1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ชวนเพาะ “ม้าน้ำ” ขาย รายได้ดี
มหาวิทยาลัยมหิดลจับมือมหาวิทยาลัยบูรพาวิจัยระบบสืบพันธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะเลี้ยงม้าน้ำ รองรับผลผลิตในเชิงพาณิชย์ รวมถึงอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงม้าน้ำเพื่อการส่งออกในฐานะสัตว์น้ำเศรษฐกิจปลาสวยงาม และอุตสาหกรรมผลิตยา มีราคาสูงถึงตัวละ 80 บาท หรือกิโลกรัมละ 9,000 บาท นพ.กนก ภาวสุทธิไพศิฐ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า เป็นเวลากว่า 5 ปี ที่โครงการวิจัย ชีววิทยาระบบสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ร่วมกันศึกษา วิจัยชีววิทยาระบบสืบพันธุ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงม้าน้ำ และรองรับเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงม้าน้ำเพื่อการส่งออกในฐานะสัตว์น้ำเศรษฐกิจปลาสวยงาม และอุตสาหกรรมการผลิตยา ซึ่งจากการศึกษาวิจัยในขณะนี้มี 3 ประเด็นหลักคือ พบว่าการเจริญของระบบสืบพันธุ์ในม้าน้ำตัวเมียจะจำแนกได้รวดเร็วกว่าม้าน้ำตัวผู้ แม้ว่ายังไม่ปรากฏลักษณะแตกต่างให้เห็นภายนอก และพบว่าในขณะที่ม้าน้ำตัวผู้อุ้มท้องจะมีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณถุง หน้าท้องเป็นจำนวนมากคล้ายมดลูกของคน ทั้งนี้ การเพาะเลี้ยงม้าน้ำยังต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีกันต่อไปอีก และจะมีการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.กนก กล่าวต่อว่า ประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อน มีอากาศและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาสวยงาม ประกอบกับมีความหลากหลายของสายพันธุ์ จึงเป็นแหล่งส่งออกสินค้าปลาสวยงามที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ข้อมูลจากกรมประมงพบว่าปัจจุบันประเทศไทยส่งออกปลาสวยงามปีละกว่า 1,000 ล้านบาท ในขณะที่มูลค่าการซื้อขายทั่วโลกประมาณ 35,000 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโตต่อปีร้อยละ 14 (ตั้งแต่ปี 2528) มีการสำรวจพบว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาม้าน้ำมีราคาดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ม้าน้ำเป็นๆ มีราคาตัวละ 40-80 บาท ถ้าขายเป็นกิโลกรัมอาจจะได้กิโลกรัมละถึง 9,000 บาท
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 8 - 14 พ.ย. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,573.04 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 887.35 ตัน สัตว์น้ำจืด 685.69 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.83 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.85 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 126.86 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 143.89 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 34.00 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.09 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.91 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 87.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.57
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 138.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 135.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 143.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 133.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.39 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.41 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.29
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงาน
ราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 93.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.95 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.91 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 22 - 26 พ.ย. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 20.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.52 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 46 ประจำวันที่ 22-28 พฤศจิกายน 2547--
-พห-
การผลิต
ชวนเพาะ “ม้าน้ำ” ขาย รายได้ดี
มหาวิทยาลัยมหิดลจับมือมหาวิทยาลัยบูรพาวิจัยระบบสืบพันธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะเลี้ยงม้าน้ำ รองรับผลผลิตในเชิงพาณิชย์ รวมถึงอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงม้าน้ำเพื่อการส่งออกในฐานะสัตว์น้ำเศรษฐกิจปลาสวยงาม และอุตสาหกรรมผลิตยา มีราคาสูงถึงตัวละ 80 บาท หรือกิโลกรัมละ 9,000 บาท นพ.กนก ภาวสุทธิไพศิฐ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า เป็นเวลากว่า 5 ปี ที่โครงการวิจัย ชีววิทยาระบบสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ร่วมกันศึกษา วิจัยชีววิทยาระบบสืบพันธุ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงม้าน้ำ และรองรับเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงม้าน้ำเพื่อการส่งออกในฐานะสัตว์น้ำเศรษฐกิจปลาสวยงาม และอุตสาหกรรมการผลิตยา ซึ่งจากการศึกษาวิจัยในขณะนี้มี 3 ประเด็นหลักคือ พบว่าการเจริญของระบบสืบพันธุ์ในม้าน้ำตัวเมียจะจำแนกได้รวดเร็วกว่าม้าน้ำตัวผู้ แม้ว่ายังไม่ปรากฏลักษณะแตกต่างให้เห็นภายนอก และพบว่าในขณะที่ม้าน้ำตัวผู้อุ้มท้องจะมีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณถุง หน้าท้องเป็นจำนวนมากคล้ายมดลูกของคน ทั้งนี้ การเพาะเลี้ยงม้าน้ำยังต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีกันต่อไปอีก และจะมีการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.กนก กล่าวต่อว่า ประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อน มีอากาศและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาสวยงาม ประกอบกับมีความหลากหลายของสายพันธุ์ จึงเป็นแหล่งส่งออกสินค้าปลาสวยงามที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ข้อมูลจากกรมประมงพบว่าปัจจุบันประเทศไทยส่งออกปลาสวยงามปีละกว่า 1,000 ล้านบาท ในขณะที่มูลค่าการซื้อขายทั่วโลกประมาณ 35,000 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโตต่อปีร้อยละ 14 (ตั้งแต่ปี 2528) มีการสำรวจพบว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาม้าน้ำมีราคาดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ม้าน้ำเป็นๆ มีราคาตัวละ 40-80 บาท ถ้าขายเป็นกิโลกรัมอาจจะได้กิโลกรัมละถึง 9,000 บาท
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 8 - 14 พ.ย. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,573.04 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 887.35 ตัน สัตว์น้ำจืด 685.69 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.83 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.85 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 126.86 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 143.89 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 34.00 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.09 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.91 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 87.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.57
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 138.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 135.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 143.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 133.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.39 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.41 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.29
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงาน
ราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 93.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.95 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.91 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 22 - 26 พ.ย. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 20.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.52 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 46 ประจำวันที่ 22-28 พฤศจิกายน 2547--
-พห-