ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.พิจารณาปัญหาเอ็นพีแอลของ ธ.กรุงไทยเสร็จสิ้นแล้ว นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้พิจารณาปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)
ของ ธ.กรุงไทยจำนวน 12 รายเสร็จสิ้นแล้ว โดยผลการพิจารณาแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกมีสินเชื่อจำนวน
หนึ่งที่สรุปได้ว่ามีการปล่อยสินเชื่อหละหลวม ซึ่ง ธ.กรุงไทยจะต้องนำไปพิจารณาถึงสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหา
ต่อไป อีกส่วนเป็นสินเชื่อที่มีปัญหามากกว่าความหละหลวม ซึ่งจะต้องสอบสวนต่อไปว่ามีการทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง
หรือไม่ ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกันต่อระหว่างเจ้าหน้าที่ของ ธปท.และเจ้าหน้าที่ของ ธ.กรุงไทย (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีในเดือน พ.ย.47 สูงกว่าประมาณการ 22.48% อธิบดีกรมสรรพากร
เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บภาษีอากรในช่วง 2 เดือนแรกของปี งปม.48 (ต.ค.-พ.ย.47) ว่า กรมสรรพากรสามารถ
จัดเก็บภาษีได้รวมทั้งสิ้น 114,638 ล.บาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งปม. 15,652 ล.บาท คิดเป็น 15.81%
สำหรับผลการจัดเก็บภาษีในเดือน พ.ย.47 สามารถจัดเก็บได้รวมทั้งสิ้น 62,484 ล.บาท สูงกว่าประมาณการ
11,466 ล.บาท คิดเป็น 22.48% และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 16,450 ล.บาท คิดเป็น 35.74% โดยภาษี
ที่จัดเก็บได้มากที่สุดคือ ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 32.26% ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่า
ประมาณการ 61.60% และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 8.94% ทั้งนี้ สาเหตุที่สามารถ
จัดเก็บภาษีได้สูงกว่าเป้าหมายมากเนื่องจาก การที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยเห็นผลชัดเจนจากภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่สะท้อนรายได้จากค่าจ้างแรงงานและผลกำไรจากการลงทุนของภาคเอกชน
ประกอบกับภาษีมูลค่าเพิ่มก็ขยายตัวอย่างเห็นได้ชัดจากการนำเข้าและการบริโภคภายในประเทศ อนึ่ง คาดว่าในปี
งปม.48 กรมสรรพากรจะสามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ประมาณ 820,000 ล.บาท (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ,ข่าวสด)
3. การเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-สรอ.ครั้งที่ 3 มีการเลื่อนเพื่อรอนโยบายที่ชัดเจนหลังการเลือก
ตั้ง นายนิตย์ พิบูลสงคราม ที่ปรึกษา รมว.ต่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ)
ระหว่างไทยกับ สรอ. เปิดเผยว่า ขณะนี้การเจรจาข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างไทยและ สรอ. ได้เลื่อนการลง
นามความตกลงร่วมกันครั้งที่ 3 จากเดิมที่กำหนดไว้ภายในต้นเดือน ธ.ค.47 ไปเป็นภายหลังการเลือกตั้งที่จะถึงนี้
ประมาณต้นเดือน มี.ค.48 เพื่อรอความชัดเจนของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาเป็นผู้กำหนดนโยบายต่อไป (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
4. ทิศทางการส่งออกข้าวและมันสำปะหลังของไทยยังคงสดใส อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิด
เผยว่า ในเดือน พ.ย.47 ไทยส่งออกข้าวได้จำนวน 950,000 ตัน ลดลงจากเดือน ก.ย. 13% หรือคิดเป็น
มูลค่า 264 ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลง 6% แต่เมื่อรวมยอด 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.47) ไทยส่งออกข้าวเป็น
จำนวนถึง 9.26 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 38% โดยคิดเป็นมูลค่า 2,478 ล.ดอลลาร์ สรอ.
หรือเพิ่มขึ้น 55% ขณะที่การส่งออกมันสำปะหลังในช่วง 11 เดือนมีมูลค่ารวม 30,202.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันของปีก่อน 34.21% (โลกวันนี้, ข่าวสด, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จีดีพีของญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ปี 47 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 8 ธ.ค.47
รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ปี 47 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1
(คำนวณภายใต้วิธีการใหม่ที่สะท้อนด้านราคาได้อย่างถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น) ส่วนจีดีพีในไตรมาส 2 (หลังการ
ทบทวนตัวเลขแล้ว) ลดลงร้อยละ 0.1 เช่นกัน เทียบต่อไตรมาส ตรงข้ามกับที่ได้ประกาศไว้ในเบื้องต้นว่าจะขยาย
ตัวร้อยละ 0.3 ทำลายความคาดหวังที่ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้เริ่มขยายตัวเมื่อต้นปี 46 และหากเทียบต่อปีจีดีพีในไตร
มาส 3 ที่ปรับตัวเลขแล้วขยายตัวลดลงที่ระดับร้อยละ 0.2 จากเดิมที่ระดับร้อยละ 0.3 ทั้งนี้ อุปสงค์จากทั่วโลกที่
ชะลอตัวส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสุทธิของญี่ปุ่นลดลง อันทำให้จีดีพีในไตรมาส 3 ชะลอตัวลงหลังจากที่ผลักดันให้
เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวในไตรมาสก่อน และนับเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ไตรมาสที่ตัวเลขด้านการค้าไม่สนับสนุนการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ การบริโภคภาคครัวเรือนขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2 ลดลงจากที่ประมาณ
การก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.9 ส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ข้อมูลด้านการบริโภคใหม่โดย
เฉพาะรายการใช้จ่ายสินค้าที่มีราคาแพงและการใช้จ่ายสินค้าหมวดเทคโนโลยี (รอยเตอร์)
2. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 9 ธ.ค.47 นี้
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 9 ธ.ค.47 ผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษ
จะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปีเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันในการประชุมในวันที่ 9 ธ.ค.47
นี้โดยมีกำหนดจะประกาศผลการประชุมเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในเวลา 12.00 น.ตามเวลากรีนนิช โดยคาด
ว่าเป็นผลมาจากตัวเลขยอดค้าปลีกของเดือนที่แล้วที่ลดลงต่ำกว่าปีก่อนและผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ต.ค.47 หด
ตัวเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ในขณะที่มีความเห็นแบ่งแยกในระหว่างผู้ถูกสำรวจว่า ธ.กลางอังกฤษจะประกาศขึ้น
อัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปเมื่อใด โดย 20 ใน 45 ของผู้ถูกสำรวจคาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก
แล้ว ในขณะที่มี 23 คนที่คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยอย่างเร็วที่สุดไม่น่า
จะก่อนเดือน ก.พ. ปีหน้าเพราะตัวเลขเศรษฐกิจของช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ไม่สามารถเอามาเป็นตัวชี้วัด
ได้ ในขณะที่ ธ.กลางอังกฤษยังต้องการที่จะดูว่าเศรษฐกิจของประเทศมีการตอบรับอย่างไรบ้างกับการขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยถึง 5 ครั้งนับตั้งแต่ปี 46 (รอยเตอร์)
3. ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้ในเดือน พ.ย.47 ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ
4 ปี รายงานจากโซล เมื่อ 9 ธ.ค.47 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้ในเดือน พ.ย.47 ลดลง
มาอยู่ที่ระดับ 86.6 จากระดับ 88.0 ในเดือน ต.ค.47 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.43 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 82.2 โดยมี
แนวโน้มลดลงตั้งแต่เดือน พ.ค.47 เป็นต้นมาหลังจากในเดือน เม.ย.47 อยู่ที่ระดับ 99.9 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน
ก.ย.45 ตัวเลขดัชนีที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่าชาวเกาหลีใต้ที่จะคาดว่าภาวะเศรษฐกิจและมาตรฐานการครองชีพใน
อีก 6 เดือนข้างหน้าจะเลวลงมีจำนวนมากกว่าผู้ที่คาดว่าจะดีขึ้น สนง.สถิติแห่งชาติประกาศตัวเลขดัชนีดังกล่าวก่อน
หน้าที่จะมีการประชุม ธ.กลางเกาหลีใต้ไม่กี่ชั่วโมง ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ 6
ใน 10 คนคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม ในขณะที่อีก 4 คนคาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ย
อีกเป็นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่ปีที่แล้วเพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศซึ่งยังอยู่ในภาวะซบเซามาเป็นเวลา 2 ปีแล้วหลัง
เกิดภาวะฟองสบู่สินเชื่อส่วนบุคคลซึ่งรัฐบาลให้การสนับสนุนทำให้ชาวเกาหลีใต้มีภาวะหนี้สินเพิ่มขึ้น ในขณะที่การส่ง
ออกซึ่งเป็นตัวหลักในการผลักดันเศรษฐกิจในพ้นจากภาวะถดถอยเมื่อต้นปีที่แล้วเริ่มชะลอตัว รัฐบาลเองก็ยอมรับว่า
เศรษฐกิจในปีนี้อาจขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 5.0 ตามที่ตั้งเป้าไว้ (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6.9 ต่ำสุดในรอบ
18 เดือน รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 8 ธ.ค.47 รัฐบาลมาเลเซีย เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของ
มาเลเซียในเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 18 เดือนที่ร้อยละ 6.9 รวมทั้งน้อยกว่าที่ผลสำรวจรอยเตอร์
คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เนื่องจากความต้องการสินค้าจากทั่วโลกชะลอตัวลง โดยเฉพาะสินค้าหมวด
เทคโนโลยีที่เป็นพลังขับเคลื่อนการส่งออกที่สำคัญของมาเลเซีย อาทิเช่น สินค้าหมวดเซมิคอนดักเตอร์และ
อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ รัฐบาลมาเลเซียประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.0 หรือ
มากกว่า และจะขยายตัวร้อยละ 6.0 ในปีถัดไป แต่จากการที่ตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมและภาวะการค้าในเดือน
ต.ค.ชะลอตัวกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้เกิคดวามสงสัยว่ามาเลเซียจะสามารถบรรลุเป้าหมายการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจในปี 48 ที่ตั้งไว้หรือไม่ สำหรับผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งมีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์ใน
ประเทศ (จีดีพี) ในเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6.2 นับเป็นการขยายตัวที่น้อยที่สุดตั้งแต่เดือน ม.ค.46
เป็นต้นมา ในขณะที่ผลผลิตภาคเหมืองแร่และอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 10.1 และ 8.3 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 ธ.ค.47 8 ธ.ค 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.308 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.1020/39.3814 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.78125-1.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 645.41/ 16.86 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,200/8,300 8,350/8,450 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 32.91 33.25 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 20.39*/14.59 20.39*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 8 ธ.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.พิจารณาปัญหาเอ็นพีแอลของ ธ.กรุงไทยเสร็จสิ้นแล้ว นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้พิจารณาปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)
ของ ธ.กรุงไทยจำนวน 12 รายเสร็จสิ้นแล้ว โดยผลการพิจารณาแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกมีสินเชื่อจำนวน
หนึ่งที่สรุปได้ว่ามีการปล่อยสินเชื่อหละหลวม ซึ่ง ธ.กรุงไทยจะต้องนำไปพิจารณาถึงสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหา
ต่อไป อีกส่วนเป็นสินเชื่อที่มีปัญหามากกว่าความหละหลวม ซึ่งจะต้องสอบสวนต่อไปว่ามีการทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง
หรือไม่ ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกันต่อระหว่างเจ้าหน้าที่ของ ธปท.และเจ้าหน้าที่ของ ธ.กรุงไทย (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีในเดือน พ.ย.47 สูงกว่าประมาณการ 22.48% อธิบดีกรมสรรพากร
เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บภาษีอากรในช่วง 2 เดือนแรกของปี งปม.48 (ต.ค.-พ.ย.47) ว่า กรมสรรพากรสามารถ
จัดเก็บภาษีได้รวมทั้งสิ้น 114,638 ล.บาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งปม. 15,652 ล.บาท คิดเป็น 15.81%
สำหรับผลการจัดเก็บภาษีในเดือน พ.ย.47 สามารถจัดเก็บได้รวมทั้งสิ้น 62,484 ล.บาท สูงกว่าประมาณการ
11,466 ล.บาท คิดเป็น 22.48% และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 16,450 ล.บาท คิดเป็น 35.74% โดยภาษี
ที่จัดเก็บได้มากที่สุดคือ ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 32.26% ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่า
ประมาณการ 61.60% และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 8.94% ทั้งนี้ สาเหตุที่สามารถ
จัดเก็บภาษีได้สูงกว่าเป้าหมายมากเนื่องจาก การที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยเห็นผลชัดเจนจากภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่สะท้อนรายได้จากค่าจ้างแรงงานและผลกำไรจากการลงทุนของภาคเอกชน
ประกอบกับภาษีมูลค่าเพิ่มก็ขยายตัวอย่างเห็นได้ชัดจากการนำเข้าและการบริโภคภายในประเทศ อนึ่ง คาดว่าในปี
งปม.48 กรมสรรพากรจะสามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ประมาณ 820,000 ล.บาท (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ,ข่าวสด)
3. การเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-สรอ.ครั้งที่ 3 มีการเลื่อนเพื่อรอนโยบายที่ชัดเจนหลังการเลือก
ตั้ง นายนิตย์ พิบูลสงคราม ที่ปรึกษา รมว.ต่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ)
ระหว่างไทยกับ สรอ. เปิดเผยว่า ขณะนี้การเจรจาข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างไทยและ สรอ. ได้เลื่อนการลง
นามความตกลงร่วมกันครั้งที่ 3 จากเดิมที่กำหนดไว้ภายในต้นเดือน ธ.ค.47 ไปเป็นภายหลังการเลือกตั้งที่จะถึงนี้
ประมาณต้นเดือน มี.ค.48 เพื่อรอความชัดเจนของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาเป็นผู้กำหนดนโยบายต่อไป (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
4. ทิศทางการส่งออกข้าวและมันสำปะหลังของไทยยังคงสดใส อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิด
เผยว่า ในเดือน พ.ย.47 ไทยส่งออกข้าวได้จำนวน 950,000 ตัน ลดลงจากเดือน ก.ย. 13% หรือคิดเป็น
มูลค่า 264 ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลง 6% แต่เมื่อรวมยอด 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.47) ไทยส่งออกข้าวเป็น
จำนวนถึง 9.26 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 38% โดยคิดเป็นมูลค่า 2,478 ล.ดอลลาร์ สรอ.
หรือเพิ่มขึ้น 55% ขณะที่การส่งออกมันสำปะหลังในช่วง 11 เดือนมีมูลค่ารวม 30,202.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันของปีก่อน 34.21% (โลกวันนี้, ข่าวสด, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จีดีพีของญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ปี 47 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 8 ธ.ค.47
รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ปี 47 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1
(คำนวณภายใต้วิธีการใหม่ที่สะท้อนด้านราคาได้อย่างถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น) ส่วนจีดีพีในไตรมาส 2 (หลังการ
ทบทวนตัวเลขแล้ว) ลดลงร้อยละ 0.1 เช่นกัน เทียบต่อไตรมาส ตรงข้ามกับที่ได้ประกาศไว้ในเบื้องต้นว่าจะขยาย
ตัวร้อยละ 0.3 ทำลายความคาดหวังที่ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้เริ่มขยายตัวเมื่อต้นปี 46 และหากเทียบต่อปีจีดีพีในไตร
มาส 3 ที่ปรับตัวเลขแล้วขยายตัวลดลงที่ระดับร้อยละ 0.2 จากเดิมที่ระดับร้อยละ 0.3 ทั้งนี้ อุปสงค์จากทั่วโลกที่
ชะลอตัวส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสุทธิของญี่ปุ่นลดลง อันทำให้จีดีพีในไตรมาส 3 ชะลอตัวลงหลังจากที่ผลักดันให้
เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวในไตรมาสก่อน และนับเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ไตรมาสที่ตัวเลขด้านการค้าไม่สนับสนุนการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ การบริโภคภาคครัวเรือนขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2 ลดลงจากที่ประมาณ
การก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.9 ส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ข้อมูลด้านการบริโภคใหม่โดย
เฉพาะรายการใช้จ่ายสินค้าที่มีราคาแพงและการใช้จ่ายสินค้าหมวดเทคโนโลยี (รอยเตอร์)
2. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 9 ธ.ค.47 นี้
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 9 ธ.ค.47 ผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษ
จะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปีเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันในการประชุมในวันที่ 9 ธ.ค.47
นี้โดยมีกำหนดจะประกาศผลการประชุมเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในเวลา 12.00 น.ตามเวลากรีนนิช โดยคาด
ว่าเป็นผลมาจากตัวเลขยอดค้าปลีกของเดือนที่แล้วที่ลดลงต่ำกว่าปีก่อนและผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ต.ค.47 หด
ตัวเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ในขณะที่มีความเห็นแบ่งแยกในระหว่างผู้ถูกสำรวจว่า ธ.กลางอังกฤษจะประกาศขึ้น
อัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปเมื่อใด โดย 20 ใน 45 ของผู้ถูกสำรวจคาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก
แล้ว ในขณะที่มี 23 คนที่คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยอย่างเร็วที่สุดไม่น่า
จะก่อนเดือน ก.พ. ปีหน้าเพราะตัวเลขเศรษฐกิจของช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ไม่สามารถเอามาเป็นตัวชี้วัด
ได้ ในขณะที่ ธ.กลางอังกฤษยังต้องการที่จะดูว่าเศรษฐกิจของประเทศมีการตอบรับอย่างไรบ้างกับการขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยถึง 5 ครั้งนับตั้งแต่ปี 46 (รอยเตอร์)
3. ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้ในเดือน พ.ย.47 ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ
4 ปี รายงานจากโซล เมื่อ 9 ธ.ค.47 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้ในเดือน พ.ย.47 ลดลง
มาอยู่ที่ระดับ 86.6 จากระดับ 88.0 ในเดือน ต.ค.47 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.43 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 82.2 โดยมี
แนวโน้มลดลงตั้งแต่เดือน พ.ค.47 เป็นต้นมาหลังจากในเดือน เม.ย.47 อยู่ที่ระดับ 99.9 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน
ก.ย.45 ตัวเลขดัชนีที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่าชาวเกาหลีใต้ที่จะคาดว่าภาวะเศรษฐกิจและมาตรฐานการครองชีพใน
อีก 6 เดือนข้างหน้าจะเลวลงมีจำนวนมากกว่าผู้ที่คาดว่าจะดีขึ้น สนง.สถิติแห่งชาติประกาศตัวเลขดัชนีดังกล่าวก่อน
หน้าที่จะมีการประชุม ธ.กลางเกาหลีใต้ไม่กี่ชั่วโมง ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ 6
ใน 10 คนคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม ในขณะที่อีก 4 คนคาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ย
อีกเป็นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่ปีที่แล้วเพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศซึ่งยังอยู่ในภาวะซบเซามาเป็นเวลา 2 ปีแล้วหลัง
เกิดภาวะฟองสบู่สินเชื่อส่วนบุคคลซึ่งรัฐบาลให้การสนับสนุนทำให้ชาวเกาหลีใต้มีภาวะหนี้สินเพิ่มขึ้น ในขณะที่การส่ง
ออกซึ่งเป็นตัวหลักในการผลักดันเศรษฐกิจในพ้นจากภาวะถดถอยเมื่อต้นปีที่แล้วเริ่มชะลอตัว รัฐบาลเองก็ยอมรับว่า
เศรษฐกิจในปีนี้อาจขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 5.0 ตามที่ตั้งเป้าไว้ (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6.9 ต่ำสุดในรอบ
18 เดือน รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 8 ธ.ค.47 รัฐบาลมาเลเซีย เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของ
มาเลเซียในเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 18 เดือนที่ร้อยละ 6.9 รวมทั้งน้อยกว่าที่ผลสำรวจรอยเตอร์
คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เนื่องจากความต้องการสินค้าจากทั่วโลกชะลอตัวลง โดยเฉพาะสินค้าหมวด
เทคโนโลยีที่เป็นพลังขับเคลื่อนการส่งออกที่สำคัญของมาเลเซีย อาทิเช่น สินค้าหมวดเซมิคอนดักเตอร์และ
อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ รัฐบาลมาเลเซียประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.0 หรือ
มากกว่า และจะขยายตัวร้อยละ 6.0 ในปีถัดไป แต่จากการที่ตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมและภาวะการค้าในเดือน
ต.ค.ชะลอตัวกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้เกิคดวามสงสัยว่ามาเลเซียจะสามารถบรรลุเป้าหมายการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจในปี 48 ที่ตั้งไว้หรือไม่ สำหรับผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งมีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์ใน
ประเทศ (จีดีพี) ในเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6.2 นับเป็นการขยายตัวที่น้อยที่สุดตั้งแต่เดือน ม.ค.46
เป็นต้นมา ในขณะที่ผลผลิตภาคเหมืองแร่และอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 10.1 และ 8.3 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 ธ.ค.47 8 ธ.ค 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.308 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.1020/39.3814 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.78125-1.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 645.41/ 16.86 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,200/8,300 8,350/8,450 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 32.91 33.25 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 20.39*/14.59 20.39*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 8 ธ.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--