‘อลงกรณ์’ ระบุ กระทรวงต่างประเทศ เปิดประมูลโครงการ ‘อี-พาสปอร์ต’ 7,000 ล้านบาท ส่อเค้าไม่โปร่งใส เข้าข่ายทุจริตเชิงนโยบาย จี้ ‘รมว.ต่างประเทศ’ชี้แจงต่อสาธารณชน
นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตพรรคฝ่ายค้าน แถลงถึงกรณีที่กระทรวงต่างประเทศได้ดำเนินการจัดประมูลในโครงการพัฒนาระบบและให้บริการหนังสือเดินทางระบบอิเล็คทรอนิคของประเทศไทย (อี-พาสปอร์ต) ในวงเงิน 7,000 ล้านบาท ว่า โครงการนี้ได้มีการว่าจ้างบริษัทเอกชนให้ผลิตพาสปอร์ตอิเล็กทรอนิค ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย และประตูอัตโนมัติ โดยมีการเปิดซองตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา จากการตรวสอบของคณะทำงานพบว่า โครงการดังกล่าวเข้าข่ายทุจริตเชิงนโยบายเป็นการเร่งรัดและทิ้งทวนในการสอบถึงพฤติกรรมอันน่าสงสัยในการแสวงหาผลประโยชน์จากโครงการดังกล่าว ซึ่งมีการตั้งมูลค่าโครงการไว้สูงเกินความเป็นจริงถึง 2 พันล้านบาท อีกทั้ง มีพฤติกรรมของความไม่โปร่งใสในขั้นตอนการพิจารณาเทคนิคโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่กระทรวงต่างประเทศได้เร่งรัดเรื่องนี้แม้ปัจจุบันได้มีการออกพาสปอร์ต ปัจจุบันได้มีการว่าจ้างบริษัทเอกชนในการผลิตพาสปอร์ตประมาณ 3 ล้านเล่ม และจะสิ้นสุดสัญญาในเดือนพ.ค. 2548 ที่กระทรวงต่างประเทศได้อาศัยข้ออ้างในการจัดทำสัญญาว่าจ้างบริษัทเอกชนรายใหม่เพื่อเปลี่ยนรูปแบบของพาสปอร์ต จากปกติเป็น อีพาสปอร์ตโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่1.การจ้างพิมพ์เล่ม 2.การฝั่งไมโครชิพ 3.การจัดการหน้าดาต้าเพส ซึ่งปรากฏว่าในการประมูลที่มีการยื่นซองเมื่อวันที่18 พ.ย.ทีผ่านมา มีผู้เข้ายื่นซองจำนวน 25 รายได้มีการยื่นซองเมื่อวันที่ 28 พ.ย.จำนวน 4 รายหลัง จากนั้นได้มีการพิจารณาทางเทคนิคโดยใช้หลักเกณฑ์การให้คะแนน โดยผู้ที่ผ่านการพิจารณาจะต้องได้คะแนนไม่ตำกว่า 90 คะแนนปรากฏว่ามีผู้ที่ผ่านเกินกว่า 90 คะแนนจำนวน 2 ราย
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า จากการประกาศของกระทรวงต่างประเทศเมื่อวันที่ 22 พ.ย.พิจารณาผ่านคุณสมบัติเชิงพาณิชย์ 4 รายประกอบไปด้วยกลุ่มบริษัทเอ็มเปกซอนโซเตียม กลุ่มบริษัทจันวานิช กลุ่มบริษัท 3 เอสดีพาสปอร์ตคอนโซเตียมและกลุ่มบริษัทเอซีซีคอนโซเตียม ซึ่งบริษัททั้ง 4 รายได้ผ่านการทดสอบและคะแนน จากนั้นได้มีการประกาศชื่อบริษัทที่ผ่านการพิจารณาเพียง 2 ราย คือ กลุ่มบริษัทเอ็มเปกซอนโซเตียม และบริษัทจันวานิชจำกัดพร้อมกับมีการเปิดซองราคาปรากฎว่ากลุ่มจันวานิชได้เสนอราคาต่ำสุดเพียง 954 .44 ล้านบาท ขณะที่อีกบริษัทได้เสนอราคาสูงกว่า โดยที่ไม่ได้มีการชี้แจง 2 บริษัททำไมไม่ผ่านการพิจารณา
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศให้บริษัทเอกชนให้ผลิตพาสปอร์ตจำนวน 7,000 เล่มภายในเวลา 10 ปี เท่ากับว่าราคากลางของพาสปอร์ตอยู่เล่มละ 1,000 บาท จากการตรวจสอบของคณะทำงานพบว่า ประเทศเดนมาร์ค และสวีเดนนั้น อยู่ที่ราคาไม่เกิน 600 บาท ซึ่งเป็นลักษณะรูปแบบเดียวกันกับประเทศไทย ในปัจจุบันกระทรวงการต่างประเทศได้คิดค่าบริการเฉพาะในส่วนของการผลิตเล่มและการถ่ายภาพจำนวนเล่มละ 151 บาท ทั้งนี้พาสปอร์ตแบบใหม่ในประเทศยุโรปเหนือที่มีค่าครองชีพสูงกว่าประเทศไทยยังคิดค่าบริการ 12 ยูโรหรือเท่ากับ 600 บาท แต่ปรากฏว่ากระทรวงการต่างประเทศกำหนดวงเงินโครงการถึง 7 พันล้านบาท เท่ากับสูงกว่าความเป็นจริงถึงเล่มละประมาณ 400 บาท หรือคิดเป็นตัวเงินสูงกว่า 2 พันล้านบาท เพราะฉะนั้น นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐบาลจะต้องชี้แจงเรื่องนี้ต่อสาธารณชน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 ธ.ค. 2547--จบ--
-ดท-
นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตพรรคฝ่ายค้าน แถลงถึงกรณีที่กระทรวงต่างประเทศได้ดำเนินการจัดประมูลในโครงการพัฒนาระบบและให้บริการหนังสือเดินทางระบบอิเล็คทรอนิคของประเทศไทย (อี-พาสปอร์ต) ในวงเงิน 7,000 ล้านบาท ว่า โครงการนี้ได้มีการว่าจ้างบริษัทเอกชนให้ผลิตพาสปอร์ตอิเล็กทรอนิค ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย และประตูอัตโนมัติ โดยมีการเปิดซองตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา จากการตรวสอบของคณะทำงานพบว่า โครงการดังกล่าวเข้าข่ายทุจริตเชิงนโยบายเป็นการเร่งรัดและทิ้งทวนในการสอบถึงพฤติกรรมอันน่าสงสัยในการแสวงหาผลประโยชน์จากโครงการดังกล่าว ซึ่งมีการตั้งมูลค่าโครงการไว้สูงเกินความเป็นจริงถึง 2 พันล้านบาท อีกทั้ง มีพฤติกรรมของความไม่โปร่งใสในขั้นตอนการพิจารณาเทคนิคโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่กระทรวงต่างประเทศได้เร่งรัดเรื่องนี้แม้ปัจจุบันได้มีการออกพาสปอร์ต ปัจจุบันได้มีการว่าจ้างบริษัทเอกชนในการผลิตพาสปอร์ตประมาณ 3 ล้านเล่ม และจะสิ้นสุดสัญญาในเดือนพ.ค. 2548 ที่กระทรวงต่างประเทศได้อาศัยข้ออ้างในการจัดทำสัญญาว่าจ้างบริษัทเอกชนรายใหม่เพื่อเปลี่ยนรูปแบบของพาสปอร์ต จากปกติเป็น อีพาสปอร์ตโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่1.การจ้างพิมพ์เล่ม 2.การฝั่งไมโครชิพ 3.การจัดการหน้าดาต้าเพส ซึ่งปรากฏว่าในการประมูลที่มีการยื่นซองเมื่อวันที่18 พ.ย.ทีผ่านมา มีผู้เข้ายื่นซองจำนวน 25 รายได้มีการยื่นซองเมื่อวันที่ 28 พ.ย.จำนวน 4 รายหลัง จากนั้นได้มีการพิจารณาทางเทคนิคโดยใช้หลักเกณฑ์การให้คะแนน โดยผู้ที่ผ่านการพิจารณาจะต้องได้คะแนนไม่ตำกว่า 90 คะแนนปรากฏว่ามีผู้ที่ผ่านเกินกว่า 90 คะแนนจำนวน 2 ราย
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า จากการประกาศของกระทรวงต่างประเทศเมื่อวันที่ 22 พ.ย.พิจารณาผ่านคุณสมบัติเชิงพาณิชย์ 4 รายประกอบไปด้วยกลุ่มบริษัทเอ็มเปกซอนโซเตียม กลุ่มบริษัทจันวานิช กลุ่มบริษัท 3 เอสดีพาสปอร์ตคอนโซเตียมและกลุ่มบริษัทเอซีซีคอนโซเตียม ซึ่งบริษัททั้ง 4 รายได้ผ่านการทดสอบและคะแนน จากนั้นได้มีการประกาศชื่อบริษัทที่ผ่านการพิจารณาเพียง 2 ราย คือ กลุ่มบริษัทเอ็มเปกซอนโซเตียม และบริษัทจันวานิชจำกัดพร้อมกับมีการเปิดซองราคาปรากฎว่ากลุ่มจันวานิชได้เสนอราคาต่ำสุดเพียง 954 .44 ล้านบาท ขณะที่อีกบริษัทได้เสนอราคาสูงกว่า โดยที่ไม่ได้มีการชี้แจง 2 บริษัททำไมไม่ผ่านการพิจารณา
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศให้บริษัทเอกชนให้ผลิตพาสปอร์ตจำนวน 7,000 เล่มภายในเวลา 10 ปี เท่ากับว่าราคากลางของพาสปอร์ตอยู่เล่มละ 1,000 บาท จากการตรวจสอบของคณะทำงานพบว่า ประเทศเดนมาร์ค และสวีเดนนั้น อยู่ที่ราคาไม่เกิน 600 บาท ซึ่งเป็นลักษณะรูปแบบเดียวกันกับประเทศไทย ในปัจจุบันกระทรวงการต่างประเทศได้คิดค่าบริการเฉพาะในส่วนของการผลิตเล่มและการถ่ายภาพจำนวนเล่มละ 151 บาท ทั้งนี้พาสปอร์ตแบบใหม่ในประเทศยุโรปเหนือที่มีค่าครองชีพสูงกว่าประเทศไทยยังคิดค่าบริการ 12 ยูโรหรือเท่ากับ 600 บาท แต่ปรากฏว่ากระทรวงการต่างประเทศกำหนดวงเงินโครงการถึง 7 พันล้านบาท เท่ากับสูงกว่าความเป็นจริงถึงเล่มละประมาณ 400 บาท หรือคิดเป็นตัวเงินสูงกว่า 2 พันล้านบาท เพราะฉะนั้น นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐบาลจะต้องชี้แจงเรื่องนี้ต่อสาธารณชน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 ธ.ค. 2547--จบ--
-ดท-