบคอบ เนื่องจาก บง. และ บค. ที่ขอยกฐานะเป็นธนาคารเต็มรูป
แบบและธนาคารรายย่อยมีจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดความโปร่งใส เนื่องจากระบบเดิมเมื่อ ธปท. ส่ง
เรื่องมายัง รมว.คลังก็จะลงนามอนุมัติทันที ซึ่งขณะนี้มีรายชื่อส่งมายัง ก.คลังแล้ว 2-3 ราย และคาดว่าจะ
พิจารณาเสร็จภายใน 2-3 สัปดาห์ (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. เตือนผู้ส่งออกทำ Forward ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงนี้ผู้ส่งออกควรซื้อประกันความเสี่ยงล่วงหน้า
(Forward) ในขณะที่ความผันผวนของค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาเกิดจากการที่ สรอ. พยายามแก้ไขการ
ขาดดุลการค้าโดยให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนลง ในส่วนของ ธปท. ก็ต้องติดตามดูค่าเงินบาทว่าตลาดจะปรับ
ตัวอย่างไร ซึ่งค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างค่าเงินสกุลหลักตลอดเวลา การที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยใน
ขณะนี้ยังไม่กระทบต่อการค้าและการส่งออกของไทย หากมองด้านความสามารถในการแข่งขันทางการค้าจากค่าเงินบาท
จะเห็นว่าเงินบาทยังช่วยรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ได้ โดยวัดจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่แท้จริง
(REER) ยังอยู่ในระดับเดิม เพราะค่าเงินบาทปรับตัวไปพร้อมกับตลาดในทิศทางเดียวกัน ซึ่ง ธปท. จะจับตา
ดูแลอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด ส่วนเงินทุนที่ไหลเข้ามาไม่ได้เข้ามาเพื่อเก็งกำไร ส่วนใหญ่จะเป็นเงินดี แต่จะ
เป็นเงินทุนระยะสั้นหรือระยะยาวต้องติดตามดูต่อไป (โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. ธปท. ให้ BIBF ประเภท Out-Out ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องร้อยละ 6 ดร.ธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท. กำหนดให้กิจการวิเทศธนกิจ (BIBF)
เพื่อการให้กู้ยืมในต่างประเทศ (Out-Out) ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องสำหรับยอดรวมเงินฝากและเงินกู้ยืมจากต่าง
ประเทศในอัตราร้อยละ 6 ของเงินฝากทั้งหมดและเงินกู้ยืมจากต่างประเทศ โดยคิดจากบัญชีผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ
ที่อาจถอนได้ใน 1 ปี หรือเงินกู้ยืมที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี รวมทั้งเงินจาก สนง.ใหญ่ที่โอนมายังสาขาในประเทศ
ไทย ทั้งนี้ การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าวต้องดำรงเงินสดที่ ธปท. ร้อยละ 0.8 และที่ศูนย์เงินสดอีกร้อย
ละ 0.2 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 5 ให้ดำรงสินทรัพย์เป็นพันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรและหุ้นกู้ของรัฐวิสาหกิจ มีผล
ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.47 ซึ่งการที่ ธปท. กำหนดเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อให้ แนวทางการปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
และทำให้มีความเท่าเทียมกัน ซึ่งเชื่อว่าหลักเกณฑ์ใหม่คงไม่กระทบกับกิจการ BIBF ประเภท Out-Out เนื่องจาก
ปัจจุบันธุรกรรมดังกล่าวมีอยู่น้อยมาก (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
4. เงินเฟ้อเดือน พ.ย.47 ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน นายการุณ กิตติสถาพร ปลัด
ก.พาณิชย์ เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือน พ.ย.47 ว่า เงินเฟ้อมีค่าเท่ากับ 109.7 ลดลง
ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.47 ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ย.46 ที่เงินเฟ้อติด
ลบเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.46 ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 3 ทั้งนี้ การที่เงินเฟ้อปรับตัวลด
ลงเนื่องจากดัชนีสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลง ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.47) อยู่
ที่ 108.9 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.7 คาดว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยในปีนี้จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7-2.8
ส่วนแนวโน้มเงินเฟ้อในปี 48 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.0-3.5 ขณะที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.5-6.0 (ข่าวสด, บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1.Global PMI ในเดือน พ.ย.47 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 14 เดือนที่ระดับ 53.2 รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 1 ธ.ค.47 JP Morgan ร่วมกับ Research and Supply Management
Organisations เปิดเผยว่า The Global PMI ในเดือน พ.ย.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 53.2 จากระดับ 53.9
ในเดือนก่อน อันเป็นการขยายตัวต่ำสุดตั้งแต่เดือน ก.ย.46 สาเหตุจากปัจจัยต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมการผลิคมี
ภาพรวมที่อ่อนแอลง ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวมาจากการสำรวจประมาณ 20 ประเทศ รวมถึงประเทศ สรอ.ญี่ปุ่น
เยอรมนี ฝรั่งเศส และอังกฤษ โดยดัชนีการจ้างงานเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.0 จากระดับ 51.0 ในเดือนก่อน ทั้งนี้
สรอ.เป็นประเทศที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นสูงสุด ในขณะที่ญี่ปุ่นและอังกฤษก็มีการจ้างงานสูงขึ้นเช่นกัน ส่วนดัชนีราคา
นำเข้าลดลงอยู่ที่ระดับ 71.9 หลังจากที่เดือน ต.ค.47 อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ระดับ 75.0 สำหรับ
ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ในเดือน พ.ย.47 ลดลงในระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ก.ค.46 อยู่ที่ระดับ 53.9 จากระดับ 54.9
ในเดือนก่อน ส่วนดัชนีผลผลิตก็ลดลงอยู่ที่ระดับ 53.4 จากระดับ 55.7 ในเดือนก่อน อนึ่ง จากข้อมูล PMI ของแต่
ละประเทศที่รายงานออกมาก่อนหน้านี้ สรอ.เป็นประเทศที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนประเทศในเขตเศรษฐกิจ
ยุโรป และญี่ปุ่นมีอัตราการขยายตัวที่ลดลง เนื่องจากผลผลิตของประเทศได้รับผลกระทบจากการอ่อนค่าของเงินสกุล
ดอลลาร์ สรอ. ส่วนอังกฤษได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินปอนด์เมื่อเทียบกับเงินยูโร ส่งผลให้ PMI ของ
อังกฤษเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 55.0 ในเดือน พ.ย.47 จากระดับ 53.5 ในเดือนก่อน นับว่าเป็นตัวเลขดัชนีที่ดีที่สุดใน
รอบ 4 เดือน ในขณะที่ PMI ของ สรอ.เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 57.8 จาก 56.8 ในเดือนก่อน ซึ่งดีกว่าที่ประมาณการ
ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 57.0 (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจของยูโรโซนในไตรมาสที่ 3 ชะลอตัวมากที่สุดในรอบกว่า 1 ปี รายงานจาก
บรัสเซล เมื่อวันที่ 1 ธ.ค 47 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจของยูโรโซน (12 ชาติที่ใช้เงินสกุลยูโร) ในไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเหลือร้อยละ
1.8 จากที่ประมาณการเดิมร้อยละ 1.9 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ยังคงตัวเลขประมาณการเดิมที่ร้อยละ 0.3
ซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดเงินคาดการณ์ไว้ การปรับลดตัวเลขดังกล่าวมิได้กระทบต่อตลาดอัตราแลกเปลี่ยน และตลาด
ตราสารหนี้แต่ประการใด ทั้งนี้การที่เศรษฐกิจยูโรโซนชะลอตัวเนื่องจาก การแข็งค่าของเงินยูโร และอุปสงค์ทั่ว
โลกอ่อนตัวลงกระทบต่อการส่งออก ขณะเดียวกันต้นทุนพลังงานสูงอย่างต่อเนื่องกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค
อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจสรอ.และญี่ปุ่นกลับมีทิศทางตรงข้ามกับเศรษฐกิจของยูโรโซน โดยเศรษฐกิจสรอ.ในไตรมาส
ที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากไตรมาสที่ 2 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วขยายตัวร้อยละ 4.0 ส่วน
เศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 0.1 จากไตรมาสที่ 2 และขยายตัวร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียว
กันปีที่แล้ว อนึ่งตัวเลขภาคอุตสาหกรรมการผลิตของยูโรโซนที่แยกประกาศต่างหากแสดงให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจจะ
ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสที่ 4 (รอยเตอร์)
3.ยอดค้าปลีกของเยอรมนีในเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากเดือนก่อนสูงกว่าที่คาดไว้
รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 1 ธ.ค.47 ยอดค้าปลีกของเยอรมนีในเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากเดือน
ก่อน จากที่คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบต่อเดือนจากผลสำรวจโดยรอยเตอร์ นักวิเคราะห์เตือนว่าตัว
เลขดังกล่าวยังเป็นเพียงตัวเลขเบื้องต้นซึ่งอาจแตกต่างอย่างมากกับตัวเลขหลังปรับปรุงแล้ว โดยหากเทียบต่อปีแล้ว
ยอดค้าปลีกลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.46 ลดลงมากสุดในรอบ 5 เดือนเมื่อเทียบต่อปีและลดลง
มากกว่าร้อยละ 2.0 ที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ สร้างความกังวลให้ผู้ค้าปลีกเนื่องจากภาวะค้าปลีกในปีนี้ตกต่ำมาโดยตลอด
และไม่คาดว่าจะดีขึ้นจนกว่าภาวะการจ้างงานจะดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งมีสัดส่วนประมาณ
ร้อยละ 60 ของ GDP อยู่ในภาวะซบเซาตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจากการว่างงานและภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวได้บั่น
ทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (รอยเตอร์)
4. การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ย.47 ขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อขยายตัวลด
ลง รายงานจากโซลเมื่อ 1 ธ.ค.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ในช่วง 11
เดือน (ม.ค.-พ.ย.47) ขยายตัวที่ระดับร้อยละ 27.8 ใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า
จะขยายตัวร้อยละ 26.1 และเป็นการขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 3 เดือน หลังจากที่ขยายตัวลดลงต่อเนื่องเป็น
เวลา 5 เดือนก่อนหน้า สำหรับการส่งออกในเดือน พ.ย.47 มีมูลค่าสูงถึง 23.31 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่
การนำเข้ามีมูลค่า 20.54 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวสูงเกินความคาดหมายร้อยละ 30.3 ในรอบ 12
เดือน ส่งผลให้เกินดุลการค้าเป็นจำนวน 2.77 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกยังคงแข็งแกร่ง แม้
ว่าความกังวลเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนอันเกิดจากการที่เงินวอนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ
14 สู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี จะส่งผลให้ความต้องการสินค้าจากเกาหลีใต้ลดลงบ้างก็ตาม อนึ่ง การแข็งค่าขึ้นของ
เงินวอนได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ทั้งในแง่ลบและแง่บวก โดยผลในแง่ลบคือทำให้สินค้าส่งออกของเกาหลี
ใต้มีราคาแพงขึ้น ขณะที่ผลในแง่บวกคือ ช่วยบรรเทาแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ เนื่องจากการแข็งค่าของเงินวอนทำให้
ราคาสินค้านำเข้าลดลงโดยเฉพาะน้ำมัน สำหรับการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อในช่วง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.47)
ลดลงเกินความคาดหมาย โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 จากร้อยละ 3.8 ในเดือนก่อน และยังต่ำกว่าที่
นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 ซึ่งการที่อัตราเงินเฟ้อขยายตัวในทิศทางที่ลดลง ก่อให้เกิดความ
คาดหมายว่า ธ.กลางเกาหลีใต้อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยทางการลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 ธ.ค.47 1 ธ.ค 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.339 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.1771/39.4655 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.7500-1.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 655.44/ 19.66 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,400/8,500 8,400/8,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 33.16 35.39 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.19*/14.59 21.19/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 19 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ก.คลังตั้งคณะกรรมการพิเศษพิจารณา บง.-บค. ขอยกฐานะเป็น ธ.พาณิชย์ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รมว.คลัง เปิดเผยว่า คณะกรรมการกลั่นกรองพิเศษที่ ก.คลังตั้งขึ้นจะมี นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัด ก.คลัง
เป็นประธาน มีกรรมการประกอบด้วย นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ที่ปรึกษา รมว.คลัง นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา
อธิบดีกรมบัญชีกลาง และ นายนริศ ชัยสูตร ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง ทำหน้าที่ช่วยกลั่นกรองรายชื่อ
สถาบันการเงินที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการชุดของ ธปท. ส่งมาให้ ก.คลังอนุมัติ ซึ่งการตั้งคณะกรรมการ
ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งจะทำให้เกิดความรอบคอบ เนื่องจาก บง. และ บค. ที่ขอยกฐานะเป็นธนาคารเต็มรูป
แบบและธนาคารรายย่อยมีจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดความโปร่งใส เนื่องจากระบบเดิมเมื่อ ธปท. ส่ง
เรื่องมายัง รมว.คลังก็จะลงนามอนุมัติทันที ซึ่งขณะนี้มีรายชื่อส่งมายัง ก.คลังแล้ว 2-3 ราย และคาดว่าจะ
พิจารณาเสร็จภายใน 2-3 สัปดาห์ (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. เตือนผู้ส่งออกทำ Forward ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงนี้ผู้ส่งออกควรซื้อประกันความเสี่ยงล่วงหน้า
(Forward) ในขณะที่ความผันผวนของค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาเกิดจากการที่ สรอ. พยายามแก้ไขการ
ขาดดุลการค้าโดยให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนลง ในส่วนของ ธปท. ก็ต้องติดตามดูค่าเงินบาทว่าตลาดจะปรับ
ตัวอย่างไร ซึ่งค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างค่าเงินสกุลหลักตลอดเวลา การที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยใน
ขณะนี้ยังไม่กระทบต่อการค้าและการส่งออกของไทย หากมองด้านความสามารถในการแข่งขันทางการค้าจากค่าเงินบาท
จะเห็นว่าเงินบาทยังช่วยรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ได้ โดยวัดจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่แท้จริง
(REER) ยังอยู่ในระดับเดิม เพราะค่าเงินบาทปรับตัวไปพร้อมกับตลาดในทิศทางเดียวกัน ซึ่ง ธปท. จะจับตา
ดูแลอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด ส่วนเงินทุนที่ไหลเข้ามาไม่ได้เข้ามาเพื่อเก็งกำไร ส่วนใหญ่จะเป็นเงินดี แต่จะ
เป็นเงินทุนระยะสั้นหรือระยะยาวต้องติดตามดูต่อไป (โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. ธปท. ให้ BIBF ประเภท Out-Out ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องร้อยละ 6 ดร.ธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท. กำหนดให้กิจการวิเทศธนกิจ (BIBF)
เพื่อการให้กู้ยืมในต่างประเทศ (Out-Out) ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องสำหรับยอดรวมเงินฝากและเงินกู้ยืมจากต่าง
ประเทศในอัตราร้อยละ 6 ของเงินฝากทั้งหมดและเงินกู้ยืมจากต่างประเทศ โดยคิดจากบัญชีผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ
ที่อาจถอนได้ใน 1 ปี หรือเงินกู้ยืมที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี รวมทั้งเงินจาก สนง.ใหญ่ที่โอนมายังสาขาในประเทศ
ไทย ทั้งนี้ การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าวต้องดำรงเงินสดที่ ธปท. ร้อยละ 0.8 และที่ศูนย์เงินสดอีกร้อย
ละ 0.2 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 5 ให้ดำรงสินทรัพย์เป็นพันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรและหุ้นกู้ของรัฐวิสาหกิจ มีผล
ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.47 ซึ่งการที่ ธปท. กำหนดเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อให้ แนวทางการปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
และทำให้มีความเท่าเทียมกัน ซึ่งเชื่อว่าหลักเกณฑ์ใหม่คงไม่กระทบกับกิจการ BIBF ประเภท Out-Out เนื่องจาก
ปัจจุบันธุรกรรมดังกล่าวมีอยู่น้อยมาก (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
4. เงินเฟ้อเดือน พ.ย.47 ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน นายการุณ กิตติสถาพร ปลัด
ก.พาณิชย์ เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือน พ.ย.47 ว่า เงินเฟ้อมีค่าเท่ากับ 109.7 ลดลง
ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.47 ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ย.46 ที่เงินเฟ้อติด
ลบเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.46 ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 3 ทั้งนี้ การที่เงินเฟ้อปรับตัวลด
ลงเนื่องจากดัชนีสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลง ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.47) อยู่
ที่ 108.9 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.7 คาดว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยในปีนี้จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7-2.8
ส่วนแนวโน้มเงินเฟ้อในปี 48 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.0-3.5 ขณะที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.5-6.0 (ข่าวสด, บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1.Global PMI ในเดือน พ.ย.47 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 14 เดือนที่ระดับ 53.2 รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 1 ธ.ค.47 JP Morgan ร่วมกับ Research and Supply Management
Organisations เปิดเผยว่า The Global PMI ในเดือน พ.ย.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 53.2 จากระดับ 53.9
ในเดือนก่อน อันเป็นการขยายตัวต่ำสุดตั้งแต่เดือน ก.ย.46 สาเหตุจากปัจจัยต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมการผลิคมี
ภาพรวมที่อ่อนแอลง ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวมาจากการสำรวจประมาณ 20 ประเทศ รวมถึงประเทศ สรอ.ญี่ปุ่น
เยอรมนี ฝรั่งเศส และอังกฤษ โดยดัชนีการจ้างงานเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.0 จากระดับ 51.0 ในเดือนก่อน ทั้งนี้
สรอ.เป็นประเทศที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นสูงสุด ในขณะที่ญี่ปุ่นและอังกฤษก็มีการจ้างงานสูงขึ้นเช่นกัน ส่วนดัชนีราคา
นำเข้าลดลงอยู่ที่ระดับ 71.9 หลังจากที่เดือน ต.ค.47 อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ระดับ 75.0 สำหรับ
ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ในเดือน พ.ย.47 ลดลงในระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ก.ค.46 อยู่ที่ระดับ 53.9 จากระดับ 54.9
ในเดือนก่อน ส่วนดัชนีผลผลิตก็ลดลงอยู่ที่ระดับ 53.4 จากระดับ 55.7 ในเดือนก่อน อนึ่ง จากข้อมูล PMI ของแต่
ละประเทศที่รายงานออกมาก่อนหน้านี้ สรอ.เป็นประเทศที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนประเทศในเขตเศรษฐกิจ
ยุโรป และญี่ปุ่นมีอัตราการขยายตัวที่ลดลง เนื่องจากผลผลิตของประเทศได้รับผลกระทบจากการอ่อนค่าของเงินสกุล
ดอลลาร์ สรอ. ส่วนอังกฤษได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินปอนด์เมื่อเทียบกับเงินยูโร ส่งผลให้ PMI ของ
อังกฤษเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 55.0 ในเดือน พ.ย.47 จากระดับ 53.5 ในเดือนก่อน นับว่าเป็นตัวเลขดัชนีที่ดีที่สุดใน
รอบ 4 เดือน ในขณะที่ PMI ของ สรอ.เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 57.8 จาก 56.8 ในเดือนก่อน ซึ่งดีกว่าที่ประมาณการ
ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 57.0 (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจของยูโรโซนในไตรมาสที่ 3 ชะลอตัวมากที่สุดในรอบกว่า 1 ปี รายงานจาก
บรัสเซล เมื่อวันที่ 1 ธ.ค 47 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจของยูโรโซน (12 ชาติที่ใช้เงินสกุลยูโร) ในไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเหลือร้อยละ
1.8 จากที่ประมาณการเดิมร้อยละ 1.9 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ยังคงตัวเลขประมาณการเดิมที่ร้อยละ 0.3
ซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดเงินคาดการณ์ไว้ การปรับลดตัวเลขดังกล่าวมิได้กระทบต่อตลาดอัตราแลกเปลี่ยน และตลาด
ตราสารหนี้แต่ประการใด ทั้งนี้การที่เศรษฐกิจยูโรโซนชะลอตัวเนื่องจาก การแข็งค่าของเงินยูโร และอุปสงค์ทั่ว
โลกอ่อนตัวลงกระทบต่อการส่งออก ขณะเดียวกันต้นทุนพลังงานสูงอย่างต่อเนื่องกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค
อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจสรอ.และญี่ปุ่นกลับมีทิศทางตรงข้ามกับเศรษฐกิจของยูโรโซน โดยเศรษฐกิจสรอ.ในไตรมาส
ที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากไตรมาสที่ 2 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วขยายตัวร้อยละ 4.0 ส่วน
เศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 0.1 จากไตรมาสที่ 2 และขยายตัวร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียว
กันปีที่แล้ว อนึ่งตัวเลขภาคอุตสาหกรรมการผลิตของยูโรโซนที่แยกประกาศต่างหากแสดงให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจจะ
ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสที่ 4 (รอยเตอร์)
3.ยอดค้าปลีกของเยอรมนีในเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากเดือนก่อนสูงกว่าที่คาดไว้
รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 1 ธ.ค.47 ยอดค้าปลีกของเยอรมนีในเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากเดือน
ก่อน จากที่คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบต่อเดือนจากผลสำรวจโดยรอยเตอร์ นักวิเคราะห์เตือนว่าตัว
เลขดังกล่าวยังเป็นเพียงตัวเลขเบื้องต้นซึ่งอาจแตกต่างอย่างมากกับตัวเลขหลังปรับปรุงแล้ว โดยหากเทียบต่อปีแล้ว
ยอดค้าปลีกลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.46 ลดลงมากสุดในรอบ 5 เดือนเมื่อเทียบต่อปีและลดลง
มากกว่าร้อยละ 2.0 ที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ สร้างความกังวลให้ผู้ค้าปลีกเนื่องจากภาวะค้าปลีกในปีนี้ตกต่ำมาโดยตลอด
และไม่คาดว่าจะดีขึ้นจนกว่าภาวะการจ้างงานจะดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งมีสัดส่วนประมาณ
ร้อยละ 60 ของ GDP อยู่ในภาวะซบเซาตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจากการว่างงานและภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวได้บั่น
ทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (รอยเตอร์)
4. การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ย.47 ขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อขยายตัวลด
ลง รายงานจากโซลเมื่อ 1 ธ.ค.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ในช่วง 11
เดือน (ม.ค.-พ.ย.47) ขยายตัวที่ระดับร้อยละ 27.8 ใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า
จะขยายตัวร้อยละ 26.1 และเป็นการขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 3 เดือน หลังจากที่ขยายตัวลดลงต่อเนื่องเป็น
เวลา 5 เดือนก่อนหน้า สำหรับการส่งออกในเดือน พ.ย.47 มีมูลค่าสูงถึง 23.31 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่
การนำเข้ามีมูลค่า 20.54 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวสูงเกินความคาดหมายร้อยละ 30.3 ในรอบ 12
เดือน ส่งผลให้เกินดุลการค้าเป็นจำนวน 2.77 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกยังคงแข็งแกร่ง แม้
ว่าความกังวลเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนอันเกิดจากการที่เงินวอนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ
14 สู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี จะส่งผลให้ความต้องการสินค้าจากเกาหลีใต้ลดลงบ้างก็ตาม อนึ่ง การแข็งค่าขึ้นของ
เงินวอนได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ทั้งในแง่ลบและแง่บวก โดยผลในแง่ลบคือทำให้สินค้าส่งออกของเกาหลี
ใต้มีราคาแพงขึ้น ขณะที่ผลในแง่บวกคือ ช่วยบรรเทาแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ เนื่องจากการแข็งค่าของเงินวอนทำให้
ราคาสินค้านำเข้าลดลงโดยเฉพาะน้ำมัน สำหรับการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อในช่วง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.47)
ลดลงเกินความคาดหมาย โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 จากร้อยละ 3.8 ในเดือนก่อน และยังต่ำกว่าที่
นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 ซึ่งการที่อัตราเงินเฟ้อขยายตัวในทิศทางที่ลดลง ก่อให้เกิดความ
คาดหมายว่า ธ.กลางเกาหลีใต้อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยทางการลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 ธ.ค.47 1 ธ.ค 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.339 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.1771/39.4655 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.7500-1.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 655.44/ 19.66 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,400/8,500 8,400/8,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 33.16 35.39 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.19*/14.59 21.19/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 19 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--