กรุงเทพ--7 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2547 ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ กระทรวงการต่างประเทศ ได้ไปเยี่ยมชมบริษัท Kenya Bus ซึ่งเป็นบริษัทประกอบรถบัสที่ใหญ่ ที่สุดในเคนยาในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง โดยบริษัทดังกล่าวได้มีความร่วมมือกับ บริษัทพานทอง ซึ่งเป็นบริษัทประกอบรถบัสสำคัญของไทย โดยทั้งสองฝ่ายมีกรอบความร่วมมือ ที่สำคัญ ได้แก่ การถ่ายทอดเทคโนโลยีในการสร้างโครงและประกอบรถบัส 2 ชั้น การซื้อ ส่วนประกอบในการต่อรถบัส ซึ่ง 90 % นำเข้าจากไทย และความร่วมมือในการผลิตและส่งออก ไปยังประเทศต่างๆ ในแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกากลาง นอกจากจะชมการต่อรถบัสและ รถต้นแบบแล้ว ดร. สรจักรฯ ยังได้พูดคุยกับช่างชาวไทยที่เข้าไปช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 11 คน โครงการความร่วมมือดังกล่าวถือเป็นโครงการแรกที่เป็นรูปธรรมและเป็นแบบฉบับของ โครงการอื่นๆ ที่จะมีขึ้นต่อไประหว่างภาคเอกชนของทั้ง 2 ประเทศ
เมื่อเวลา 12.00น. ของวันเดียวกัน ดร. สรจักรฯ ได้พบและสนทนากับนาย Mores Wetangula ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเคนยา ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงไนโรบี โดยฝ่ายเคนยาได้ขอบคุณที่ฝ่ายไทยได้ให้การต้อนรับประธานาธิบดีเคนยาในการเยือนไทยเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเป็นอย่างดี โดยประธานาธิบดีมีความประทับใจและได้เรียนรู้ถึงความก้าวหน้าของไทยและกรอบความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศที่จะดำเนินการต่อไป
โดยเฉพาะในด้านการค้าและการท่องเที่ยว ซึ่งมีศักยภาพมาก ในการนี้ ดร. สรจักรฯ ได้ย้ำให้ ทราบถึงนโยบายของไทยในการที่จะส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน หลังจากที่ไทยได้พ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจแล้ว และได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจใน ระดับรากหญ้าของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน ตลอดจน OTOP ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีความมั่นคง และเป็นแบบอย่างที่สามารถนำไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือให้ความร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันได้ นอกจากนั้น ประเทศไทยยังมีนโยบายที่จะ
ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศในแอฟริกาทั้งโดยตรง และโดยการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกรอบความร่วมมือในเอเชีย เช่น ACD หรือ ASEAN กับ NEPAD (New Economic Partnership for Africa’s Development - การเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาแอฟริกา) และในกรอบ TICAD (Tokyo International Conference on African Development — การประชุมระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนาแอฟริกา ณ กรุงโตเกียว) โดยการแสวงหาประเทศที่พัฒนาแล้วให้เข้าไปเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาด้วย นอกจากนั้น 2 ประเทศยังจะร่วมกันส่งเสริมความร่วมมือในกรอบของ WTO เพื่อให้เกิดการค้าที่เสรีและเป็นธรรมต่อไปด้วย ต่อมาในเวลา 17.00น. ดร.สรจักรฯ ได้เข้าพบและสนทนากับนาย Amine Kherbi รัฐมนตรีประจำสำนักประธานาธิบดีและที่ปรึกษาพิเศษของประธานาธิบดีแอลจีเรีย ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องกันว่า 2 ประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาตลอด แต่ยังมีศักยภาพอีกมากในการขยายความร่วมมือ โดยเฉพาะในด้านการค้า การท่องเที่ยว และพลังงาน โดยฝ่ายแอลจีเรียจะเชิญ ผู้แทนระดับสูงของไทยไปเยือนพร้อมกับภาคเอกชนเพื่อขยายลู่ทางความร่วมมือกันในทุกด้าน ต่อไป ดร. สรจักรฯ ได้แจ้งให้นาย Kherbi ทราบถึงแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่จะส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน โดยเฉพาะประเทศแอฟริกา โดยผ่าน NEPAD และ TICAD2 ฝ่ายแอลจีเรียซึ่งมีบทบาทสำคัญใน NEPAD ได้ให้การสนับสนุนแนวทางของไทยเป็นอย่างยิ่งและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ นอกจากนั้น ดร.สรจักรฯ ยังได้เล่าให้นาย Kherbi ทราบถึงสถานการณ์ในภาคใต้ตลอดจนการดำเนินการของรัฐบาล โดยเฉพาะในการพัฒนาเศรษฐกิจและการจัดตั้งกรรมการอิสระขึ้นไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีที่มีการดำเนินการที่รุนแรง ซึ่งนาย Kherbi ได้แสดงความเข้าใจในการดำเนินการของรัฐบาลไทย ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับของแอลจีเลียคือ ดำเนินการด้านพัฒนาและด้านความมั่นคงไปพร้อมๆ กัน
ในวันเดียวกัน ดร.สรจักรฯ ได้ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ KTN ของเคนยา ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยนอกจากประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ทวิภาคีที่แน่นแฟ้นระหว่าง 2 ประเทศแล้ว KTN ได้ให้ความสนใจกับบทบาทของไทยในการต่อสู้กับโรคเอดส์
ซึ่งดร.สรจักรฯ ได้กล่าวถึงการที่ประเทศไทยได้จัดการประชุมเอดส์โลก ครั้งที่ 15 และนโยบาย ของไทยที่จะร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน รวมทั้งเคนยาและประเทศในแอฟริกาในการต่อสู้กับโรคร้ายนี้ ดังจะเห็นได้จากการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้แถลงในการประชุม APEC 2004 ที่ประเทศชิลี ในเรื่องการร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในเรื่องยารักษาและการที่ประเทศไทยจะสมทบเงินเข้ากองทุนเอดส์ปีละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเวลา 5 ปี นอกจากนั้น ไทยยังเป็นผู้ผลักดันให้เอดส์เป็นประเด็นหนึ่งที่สำคัญในเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (HSN) ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2547 ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ กระทรวงการต่างประเทศ ได้ไปเยี่ยมชมบริษัท Kenya Bus ซึ่งเป็นบริษัทประกอบรถบัสที่ใหญ่ ที่สุดในเคนยาในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง โดยบริษัทดังกล่าวได้มีความร่วมมือกับ บริษัทพานทอง ซึ่งเป็นบริษัทประกอบรถบัสสำคัญของไทย โดยทั้งสองฝ่ายมีกรอบความร่วมมือ ที่สำคัญ ได้แก่ การถ่ายทอดเทคโนโลยีในการสร้างโครงและประกอบรถบัส 2 ชั้น การซื้อ ส่วนประกอบในการต่อรถบัส ซึ่ง 90 % นำเข้าจากไทย และความร่วมมือในการผลิตและส่งออก ไปยังประเทศต่างๆ ในแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกากลาง นอกจากจะชมการต่อรถบัสและ รถต้นแบบแล้ว ดร. สรจักรฯ ยังได้พูดคุยกับช่างชาวไทยที่เข้าไปช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 11 คน โครงการความร่วมมือดังกล่าวถือเป็นโครงการแรกที่เป็นรูปธรรมและเป็นแบบฉบับของ โครงการอื่นๆ ที่จะมีขึ้นต่อไประหว่างภาคเอกชนของทั้ง 2 ประเทศ
เมื่อเวลา 12.00น. ของวันเดียวกัน ดร. สรจักรฯ ได้พบและสนทนากับนาย Mores Wetangula ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเคนยา ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงไนโรบี โดยฝ่ายเคนยาได้ขอบคุณที่ฝ่ายไทยได้ให้การต้อนรับประธานาธิบดีเคนยาในการเยือนไทยเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเป็นอย่างดี โดยประธานาธิบดีมีความประทับใจและได้เรียนรู้ถึงความก้าวหน้าของไทยและกรอบความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศที่จะดำเนินการต่อไป
โดยเฉพาะในด้านการค้าและการท่องเที่ยว ซึ่งมีศักยภาพมาก ในการนี้ ดร. สรจักรฯ ได้ย้ำให้ ทราบถึงนโยบายของไทยในการที่จะส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน หลังจากที่ไทยได้พ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจแล้ว และได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจใน ระดับรากหญ้าของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน ตลอดจน OTOP ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีความมั่นคง และเป็นแบบอย่างที่สามารถนำไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือให้ความร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันได้ นอกจากนั้น ประเทศไทยยังมีนโยบายที่จะ
ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศในแอฟริกาทั้งโดยตรง และโดยการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกรอบความร่วมมือในเอเชีย เช่น ACD หรือ ASEAN กับ NEPAD (New Economic Partnership for Africa’s Development - การเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาแอฟริกา) และในกรอบ TICAD (Tokyo International Conference on African Development — การประชุมระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนาแอฟริกา ณ กรุงโตเกียว) โดยการแสวงหาประเทศที่พัฒนาแล้วให้เข้าไปเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาด้วย นอกจากนั้น 2 ประเทศยังจะร่วมกันส่งเสริมความร่วมมือในกรอบของ WTO เพื่อให้เกิดการค้าที่เสรีและเป็นธรรมต่อไปด้วย ต่อมาในเวลา 17.00น. ดร.สรจักรฯ ได้เข้าพบและสนทนากับนาย Amine Kherbi รัฐมนตรีประจำสำนักประธานาธิบดีและที่ปรึกษาพิเศษของประธานาธิบดีแอลจีเรีย ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องกันว่า 2 ประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาตลอด แต่ยังมีศักยภาพอีกมากในการขยายความร่วมมือ โดยเฉพาะในด้านการค้า การท่องเที่ยว และพลังงาน โดยฝ่ายแอลจีเรียจะเชิญ ผู้แทนระดับสูงของไทยไปเยือนพร้อมกับภาคเอกชนเพื่อขยายลู่ทางความร่วมมือกันในทุกด้าน ต่อไป ดร. สรจักรฯ ได้แจ้งให้นาย Kherbi ทราบถึงแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่จะส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน โดยเฉพาะประเทศแอฟริกา โดยผ่าน NEPAD และ TICAD2 ฝ่ายแอลจีเรียซึ่งมีบทบาทสำคัญใน NEPAD ได้ให้การสนับสนุนแนวทางของไทยเป็นอย่างยิ่งและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ นอกจากนั้น ดร.สรจักรฯ ยังได้เล่าให้นาย Kherbi ทราบถึงสถานการณ์ในภาคใต้ตลอดจนการดำเนินการของรัฐบาล โดยเฉพาะในการพัฒนาเศรษฐกิจและการจัดตั้งกรรมการอิสระขึ้นไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีที่มีการดำเนินการที่รุนแรง ซึ่งนาย Kherbi ได้แสดงความเข้าใจในการดำเนินการของรัฐบาลไทย ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับของแอลจีเลียคือ ดำเนินการด้านพัฒนาและด้านความมั่นคงไปพร้อมๆ กัน
ในวันเดียวกัน ดร.สรจักรฯ ได้ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ KTN ของเคนยา ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยนอกจากประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ทวิภาคีที่แน่นแฟ้นระหว่าง 2 ประเทศแล้ว KTN ได้ให้ความสนใจกับบทบาทของไทยในการต่อสู้กับโรคเอดส์
ซึ่งดร.สรจักรฯ ได้กล่าวถึงการที่ประเทศไทยได้จัดการประชุมเอดส์โลก ครั้งที่ 15 และนโยบาย ของไทยที่จะร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน รวมทั้งเคนยาและประเทศในแอฟริกาในการต่อสู้กับโรคร้ายนี้ ดังจะเห็นได้จากการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้แถลงในการประชุม APEC 2004 ที่ประเทศชิลี ในเรื่องการร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในเรื่องยารักษาและการที่ประเทศไทยจะสมทบเงินเข้ากองทุนเอดส์ปีละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเวลา 5 ปี นอกจากนั้น ไทยยังเป็นผู้ผลักดันให้เอดส์เป็นประเด็นหนึ่งที่สำคัญในเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (HSN) ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-