กรุงเทพ--7 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่นาย Kofi Annan เลขาธิการประชาชาติได้จัดตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงด้านภัยคุกคาม สิ่งท้าทายและความเปลี่ยนแปลง (High —Level Panel on Threats, Challenges and Change) เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 16 คน โดยมี ฯพณฯ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยเป็นประธาน และเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2547 ฯพณฯ นายอานันท์ฯ ในฐานะประธานคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ได้เสนอรายงานเรื่อง A more secure world: our shared responsibility ซึ่งเป็นผลการทำงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ต่อเลขาธิการฯ ที่นครนิวยอร์ก
กระทรวงการต่างประเทศยินดีต่อการเสนอรายงานสำคัญฉบับดังกล่าว ที่สามารถระบุปัญหาของภัยคุกคามที่ประชาคมระหว่างประเทศต้องเผชิญร่วมกันไว้ได้อย่างรอบด้าน และสะท้อน หลักการและเหตุผลที่นำไปสู่การสรุปความเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงโครงสร้างและหน้าที่ขององค์กรที่จะต้องรับมือกับภัยคุกคามด้านต่างๆ ไว้อย่างสมเหตุผล ซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกสารรายงานสำคัญที่จะเป็นพื้นฐานสำหรับการพิจารณาร่วมกับรัฐสมาชิกต่อไป เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมระดับผู้นำเพื่อทบทวนการปฏิบัติตามปฏิญญาสหัสวรรษในเดือนกันยายน 2548
รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนการทำงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ มาโดยตลอด และได้มอบเงินสนับสนุนการดำเนินงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ จำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเดือนกันยายน 2547 รัฐบาลไทยพร้อมที่จะเข้าร่วมการหารือเพื่อนำข้อเสนอแนะของรายงานฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยให้ประชาคมระหว่างประเทศสามารถรับมือกับภัยคุกคามและสิ่งท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
รายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ประกอบด้วยเนื้อหาหลัก 4 ส่วน คือส่วนที่ 1 แนวความคิดเกี่ยวกับความมั่นคงในรูปแบบใหม่ (New Security Consensus) ระบุว่า ภัยคุกคามด้านความมั่นคงในปัจจุบันขยายจากรัฐรวมถึงภัยคุกคามต่อชีวิตมนุษย์โดยตรง และเป็นสิ่งท้าทายหลักสำหรับศตวรรษที่ 21 ภัยคุกคามเหล่านี้มาจากรัฐและ non-state actors และมีผลกระทบเกินขอบเขตของรัฐใดๆ เพียงรัฐเดียว ในการสร้างความเข้าใจเรื่อง new security consensus จำเป็นต้องเข้าใจว่า collective strategies, collective institutions และ collective responsibility เป็นสิ่งที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ระหว่างรัฐ และจำเป็นต่อการสร้างระบบความมั่นคงร่วม (collective security) ที่อยู่บนหลักที่สำคัญ 3 ประการ คือ (1) ภัยคุกคามที่ไม่มีพรมแดน (2) ข้อจำกัดของการคุ้มครองตนเอง และ (3) อธิปไตยและความรับผิดชอบ และองค์ประกอบของระบบความมั่นคงร่วมที่น่าเชื่อถือจะต้องมีประสิทธิภาพ(effectiveness) มีประสิทธิผล (efficiency) และมีความเท่าเทียม (equity) โดยความพยายามในระดับพหุภาคีจะต้องดำเนินการควบคู่กันไปกับความพยายามในระดับชาติ ระดับทวิภาคี และระดับภูมิภาค ซึ่งอาจรวมไปถึงความร่วมมือกับภาคประชาสังคมด้วย ซึ่งความพยายามเหล่านี้จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อมีเป้าหมายร่วมกัน
ส่วนที่ 2 ความมั่นคงร่วมและความท้าทายของการป้องกัน ระบุถึงภัยคุกคาม 6 ประเภทที่โลกควรต้องให้ความสนใจได้แก่ (1) ภัยคุกคามทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งรวมถึง ความยากจน โรคติดต่อร้ายแรง และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม (2) ความขัดแย้งระหว่างรัฐ (3) ความขัดแย้งภายใน ซึ่งรวมถึง สงครามกลางเมือง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการกระทำที่ป่าเถื่อนรุนแรงอื่นๆ (4) อาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง (5) การก่อการร้าย และ (6) อาชญากรรมข้ามชาติ
สิ่งที่เป็นความท้าทายต่อสหประชาชาติคือ ความพยายามที่จะไม่ให้ภัยคุกคามดังกล่าวกลายเป็นการทำลายล้างรุนแรง โดยการสร้างกรอบงานด้านการป้องกันที่จะรับมือกับภัยคุกคามเหล่านี้ เริ่มต้นจากการพัฒนาซึ่งเป็นพื้นฐานของระบบความมั่นคงร่วมเพื่อช่วยรัฐในการป้องกัน หรือลดการทำลายขีดความสามารถของรัฐที่จะรับมือกับภัยคุกคาม
ส่วนที่ 3 ความมั่นคงร่วมและการใช้กำลัง เป็นการระบุถึงหนทางและวิธีการดำเนินการของรัฐในกรณีที่ระบบความมั่นคงร่วมที่มีประสิทธิภาพต้องการการสนับสนุนด้านการใช้กำลังทางทหาร ซึ่งจะต้องกำกับดูแลการตัดสินใจใช้กำลังด้วยหลักนิติธรรมระหว่างประเทศ โดยมีการระบุที่ชัดเจนว่า กรณีใดถือเป็นการป้องกันตัวเอง กรณีใดที่รัฐหนึ่งกำลังเป็นภัยคุกคามต่อรัฐอื่น รวมถึงประเด็นเรื่องความรับผิดชอบในการคุ้มครองบุคคลภายในรัฐ โดยพยายามทำให้การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตรสหประชาชาติขององค์กรหลักที่สำคัญ เช่น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สามารถปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น รายงานนี้ได้เสนอแนะแนวทางปฏิบัติที่ชอบธรรม 5 ประการในการพิจารณาการใช้กำลัง ได้แก่
(1) ความรุนแรงและอันตรายของภัยคุกคาม (seriousness of threats)
(2) การกำหนดเป้าหมายที่เหมาะสมต่อภัยคุกคามในแต่ละกรณี (proper Purpose)
(3) การใช้กำลังทางทหารควรเป็นทางเลือกสุดท้าย (last resort)
(4) การใช้กำลังทางทหารมีสัดส่วนเหมาะสมกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้น (proportional means)
(5) หากมีการใช้กำลังทางทหารต้องมีโอกาสประสบความสำเร็จ และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่าในกรณีที่ไม่ได้มีการใช้กำลัง (balance of consequences)
นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นทั้งระหว่างและภายหลังความขัดแย้งซึ่งรวมทั้งขีดความสามารถในเรื่องการบังคับเพื่อให้เกิดสันติภาพ (peace enforcement) การรักษาสันติภาพ การสร้างสันติภาพ และการคุ้มครองพลเรือนด้วย
ส่วนที่ 4 สหประชาชาติที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นสำหรับศตวรรษที่ 21 ข้อเสนอใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันของสหประชาชาติเกิดขึ้นจากความต้องการของโลกที่เป็นจริง รายงานได้ระบุสิ่งที่เป็นความเร่งด่วนที่จะต้องเยียวยาได้แก่
(1) สมัชชาสหประชาชาติสูญเสียความสำคัญและไม่สามารถที่จะมุ่งความสนใจในประเด็นที่เป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบัน
(2) คณะมนตรีความมั่นคงฯ จำเป็นต้องมีความแข็งขัน (proactive) มากขึ้นในอนาคต โดยผู้ที่ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านต่างๆ แก่องค์กรทั้งด้านการเงิน การทหารและการทูตควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของคณะมนตรีความมั่นคงฯ มากขึ้น และผู้ที่มีส่วนในการตัดสินใจควรที่จะให้การสนับสนุนมากขึ้นเช่นกัน
(3) ระบบของสหประชาชาติยังไม่สามารถดูแลแก้ไขปัญหาของประเทศที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศในปัจจุบันและประเทศที่เพิ่งผ่านพ้นสภาพความขัดแย้ง/การสู้รบ เป็นผลให้ประเทศเหล่านี้มักจะไม่ได้รับความสนใจจากประชาคมระหว่างประเทศ ขาดคำแนะนำด้านนโยบาย และไม่ได้รับทรัพยากรอย่างพอเพียง โดยรายงานนี้ได้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการด้านการสร้างสันติภาพ (Peacebuliding Commission) เพื่อดูแลเรื่องการสร้างสันติภาพในภาพรวมทั้งหมด
(4) คณะมนตรีความมั่นคงฯ ยังไม่ได้ใช้ศักยภาพความได้เปรียบในการทำงานกับองค์กรในระดับภูมิภาคและระดับอนุภูมิภาค
(5) จะต้องมีการจัดตั้งองค์กร/สถาบันใหม่เพื่อดูแลแก้ไขภัยคุกคามทางเศรษฐกิจและสังคมต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ได้เสนอแนะให้ตั้งคณะกรรมการว่าด้วยแง่มุมทางสังคมและเศรษฐกิจของภัยคุกคามความมั่นคง ซึ่งจะอยู่ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC)
(6) คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนไม่ได้รับความเชื่อถือและขาดความชอบธรรม อันก่อให้เกิดความคลางแคลงใจต่อสหประชาชาติ คณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ได้เสนอให้ขยายสมาชิกภาพของคณะกรรมาธิการฯ ในลักษณะเปิดกว้างให้แก่รัฐสมาชิกทั้งหมด และให้มีคณะที่ปรึกษาสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมาธิการฯ โดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ เห็นว่า ในระยะยาว รัฐสมาชิกควรพิจารณายกระดับคณะกรรมาธิการนี้เป็น คณะมนตรีด้านสิทธิมนุษยชน
(7) จำเป็นที่จะต้องมีสำนักเลขาธิการฯ ที่มีการจัดการและมีความเป็นวิชาชีพที่สามารถทำงานได้อย่างสอดประสานยิ่งขึ้น
สำหรับประเด็นสำคัญที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชน ได้แก่
1. การปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงฯ ซึ่งรายงานฉบับนี้ได้เสนอแนวทางการปรับโครงสร้างของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ไว้ 2 ทางเลือกคือ
(1) Model A เสนอให้แต่ละภูมิภาค (แอฟริกา เอเชียและแปซิฟิก ยุโรป และอเมริกา)
มีสมาชิกภูมิภาคละ 6 ประเทศ รวมเป็น 24 ประเทศ โดยแบ่งเป็นสมาชิกถาวร 11 ประเทศ (จากแอฟริกา
2 ประเทศ เอเชียและแปซิฟิก 2 ประเทศ ยุโรป 1 ประเทศ และลาตินอเมริกา 1 ประเทศ) สมาชิกไม่ถาวร 13 ประเทศ
(2) Model B เสนอให้แต่ละภูมิภาคมีสมาชิก 6 ประเทศ รวมเป็น 24 ประเทศ โดยมีสมาชิกถาวร 5 ประเทศเท่าเดิม และมีสมาชิกไม่ถาวรที่มีวาระ 4 ปีและสามารถสมัครซ้ำได้ภูมิภาคละ 2 ประเทศ (รวม 8 ประเทศ) และสมาชิกไม่ถาวรที่มีวาระ 2 ปีและสมัครซ้ำไม่ได้อีก 11 ประเทศ ทั้งนี้ เสนอไม่ให้มีการขยายสิทธิยับยั้งจากที่สมาชิกถาวร 5 ประเทศในปัจจุบันมีอยู่
2. การแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติในเรื่องอื่นๆ ได้แก่ การแก้ไขกฎบัตรข้อ 53 และ 107 ที่มีการระบุรัฐที่เป็นศัตรู ยกเลิกหมวดที่ 8 ของกฎบัตร ซึ่งจะมีผลให้เป็นการยุบคณะมนตรีภาวะทรัสตี และยกเลิกกฎบัตรข้อ26 45 46 และ47 ซึ่งจะมีผลให้มีการยุบคณะกรรมการเสนาธิการทหารซึ่งมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความต้องการทางทหารแก่คณะมนตรีความมั่นคงฯ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามที่นาย Kofi Annan เลขาธิการประชาชาติได้จัดตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงด้านภัยคุกคาม สิ่งท้าทายและความเปลี่ยนแปลง (High —Level Panel on Threats, Challenges and Change) เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 16 คน โดยมี ฯพณฯ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยเป็นประธาน และเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2547 ฯพณฯ นายอานันท์ฯ ในฐานะประธานคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ได้เสนอรายงานเรื่อง A more secure world: our shared responsibility ซึ่งเป็นผลการทำงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ต่อเลขาธิการฯ ที่นครนิวยอร์ก
กระทรวงการต่างประเทศยินดีต่อการเสนอรายงานสำคัญฉบับดังกล่าว ที่สามารถระบุปัญหาของภัยคุกคามที่ประชาคมระหว่างประเทศต้องเผชิญร่วมกันไว้ได้อย่างรอบด้าน และสะท้อน หลักการและเหตุผลที่นำไปสู่การสรุปความเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงโครงสร้างและหน้าที่ขององค์กรที่จะต้องรับมือกับภัยคุกคามด้านต่างๆ ไว้อย่างสมเหตุผล ซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกสารรายงานสำคัญที่จะเป็นพื้นฐานสำหรับการพิจารณาร่วมกับรัฐสมาชิกต่อไป เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมระดับผู้นำเพื่อทบทวนการปฏิบัติตามปฏิญญาสหัสวรรษในเดือนกันยายน 2548
รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนการทำงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ มาโดยตลอด และได้มอบเงินสนับสนุนการดำเนินงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ จำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเดือนกันยายน 2547 รัฐบาลไทยพร้อมที่จะเข้าร่วมการหารือเพื่อนำข้อเสนอแนะของรายงานฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยให้ประชาคมระหว่างประเทศสามารถรับมือกับภัยคุกคามและสิ่งท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
รายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ประกอบด้วยเนื้อหาหลัก 4 ส่วน คือส่วนที่ 1 แนวความคิดเกี่ยวกับความมั่นคงในรูปแบบใหม่ (New Security Consensus) ระบุว่า ภัยคุกคามด้านความมั่นคงในปัจจุบันขยายจากรัฐรวมถึงภัยคุกคามต่อชีวิตมนุษย์โดยตรง และเป็นสิ่งท้าทายหลักสำหรับศตวรรษที่ 21 ภัยคุกคามเหล่านี้มาจากรัฐและ non-state actors และมีผลกระทบเกินขอบเขตของรัฐใดๆ เพียงรัฐเดียว ในการสร้างความเข้าใจเรื่อง new security consensus จำเป็นต้องเข้าใจว่า collective strategies, collective institutions และ collective responsibility เป็นสิ่งที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ระหว่างรัฐ และจำเป็นต่อการสร้างระบบความมั่นคงร่วม (collective security) ที่อยู่บนหลักที่สำคัญ 3 ประการ คือ (1) ภัยคุกคามที่ไม่มีพรมแดน (2) ข้อจำกัดของการคุ้มครองตนเอง และ (3) อธิปไตยและความรับผิดชอบ และองค์ประกอบของระบบความมั่นคงร่วมที่น่าเชื่อถือจะต้องมีประสิทธิภาพ(effectiveness) มีประสิทธิผล (efficiency) และมีความเท่าเทียม (equity) โดยความพยายามในระดับพหุภาคีจะต้องดำเนินการควบคู่กันไปกับความพยายามในระดับชาติ ระดับทวิภาคี และระดับภูมิภาค ซึ่งอาจรวมไปถึงความร่วมมือกับภาคประชาสังคมด้วย ซึ่งความพยายามเหล่านี้จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อมีเป้าหมายร่วมกัน
ส่วนที่ 2 ความมั่นคงร่วมและความท้าทายของการป้องกัน ระบุถึงภัยคุกคาม 6 ประเภทที่โลกควรต้องให้ความสนใจได้แก่ (1) ภัยคุกคามทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งรวมถึง ความยากจน โรคติดต่อร้ายแรง และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม (2) ความขัดแย้งระหว่างรัฐ (3) ความขัดแย้งภายใน ซึ่งรวมถึง สงครามกลางเมือง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการกระทำที่ป่าเถื่อนรุนแรงอื่นๆ (4) อาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง (5) การก่อการร้าย และ (6) อาชญากรรมข้ามชาติ
สิ่งที่เป็นความท้าทายต่อสหประชาชาติคือ ความพยายามที่จะไม่ให้ภัยคุกคามดังกล่าวกลายเป็นการทำลายล้างรุนแรง โดยการสร้างกรอบงานด้านการป้องกันที่จะรับมือกับภัยคุกคามเหล่านี้ เริ่มต้นจากการพัฒนาซึ่งเป็นพื้นฐานของระบบความมั่นคงร่วมเพื่อช่วยรัฐในการป้องกัน หรือลดการทำลายขีดความสามารถของรัฐที่จะรับมือกับภัยคุกคาม
ส่วนที่ 3 ความมั่นคงร่วมและการใช้กำลัง เป็นการระบุถึงหนทางและวิธีการดำเนินการของรัฐในกรณีที่ระบบความมั่นคงร่วมที่มีประสิทธิภาพต้องการการสนับสนุนด้านการใช้กำลังทางทหาร ซึ่งจะต้องกำกับดูแลการตัดสินใจใช้กำลังด้วยหลักนิติธรรมระหว่างประเทศ โดยมีการระบุที่ชัดเจนว่า กรณีใดถือเป็นการป้องกันตัวเอง กรณีใดที่รัฐหนึ่งกำลังเป็นภัยคุกคามต่อรัฐอื่น รวมถึงประเด็นเรื่องความรับผิดชอบในการคุ้มครองบุคคลภายในรัฐ โดยพยายามทำให้การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตรสหประชาชาติขององค์กรหลักที่สำคัญ เช่น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สามารถปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น รายงานนี้ได้เสนอแนะแนวทางปฏิบัติที่ชอบธรรม 5 ประการในการพิจารณาการใช้กำลัง ได้แก่
(1) ความรุนแรงและอันตรายของภัยคุกคาม (seriousness of threats)
(2) การกำหนดเป้าหมายที่เหมาะสมต่อภัยคุกคามในแต่ละกรณี (proper Purpose)
(3) การใช้กำลังทางทหารควรเป็นทางเลือกสุดท้าย (last resort)
(4) การใช้กำลังทางทหารมีสัดส่วนเหมาะสมกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้น (proportional means)
(5) หากมีการใช้กำลังทางทหารต้องมีโอกาสประสบความสำเร็จ และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่าในกรณีที่ไม่ได้มีการใช้กำลัง (balance of consequences)
นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นทั้งระหว่างและภายหลังความขัดแย้งซึ่งรวมทั้งขีดความสามารถในเรื่องการบังคับเพื่อให้เกิดสันติภาพ (peace enforcement) การรักษาสันติภาพ การสร้างสันติภาพ และการคุ้มครองพลเรือนด้วย
ส่วนที่ 4 สหประชาชาติที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นสำหรับศตวรรษที่ 21 ข้อเสนอใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันของสหประชาชาติเกิดขึ้นจากความต้องการของโลกที่เป็นจริง รายงานได้ระบุสิ่งที่เป็นความเร่งด่วนที่จะต้องเยียวยาได้แก่
(1) สมัชชาสหประชาชาติสูญเสียความสำคัญและไม่สามารถที่จะมุ่งความสนใจในประเด็นที่เป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบัน
(2) คณะมนตรีความมั่นคงฯ จำเป็นต้องมีความแข็งขัน (proactive) มากขึ้นในอนาคต โดยผู้ที่ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านต่างๆ แก่องค์กรทั้งด้านการเงิน การทหารและการทูตควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของคณะมนตรีความมั่นคงฯ มากขึ้น และผู้ที่มีส่วนในการตัดสินใจควรที่จะให้การสนับสนุนมากขึ้นเช่นกัน
(3) ระบบของสหประชาชาติยังไม่สามารถดูแลแก้ไขปัญหาของประเทศที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศในปัจจุบันและประเทศที่เพิ่งผ่านพ้นสภาพความขัดแย้ง/การสู้รบ เป็นผลให้ประเทศเหล่านี้มักจะไม่ได้รับความสนใจจากประชาคมระหว่างประเทศ ขาดคำแนะนำด้านนโยบาย และไม่ได้รับทรัพยากรอย่างพอเพียง โดยรายงานนี้ได้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการด้านการสร้างสันติภาพ (Peacebuliding Commission) เพื่อดูแลเรื่องการสร้างสันติภาพในภาพรวมทั้งหมด
(4) คณะมนตรีความมั่นคงฯ ยังไม่ได้ใช้ศักยภาพความได้เปรียบในการทำงานกับองค์กรในระดับภูมิภาคและระดับอนุภูมิภาค
(5) จะต้องมีการจัดตั้งองค์กร/สถาบันใหม่เพื่อดูแลแก้ไขภัยคุกคามทางเศรษฐกิจและสังคมต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ได้เสนอแนะให้ตั้งคณะกรรมการว่าด้วยแง่มุมทางสังคมและเศรษฐกิจของภัยคุกคามความมั่นคง ซึ่งจะอยู่ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC)
(6) คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนไม่ได้รับความเชื่อถือและขาดความชอบธรรม อันก่อให้เกิดความคลางแคลงใจต่อสหประชาชาติ คณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ได้เสนอให้ขยายสมาชิกภาพของคณะกรรมาธิการฯ ในลักษณะเปิดกว้างให้แก่รัฐสมาชิกทั้งหมด และให้มีคณะที่ปรึกษาสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมาธิการฯ โดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ เห็นว่า ในระยะยาว รัฐสมาชิกควรพิจารณายกระดับคณะกรรมาธิการนี้เป็น คณะมนตรีด้านสิทธิมนุษยชน
(7) จำเป็นที่จะต้องมีสำนักเลขาธิการฯ ที่มีการจัดการและมีความเป็นวิชาชีพที่สามารถทำงานได้อย่างสอดประสานยิ่งขึ้น
สำหรับประเด็นสำคัญที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชน ได้แก่
1. การปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงฯ ซึ่งรายงานฉบับนี้ได้เสนอแนวทางการปรับโครงสร้างของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ไว้ 2 ทางเลือกคือ
(1) Model A เสนอให้แต่ละภูมิภาค (แอฟริกา เอเชียและแปซิฟิก ยุโรป และอเมริกา)
มีสมาชิกภูมิภาคละ 6 ประเทศ รวมเป็น 24 ประเทศ โดยแบ่งเป็นสมาชิกถาวร 11 ประเทศ (จากแอฟริกา
2 ประเทศ เอเชียและแปซิฟิก 2 ประเทศ ยุโรป 1 ประเทศ และลาตินอเมริกา 1 ประเทศ) สมาชิกไม่ถาวร 13 ประเทศ
(2) Model B เสนอให้แต่ละภูมิภาคมีสมาชิก 6 ประเทศ รวมเป็น 24 ประเทศ โดยมีสมาชิกถาวร 5 ประเทศเท่าเดิม และมีสมาชิกไม่ถาวรที่มีวาระ 4 ปีและสามารถสมัครซ้ำได้ภูมิภาคละ 2 ประเทศ (รวม 8 ประเทศ) และสมาชิกไม่ถาวรที่มีวาระ 2 ปีและสมัครซ้ำไม่ได้อีก 11 ประเทศ ทั้งนี้ เสนอไม่ให้มีการขยายสิทธิยับยั้งจากที่สมาชิกถาวร 5 ประเทศในปัจจุบันมีอยู่
2. การแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติในเรื่องอื่นๆ ได้แก่ การแก้ไขกฎบัตรข้อ 53 และ 107 ที่มีการระบุรัฐที่เป็นศัตรู ยกเลิกหมวดที่ 8 ของกฎบัตร ซึ่งจะมีผลให้เป็นการยุบคณะมนตรีภาวะทรัสตี และยกเลิกกฎบัตรข้อ26 45 46 และ47 ซึ่งจะมีผลให้มีการยุบคณะกรรมการเสนาธิการทหารซึ่งมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความต้องการทางทหารแก่คณะมนตรีความมั่นคงฯ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-