ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) จัดสัมมนาเรื่อง “ชี่ช่องการค้าการลงทุนในอินเดีย” เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ส่งออกและนักลงทุนไทย และชี้แนะประโยชน์จากเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) ระหว่างไทยและอินเดียโดยได้รับเกียติจาก ดร. ปานปรีย์ พหิทธานุกร (รูปซ้าย) ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์และหัวหน้าคณะเจราจาจัดทำเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย เป็นวิทยากรพิเศษในหัวข้อ “เขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย” และนักธุรกิจชาวไทยและอินเดียที่ประสบความสำเร็จได้แก่ คุณเปรมชัย กรรณสูต (รูปขวา ที่ 2 จากซ้าย) ประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีวีล๊อปเมนต์, คุณประพันธ์ หล่อรัตน์วิลัย (รูปขวาสุด) กรรมการผู้จัดการ บจก.ดิษภาดา และ Mr.Deepak Mittal (รูปที่ 2 จากขวา) Group Executive President and Director, Aditya Birla Group ให้เกียรติมาแบ่งปันประสบการณ์ในทำโครงการลงทุนในอินเดีย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ
สำหรับเนื้อหาการสัมมนาสรุปได้ว่าการที่ประเทศต่างๆหันมาให้ความสนใจทำ FTA เนื่องจากสภาพการแข่งขันในการค้าระหว่างประเทศมีความรุนแรงขึ้น แต่ละประเทศจึงต้องเร่งหามาตราการในการวางตำแหน่งของตนเองเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ การทำFTA จึงเปรียบเสมือนการสร้าง Strategic Partner ที่เสริมสร้างความเชื่อมั่นและอำนวยประโยชน์ให้กับนักลงทุนในประเทศคู่สัญญาได้ ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลไทยมีแผนการจัดทำ FTA กับประเทศต่างๆแบ่งเป็นกลุ่มประเทศใหญ่ 5 ประเทศได้แก่ ออสเตรเลีย อเมริกา ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย นอกจากนั้นเป็นประเทศตะวันออกกลาง ได้แก่ บาห์เรน เปรู เพื่อเป็นช่องทางในการขยายตลาดไปยังอเมริกาเหนือและใต้ โดยปัจจุบันได้มีการลงนามไปแล้ว 3 ประเทศ ได้แก่ จีน ออสเตรเลีย และอินเดีย
อินเดียเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ มีประชากรเป็นจำนวนมาก การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างมีเสถียรภาพ แม้ว่าอินเดียเป็นประเทศที่ยากจนแต่มีกลุ่มประชากรที่มีอำนาจซื้ออยู่ถึง 300 ล้านคน และมีทรัพยากรบุคลากรที่มีคุณภาพโดยเฉพาะด้าน IT นอกจากนี้นโยบายมองตะวันตก (Look West Policy) ของไทยยังสอดคล้องกับนโยบายมองตะวันออก (Look East Policy) ของอินเดีย ทำให้สามารถสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น การเปิดการค้าเสรีกับอินเดียจึงทำให้ไทยได้รับผลประโยชน์ตามมามากมาย รวมทั้งช่องทางการค้ากับประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียใต้นี้ด้วย
การทำ FTA กับอินเดียนับเป็นยุทธ์ศาสตร์สำคัญในการช่วยเหลือผู้ส่งออกและนักลงทุนไทย เนื่องจากก่อนที่จะมีการทำ FTA ตลาดไม่มีความมั่นคง มีอุปสรรคทางภาษีและอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะอุปสรรคสำคัญในการส่งออกสินค้าไปอินเดียคือกำแพงภาษี เพราะระบบภาษีของอินเดียมความยุ่งยากซับซ้อน ทำให้ผู้ประกอบการณ์รายย่อยของไทยได้รับผลกระทบมากเนื่องจากขาดข้อมูลดังกล่าว ดังนั้น หลังจากมีการทำ FTA เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้น อินเดียจะสามารถนำเข้าสินค้าจากบริษัทรายย่อยของไทยได้มากขึ้น
นอกจากนั้น ในการเสวนาโดยนักธุรกิจชาวไทยและอินเดียที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนในประเทศอินเดียมาแล้วยังเน้นความได้เปรียบเชิงแข่งขันในการลงทุนในอินเดีย อาทิ ความมั่นคงทางการเมือง การเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ การเติบโตของตลาดที่มีเสถียรภาพ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในการผลิตสินค้า ความได้เปรียบทางด้านต้นทุนแรงงาน และความรู้ความชำนาญของวิศวกร แต่อุปสรรคในการลงทุนในอินเดียได้แก่ ความล่าช้าของระบบราชการ การขาดแคลนระบบสาธารณูปโภค ทัศนคติของการทำงาน สหภาพแรงงานที่แข็งแกร่งเนื่องจากมีรัฐบาลหนุนหลัง และการทำงานที่ยังไม่เป็นระบบ โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นปัญหาอย่างมาก คือ การขาดแคลนข้อมูล อุปกรณ์เครื่องมือ และปัญหาเรื่อง Subcontractor ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้โดยการร่วมลงทุน (Joint venture) กับบริษัทท้องถิ่นในอินเดีย เพื่อความสะดวกทางด้านข้อมูลและทรัพยากรส่วนบุคคล แต่สิ่งทีต้องระมัดระวัง คือ การเลือกสถานที่ลงทุน ผู้ร่วมทุนและผู้บริหารชาวอินเดีย และเข้าใจวิธีคิดของชาวอินเดีย
สำหรับสินค้าที่น่าสนใจสำหรับผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยได้แก่ สินค้าประเภทอาหารโดยเฉพาะด้านประมง เนื่องจากอินเดียยังไม่มีการแปรรูปอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า นอกจากนั้นยังมีสินค้าเทคโนโลยีที่น่าสนใจเนื่องจากรายได้หลักของอินเดียมาจากสินค้ากลุ่มนี้ ไม่ว่าจะเป็น IT software และบริการ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
จะเห็นได้ว่ามีโอกาสสำหรับผู้ที่สนใจลงทุนเข้าประเทศอินเดียอีกมาก การที่ไทยเข้าเจรจาจัดทำ FTA ได้ก่อนย่อมเป็นประโยชน์กับผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยโดยตรงด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและกำลังซื้อมหาศาลของอินเดีย แต่การจะเข้าไปลงทุนให้ดีนั้น สิ่งที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่ง คือ การศึกษาตลาด Know-how และชั้นตอนดำเนินงานให้ดีก่อนดังรายละเอียดที่กล่าวข้างต้น ส่วนในเรื่องของแหล่งเงินทุนนั้นและผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยสามารถขอรับทุนได้จาก ธสน. ได้ โดยติดต่อส่วนโครงการระหว่างประเทศ 1 ฝ่ายโครงการระหว่างประเทศ โทร. 0 2271 3700, 0 2617 2111 ต่อ 2610-6
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2547--
-พห-
สำหรับเนื้อหาการสัมมนาสรุปได้ว่าการที่ประเทศต่างๆหันมาให้ความสนใจทำ FTA เนื่องจากสภาพการแข่งขันในการค้าระหว่างประเทศมีความรุนแรงขึ้น แต่ละประเทศจึงต้องเร่งหามาตราการในการวางตำแหน่งของตนเองเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ การทำFTA จึงเปรียบเสมือนการสร้าง Strategic Partner ที่เสริมสร้างความเชื่อมั่นและอำนวยประโยชน์ให้กับนักลงทุนในประเทศคู่สัญญาได้ ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลไทยมีแผนการจัดทำ FTA กับประเทศต่างๆแบ่งเป็นกลุ่มประเทศใหญ่ 5 ประเทศได้แก่ ออสเตรเลีย อเมริกา ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย นอกจากนั้นเป็นประเทศตะวันออกกลาง ได้แก่ บาห์เรน เปรู เพื่อเป็นช่องทางในการขยายตลาดไปยังอเมริกาเหนือและใต้ โดยปัจจุบันได้มีการลงนามไปแล้ว 3 ประเทศ ได้แก่ จีน ออสเตรเลีย และอินเดีย
อินเดียเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ มีประชากรเป็นจำนวนมาก การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างมีเสถียรภาพ แม้ว่าอินเดียเป็นประเทศที่ยากจนแต่มีกลุ่มประชากรที่มีอำนาจซื้ออยู่ถึง 300 ล้านคน และมีทรัพยากรบุคลากรที่มีคุณภาพโดยเฉพาะด้าน IT นอกจากนี้นโยบายมองตะวันตก (Look West Policy) ของไทยยังสอดคล้องกับนโยบายมองตะวันออก (Look East Policy) ของอินเดีย ทำให้สามารถสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น การเปิดการค้าเสรีกับอินเดียจึงทำให้ไทยได้รับผลประโยชน์ตามมามากมาย รวมทั้งช่องทางการค้ากับประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียใต้นี้ด้วย
การทำ FTA กับอินเดียนับเป็นยุทธ์ศาสตร์สำคัญในการช่วยเหลือผู้ส่งออกและนักลงทุนไทย เนื่องจากก่อนที่จะมีการทำ FTA ตลาดไม่มีความมั่นคง มีอุปสรรคทางภาษีและอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะอุปสรรคสำคัญในการส่งออกสินค้าไปอินเดียคือกำแพงภาษี เพราะระบบภาษีของอินเดียมความยุ่งยากซับซ้อน ทำให้ผู้ประกอบการณ์รายย่อยของไทยได้รับผลกระทบมากเนื่องจากขาดข้อมูลดังกล่าว ดังนั้น หลังจากมีการทำ FTA เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้น อินเดียจะสามารถนำเข้าสินค้าจากบริษัทรายย่อยของไทยได้มากขึ้น
นอกจากนั้น ในการเสวนาโดยนักธุรกิจชาวไทยและอินเดียที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนในประเทศอินเดียมาแล้วยังเน้นความได้เปรียบเชิงแข่งขันในการลงทุนในอินเดีย อาทิ ความมั่นคงทางการเมือง การเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ การเติบโตของตลาดที่มีเสถียรภาพ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในการผลิตสินค้า ความได้เปรียบทางด้านต้นทุนแรงงาน และความรู้ความชำนาญของวิศวกร แต่อุปสรรคในการลงทุนในอินเดียได้แก่ ความล่าช้าของระบบราชการ การขาดแคลนระบบสาธารณูปโภค ทัศนคติของการทำงาน สหภาพแรงงานที่แข็งแกร่งเนื่องจากมีรัฐบาลหนุนหลัง และการทำงานที่ยังไม่เป็นระบบ โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นปัญหาอย่างมาก คือ การขาดแคลนข้อมูล อุปกรณ์เครื่องมือ และปัญหาเรื่อง Subcontractor ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้โดยการร่วมลงทุน (Joint venture) กับบริษัทท้องถิ่นในอินเดีย เพื่อความสะดวกทางด้านข้อมูลและทรัพยากรส่วนบุคคล แต่สิ่งทีต้องระมัดระวัง คือ การเลือกสถานที่ลงทุน ผู้ร่วมทุนและผู้บริหารชาวอินเดีย และเข้าใจวิธีคิดของชาวอินเดีย
สำหรับสินค้าที่น่าสนใจสำหรับผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยได้แก่ สินค้าประเภทอาหารโดยเฉพาะด้านประมง เนื่องจากอินเดียยังไม่มีการแปรรูปอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า นอกจากนั้นยังมีสินค้าเทคโนโลยีที่น่าสนใจเนื่องจากรายได้หลักของอินเดียมาจากสินค้ากลุ่มนี้ ไม่ว่าจะเป็น IT software และบริการ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
จะเห็นได้ว่ามีโอกาสสำหรับผู้ที่สนใจลงทุนเข้าประเทศอินเดียอีกมาก การที่ไทยเข้าเจรจาจัดทำ FTA ได้ก่อนย่อมเป็นประโยชน์กับผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยโดยตรงด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและกำลังซื้อมหาศาลของอินเดีย แต่การจะเข้าไปลงทุนให้ดีนั้น สิ่งที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่ง คือ การศึกษาตลาด Know-how และชั้นตอนดำเนินงานให้ดีก่อนดังรายละเอียดที่กล่าวข้างต้น ส่วนในเรื่องของแหล่งเงินทุนนั้นและผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยสามารถขอรับทุนได้จาก ธสน. ได้ โดยติดต่อส่วนโครงการระหว่างประเทศ 1 ฝ่ายโครงการระหว่างประเทศ โทร. 0 2271 3700, 0 2617 2111 ต่อ 2610-6
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2547--
-พห-