พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งแต่ระหว่างวันที่ 23 - 29 พ.ย. พ.ศ. 2548

ข่าวทั่วไป Wednesday November 23, 2005 14:19 —กรมอุตุนิยมวิทยา

          พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร  
วัน พุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 140/2548
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 23-29 พฤศจิกายน 2548
ในระยะนี้ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลงเป็นลำดับ แต่ยังคงทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาวเย็นและมีหมอกในตอนเช้าต่อไปอีก บริเวณยอดดอยและยอดภูยังคงมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดสำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ในช่วงวันที่ 23-27 พ.ย. ประกอบกับ จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงจากทะเลจีนใต้ตอนล่างเคลื่อนตัวผ่านรอยต่อระหว่างภาคใต้ตอนล่างสุดของประเทศไทย และมาเลเซีย ซึ่งทำให้ภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่ชุมพรลงไปมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ และคลื่นลมในอ่าวไทยยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ส่วนในวันที่ 28-29 พ.ย. คลื่นลมจะมีกำลังอ่อนลง
ข้อควรระวัง
ในช่วงวันที่ 23-27 พ.ย. ภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป จะมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่อาจเกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ของพื้นที่เสี่ยงภัยส่วนมากบริเวณจังหวัด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
เหนือ
ลักษณอากาศ
# มีหมอกในตอนเช้า ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-15 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-10 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส และตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้นทำให้มีอากาศเย็นโดยทั่วไป อุณหภูมิต่ำสุด 16-22องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# มีหมอกในตอนเช้า ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-15 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-10 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส และตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้นทำให้มีอากาศเย็นโดยทั่วไป อุณหภูมิต่ำสุด 16-22องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงอย่าง เพียงพอ โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเพิ่มดวงไฟในโรงเรือนและทำแผงกำบังลมหนาว เนื่องจากอากาศที่แห้งดังนั้นจึงควร คลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อสงวนความชื้นดิน
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะอากาศ
#มีหมอกในตอนเช้า ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-11 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส และตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้นทำให้มีอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก เฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# มีหมอกในตอนเช้า ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-11 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส และตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้นทำให้มีอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก เฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงปลาควรลดปริมาณอาหารลง เนื่องจากอุณหภูมิต่ำปลาจะกินอาหารได้น้อยลง อาหาร ที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย สำหรับเกษตรกรที่มีแหล่งน้ำควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ และใช้น้ำอย่างประหยัด
กลาง
ลักษณะอากาศ
# อากาศเย็น และมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส โดยจะมีฝนบางแห่ง ส่วนมากในช่วง วันที่ 26-29 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# อากาศเย็น และมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส โดยจะมีฝนบางแห่ง ส่วนมากในช่วง วันที่ 26-29 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. เกษตรกรควรรักษาสุขภาพของตนเองและ สัตว์เลี้ยงในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรปลูกพืชที่ อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวนาปรัง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์อ่อนแอและเจ็บป่วย
ตะวันออก
ลักษณะอากาศ
#อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส โดยจะมีฝนบางแห่งส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 26-29 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส โดยจะมีฝนบางแห่งส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 26-29 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. เนื่องจากอากาศแห้งเกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต และควรใช้น้ำอย่างประหยัด สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลอุณหภูมิน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย
ใต้
ลักษณะอากาศ
# ฝั่งตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นมามีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ถึงเป็นแห่ง ๆ ส่วนตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 60-80 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ส่วนมาก ในช่วงวันที่ 24-27 พ.ย. ในช่วงวันที่ 23-27 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม/ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 28-29 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60% ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากในช่วงวันที่ 24-27 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม/ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ฝั่งตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นมามีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ถึงเป็นแห่ง ๆ ส่วนตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 60-80 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ส่วนมาก ในช่วงวันที่ 24-27 พ.ย. ในช่วงวันที่ 23-27 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม/ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 28-29 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60% ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากในช่วงวันที่ 24-27 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยควรเตรียมป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยอพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง และยกพื้นคอกสัตว์ให้สูงขึ้น นอกจากนี้ควรตัดแต่งกิ่งไม้ผลให้ทรงพุ่มโปร่ง เพื่อลดความชื้นภายในสวนและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา อนึ่ง ในช่วงวันที่ 23-27 พ.ย. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ