กรุงเทพ--15 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวานนี้ (14 ธันวาคม 2547) นายบัณฑิต โสตถิพลาฤทธิ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนังสือเดินทางแบบ e-passport ดังมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. กระทรวงการต่างประเทศได้จัดการแถลงข่าวครั้งนี้ เนื่องจากประเด็นเรื่องการจัดทำหนังสือเดินทางแบบ e-passport ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก
2. การริเริ่มการจัดทำหนังสือเดินทางแบบ e-passport ได้เริ่มขึ้นหลังจากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2545 โดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เห็นควรให้ประเทศสมาชิกพัฒนารูปแบบหนังสือเดินทางให้ทันสมัยและยากต่อการ ปลอมแปลง โดยใช้เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลโดยชีวภาพ (Biometric Data) เช่นรูปถ่าย และ ลายนิ้วมือ เป็นต้น
3. ต่อมา คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2546 เห็นชอบให้กระทรวงการ ต่างประเทศร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปรับปรุงระบบหนังสือเดินทางไทยให้ทันสมัยตามมาตรฐาน ICAO ในลักษณะเดียวกับการพัฒนาบัตรประชาชนแบบ Smart Card และจากมติ ครม. ดังกล่าว กระทรวงฯ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนารูปแบบหนังสือเดินทางแบบ e-passport ของกระทรวงฯ โดยมีผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย อาทิ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นต้น และมีบริษัท C&C International Venture จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นบริษัทที่ปรึกษาในการจัดทำร่างข้อกำหนด (TOR) สำหรับโครงการการพัฒนาหนังสือเดินทางแบบ e-passport
4. นอกจากนี้ เพื่อเป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูประบบ ราชการ กระทรวงฯ ได้เลือกวิธีการที่จะจัดจ้างเอกชนดำเนินการพัฒนาระบบและการให้บริการหนังสือ เดินทางแบบ e-passport ในลักษณะการจ้างเหมาบริการทั้งโครงการ อาทิ การออกแบบเล่มหนังสือเดินทาง การฝังไมโครชิพ การจัดหาอุปกรณ์ Hardware - Software การวางระบบและบำรุงรักษาเครือข่ายด้าน ICT ที่กรมการกงสุล สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวในจังหวัดต่างๆ และสถาน เอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ในต่างประเทศ เป็นต้น
5. กระทรวงฯ ได้ออกประกาศประกวดราคาจัดจ้างทำหนังสือเดินทางแบบ e-passport ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ในลักษณะของการประกวดราคาแบบ 2 ซอง โดยจะต้องยื่น 1) ซองคุณสมบัติ และ 2) ซองราคา พร้อมกัน โดยคณะกรรมการจะพิจารณาซองคุณสมบัติของแต่ละบริษัทที่เสนอ โดยจะไม่เปิดซองราคา แต่จะเปิดซองราคาเฉพาะบริษัทที่ผ่านเกณฑ์พิจารณาคุณสมบัติด้านเทคนิค
6. บริษัทที่ผ่านเกณฑ์พิจารณาด้านเทคนิค ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 90 คะแนน หลังจากนั้น คณะกรรมการจะเปิดซองราคาของบริษัทที่ผ่านเกณฑ์ด้านเทคนิคแล้ว โดยบริษัทที่เสนอราคาต่ำสุดจะเป็นผู้ชนะการประกวด
7. เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2547 มีบริษัทที่มีสิทธิได้รับการเข้าพิจารณา จำนวน 4 ราย แต่มีเพียง 2 บริษัทที่สามารถผ่านเกณฑ์พิจารณาคุณสมบัติด้านเทคนิคหรือได้คะแนนไม่น้อยกว่า 90 คือ 1) กลุ่มบริษัทจันทร์วาณิชย์-NEC และ 2) MFEC Consortium (MFEC-OTI) และจากการเปิดซองราคาของทั้ง 2 บริษัท ปรากฏว่ากลุ่มบริษัทจันทร์วาณิชย์ -NEC เสนอราคาหนังสือเดินทางเล่มละ 954.44 บาท และกลุ่ม MFEC Consortium เสนอราคา 980.- บาท และในขณะนี้ กระทรวงฯ ได้ส่งร่างสัญญาว่าจ้างให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา และคณะกรรมการกำหนดที่จะเชิญผู้แทนของกลุ่มบริษัทจันทร์วาณิชย์-NEC มาเจรจาต่อราคาอีกครั้งหนึ่ง
8. นายบัณฑิตฯ ได้กล่าวย้ำว่า ขั้นตอนการประกวดราคาและการพิจารณาข้อเสนอของแต่ละบริษัทนั้น ดำเนินไปตามระเบียบของทางราชการและโปร่งใส โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของราชการเป็นหลัก สำหรับเกณฑ์การให้คะแนนคุณสมบัติด้านเทคนิคของแต่ละบริษัทนั้น นายบัณฑิตฯ กล่าวว่า แต่ละบริษัทที่เสนอมานั้น มีความแตกต่างด้านเทคนิคน้อยมาก แต่คณะกรรมการได้คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ เข้ามาประกอบการพิจารณาด้วย อาทิ ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล ประสบการณ์การทำงานจริง เงื่อนไขที่ไม่ขัดแย้งกับข้อกำหนดของกระทรวงฯ เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวานนี้ (14 ธันวาคม 2547) นายบัณฑิต โสตถิพลาฤทธิ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนังสือเดินทางแบบ e-passport ดังมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. กระทรวงการต่างประเทศได้จัดการแถลงข่าวครั้งนี้ เนื่องจากประเด็นเรื่องการจัดทำหนังสือเดินทางแบบ e-passport ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก
2. การริเริ่มการจัดทำหนังสือเดินทางแบบ e-passport ได้เริ่มขึ้นหลังจากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2545 โดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เห็นควรให้ประเทศสมาชิกพัฒนารูปแบบหนังสือเดินทางให้ทันสมัยและยากต่อการ ปลอมแปลง โดยใช้เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลโดยชีวภาพ (Biometric Data) เช่นรูปถ่าย และ ลายนิ้วมือ เป็นต้น
3. ต่อมา คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2546 เห็นชอบให้กระทรวงการ ต่างประเทศร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปรับปรุงระบบหนังสือเดินทางไทยให้ทันสมัยตามมาตรฐาน ICAO ในลักษณะเดียวกับการพัฒนาบัตรประชาชนแบบ Smart Card และจากมติ ครม. ดังกล่าว กระทรวงฯ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนารูปแบบหนังสือเดินทางแบบ e-passport ของกระทรวงฯ โดยมีผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย อาทิ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นต้น และมีบริษัท C&C International Venture จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นบริษัทที่ปรึกษาในการจัดทำร่างข้อกำหนด (TOR) สำหรับโครงการการพัฒนาหนังสือเดินทางแบบ e-passport
4. นอกจากนี้ เพื่อเป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูประบบ ราชการ กระทรวงฯ ได้เลือกวิธีการที่จะจัดจ้างเอกชนดำเนินการพัฒนาระบบและการให้บริการหนังสือ เดินทางแบบ e-passport ในลักษณะการจ้างเหมาบริการทั้งโครงการ อาทิ การออกแบบเล่มหนังสือเดินทาง การฝังไมโครชิพ การจัดหาอุปกรณ์ Hardware - Software การวางระบบและบำรุงรักษาเครือข่ายด้าน ICT ที่กรมการกงสุล สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวในจังหวัดต่างๆ และสถาน เอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ในต่างประเทศ เป็นต้น
5. กระทรวงฯ ได้ออกประกาศประกวดราคาจัดจ้างทำหนังสือเดินทางแบบ e-passport ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ในลักษณะของการประกวดราคาแบบ 2 ซอง โดยจะต้องยื่น 1) ซองคุณสมบัติ และ 2) ซองราคา พร้อมกัน โดยคณะกรรมการจะพิจารณาซองคุณสมบัติของแต่ละบริษัทที่เสนอ โดยจะไม่เปิดซองราคา แต่จะเปิดซองราคาเฉพาะบริษัทที่ผ่านเกณฑ์พิจารณาคุณสมบัติด้านเทคนิค
6. บริษัทที่ผ่านเกณฑ์พิจารณาด้านเทคนิค ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 90 คะแนน หลังจากนั้น คณะกรรมการจะเปิดซองราคาของบริษัทที่ผ่านเกณฑ์ด้านเทคนิคแล้ว โดยบริษัทที่เสนอราคาต่ำสุดจะเป็นผู้ชนะการประกวด
7. เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2547 มีบริษัทที่มีสิทธิได้รับการเข้าพิจารณา จำนวน 4 ราย แต่มีเพียง 2 บริษัทที่สามารถผ่านเกณฑ์พิจารณาคุณสมบัติด้านเทคนิคหรือได้คะแนนไม่น้อยกว่า 90 คือ 1) กลุ่มบริษัทจันทร์วาณิชย์-NEC และ 2) MFEC Consortium (MFEC-OTI) และจากการเปิดซองราคาของทั้ง 2 บริษัท ปรากฏว่ากลุ่มบริษัทจันทร์วาณิชย์ -NEC เสนอราคาหนังสือเดินทางเล่มละ 954.44 บาท และกลุ่ม MFEC Consortium เสนอราคา 980.- บาท และในขณะนี้ กระทรวงฯ ได้ส่งร่างสัญญาว่าจ้างให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา และคณะกรรมการกำหนดที่จะเชิญผู้แทนของกลุ่มบริษัทจันทร์วาณิชย์-NEC มาเจรจาต่อราคาอีกครั้งหนึ่ง
8. นายบัณฑิตฯ ได้กล่าวย้ำว่า ขั้นตอนการประกวดราคาและการพิจารณาข้อเสนอของแต่ละบริษัทนั้น ดำเนินไปตามระเบียบของทางราชการและโปร่งใส โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของราชการเป็นหลัก สำหรับเกณฑ์การให้คะแนนคุณสมบัติด้านเทคนิคของแต่ละบริษัทนั้น นายบัณฑิตฯ กล่าวว่า แต่ละบริษัทที่เสนอมานั้น มีความแตกต่างด้านเทคนิคน้อยมาก แต่คณะกรรมการได้คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ เข้ามาประกอบการพิจารณาด้วย อาทิ ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล ประสบการณ์การทำงานจริง เงื่อนไขที่ไม่ขัดแย้งกับข้อกำหนดของกระทรวงฯ เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-