ผ้าเชิงจก (ผ้าจก)
ผ้าเชิงจก เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีเทคนิคและวิธีการสลับซับซ้อนกว่าผ้าทอชนิดอื่น ๆ วิธีการทอผ้าเชิงจกคือการสอดเส้นไหมหรือด้ายให้เกิดลวดลายในขณะที่ทำการทอ ทำนองปักผสมทอ วิธีการจกแต่ละแห่งอาจจะไม่เหมือนกัน บางแห่งทอจกลายทางด้านหน้าผ้า โดยใช้ขนแม่นนับเส้นยืน และควักเส้นไหมพุ่งขึ้นเพื่อทำให้เกิดลวดลายหรือดึงด้ายจากข้างล่างสอดสลับ ไปตามความต้องการ ซึ่งการควักเส้นไหมนั้นถ้าเป็นผู้ที่มีความชำนาญจะทำได้รวดเร็ว คล้ายอาการ "ฉก" ของงู ดังนั้น คำว่า "จก" จึงอาจเพี้ยนมาจากคำว่า ฉก ก็ได้
การทอผ้าเชิงจก ส่วนเชิงซิ่น
ผ้าซิ่นเชิงจก (ตีนจก) มีความละเอียดประณีตอ่อนช้อย มีความหมายในตัวเอง ความประณีตของลวดลายเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้มีอารมณ์เยือกเย็นสุขุม กฎเกณฑ์ บางครั้งอาจซ่อนเร้นเรื่องราวและเนื้อหาที่สมารถเล่าขานถึงความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชน การตั้งถิ่นฐาน เชื้อชาติ สภาพภูมิศาสตร์ ความเชื่อ ประเพณี เข้าไว้ด้วยจากการได้วิเคราะห์ดูความสมบูรณ์ของผ้าแต่ละผืน จะมีส่วนประกอบเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ
ส่วนหัวซิ่น ซึ่งใช้ผ้าพื้นเป็นสีขาว หรือสีแดง เย็บติดกับส่วนหัว เพราะเวลานุ่งจะทำให้ชายพกที่พับเข้าไปในเข็มขัดไม่หนาเกินไป
ส่วนตัวซิ่น จะทอเป็นผ้าพื้นหรือทอยกมุกสีต่างๆ
ส่วนเชิงซิ่น จะทอจกเป็นลวดลายที่สวยงาม
แต่ละส่วนจะทอแยกกัน แล้วนำมาเย็บต่อกันด้วยมืออย่างประณีต เรียกรวมว่า ผ้าซิ่นตีนจก
ผ้าซิ่นตีนจก
ลักษณะเฉพาะของผ้าเชิงจก คือ การทอทั่วไปเพื่อใช้เป็นเชิงของผ้าซิ่น จะมีสีสันลวดลายของแต่ละลาย ซึ่งเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ สังเกตได้ง่าย เนื้อผ้าจะเรียบด้านหน้า ส่วนด้านหลังจะมีรอยต่อเป็นปุ่มปม ทั้งนี้เพราะผ้าทั้งสองชนิดนี้ใช้เส้นพุ่งทอเป็นสีเดียวกันตลอดแถว ส่วนผ้าจกใช้ด้ายจกเปลี่ยนสีไปเรื่อย ๆ ในแถวเดียวกัน
ผ้าเชิงจกมีการทอกันมากที่ในจังหวัดต่างๆ บริเวณภาคเหนือและภาคกลางได้แก่
- อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
- อ.ลอง จ.แพร่
- อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
- อ.ลับแล อ.ตรอน อ.ฟากท่า จ.อุตรดิตถ์
- อ.บ้านไร่ อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี
- อ.หันคา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
- อ.ด่านช้าง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี
ผ้ายก
ผ้ายก เป็นผ้าทอพื้นบ้านของประเทศไทย อีกประเภทหนึ่งที่มีมาแต่โบราณกาลเช่นกัน มีความเป็นเอกลักษณ์พิเศษที่สวยงามมาก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งการทอผ้ายกคือ การเพิ่มลวดลายในเนื้อผ้าให้พิเศษขึ้น มีเทคนิคการทอคล้ายกับผ้าขิดมากต่างกันที่ผ้ายกบางครั้งจะทอลายพิเศษ มีชายมีเชิงที่แปลกออกไป การทอจึงต้องใช้เทคนิคการคัดเก็บลายด้วยไม้เรียวปลายแหลม ตามลวดลายที่กำหนดจนครบลายคัดยกเส้นยืนขึ้น เป็นจังหวะลวดลายเฉพาะ แล้วสอดเส้นพุ่งไปเป็นแนวทอกระทบตามลายที่คัดไว้ ทอจนเต็มลาย ส่วนตัวผืนผ้าต้องใช้เทคนิคการเก็บตะกอลอย (เขาลอย) เพื่อผู้ทอจะได้สะดวกไม่ต้องคัดเก็บลาย แล้วถอดออก เมื่อจะทอต้องเก็บใหม่ทุกครั้ง การเก็บตะกอลอย (เขาลอย) ทำให้การทอรวดเร็วขึ้น การทอผ้ายกนั้นใช้เวลานานมาก มีความสลับซับซ้อน ถ้ามีลวดลายตกแต่งพิเศษมาก ๆ ต้องใช้ความละเอียดประณีตในการทอ บางครั้งผ้าที่มีความยาว 3 หลา ต้องใช้เวลาทอถึง 3 เดือน จึงจะได้ ดังนั้นผ้ายกจึงเป็นผ้าที่ทอใช้ในโอกาสพิเศษจริง ๆ
ลักษณะเฉพาะของผ้ายก ก็คือ จะทอด้วยไหมทั้งผืนหรือยกดิ้นเงิน จะเรียกว่าผ้ายกเงินหรือ ถ้าทอยกด้วยดิ้นทองจะเรียกว่าผ้ายกทอง ผ้ายกที่ทอมีเชิงก็จะเรียกผ้ายกเชิงเงินหรือทองตามลักษณะขอวัสดุที่ใช้ลวดลายก็จะบ่งบอกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น ผ้ายกจะมีการทอมากที่สุดทางภาคเหนือของประเทศไทย ที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคใต้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี
การทอผ้าที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีมาช้านานเพราะในดินแดนแถบนี้มีการติดต่อค้าขายและ รับเอาศิลปวัฒนะธรรมจากชนชาติที่เจริญแล้วอยู่เสมอ เช่น จีน อินเดีย อาหรับ ฉะนั้น ชนชาติเหล่านี้คงนำวิธีการทอผ้ามาถ่ายทอดไว้ สมัยก่อนชาวเมืองนครนิยมนุ่งผ้าโจงกระเบนทั้งชายและหญิง ซึ่งส่วนใหญ่ผ้ายกทองจะใช้เฉพาะเจ้าเมืองหรือเจ้านายผู้ใหญ่เท่านั้น ปัจจุบันการทอ
ผ้ายกในเมืองนครฯ มีไม่มากนัก
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ผ้าเชิงจก เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีเทคนิคและวิธีการสลับซับซ้อนกว่าผ้าทอชนิดอื่น ๆ วิธีการทอผ้าเชิงจกคือการสอดเส้นไหมหรือด้ายให้เกิดลวดลายในขณะที่ทำการทอ ทำนองปักผสมทอ วิธีการจกแต่ละแห่งอาจจะไม่เหมือนกัน บางแห่งทอจกลายทางด้านหน้าผ้า โดยใช้ขนแม่นนับเส้นยืน และควักเส้นไหมพุ่งขึ้นเพื่อทำให้เกิดลวดลายหรือดึงด้ายจากข้างล่างสอดสลับ ไปตามความต้องการ ซึ่งการควักเส้นไหมนั้นถ้าเป็นผู้ที่มีความชำนาญจะทำได้รวดเร็ว คล้ายอาการ "ฉก" ของงู ดังนั้น คำว่า "จก" จึงอาจเพี้ยนมาจากคำว่า ฉก ก็ได้
การทอผ้าเชิงจก ส่วนเชิงซิ่น
ผ้าซิ่นเชิงจก (ตีนจก) มีความละเอียดประณีตอ่อนช้อย มีความหมายในตัวเอง ความประณีตของลวดลายเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้มีอารมณ์เยือกเย็นสุขุม กฎเกณฑ์ บางครั้งอาจซ่อนเร้นเรื่องราวและเนื้อหาที่สมารถเล่าขานถึงความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชน การตั้งถิ่นฐาน เชื้อชาติ สภาพภูมิศาสตร์ ความเชื่อ ประเพณี เข้าไว้ด้วยจากการได้วิเคราะห์ดูความสมบูรณ์ของผ้าแต่ละผืน จะมีส่วนประกอบเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ
ส่วนหัวซิ่น ซึ่งใช้ผ้าพื้นเป็นสีขาว หรือสีแดง เย็บติดกับส่วนหัว เพราะเวลานุ่งจะทำให้ชายพกที่พับเข้าไปในเข็มขัดไม่หนาเกินไป
ส่วนตัวซิ่น จะทอเป็นผ้าพื้นหรือทอยกมุกสีต่างๆ
ส่วนเชิงซิ่น จะทอจกเป็นลวดลายที่สวยงาม
แต่ละส่วนจะทอแยกกัน แล้วนำมาเย็บต่อกันด้วยมืออย่างประณีต เรียกรวมว่า ผ้าซิ่นตีนจก
ผ้าซิ่นตีนจก
ลักษณะเฉพาะของผ้าเชิงจก คือ การทอทั่วไปเพื่อใช้เป็นเชิงของผ้าซิ่น จะมีสีสันลวดลายของแต่ละลาย ซึ่งเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ สังเกตได้ง่าย เนื้อผ้าจะเรียบด้านหน้า ส่วนด้านหลังจะมีรอยต่อเป็นปุ่มปม ทั้งนี้เพราะผ้าทั้งสองชนิดนี้ใช้เส้นพุ่งทอเป็นสีเดียวกันตลอดแถว ส่วนผ้าจกใช้ด้ายจกเปลี่ยนสีไปเรื่อย ๆ ในแถวเดียวกัน
ผ้าเชิงจกมีการทอกันมากที่ในจังหวัดต่างๆ บริเวณภาคเหนือและภาคกลางได้แก่
- อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
- อ.ลอง จ.แพร่
- อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
- อ.ลับแล อ.ตรอน อ.ฟากท่า จ.อุตรดิตถ์
- อ.บ้านไร่ อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี
- อ.หันคา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
- อ.ด่านช้าง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี
ผ้ายก
ผ้ายก เป็นผ้าทอพื้นบ้านของประเทศไทย อีกประเภทหนึ่งที่มีมาแต่โบราณกาลเช่นกัน มีความเป็นเอกลักษณ์พิเศษที่สวยงามมาก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งการทอผ้ายกคือ การเพิ่มลวดลายในเนื้อผ้าให้พิเศษขึ้น มีเทคนิคการทอคล้ายกับผ้าขิดมากต่างกันที่ผ้ายกบางครั้งจะทอลายพิเศษ มีชายมีเชิงที่แปลกออกไป การทอจึงต้องใช้เทคนิคการคัดเก็บลายด้วยไม้เรียวปลายแหลม ตามลวดลายที่กำหนดจนครบลายคัดยกเส้นยืนขึ้น เป็นจังหวะลวดลายเฉพาะ แล้วสอดเส้นพุ่งไปเป็นแนวทอกระทบตามลายที่คัดไว้ ทอจนเต็มลาย ส่วนตัวผืนผ้าต้องใช้เทคนิคการเก็บตะกอลอย (เขาลอย) เพื่อผู้ทอจะได้สะดวกไม่ต้องคัดเก็บลาย แล้วถอดออก เมื่อจะทอต้องเก็บใหม่ทุกครั้ง การเก็บตะกอลอย (เขาลอย) ทำให้การทอรวดเร็วขึ้น การทอผ้ายกนั้นใช้เวลานานมาก มีความสลับซับซ้อน ถ้ามีลวดลายตกแต่งพิเศษมาก ๆ ต้องใช้ความละเอียดประณีตในการทอ บางครั้งผ้าที่มีความยาว 3 หลา ต้องใช้เวลาทอถึง 3 เดือน จึงจะได้ ดังนั้นผ้ายกจึงเป็นผ้าที่ทอใช้ในโอกาสพิเศษจริง ๆ
ลักษณะเฉพาะของผ้ายก ก็คือ จะทอด้วยไหมทั้งผืนหรือยกดิ้นเงิน จะเรียกว่าผ้ายกเงินหรือ ถ้าทอยกด้วยดิ้นทองจะเรียกว่าผ้ายกทอง ผ้ายกที่ทอมีเชิงก็จะเรียกผ้ายกเชิงเงินหรือทองตามลักษณะขอวัสดุที่ใช้ลวดลายก็จะบ่งบอกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น ผ้ายกจะมีการทอมากที่สุดทางภาคเหนือของประเทศไทย ที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคใต้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี
การทอผ้าที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีมาช้านานเพราะในดินแดนแถบนี้มีการติดต่อค้าขายและ รับเอาศิลปวัฒนะธรรมจากชนชาติที่เจริญแล้วอยู่เสมอ เช่น จีน อินเดีย อาหรับ ฉะนั้น ชนชาติเหล่านี้คงนำวิธีการทอผ้ามาถ่ายทอดไว้ สมัยก่อนชาวเมืองนครนิยมนุ่งผ้าโจงกระเบนทั้งชายและหญิง ซึ่งส่วนใหญ่ผ้ายกทองจะใช้เฉพาะเจ้าเมืองหรือเจ้านายผู้ใหญ่เท่านั้น ปัจจุบันการทอ
ผ้ายกในเมืองนครฯ มีไม่มากนัก
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-