นายตรีพล เจาะจิตต์ กรรมาธิการและที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยถึงกรณีที่นายจักรภพ เพ็ญแข โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมารายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการคืนฯภาษีจีเอสพีให้กับกุ้งไทยของสหภาพยุโรป ( อียู ) ว่า กรรมาธิการยุโรปได้ให้ความเห็นชอบที่จะคืนจีเอสพีให้กับกุ้งไทยแล้ว แต่ยังเหลือเพียงการขอความเห็นชอบจากรัฐสภาอียู ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการ 30 -40 วัน ว่าเป็นผลจากการที่นายกฯได้มอบหมายให้บริษัทการบินไทยนำเรื่องการซื้อแอร์บัสไปเจรจาต่อรองกับประเทศฝรั่งเศสให้คืนจีเอสพีกุ้งไทยนั้น ตนเชื่อว่า ประเทศไทยยังต้องถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงกว่าประเทศอื่น การออกมาให้ข่าวทางบวกในเรื่องนี้เพียงเพื่อหวังผลทางการเมืองในช่วงหาเสียงเท่านั้น อีกทั้งเรื่องดังกล่าวก็ยังเชื่อถือไม่ได้ เพราะอียูยังไม่ได้แถลงอย่างเป็นทางการ ‘ตนมองว่าการที่รัฐบาลชุดนี้ขยันออกมาให้ข่าวทางบวกในเรื่องที่อียูจะลดภาษีนำเข้ากุ้งไทยให้ คืนภาษีจีเอสพีให้ เป็นการโปรยยาหอมเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งและคนในประเทศ อีกทั้งยังต้องการโชว์ผลงานว่านายกฯทำในเรื่องนี้ได้สำเร็จ ทั้งๆที่อียูเองยังไม่ได้แถลงหรือประกาศออกมาอย่างทางการ มีแต่เราพูดเอง และไม่ชัดเจนว่าเท่าไหร่ ’ นายตรีพล กล่าว
นายตรีพล ยังกล่าวต่อว่า รัฐบาลควรหยุดใช้จีเอสพีเป็นเครื่องมือหาเสียง เพราะอียูคงไม่ยอมลดภาษีนำเข้ากุ้งให้ไทยง่ายๆ ถึงแม้ว่าจะคืนให้แต่ตนเชื่อว่ากุ้งไทยยังต้องถูกเก็บภาษีที่สูงกว่าแพงกว่าประเทศอื่น ตอนนี้อียูเก็บ สำหรับกุ้งแช่แข็ง ร้อยละ 12 และร้ อยละ 20 สำหรับกุ้งปรุงแต่ง เพียงประเทศเดียวในโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรมและเลือกปฏิบัติ ‘อียูใช้จีเอสพีมาเก็บภาษีกุ้งไทยมาตั้งแต่ปี 2540 และออกมาระบุหลายหนแล้วว่าจะลดภาษีให้แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ ครั้งนี้ก็เช่นกันอียูจะมีการพิจารณาจีเอสพีโครงการใหม่ โดยรัฐบาลพยายามออกมาบอกว่าได้แน่ๆ แต่มันเท่าไหร่ ควรให้อียูแถลงเรื่องนี้ออกมาเลย อย่าใช้เรื่องนี้เป็นเครื่องมือเสียงหลอกลวงเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมันบาป และที่สำคัญถ้าอียูลดภาษีให้จริงควรปรับลดให้เท่ากับอินโดนิเซีย มาเลเซีย เวียดนาม คือ กุ้งแช่แข็งที่ร้อยละ 4.2 และกุ้งปรุงแต่งร้อยละ 7’ นายตรีพล กล่าว.
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 ธ.ค. 2547--จบ--
-ดท-
นายตรีพล ยังกล่าวต่อว่า รัฐบาลควรหยุดใช้จีเอสพีเป็นเครื่องมือหาเสียง เพราะอียูคงไม่ยอมลดภาษีนำเข้ากุ้งให้ไทยง่ายๆ ถึงแม้ว่าจะคืนให้แต่ตนเชื่อว่ากุ้งไทยยังต้องถูกเก็บภาษีที่สูงกว่าแพงกว่าประเทศอื่น ตอนนี้อียูเก็บ สำหรับกุ้งแช่แข็ง ร้อยละ 12 และร้ อยละ 20 สำหรับกุ้งปรุงแต่ง เพียงประเทศเดียวในโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรมและเลือกปฏิบัติ ‘อียูใช้จีเอสพีมาเก็บภาษีกุ้งไทยมาตั้งแต่ปี 2540 และออกมาระบุหลายหนแล้วว่าจะลดภาษีให้แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ ครั้งนี้ก็เช่นกันอียูจะมีการพิจารณาจีเอสพีโครงการใหม่ โดยรัฐบาลพยายามออกมาบอกว่าได้แน่ๆ แต่มันเท่าไหร่ ควรให้อียูแถลงเรื่องนี้ออกมาเลย อย่าใช้เรื่องนี้เป็นเครื่องมือเสียงหลอกลวงเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมันบาป และที่สำคัญถ้าอียูลดภาษีให้จริงควรปรับลดให้เท่ากับอินโดนิเซีย มาเลเซีย เวียดนาม คือ กุ้งแช่แข็งที่ร้อยละ 4.2 และกุ้งปรุงแต่งร้อยละ 7’ นายตรีพล กล่าว.
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 ธ.ค. 2547--จบ--
-ดท-