ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ฐานะการเงินของ ธพ.ไทย ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 47 แข็งแกร่งมากขึ้นโดยมีผลกำไรเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 10,000 ดร.ธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงฐานะทางการเงิน
ของ ธพ.ไทย ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 47 ว่า มีความแข็งแกร่งมากขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ในไตรมาส
3 ปีนี้อยู่ที่ 1.6 เทียบกับไตรมาส 2 อยู่ที่ 1.3 หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 0 ขณะที่ผลการดำเนิน
งานมีกำไรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยกำไรทั้งระบบอยู่ที่ 27,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10,000 เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรเพียง 200 ล้านบาทเท่านั้น ทั้งนี้ เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส)
ของ ธพ.ทั้งระบบอยู่ที่ร้อยละ 12.9 ถือว่าแข็งแกร่งพอสมควร เพราะเกินกว่าเกณฑ์ที่ ธปท.กำหนดไว้ที่ร้อยละ
8.5 ส่วนสินเชื่อในไตรมาส 3 ที่พิจารณาจากงบดุลของ ธพ.ขยายตัวประมาณร้อยละ 9.5 หรือหากพิจารณาสินเชื่อ
ที่มีการปรับมูลค่าการสำรองหนี้จัดชั้นแล้วขยายตัวร้อยละ 14.4 สำหรับผลกำไรที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากผลการดำเนินงาน
ที่ปรับตัวดีขึ้น ภาระการกันสำรองลดลง ความสามารถในการทำกำไรของ ธพ.ในปี 48 น่าจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แม้ว่า
เศรษฐกิจจะชะลอตัวก็ตาม ทั้งนี้ ปัญหาที่ ธพ.จะต้องเผชิญและแก้ไขในปีหน้า คือปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(เอ็นพีแอล) โดยในไตรมาส 3 ปี 47 อยู่ที่ 600,000 กว่าล้านบาท หรือร้อยละ 11.6 เอ็นพีแอลย้อนกลับอยู่ที่
19,000 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 2 ที่ 41,000 ล้านบาท และเอ็นพีแอลใหม่อยู่ที่ 22,000 ล้านบาท (ข่าว
สด, ไทยรัฐ, สยามรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. EMEAP ตกลงจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียกองที่ 2 วงเงิน 2,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดร.
บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กลุ่มธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกและแปซิฟิก 11 ประเทศ (EMEAP) ตกลงจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียกองที่ 2 ซึ่งจะเป็นการดำเนินการ
ต่อเนื่องจากกองทุนพันธบัตรเอเชีย กองที่ 1 เมื่อเดือน มิ.ย.46 ที่ผ่านมา โดยกองทุนพันธบัตรเอเชียกองที่ 2
ระยะแรกยังคงเป็นการลงทุนของ ธ.กลาง 11 ประเทศเดิมอยู่ แต่เพิ่มวงเงินจาก 1,000 ล้านดอลลาร์ สรอ.
เป็น 2,000 ล้านดอลลาร์ สรอ.โดยเป็นการลงทุนร่วมกันของ 11 ประเทศตามสัดส่วนที่กำหนดในพันธบัตรรัฐบาล
และพันธบัตรกึ่งรัฐบาลที่เป็นสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศสมาชิก สำหรับ ธปท.นั้น ครม.ได้อนุมัติให้ลงทุนจากทุน
สำรองทางการระหว่างประเทศไม่เกิน 250 ล้านดอลลาร์ สรอ. (โลกวันนี้)
3. ก.คลังเตรียมเสนอมาตรการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากประจำต่อ ครม. เพื่อช่วยเหลือผู้มีราย
ได้น้อย รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 21 ธ.ค.นี้ ก.คลังจะนำเสนอ
มาตรการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากประจำเพื่อขอความเห็นชอบ เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้มีรายได้
มากขึ้น โดยผู้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากประจำต้องเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป จะได้รับยกเว้นภาษี
หัก ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 สำหรับรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากประจำไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี โดยคาดว่ารัฐจะสูญ
เสียรายได้จากมาตรการนี้ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้ อธิบดีกรมสรรพากรคาดว่าจะออกเป็นกฎกระทรวง และมี
ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.48 เป็นต้นไป โดยปัจจุบันมีผู้ฝากเงินประเภทนี้อยู่ 5 ล้านบัญชี (ข่าวสด, แนว
หน้า, บ้านเมือง, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังเตรียมเสนอ ครม.เกี่ยวกับมาตรการภาษีในการสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ
สถาบันการเงิน รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มาตรการในการสนับสนุนการ
ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของระบบสถาบันการเงินที่ ก.คลังมอบหมายให้ สศค.ศึกษานั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่า
ภายในสัปดาห์หน้าจะนำเสนอต่อ ครม.เพื่อพิจารณาได้ โดยมาตรการทางภาษีทั้งหมดที่เกี่ยวข้องนั้นจะต่ออายุออกไป
อีก 1 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือน ธ.ค.49 อีกทั้งจะมีการเสนอกรอบใหม่เพิ่มเติม คือ จะเสนอให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดราย
ได้ (เอ็นพีแอล) ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะต้องเป็นเอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นภายในสิ้นเดือน ธ.ค.47 หากเป็น
เอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นหลังจากนี้จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี รวมทั้งจะเสนอให้มีการกำหนดกรอบมาตรการภาษีดัง
กล่าวในปี 49 ด้วย (สยามรัฐ, มติชน)
5. ธพ.ของรัฐร่วมปล่อยสินเชื่อภาคตะวันออกด้านการท่องเที่ยว อัญมณี และสินค้าเกษตร กรรมการผู้
จัดการ ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เปิดเผยว่า จากโครงการความร่วม
มือทางการเงินเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกกิจรากหญ้าของธนาคาร 3 ประสานบวก 2 คือ ธพว. ธ.ออมสิน ธ.เพื่อ
การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และ ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้า
แห่งประเทศไทย (ธสน.) ซึ่งได้ร่วมปล่อยสินเชื่อรายจังหวัด จังหวัดละ 1,000 ล้านบาทนั้น สำหรับภาคตะวันออก
จะเน้นการปล่อยสินเชื่อด้านการท่องเที่ยว อัญมณี การแปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนายุทธศาสตร์
จังหวัด แต่เน้นให้คลังจังหวัดสนับสนุนธุรกิจรากหญ้าในการตั้งโครงการที่มีศักยภาพ รวมทั้งแต่ละจังหวัดรัฐบาลมีงบ
ประมาณจำนวน 100 ล้านบาทในการพัฒนาจังหวัด ซึ่งภาคเอกชนสามารถดึงเงินนี้มาพัฒนาสินค้าในท้องถิ่นให้เป็นที่
รู้จัก เพื่อให้สอดคล้องกับการปล่อยสินเชื่อของ ธ.รัฐ (แนวหน้า, บ้านเมือง, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดุลบัญชีเดินสะพัดของสรอ.ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ขาดดุล 164.71 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.สูงเป็น
ประวัติการณ์ รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 16 ธ.ค 47 ก.พาณิชย์สรอ.เปิดเผยว่าในไตรมาสที่ 3 ปี 47 ดุล
บัญชีเดินสะพัดของสรอ.ขาดดุลสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 164.71 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.จากไตรมาสที่ 2 ที่ระดับ
164.39 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.(ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) โดยที่ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาลอยู่ที่ระดับ 166.18 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. และน้อยกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์ที่คาดไว้ว่าจะขาดดุลสูงถึง 170.0 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ยังเตือนถึงความเป็นไปได้ที่เงินดอลลาร์สรอ.จะอ่อนค่าลงไปอีกหาก
ความต้องการเงินสกุลดอลลาร์สรอ.จากต่างประเทศเริ่มลดลง อย่างไรก็ตามได้มีการตำหนิว่างบประมาณขาดดุล
ของสรอ.ส่งผลต่อการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมาก และปัญหาของดุลบัญชีเดินสะพัดคือการออมภายในประเทศซึ่ง
ต้องต้องแก้ไขด้วยนโยบายการคลัง ทั้งนี้รมว.คลัง อังกฤษมีความเห็นว่าการขาดดุลการค้าและดุลงบประมาณของ
สรอ.จะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกทำให้รมว.คลังอังกฤษต้องมีการเจรจาเพื่อแก้ปัญหากับสรอ.ในเร็ว
วันนี้ (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อปีชะลอตัวจาก
เดือนก่อน รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 16 ธ.ค.47 สนง.สถิติของสหภาพยุโรปรายงานดัชนีราคาผู้บริโภคใน
เดือน พ.ย.47 ของ 12 ประเทศสมาชิกของเขตเศรษฐกิจยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน ชะลอตัว
จากเดือนก่อนซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ต่อปี ผลจากราคาน้ำมันลดลงทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคลดลงร้อยละ 0.1 จาก
เดือนก่อน นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนต่อ ๆ ไปจะลดลงอีกจนอยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่ ธ.กลาง
ยุโรปตั้งเป้าให้อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปอยู่ในระดับใกล้เคียงแต่ต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปี ในขณะที่ดัชนี
ราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่ราคาน้ำมันและอาหารสดของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน พ.ย. 47 เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.9 เมื่อเทียบกับปีก่อนลดลงจากเดือน ต.ค.47 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ต่อปี นับเป็นครั้งแรกที่ลดลงอยู่ในระดับต่ำ
กว่าร้อยละ 2.0 ต่อปีนับตั้งแต่เดือน ม.ค.47 ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นว่าผลกระทบจากราคาน้ำมันจะไม่ขยายวงออก
ไปอีก โดยราคาน้ำมันลดลงร้อยละ 1.2 ในเดือน พ.ย.47 จากเดือนก่อนแต่ยังคงสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 8.7
(รอยเตอร์)
3. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อน รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 16 ธ.ค.47 ยอดค้าปลีกของอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน พ.ย.47 จากเดือนก่อน
หลังจากลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน ต.ค.47 สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ส่งผลให้ยอดค้าปลีกใน
เดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ผลจากชาวอังกฤษตอบสนองต่อการลดราคาสินค้าในช่วง
ก่อนเทศกาลคริสต์มาสโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสั่งซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตที่มีการลดราคามากกว่าห้างร้านทั่วไป
ผลสำรวจพบว่าชาวอังกฤษเกือบ 1 ใน 3 สั่งซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตในช่วงเทศกาลคริสต์มาสเทียบกับร้อยละ 2
ในปี 41 เมื่อการซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ตัวเลขยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการคาดกันว่า
ธ.กลางอังกฤษจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้แต่คาดว่าจะไม่เร็วกว่าเดือน ก.พ.ปีหน้าซึ่งเป็นเวลาที่ได้ตัวเลขที่แน่
นอนเกี่ยวกับการใช้จ่ายของชาวอังกฤษในช่วงเทศกาลคริสต์มาส (รอยเตอร์)
4. คาดว่าการส่งออกของสิงคโปร์ในเดือนพ.ย.จะลดลง รายงานจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 17 ธ.ค
47 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าในเดือนพ.ย. 47 การส่งออกของสิงคโปร์จะลดลงเป็น
ครั้งที่ 2 ในรอบ 3 เดือนเนื่องจากอุปสงค์ในสินค้าเทคโนโลยีอาทิ คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นดีวีดี และสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ในตลาดสำคัญอย่างสรอ. ลดลง และราคาน้ำมันสูงขึ้นกว่าบาร์เรลละ 50 ดอลลาร์สรอ. ทำ
สถิติสูงสุดในเดือนต.ค. นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าการส่งออกสินค้าที่มิใช่น้ำมันในเดือนพ.ย.จะลดลงร้อยละ 1.9
จากเดือนต.ค. ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกชะลอตัวและวัฎจักร
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในช่วงขาลงและสินค้าดังกล่าวมีสัดส่วนถึงกว่าครึ่งของสินค้าส่งออกที่มิใช่น้ำมันของสิงคโปร์
อย่างไรก็ตามผลการสำรวจคาดว่าเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนการส่งออกรวมในเดือนพ.ย.ก็ยังคงขยายตัวร้อย
ละ 16.4 สูงกว่าเดือนต.ค.ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 11.9 ทั้งนี้รัฐบาลมีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขการส่งออกอย่างเป็น
ทางการในวันนี้เวลา 12.30 น ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17/12/2490 16 ธ.ค 47 30/1/2490 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.202 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.0383/39.3206 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.96875-2.050 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 661.42/ 20.46 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,150/8,250 8,200/8,300 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.26 36.5 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.29*/14.59 19.59*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 30 สตางค์ เมื่อ 17 ธ.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ฐานะการเงินของ ธพ.ไทย ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 47 แข็งแกร่งมากขึ้นโดยมีผลกำไรเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 10,000 ดร.ธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงฐานะทางการเงิน
ของ ธพ.ไทย ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 47 ว่า มีความแข็งแกร่งมากขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ในไตรมาส
3 ปีนี้อยู่ที่ 1.6 เทียบกับไตรมาส 2 อยู่ที่ 1.3 หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 0 ขณะที่ผลการดำเนิน
งานมีกำไรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยกำไรทั้งระบบอยู่ที่ 27,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10,000 เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรเพียง 200 ล้านบาทเท่านั้น ทั้งนี้ เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส)
ของ ธพ.ทั้งระบบอยู่ที่ร้อยละ 12.9 ถือว่าแข็งแกร่งพอสมควร เพราะเกินกว่าเกณฑ์ที่ ธปท.กำหนดไว้ที่ร้อยละ
8.5 ส่วนสินเชื่อในไตรมาส 3 ที่พิจารณาจากงบดุลของ ธพ.ขยายตัวประมาณร้อยละ 9.5 หรือหากพิจารณาสินเชื่อ
ที่มีการปรับมูลค่าการสำรองหนี้จัดชั้นแล้วขยายตัวร้อยละ 14.4 สำหรับผลกำไรที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากผลการดำเนินงาน
ที่ปรับตัวดีขึ้น ภาระการกันสำรองลดลง ความสามารถในการทำกำไรของ ธพ.ในปี 48 น่าจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แม้ว่า
เศรษฐกิจจะชะลอตัวก็ตาม ทั้งนี้ ปัญหาที่ ธพ.จะต้องเผชิญและแก้ไขในปีหน้า คือปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(เอ็นพีแอล) โดยในไตรมาส 3 ปี 47 อยู่ที่ 600,000 กว่าล้านบาท หรือร้อยละ 11.6 เอ็นพีแอลย้อนกลับอยู่ที่
19,000 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 2 ที่ 41,000 ล้านบาท และเอ็นพีแอลใหม่อยู่ที่ 22,000 ล้านบาท (ข่าว
สด, ไทยรัฐ, สยามรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. EMEAP ตกลงจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียกองที่ 2 วงเงิน 2,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดร.
บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กลุ่มธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกและแปซิฟิก 11 ประเทศ (EMEAP) ตกลงจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียกองที่ 2 ซึ่งจะเป็นการดำเนินการ
ต่อเนื่องจากกองทุนพันธบัตรเอเชีย กองที่ 1 เมื่อเดือน มิ.ย.46 ที่ผ่านมา โดยกองทุนพันธบัตรเอเชียกองที่ 2
ระยะแรกยังคงเป็นการลงทุนของ ธ.กลาง 11 ประเทศเดิมอยู่ แต่เพิ่มวงเงินจาก 1,000 ล้านดอลลาร์ สรอ.
เป็น 2,000 ล้านดอลลาร์ สรอ.โดยเป็นการลงทุนร่วมกันของ 11 ประเทศตามสัดส่วนที่กำหนดในพันธบัตรรัฐบาล
และพันธบัตรกึ่งรัฐบาลที่เป็นสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศสมาชิก สำหรับ ธปท.นั้น ครม.ได้อนุมัติให้ลงทุนจากทุน
สำรองทางการระหว่างประเทศไม่เกิน 250 ล้านดอลลาร์ สรอ. (โลกวันนี้)
3. ก.คลังเตรียมเสนอมาตรการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากประจำต่อ ครม. เพื่อช่วยเหลือผู้มีราย
ได้น้อย รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 21 ธ.ค.นี้ ก.คลังจะนำเสนอ
มาตรการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากประจำเพื่อขอความเห็นชอบ เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้มีรายได้
มากขึ้น โดยผู้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากประจำต้องเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป จะได้รับยกเว้นภาษี
หัก ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 สำหรับรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากประจำไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี โดยคาดว่ารัฐจะสูญ
เสียรายได้จากมาตรการนี้ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้ อธิบดีกรมสรรพากรคาดว่าจะออกเป็นกฎกระทรวง และมี
ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.48 เป็นต้นไป โดยปัจจุบันมีผู้ฝากเงินประเภทนี้อยู่ 5 ล้านบัญชี (ข่าวสด, แนว
หน้า, บ้านเมือง, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังเตรียมเสนอ ครม.เกี่ยวกับมาตรการภาษีในการสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ
สถาบันการเงิน รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มาตรการในการสนับสนุนการ
ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของระบบสถาบันการเงินที่ ก.คลังมอบหมายให้ สศค.ศึกษานั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่า
ภายในสัปดาห์หน้าจะนำเสนอต่อ ครม.เพื่อพิจารณาได้ โดยมาตรการทางภาษีทั้งหมดที่เกี่ยวข้องนั้นจะต่ออายุออกไป
อีก 1 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือน ธ.ค.49 อีกทั้งจะมีการเสนอกรอบใหม่เพิ่มเติม คือ จะเสนอให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดราย
ได้ (เอ็นพีแอล) ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะต้องเป็นเอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นภายในสิ้นเดือน ธ.ค.47 หากเป็น
เอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นหลังจากนี้จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี รวมทั้งจะเสนอให้มีการกำหนดกรอบมาตรการภาษีดัง
กล่าวในปี 49 ด้วย (สยามรัฐ, มติชน)
5. ธพ.ของรัฐร่วมปล่อยสินเชื่อภาคตะวันออกด้านการท่องเที่ยว อัญมณี และสินค้าเกษตร กรรมการผู้
จัดการ ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เปิดเผยว่า จากโครงการความร่วม
มือทางการเงินเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกกิจรากหญ้าของธนาคาร 3 ประสานบวก 2 คือ ธพว. ธ.ออมสิน ธ.เพื่อ
การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และ ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้า
แห่งประเทศไทย (ธสน.) ซึ่งได้ร่วมปล่อยสินเชื่อรายจังหวัด จังหวัดละ 1,000 ล้านบาทนั้น สำหรับภาคตะวันออก
จะเน้นการปล่อยสินเชื่อด้านการท่องเที่ยว อัญมณี การแปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนายุทธศาสตร์
จังหวัด แต่เน้นให้คลังจังหวัดสนับสนุนธุรกิจรากหญ้าในการตั้งโครงการที่มีศักยภาพ รวมทั้งแต่ละจังหวัดรัฐบาลมีงบ
ประมาณจำนวน 100 ล้านบาทในการพัฒนาจังหวัด ซึ่งภาคเอกชนสามารถดึงเงินนี้มาพัฒนาสินค้าในท้องถิ่นให้เป็นที่
รู้จัก เพื่อให้สอดคล้องกับการปล่อยสินเชื่อของ ธ.รัฐ (แนวหน้า, บ้านเมือง, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดุลบัญชีเดินสะพัดของสรอ.ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ขาดดุล 164.71 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.สูงเป็น
ประวัติการณ์ รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 16 ธ.ค 47 ก.พาณิชย์สรอ.เปิดเผยว่าในไตรมาสที่ 3 ปี 47 ดุล
บัญชีเดินสะพัดของสรอ.ขาดดุลสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 164.71 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.จากไตรมาสที่ 2 ที่ระดับ
164.39 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.(ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) โดยที่ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาลอยู่ที่ระดับ 166.18 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. และน้อยกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์ที่คาดไว้ว่าจะขาดดุลสูงถึง 170.0 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ยังเตือนถึงความเป็นไปได้ที่เงินดอลลาร์สรอ.จะอ่อนค่าลงไปอีกหาก
ความต้องการเงินสกุลดอลลาร์สรอ.จากต่างประเทศเริ่มลดลง อย่างไรก็ตามได้มีการตำหนิว่างบประมาณขาดดุล
ของสรอ.ส่งผลต่อการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมาก และปัญหาของดุลบัญชีเดินสะพัดคือการออมภายในประเทศซึ่ง
ต้องต้องแก้ไขด้วยนโยบายการคลัง ทั้งนี้รมว.คลัง อังกฤษมีความเห็นว่าการขาดดุลการค้าและดุลงบประมาณของ
สรอ.จะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกทำให้รมว.คลังอังกฤษต้องมีการเจรจาเพื่อแก้ปัญหากับสรอ.ในเร็ว
วันนี้ (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อปีชะลอตัวจาก
เดือนก่อน รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 16 ธ.ค.47 สนง.สถิติของสหภาพยุโรปรายงานดัชนีราคาผู้บริโภคใน
เดือน พ.ย.47 ของ 12 ประเทศสมาชิกของเขตเศรษฐกิจยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน ชะลอตัว
จากเดือนก่อนซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ต่อปี ผลจากราคาน้ำมันลดลงทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคลดลงร้อยละ 0.1 จาก
เดือนก่อน นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนต่อ ๆ ไปจะลดลงอีกจนอยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่ ธ.กลาง
ยุโรปตั้งเป้าให้อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปอยู่ในระดับใกล้เคียงแต่ต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปี ในขณะที่ดัชนี
ราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่ราคาน้ำมันและอาหารสดของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน พ.ย. 47 เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.9 เมื่อเทียบกับปีก่อนลดลงจากเดือน ต.ค.47 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ต่อปี นับเป็นครั้งแรกที่ลดลงอยู่ในระดับต่ำ
กว่าร้อยละ 2.0 ต่อปีนับตั้งแต่เดือน ม.ค.47 ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นว่าผลกระทบจากราคาน้ำมันจะไม่ขยายวงออก
ไปอีก โดยราคาน้ำมันลดลงร้อยละ 1.2 ในเดือน พ.ย.47 จากเดือนก่อนแต่ยังคงสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 8.7
(รอยเตอร์)
3. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อน รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 16 ธ.ค.47 ยอดค้าปลีกของอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน พ.ย.47 จากเดือนก่อน
หลังจากลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน ต.ค.47 สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ส่งผลให้ยอดค้าปลีกใน
เดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ผลจากชาวอังกฤษตอบสนองต่อการลดราคาสินค้าในช่วง
ก่อนเทศกาลคริสต์มาสโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสั่งซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตที่มีการลดราคามากกว่าห้างร้านทั่วไป
ผลสำรวจพบว่าชาวอังกฤษเกือบ 1 ใน 3 สั่งซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตในช่วงเทศกาลคริสต์มาสเทียบกับร้อยละ 2
ในปี 41 เมื่อการซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ตัวเลขยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการคาดกันว่า
ธ.กลางอังกฤษจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้แต่คาดว่าจะไม่เร็วกว่าเดือน ก.พ.ปีหน้าซึ่งเป็นเวลาที่ได้ตัวเลขที่แน่
นอนเกี่ยวกับการใช้จ่ายของชาวอังกฤษในช่วงเทศกาลคริสต์มาส (รอยเตอร์)
4. คาดว่าการส่งออกของสิงคโปร์ในเดือนพ.ย.จะลดลง รายงานจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 17 ธ.ค
47 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าในเดือนพ.ย. 47 การส่งออกของสิงคโปร์จะลดลงเป็น
ครั้งที่ 2 ในรอบ 3 เดือนเนื่องจากอุปสงค์ในสินค้าเทคโนโลยีอาทิ คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นดีวีดี และสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ในตลาดสำคัญอย่างสรอ. ลดลง และราคาน้ำมันสูงขึ้นกว่าบาร์เรลละ 50 ดอลลาร์สรอ. ทำ
สถิติสูงสุดในเดือนต.ค. นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าการส่งออกสินค้าที่มิใช่น้ำมันในเดือนพ.ย.จะลดลงร้อยละ 1.9
จากเดือนต.ค. ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกชะลอตัวและวัฎจักร
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในช่วงขาลงและสินค้าดังกล่าวมีสัดส่วนถึงกว่าครึ่งของสินค้าส่งออกที่มิใช่น้ำมันของสิงคโปร์
อย่างไรก็ตามผลการสำรวจคาดว่าเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนการส่งออกรวมในเดือนพ.ย.ก็ยังคงขยายตัวร้อย
ละ 16.4 สูงกว่าเดือนต.ค.ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 11.9 ทั้งนี้รัฐบาลมีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขการส่งออกอย่างเป็น
ทางการในวันนี้เวลา 12.30 น ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17/12/2490 16 ธ.ค 47 30/1/2490 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.202 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.0383/39.3206 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.96875-2.050 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 661.42/ 20.46 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,150/8,250 8,200/8,300 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.26 36.5 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.29*/14.59 19.59*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 30 สตางค์ เมื่อ 17 ธ.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--