4.7 หากมีการโอนภารกิจดูแลผู้สูงอายุให้องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบ กระทรวงที่เคยมีส่วนรับผิดชอบจะต้องจัดสรรงบประมาณให้ในจำนวนที่เพียงพอ
5. การจัดสรรงบประมาณให้แก่ผู้สูงอายุ
5.1 ควรมีการพิจารณาทบทวนระบบการพิจารณาและกระบวนการจ่ายเบี้ยยังชีพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุเองและชุมชน เพื่อให้บริการถึงมือผู้ที่เดือดร้อนจำเป็นจริงๆ เพื่อให้ตรงตามเจตนารมณ์และเกิดความเป็นธรรม ในระยะยาว หากชุมชนท้องถิ่นและ รัฐสามารถพัฒนาบริการอื่นๆ หรือพัฒนาระบบสวัสดิการครอบครัวและชุมชนที่เข้าถึงและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ทุกข์ยากเดือดร้อนในชนบทและครอบครัวได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรมในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลายแล้ว บริการเบี้ยยังชีพก็อาจยกเลิกได้
5.2 รัฐควรต้องมีมาตรการในการลดหรือยกเว้นภาษีเงินได้ให้กับบุตร ที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลบิดามารดา
6. การบังคับใช้ตามกฎหมาย
6.1 ควรส่งเสริมการจัดบริการพื้นฐานสำหรับผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 โดยส่งเสริมการจัดสวัสดิการทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุที่ครอบคลุมทั่วถึง ต่อเนื่องและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้สูงอายุในด้านต่างๆ เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจสังคม สุขภาวะ ช่วงอายุ ปัญหาและความต้องการแต่ละวัย อาทิ
6.1.1 กลุ่มผู้สูงอายุที่ยากลำบาก รายได้น้อย เข้าไม่ถึงทรัพยากรควรได้รับสวัสดิการในรูปแบบให้เปล่า เช่น เบี้ยยังชีพทั้งในรูปแบบประจำ และรูปแบบหมุนเวียน
6.1.2 กลุ่มผู้สูงอายุที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสังคม ควรจัดบริการกิจกรรมทางสังคมในรูปแบบต่างๆ รัฐควรส่งเสริมภาคเอกชนมาร่วมให้การสนับสนุนกิจกรรมในรูปแบบศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน และจัดกิจกรรมนันทนาการและกีฬาในลักษณะสโมสร/ศูนย์บริการ/ชมรมผู้สูงอายุ/กลุ่มต่างๆ รวมทั้งกองทุนเงินกู้/ออมทรัพย์ต่างๆ เป็นต้น
6.1.3 กลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยง เช่น อยู่คนเดียวตามลำพัง อยู่ห่างไกลจากชุมชน ผู้สูงอายุที่มีอายุมาก (Very old) รัฐควรส่งเสริมระบบบริการเฝ้าระวังทางสังคม หรือระบบการเยี่ยมบ้าน หรือระบบบริการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ทั้งโดยคนในชุมชนและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง
7. การมีส่วนร่วมของประชาชน
7.1 รัฐและหน่วยงานต่างๆ ควรสนับสนุนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว เครือญาติ เพื่อนบ้าน เพื่อนผู้สูงอายุ ในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การเสริมกิจกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อม เป็นต้น
7.2 รัฐควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ภาคชุมชนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุของชุมชนตนเอง เพราะชุมชนใกล้ชิดกับผู้สูงอายุสามารถจัดระบบการดูแล และบริการผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนได้ เช่น การสร้างอาสาสมัครมาดูแลผู้สูงอายุ การพัฒนากองทุนผู้สูงอายุ การบริหารงบประมาณ เป็นต้น
ที่มา: สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
www.nesac.or.th, โทร.02-612-9222 ต่อ 118, 119 โทรสาร.02-612-6918-9