นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงวันรัฐธรรมนูญ (10 ธ.ค 47) ว่า รัฐธรรมนูณที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นฉบับของการปฏิรูปการเมือง โดยหัวใจของรัฐธรรมนูญฉบับ นี้ มี 4 ส่วน คือ 1. การเข้าสู่อำนาจรัฐ 2.การใช้อำนาจรัฐ 3. การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ 4. การมีส่วนร่วมของประชาชน แต่จากหัวใจของรัฐธรรมนูญนี้ ชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลปัจจุบันได้ทำให้เกิดเป็นรัฐธรรมนูญ ‘สีเทา’ ขึ้นตลอดเวลา 4 ปีในการบริหาราชหารแผ่นดินโดยการนำของ นายกฯทักษิณ ชินวัตร ได้ดำเนินการให้เกิดรัฐธรรมนูญ สีเทา ด้วยการดำเนินการที่ขัดหรือแย้ง และไม่สนใจเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูณ
โฆษกพรรค ปชป. กล่าวต่อว่า ในการกระทำที่ขัดต่อเจตนารมณ์ รัฐธรรมนูญนั้น ในส่วนแรก คือการเข้าสู่อำนาจรัฐ หัวใจสำคัญการเข้าสู่อำนาจรัฐ คือการเลือกตั้ง งค์กรที่ดูแลการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูณ คือคณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่จะเห็นได้ว่า กกต.ชุดปัจจุบัน ถูกวิพากษ์ วิจารณ์มากว่าได้รับการแทรกแซงการสรรหา กกต.จากรัฐบาลชุดนี้ และหลังจากที่ กกต.ทำหน้าที่ในการเลือกตั้งแล้วปรากฎว่ารัฐบาลชุดนี้ได้แสดงให้ประชาชนเห็นอยู่บ่อยครั้ง ว่ามีอำนาจเหนือ กกต. แม้แต่ล่าสุด คือการกำหนดวันเลือกตั้ง ซึ่งเป็นสิทธิและอำนาจหน้าที่ ของ กกต. ก็ถูกทำให้ ประชาชน มองว่ารัฐบาลใช้อำนาจแทรกแซง กกต. จากที่เดิมกำหนดวันเลือกตั้ง วันที่ 13 ก.พ.48 มาเป็นวันที่ 6 ก.พ. 48 เห็นได้ว่านี้คือการแทรกแซง กกต.ที่เห็นได้ชัด
นอกจากนี้ยังเห็นว่ามีการพยายามเข้าสู่อำนาจรัฐ ทางลัด โดยการดูด ส.ส. จากพรรคการเมืองอื่นด้วยการควบรวมพรรคการเมืองต่างๆเข้าไปเพื่อให้ นายกฯ ได้มีอำนาจรัฐอย่างเบ็ดเสร็จ ในฐานะที่เป็นนายกฯ ประการที่ 2 การใช้อำนาจรัฐ รัฐบาลชุดนี้ได้ใช้อำนาจรัฐในการเข้าไปแทรกแซง การทำงานขององค์กรอิสระในหลายกรณี ทั้งกระบวนการสรรหา และการทำงาน นอกจากน้รัฐบาลชุดนี้ยังให้อำนาจรัฐเข้าข่มขู่คุกคามฝ่ายตรงข้าม ในหลายกรณี เช่น คุกคามฝ่ายค้าน
ตลอด 4ปี ที่ผ่านมา ฝ่ายค้านถูกข่มขู่คุกคามตรวจสอบ ลอบฆ่าลอบทำร้ายจนบาดเจ็บ และเสียชีวิต รวมทั้งหมด 20 กรณี ด้วย กันโดยที่อำนาจรัฐไม่สามารถที่จะจัดการให้เกิดความยุติธรรมกับฝ่ายค้านหรือฝ่ายที่ตรงข้ามรัฐบาลได้เลย คนของพรรคประชาธิปัตย์ ถูกลอบทำร้ายลอบ ฆ่าประมาณ 10 รายเสียชีวิต บ้างบาดเจ็บ สาหัสบ้าง ไม่เคยมีการจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายบ้านเมืองได้เลย นี้คือการใช้อำนาจรัฐที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ’โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
ประการที่ 3 คือการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รัฐบาลชุดนี้ได้ทำลายระบบการตรวจสอบทั้งในสภาและนอกสภา การทำลายการตรวจสอบในสภา คือ เลือกตั้งเข้ามาไม่ถึง 250 เสียง รัฐบาลชุดนี้ก็ควบรวมพรรคเสรีธรรม ควบรวมพรรคความหวังใหม่ จนกระทั่งได้เสียงมาเกือบ 300 เสียง และก็ไปรวมพรรคชาติไทยมาเป็นรัฐบาล การควบรวมเช่นนี้ก็เพื่อไม่ให้ฝ่ายค้านได้ตรวจสอบการทำงานของ ท่านนายกฯ ได้ เพราะเสียงถึง 200 เสียง นอกจากนี้ นายกฯยังทำลายการตรวจสอบในสภาด้วยการไม่มาตอบกระทู้สด หรือกระทู้ทั่วไป โดยเห็นว่านายกฯมาตอบ เพียง 3 ครั้งในรอบ 4 ปี แล้วเรื่องสำคัญ ก็ไม่นำมาผ่านมาตรวจสอบในสภา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เอฟ ที เอ กับต่างประเทส ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายกับประเทศเป็นอย่างยิ่ง ในหลายกรณี หลายประเทศ ปัญหาความรุนแรงใน 3 จ.ชายแดนภาคใต้ ก็ไม่ได้รับการตรวจสอบจากสภา
ส่วนการทำลายการตรวจสอบ นอกสภา คือ การเข้าไปแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระ ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจสอบ เช่น แทรกแซงการทำงานของ ศาลรัฐธรรมนูณ ทรกแซงการทำงานของ ปปช. เช่น กรณี ให้ ปปช.ทำ หนังสือเรียกประธานวิปฝ่านค้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ไปให้ปากคำ เพื่อแถลงข่าวให้เกิดความเสียหาย ในขณะที่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ทั้งๆที่ไม่มีกฎหมายใด ให้ ปปช.ทำหนังสือเรียกตัวผู้ใดไปสอบสวน ปปช.ต้องดำเนินการในทางลับจนกว่าคดีแล้วเสร็จ นอกจากนี้ยังมี กรณี ใช้ ปปง.ตรวจสอบธุรกรรมทางการเงิน ของนักการเมืองฝ่านค้านของ เอ็น จีโอ ของนักวิชาการ ร่วมทั้งการใช้ ปปงยึดทรัพย์ กำนันเซี้ย เป็นต้น
ประการที่ 4 การมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐบาลชุดนี้ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามเจาตนารมณ์รัฐธรรมนูญ โดย กล่าวว่ารัฐธรรมนูญ ให้ประชาชนเข้าชื่อกัน 50,000 ชื่อเสนอกฎหมาย ปรากฎว่าพบ 2 ตัวอย่างคือ ประชาชนเข้าชื่อ 50,000 ชื่อ เสนอร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และร่าง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ปรากฎว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่เปิดโอกาสให้ร่าง กฎหมายชุดนี้ เข้าสู่การพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร และนอกจากนี้รัฐบาลชุดนี้ยังละเลยในเจตนารมณ์นี้คือการพิจารณาอนุมัติ โครงการต่างๆที่ประชาชนควรมีส่วนร่วมในการตรวจสอบตั้งแต่ต้น แต่ปรากฎว่ารัฐบาลชุดนี้ อนุมัติโครงการก่อนแล้วค่อย ไปทำประชาพิจารณ์ที่หลัง หรือไม่ก็ทั้งทำประชาพิจารณืไม่ฟังเสียงประชาชน อนุมัติไปทีเดียว
นายองอาจ กล่าวต่อ ว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่สร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่ดี ตามเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญทั้งที่รัฐบาลมีอำนาจอยู่ในมือ แต่ยังสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่เลวร้าย หลายด้านด้วยกัน คือ1.รัฐบาลไม่เป็นแบบอย่างที่ดีของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในเรื่องเสียงข้างมากต้องฟังเสียงข้างน้อย แต่รัฐบาลชุดนี้ใช้ระบบเสียงข้างมากลากไป 2. รัฐบาลชุดนี้ไม่รับฟังความเห็นที่แตกต่าง 3.รัฐบาลชุดนี้ไม่เคยมีกิจกรรมในการรณรงค์ตจ่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง 4.รัฐบาลชุดนี้ไม่จัดการเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจัง 5.รัฐบาลชุดนี้เอารัดเอาเปรียบนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ธ.ค. 2547--จบ--
-ดท-
โฆษกพรรค ปชป. กล่าวต่อว่า ในการกระทำที่ขัดต่อเจตนารมณ์ รัฐธรรมนูญนั้น ในส่วนแรก คือการเข้าสู่อำนาจรัฐ หัวใจสำคัญการเข้าสู่อำนาจรัฐ คือการเลือกตั้ง งค์กรที่ดูแลการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูณ คือคณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่จะเห็นได้ว่า กกต.ชุดปัจจุบัน ถูกวิพากษ์ วิจารณ์มากว่าได้รับการแทรกแซงการสรรหา กกต.จากรัฐบาลชุดนี้ และหลังจากที่ กกต.ทำหน้าที่ในการเลือกตั้งแล้วปรากฎว่ารัฐบาลชุดนี้ได้แสดงให้ประชาชนเห็นอยู่บ่อยครั้ง ว่ามีอำนาจเหนือ กกต. แม้แต่ล่าสุด คือการกำหนดวันเลือกตั้ง ซึ่งเป็นสิทธิและอำนาจหน้าที่ ของ กกต. ก็ถูกทำให้ ประชาชน มองว่ารัฐบาลใช้อำนาจแทรกแซง กกต. จากที่เดิมกำหนดวันเลือกตั้ง วันที่ 13 ก.พ.48 มาเป็นวันที่ 6 ก.พ. 48 เห็นได้ว่านี้คือการแทรกแซง กกต.ที่เห็นได้ชัด
นอกจากนี้ยังเห็นว่ามีการพยายามเข้าสู่อำนาจรัฐ ทางลัด โดยการดูด ส.ส. จากพรรคการเมืองอื่นด้วยการควบรวมพรรคการเมืองต่างๆเข้าไปเพื่อให้ นายกฯ ได้มีอำนาจรัฐอย่างเบ็ดเสร็จ ในฐานะที่เป็นนายกฯ ประการที่ 2 การใช้อำนาจรัฐ รัฐบาลชุดนี้ได้ใช้อำนาจรัฐในการเข้าไปแทรกแซง การทำงานขององค์กรอิสระในหลายกรณี ทั้งกระบวนการสรรหา และการทำงาน นอกจากน้รัฐบาลชุดนี้ยังให้อำนาจรัฐเข้าข่มขู่คุกคามฝ่ายตรงข้าม ในหลายกรณี เช่น คุกคามฝ่ายค้าน
ตลอด 4ปี ที่ผ่านมา ฝ่ายค้านถูกข่มขู่คุกคามตรวจสอบ ลอบฆ่าลอบทำร้ายจนบาดเจ็บ และเสียชีวิต รวมทั้งหมด 20 กรณี ด้วย กันโดยที่อำนาจรัฐไม่สามารถที่จะจัดการให้เกิดความยุติธรรมกับฝ่ายค้านหรือฝ่ายที่ตรงข้ามรัฐบาลได้เลย คนของพรรคประชาธิปัตย์ ถูกลอบทำร้ายลอบ ฆ่าประมาณ 10 รายเสียชีวิต บ้างบาดเจ็บ สาหัสบ้าง ไม่เคยมีการจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายบ้านเมืองได้เลย นี้คือการใช้อำนาจรัฐที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ’โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
ประการที่ 3 คือการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รัฐบาลชุดนี้ได้ทำลายระบบการตรวจสอบทั้งในสภาและนอกสภา การทำลายการตรวจสอบในสภา คือ เลือกตั้งเข้ามาไม่ถึง 250 เสียง รัฐบาลชุดนี้ก็ควบรวมพรรคเสรีธรรม ควบรวมพรรคความหวังใหม่ จนกระทั่งได้เสียงมาเกือบ 300 เสียง และก็ไปรวมพรรคชาติไทยมาเป็นรัฐบาล การควบรวมเช่นนี้ก็เพื่อไม่ให้ฝ่ายค้านได้ตรวจสอบการทำงานของ ท่านนายกฯ ได้ เพราะเสียงถึง 200 เสียง นอกจากนี้ นายกฯยังทำลายการตรวจสอบในสภาด้วยการไม่มาตอบกระทู้สด หรือกระทู้ทั่วไป โดยเห็นว่านายกฯมาตอบ เพียง 3 ครั้งในรอบ 4 ปี แล้วเรื่องสำคัญ ก็ไม่นำมาผ่านมาตรวจสอบในสภา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เอฟ ที เอ กับต่างประเทส ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายกับประเทศเป็นอย่างยิ่ง ในหลายกรณี หลายประเทศ ปัญหาความรุนแรงใน 3 จ.ชายแดนภาคใต้ ก็ไม่ได้รับการตรวจสอบจากสภา
ส่วนการทำลายการตรวจสอบ นอกสภา คือ การเข้าไปแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระ ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจสอบ เช่น แทรกแซงการทำงานของ ศาลรัฐธรรมนูณ ทรกแซงการทำงานของ ปปช. เช่น กรณี ให้ ปปช.ทำ หนังสือเรียกประธานวิปฝ่านค้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ไปให้ปากคำ เพื่อแถลงข่าวให้เกิดความเสียหาย ในขณะที่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ทั้งๆที่ไม่มีกฎหมายใด ให้ ปปช.ทำหนังสือเรียกตัวผู้ใดไปสอบสวน ปปช.ต้องดำเนินการในทางลับจนกว่าคดีแล้วเสร็จ นอกจากนี้ยังมี กรณี ใช้ ปปง.ตรวจสอบธุรกรรมทางการเงิน ของนักการเมืองฝ่านค้านของ เอ็น จีโอ ของนักวิชาการ ร่วมทั้งการใช้ ปปงยึดทรัพย์ กำนันเซี้ย เป็นต้น
ประการที่ 4 การมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐบาลชุดนี้ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามเจาตนารมณ์รัฐธรรมนูญ โดย กล่าวว่ารัฐธรรมนูญ ให้ประชาชนเข้าชื่อกัน 50,000 ชื่อเสนอกฎหมาย ปรากฎว่าพบ 2 ตัวอย่างคือ ประชาชนเข้าชื่อ 50,000 ชื่อ เสนอร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และร่าง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ปรากฎว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่เปิดโอกาสให้ร่าง กฎหมายชุดนี้ เข้าสู่การพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร และนอกจากนี้รัฐบาลชุดนี้ยังละเลยในเจตนารมณ์นี้คือการพิจารณาอนุมัติ โครงการต่างๆที่ประชาชนควรมีส่วนร่วมในการตรวจสอบตั้งแต่ต้น แต่ปรากฎว่ารัฐบาลชุดนี้ อนุมัติโครงการก่อนแล้วค่อย ไปทำประชาพิจารณ์ที่หลัง หรือไม่ก็ทั้งทำประชาพิจารณืไม่ฟังเสียงประชาชน อนุมัติไปทีเดียว
นายองอาจ กล่าวต่อ ว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่สร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่ดี ตามเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญทั้งที่รัฐบาลมีอำนาจอยู่ในมือ แต่ยังสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่เลวร้าย หลายด้านด้วยกัน คือ1.รัฐบาลไม่เป็นแบบอย่างที่ดีของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในเรื่องเสียงข้างมากต้องฟังเสียงข้างน้อย แต่รัฐบาลชุดนี้ใช้ระบบเสียงข้างมากลากไป 2. รัฐบาลชุดนี้ไม่รับฟังความเห็นที่แตกต่าง 3.รัฐบาลชุดนี้ไม่เคยมีกิจกรรมในการรณรงค์ตจ่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง 4.รัฐบาลชุดนี้ไม่จัดการเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจัง 5.รัฐบาลชุดนี้เอารัดเอาเปรียบนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ธ.ค. 2547--จบ--
-ดท-