สศอ.ร่วมกับสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เจาะลึกข้อมูลอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วัด 5 ประเทศผู้ผลิตชั้นนำในตลาดโลก หวังหาช่องทางเจาะตลาดใหม่ ทั้งตัวชิ้นส่วนและสินค้าสำเร็จรูป หลังสินค้าราคาถูกจากจีนตีตลาดไทย เร่งจัดกลุ่มสินค้าขยายลู่ทางทำตลาดให้ตรงจุด เผยผลการศึกษาสหรัฐอาหรับอิมิเรสต์-รัสเซีย ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสทำตลาดได้ทั้งชิ้นส่วนและสินค้าสำเร็จรูป ส่วนบราซิล และอินเดีย มุ่งเจาะฐานตลาดชิ้นส่วนสนองความต้องการตลาดไฮเทค
นางสาวสุชาดา วราภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้ร่วมกับสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จัดทำโครงการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย ในการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจไปยังกลุ่มประเทศต่างๆ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าสู่ตลาดใหม่ หลังจากที่ผู้ประกอบการไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นทั้งด้านต้นทุนและราคา ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วน
" ทั้งนี้แม้ว่าอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยมีการขยายตัวสูง แต่ปัจจุบันพึ่งตลาดส่งออกหลักเพียงไม่กี่ตลาดคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกกว่าร้อยละ 60 กลับมีแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรง และยังเผชิญปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการนำมาตรการกีดกันทางการค้าทั้งด้านภาษีและมิใช่ภาษีมาใช้ ขณะเดียวกันไทยยังต้องเสียเปรียบด้านราคาจากประเทศคู่แข่งสำคัญเช่นประเทศจีน ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ สศอ.ได้แบ่งกลุ่มประเทศที่ไทยมีโอกาสทางการค้า ในสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่มีโอกาสมากทั้งสินค้าสำเร็จรูปและชิ้นส่วน 2.กลุ่มที่มีโอกาสมากเฉพาะสินค้าชิ้นส่วน 3.กลุ่มที่มีโอกาสค่อนข้างน้อยทั้งชิ้นส่วนและสินค้าสำเร็จรูป”
นางสาวสุชาดากล่าวว่า ในขั้นตอนการศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึก ครอบคลุมทั้งสถานะการผลิต การตลาดและการลงทุนในประเทศที่เป็นตลาดใหญ่และเป็นประตูการค้า[Gate Way
]ของแต่ละภูมิภาครวม 5 ประเทศ คือ สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ แอฟริกาใต้ อินเดีย รัสเซีย และบราซิล เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีศักยภาพในการเจาะตลาดสำหรับสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย โดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่มีโอกาสมากทั้งสินค้าสำเร็จรูปและชิ้นส่วน เช่นสินค้าในหมวดพัดลม โทรทัศน์ ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และแผงวงจรรวม เป็นต้น จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มี 2 ภูมิภาคที่มีศักยภาพ คือ ภูมิภาคตะวันออกกลาง (สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์) และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (รัสเซีย) เนื่องจากประเทศดังกล่าวมีการผลิตภายในประเทศน้อย และไม่เพียงพอกับความต้องการ ประกอบกับประเทศเหล่านี้ยังมีมุมมองที่ดีต่อสินค้าไทย ดังนั้น การส่งสินค้าไปจำหน่ายในภูมิภาคเหล่านั้นจึงมีโอกาสในการขยายตลาดได้อย่างรวดเร็ว เพราะผู้บริโภคในประเทศมีกำลังซื้อสูง ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจะต้องเร่งปรับกลยุทธ์การขยายตลาดให้ดีขึ้น โดยการออกแบบสินค้าให้ตรงตามความต้องการผู้บริโภค รวมทั้งการให้บริการหลังการขาย เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่มีโอกาสมากเฉพาะสินค้าชิ้นส่วน จากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น พบว่า ภูมิภาคที่มีศักยภาพคือ ภูมิภาคเอเชียใต้ (อินเดีย) และกลุ่มลาตินอเมริกา (บราซิล) เนื่องจากความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศมีค่อนข้างสูง เพื่อรองรับการขยายตัวของการผลิตสินค้าสำเร็จรูปในประเทศ ซึ่งทั้งสองประเทศมีศักยภาพการผลิตสินค้าไอทีและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับชิ้นส่วนที่ไทยมีศักยภาพในตลาดอินเดีย ได้แก่ เครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี ส่วนบราซิลโอกาสการส่งออกชิ้นส่วนจะเน้นสินค้าเพื่อการประหยัดพลังงาน เนื่องจากบราซิลให้ความสำคัญกับมาตรการประหยัดพลังงาน ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของประเทศ โดยรัฐบาลบราซิลมีเงื่อนไขการให้สิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่กับครัวเรือนที่ประหยัดพลังงานได้ตามกำหนด
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่มีโอกาสทำตลาดได้ยากทั้งในชิ้นส่วนและสินค้าสำเร็จรูป จากการสำรวจข้อมูลในภูมิภาคแอฟริกา (แอฟริกาใต้) พบว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการแอฟริกาใต้ใช้ระบบทำการค้าแบบผูกขาดอยู่กับประเทศจีน โดยมีปัจจัยหลักมาจากชิ้นส่วนที่มีราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตาม หากต้องการเพิ่มโอกาสทางการค้าในแอฟริกาใต้มี 2 ช่องทาง คือ 1.การขายตรง ซึ่งเป็นที่นิยมมากในขณะนี้ โดยเฉพาะการจำหน่ายสินค้าผ่านทางโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต 2.การเจาะตลาด โดยการว่าจ้างหน่วยงานด้านการตลาดของแอฟริกาใต้ให้ทำตลาดในรูปแบบการเป็นบริษัทเทรดเดอร์ในต่างประเทศทั้งการติดต่อผู้ซื้อและการจัดส่งสินค้า
ทั้งนี้ สศอ.จะนำผลของการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางเตรียมความพร้อมให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทยในด้านต่างๆ ได้แก่ การพัฒนากระบวนการผลิตและการออกแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาด้านการตลาดและการบริหารจัดการ การสร้างภาพลักษณ์และตราสินค้า และการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวของผู้ประกอบการไทยได้อย่างยั่งยืน
ที่มา : ฝ่ายช่วยอำนวยการและประชาสัมพันธ์ โทร 0-2202-4274
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางสาวสุชาดา วราภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้ร่วมกับสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จัดทำโครงการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย ในการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจไปยังกลุ่มประเทศต่างๆ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าสู่ตลาดใหม่ หลังจากที่ผู้ประกอบการไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นทั้งด้านต้นทุนและราคา ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วน
" ทั้งนี้แม้ว่าอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยมีการขยายตัวสูง แต่ปัจจุบันพึ่งตลาดส่งออกหลักเพียงไม่กี่ตลาดคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกกว่าร้อยละ 60 กลับมีแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรง และยังเผชิญปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการนำมาตรการกีดกันทางการค้าทั้งด้านภาษีและมิใช่ภาษีมาใช้ ขณะเดียวกันไทยยังต้องเสียเปรียบด้านราคาจากประเทศคู่แข่งสำคัญเช่นประเทศจีน ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ สศอ.ได้แบ่งกลุ่มประเทศที่ไทยมีโอกาสทางการค้า ในสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่มีโอกาสมากทั้งสินค้าสำเร็จรูปและชิ้นส่วน 2.กลุ่มที่มีโอกาสมากเฉพาะสินค้าชิ้นส่วน 3.กลุ่มที่มีโอกาสค่อนข้างน้อยทั้งชิ้นส่วนและสินค้าสำเร็จรูป”
นางสาวสุชาดากล่าวว่า ในขั้นตอนการศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึก ครอบคลุมทั้งสถานะการผลิต การตลาดและการลงทุนในประเทศที่เป็นตลาดใหญ่และเป็นประตูการค้า[Gate Way
]ของแต่ละภูมิภาครวม 5 ประเทศ คือ สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ แอฟริกาใต้ อินเดีย รัสเซีย และบราซิล เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีศักยภาพในการเจาะตลาดสำหรับสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย โดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่มีโอกาสมากทั้งสินค้าสำเร็จรูปและชิ้นส่วน เช่นสินค้าในหมวดพัดลม โทรทัศน์ ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และแผงวงจรรวม เป็นต้น จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มี 2 ภูมิภาคที่มีศักยภาพ คือ ภูมิภาคตะวันออกกลาง (สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์) และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (รัสเซีย) เนื่องจากประเทศดังกล่าวมีการผลิตภายในประเทศน้อย และไม่เพียงพอกับความต้องการ ประกอบกับประเทศเหล่านี้ยังมีมุมมองที่ดีต่อสินค้าไทย ดังนั้น การส่งสินค้าไปจำหน่ายในภูมิภาคเหล่านั้นจึงมีโอกาสในการขยายตลาดได้อย่างรวดเร็ว เพราะผู้บริโภคในประเทศมีกำลังซื้อสูง ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจะต้องเร่งปรับกลยุทธ์การขยายตลาดให้ดีขึ้น โดยการออกแบบสินค้าให้ตรงตามความต้องการผู้บริโภค รวมทั้งการให้บริการหลังการขาย เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่มีโอกาสมากเฉพาะสินค้าชิ้นส่วน จากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น พบว่า ภูมิภาคที่มีศักยภาพคือ ภูมิภาคเอเชียใต้ (อินเดีย) และกลุ่มลาตินอเมริกา (บราซิล) เนื่องจากความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศมีค่อนข้างสูง เพื่อรองรับการขยายตัวของการผลิตสินค้าสำเร็จรูปในประเทศ ซึ่งทั้งสองประเทศมีศักยภาพการผลิตสินค้าไอทีและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับชิ้นส่วนที่ไทยมีศักยภาพในตลาดอินเดีย ได้แก่ เครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี ส่วนบราซิลโอกาสการส่งออกชิ้นส่วนจะเน้นสินค้าเพื่อการประหยัดพลังงาน เนื่องจากบราซิลให้ความสำคัญกับมาตรการประหยัดพลังงาน ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของประเทศ โดยรัฐบาลบราซิลมีเงื่อนไขการให้สิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่กับครัวเรือนที่ประหยัดพลังงานได้ตามกำหนด
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่มีโอกาสทำตลาดได้ยากทั้งในชิ้นส่วนและสินค้าสำเร็จรูป จากการสำรวจข้อมูลในภูมิภาคแอฟริกา (แอฟริกาใต้) พบว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการแอฟริกาใต้ใช้ระบบทำการค้าแบบผูกขาดอยู่กับประเทศจีน โดยมีปัจจัยหลักมาจากชิ้นส่วนที่มีราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตาม หากต้องการเพิ่มโอกาสทางการค้าในแอฟริกาใต้มี 2 ช่องทาง คือ 1.การขายตรง ซึ่งเป็นที่นิยมมากในขณะนี้ โดยเฉพาะการจำหน่ายสินค้าผ่านทางโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต 2.การเจาะตลาด โดยการว่าจ้างหน่วยงานด้านการตลาดของแอฟริกาใต้ให้ทำตลาดในรูปแบบการเป็นบริษัทเทรดเดอร์ในต่างประเทศทั้งการติดต่อผู้ซื้อและการจัดส่งสินค้า
ทั้งนี้ สศอ.จะนำผลของการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางเตรียมความพร้อมให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทยในด้านต่างๆ ได้แก่ การพัฒนากระบวนการผลิตและการออกแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาด้านการตลาดและการบริหารจัดการ การสร้างภาพลักษณ์และตราสินค้า และการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวของผู้ประกอบการไทยได้อย่างยั่งยืน
ที่มา : ฝ่ายช่วยอำนวยการและประชาสัมพันธ์ โทร 0-2202-4274
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-