นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวง การคลัง แถลงผลการจัดเก็บรายได้รวมของรัฐบาลประจำเดือนพฤศจิกายน 2547 และในช่วง 2 เดือนแรกของปี งบประมาณ 2548 ซึ่งจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2548 สรุปได้ ดังนี้
1. เดือนพฤศจิกายน 2547 จัดเก็บได้สุทธิ 91,775 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 12,650 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.0 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 30.5) เนื่องจากทุกหน่วยงาน จัดเก็บรายได้สูงกว่าที่คาดไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรมสรรพากรจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 11,466 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.5 รองลงมาได้แก่ ส่วนราชการอื่น กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิต ตามลำดับ
ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 5,692 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.8 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 32.3)
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 5,160 ล้านบาท หรือร้อยละ 36.8 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 61.6)
- อากรขาเข้า จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,329 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.8 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.1)
- ภาษีสุรา จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,023 ล้านบาท หรือร้อยละ 43.9 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 38.1)
นอกจากนี้ยังมีรายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมที่เหลื่อมมาจากเดือนตุลาคม 2547 ประมาณ 4,000 ล้านบาท จึงส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของส่วนราชการอื่นสูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 136.9 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 162.8)
2. ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม - พฤศจิกายน 2547)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 193,668 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 17,321 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.6) คิดเป็นรายได้สุทธิ 174,296 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 11,509 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.6)
ผลการจัดเก็บรายได้ดังกล่าวสรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 114,639 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 15,653 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 24.8) เนื่องจากภาษีที่สำคัญส่วนใหญ่จัดเก็บได้สูงกว่าที่คาดไว้ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 8,172 5,753 และ 1,672 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.3 23.7 และ 8.8 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 24.4 34.7 และ 10.5 ตามลำดับ) ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยการผลิตและการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการปรับฐานเงินเดือนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นสาเหตุสำคัญ
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 46,779 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1,374 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.8) เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีรถยนต์ต่ำกว่าประมาณการ 2,022 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.6 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 1.5) นอกจากนี้ภาษีเบียร์ยังจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 934 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.8 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 6.6) อย่างไรก็ตามการจัดเก็บภาษีที่สำคัญอื่นๆยังสูงกว่าที่คาดไว้ ได้แก่ ภาษีสุรา ภาษีน้ำมัน และ ภาษียาสูบ
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 19,179 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,400 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.9) โดยอากรขาเข้าซึ่งเป็นรายได้หลักจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,252 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.1 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.1 เช่นกัน เนื่องจากมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึงร้อยละ 20.7
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 13,071 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,642 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.0) เนื่องจากรายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมสูงกว่าที่คาดไว้ ถึงแม้รายได้นำส่งคลังของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าปีที่แล้ว 1,255 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 47.5 เนื่องจากปีที่แล้วการบินไทยนำส่งรายได้จากเงินปันผลจำนวน 1,113 ล้านบาท (ในขณะที่ปีนี้คาดว่าจะนำส่งในเดือนมกราคม 2548)
3. สรุป
การจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาลในช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมา ยังคงสูงกว่าเป้าหมาย โดยการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมในสังกัดกระทรวงการคลังจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการถึง 15,679 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.5
ทั้งนี้ ผลการจัดเก็บรายได้ดังกล่าวเมื่อจำแนกตามฐานภาษีปรากฏว่าภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ ฐานการบริโภค และฐานการค้าระหว่างประเทศจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ ร้อยละ 17.5 6.8 และ 7.2 ตามลำดับ และสูงกว่าปีที่แล้วถึงร้อยละ 23.8 17.4 และ 7.2 ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจยังคงมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง
4. การคาดการณ์รายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2548
จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลใน 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 ยังคงสูงกว่าประมาณการร้อยละ 7.1 ตลอดจนการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่ายังมีทิศทางที่ดี ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และการปรับโครงสร้างภาษีสรรพากรทั้งภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคลก็ตาม คาดว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บได้รายได้ตามเป้าหมาย 1,200,000 ล้านบาท ที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 102/2547 15 ธันวาคม 2547--
1. เดือนพฤศจิกายน 2547 จัดเก็บได้สุทธิ 91,775 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 12,650 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.0 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 30.5) เนื่องจากทุกหน่วยงาน จัดเก็บรายได้สูงกว่าที่คาดไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรมสรรพากรจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 11,466 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.5 รองลงมาได้แก่ ส่วนราชการอื่น กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิต ตามลำดับ
ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 5,692 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.8 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 32.3)
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 5,160 ล้านบาท หรือร้อยละ 36.8 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 61.6)
- อากรขาเข้า จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,329 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.8 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.1)
- ภาษีสุรา จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,023 ล้านบาท หรือร้อยละ 43.9 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 38.1)
นอกจากนี้ยังมีรายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมที่เหลื่อมมาจากเดือนตุลาคม 2547 ประมาณ 4,000 ล้านบาท จึงส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของส่วนราชการอื่นสูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 136.9 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 162.8)
2. ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม - พฤศจิกายน 2547)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 193,668 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 17,321 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.6) คิดเป็นรายได้สุทธิ 174,296 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 11,509 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.6)
ผลการจัดเก็บรายได้ดังกล่าวสรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 114,639 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 15,653 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 24.8) เนื่องจากภาษีที่สำคัญส่วนใหญ่จัดเก็บได้สูงกว่าที่คาดไว้ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 8,172 5,753 และ 1,672 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.3 23.7 และ 8.8 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 24.4 34.7 และ 10.5 ตามลำดับ) ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยการผลิตและการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการปรับฐานเงินเดือนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นสาเหตุสำคัญ
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 46,779 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1,374 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.8) เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีรถยนต์ต่ำกว่าประมาณการ 2,022 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.6 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 1.5) นอกจากนี้ภาษีเบียร์ยังจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 934 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.8 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 6.6) อย่างไรก็ตามการจัดเก็บภาษีที่สำคัญอื่นๆยังสูงกว่าที่คาดไว้ ได้แก่ ภาษีสุรา ภาษีน้ำมัน และ ภาษียาสูบ
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 19,179 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,400 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.9) โดยอากรขาเข้าซึ่งเป็นรายได้หลักจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,252 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.1 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.1 เช่นกัน เนื่องจากมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึงร้อยละ 20.7
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 13,071 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,642 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.0) เนื่องจากรายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมสูงกว่าที่คาดไว้ ถึงแม้รายได้นำส่งคลังของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าปีที่แล้ว 1,255 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 47.5 เนื่องจากปีที่แล้วการบินไทยนำส่งรายได้จากเงินปันผลจำนวน 1,113 ล้านบาท (ในขณะที่ปีนี้คาดว่าจะนำส่งในเดือนมกราคม 2548)
3. สรุป
การจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาลในช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมา ยังคงสูงกว่าเป้าหมาย โดยการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมในสังกัดกระทรวงการคลังจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการถึง 15,679 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.5
ทั้งนี้ ผลการจัดเก็บรายได้ดังกล่าวเมื่อจำแนกตามฐานภาษีปรากฏว่าภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ ฐานการบริโภค และฐานการค้าระหว่างประเทศจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ ร้อยละ 17.5 6.8 และ 7.2 ตามลำดับ และสูงกว่าปีที่แล้วถึงร้อยละ 23.8 17.4 และ 7.2 ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจยังคงมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง
4. การคาดการณ์รายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2548
จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลใน 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 ยังคงสูงกว่าประมาณการร้อยละ 7.1 ตลอดจนการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่ายังมีทิศทางที่ดี ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และการปรับโครงสร้างภาษีสรรพากรทั้งภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคลก็ตาม คาดว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บได้รายได้ตามเป้าหมาย 1,200,000 ล้านบาท ที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 102/2547 15 ธันวาคม 2547--