แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ การผลิต ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 29 พ.ย. — 4 ธ.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,078.33 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 515.95 ตัน สัตว์น้ำจืด 562.38 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.17 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.01 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 86.87 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 26.33 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 25.28 ตัน
การตลาด สถานการณ์ซูริมิ ไตรมาส 4 ปี 2547
ซูริมิยังเป็นที่ต้องการของทุกตลาดไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆในเอเชีย หรือแม้กระทั่งทางประเทศในยุโรปเอง ส่วนสถานการณ์ของตลาดในปัจจุบันก็ยังเกิดภาวะการขาดแคลนซูริมิ เนื่องจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนต่างๆ สูงขึ้น เรือออกจับปลาน้อยลง เพราะไม่คุ้มค่าที่ออกไปจับปลา ที่เป็นวัตถุดิบในการทำซูริมิ จึงได้เปลี่ยนไปจับปลาชนิดอื่นที่มีมูลค่ามากกว่า อีกสาเหตุหนึ่งคือความไม่แน่นอนในเรื่องตั๋วจับปลา ทำให้มีความเสี่ยงที่เรือจะถูกจับ ทำให้เรือบางชุดหยุดการออกจับปลา จากเหตุผลเหล่านี้ทำให้ราคาวัตถุดิบสำหรับผลิตซูริมิขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตซูริมิสูงขึ้นมาก ไม่สามารถขึ้นราคาผลิตภัณฑ์ได้ และตลาดญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดหลักและเป็นตลาดกำหนดราคาซูริมิโลก ผู้นำเข้าพยายามที่จะตรึงราคาซูริมิไว้ไม่ให้ขึ้น ขณะนี้ผู้ผลิตซูริมิทางเมืองไทยจึงอยู่ในภาวะไม่คุ้มทุนและการซื้อขายในช่วงปลายของไตรมาส 3 และช่วงต้นของไตรมาส 4 เนื่องจากผู้ผลิตต้องการนำไปใช้ในช่วงปลายปี จึงมีการตกลงในปริมาณที่ค่อนข้างมาก แต่หลังจากนี้คิดว่าปริมาณการซื้อขายในช่วงไตรมาส 1—3 จะมีการผลิตและบริโภคสินค้า order จึงทำให้ซูริมิเกรดต่ำยังเป็นความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ไตรมาส 1 ปี 2548 ปริมาณความต้องการโดยรวมของทุกตลาดก็จะลดลงจากไตรมาส 4 ประมาณร้อยละ 30 ส่วนสถานการณ์ของอินเดียที่เริ่มมาตั้งแต่เดือน 8 แต่มาเอาจริงๆ ก็ที่เดือน 9 ซึ่งค่อนข้างราบรื่นมาจนถึงเดือน 10 — 11 ปริมาณต้นๆ เดือนของเดือน 10 มีข่าวว่าทางอินเดียก็จับปลาได้น้อย และเกรดไม่ดี จึงหันไปจับปลาอย่างอื่นแทน แต่หลังจากนั้นก็เริ่มดีขึ้น การแข่งขันนี้มีผลต่อประเทศไทยบ้างแต่ก็ยังน้อยอยู่ และเนื่องจากราคาวัตถุดิบที่ถูกกว่าเมืองไทยมากก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ทำให้เกิดการซื้อทดแทนจากไทย เพราะเฉลี่ยขายถูกกว่าไทย 10—15 cent/kg. ตัวนี้ก็อาจจะเป็นผลกระทบต่อการกำหนดราคาซูริมิของไทย ส่วนปีหน้า Hokkaido Pollock ตัดหัวและตัว (round fish / whole fish / dress) เป็นที่ต้องการของเกาหลีมาก ทำให้ราคา Pollock ขึ้น คาดว่าผลผลิตปลายปีของ Pollock ของ Hokkaido ก็คงไม่เต็มที่ เพราะผู้ผลิตหันไปผลิตแบบอื่น มองว่า Pollock Hokkaido จะส่งผลต่อซูริมิเกรดต่ำของไทยก็ไม่น่าจะมาก เพราะวัตถุดิบน้อยและราคาสูงขึ้น ส่วนปีหน้า Pollock A Season คิดว่าน่าจะมีแนวโน้มลดกำลังการผลิตเล็กน้อย ผู้ผลิตซูริมิ USA ให้ไปผลิต fillet มากขึ้นและแนวโน้มราคาในสหรัฐฯ น่าจะขยับราคา Allaska Pollock A season ขึ้นประมาณ 20 yen/kg. อย่างไรก็ตาม การที่ราคาซูริมิจะขยับขึ้นมากกว่านี้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าโรงงานผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปสามารถแบกรับต้นทุนซูริมิได้มากน้อยแค่ไหน ถ้ารับไม่ไหว คือสูงกว่าจุดคุ้มทุนก็อาจทำให้ราคาซูริมิถูกปรับราคาลง และส่งผลโดยตรงต่อผู้ผลิตซูริมิในปีหน้าอย่างแน่นอน ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.47 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.31 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.35 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.96 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.71
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 143.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 150.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.91 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.09 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.97 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.03 บาท สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 13 - 17 ธ.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.28 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 49 ประจำวันที่ 13-19 ธันวาคม 2547--
-พห-
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.17 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.01 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 86.87 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 26.33 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 25.28 ตัน
การตลาด สถานการณ์ซูริมิ ไตรมาส 4 ปี 2547
ซูริมิยังเป็นที่ต้องการของทุกตลาดไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆในเอเชีย หรือแม้กระทั่งทางประเทศในยุโรปเอง ส่วนสถานการณ์ของตลาดในปัจจุบันก็ยังเกิดภาวะการขาดแคลนซูริมิ เนื่องจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนต่างๆ สูงขึ้น เรือออกจับปลาน้อยลง เพราะไม่คุ้มค่าที่ออกไปจับปลา ที่เป็นวัตถุดิบในการทำซูริมิ จึงได้เปลี่ยนไปจับปลาชนิดอื่นที่มีมูลค่ามากกว่า อีกสาเหตุหนึ่งคือความไม่แน่นอนในเรื่องตั๋วจับปลา ทำให้มีความเสี่ยงที่เรือจะถูกจับ ทำให้เรือบางชุดหยุดการออกจับปลา จากเหตุผลเหล่านี้ทำให้ราคาวัตถุดิบสำหรับผลิตซูริมิขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตซูริมิสูงขึ้นมาก ไม่สามารถขึ้นราคาผลิตภัณฑ์ได้ และตลาดญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดหลักและเป็นตลาดกำหนดราคาซูริมิโลก ผู้นำเข้าพยายามที่จะตรึงราคาซูริมิไว้ไม่ให้ขึ้น ขณะนี้ผู้ผลิตซูริมิทางเมืองไทยจึงอยู่ในภาวะไม่คุ้มทุนและการซื้อขายในช่วงปลายของไตรมาส 3 และช่วงต้นของไตรมาส 4 เนื่องจากผู้ผลิตต้องการนำไปใช้ในช่วงปลายปี จึงมีการตกลงในปริมาณที่ค่อนข้างมาก แต่หลังจากนี้คิดว่าปริมาณการซื้อขายในช่วงไตรมาส 1—3 จะมีการผลิตและบริโภคสินค้า order จึงทำให้ซูริมิเกรดต่ำยังเป็นความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ไตรมาส 1 ปี 2548 ปริมาณความต้องการโดยรวมของทุกตลาดก็จะลดลงจากไตรมาส 4 ประมาณร้อยละ 30 ส่วนสถานการณ์ของอินเดียที่เริ่มมาตั้งแต่เดือน 8 แต่มาเอาจริงๆ ก็ที่เดือน 9 ซึ่งค่อนข้างราบรื่นมาจนถึงเดือน 10 — 11 ปริมาณต้นๆ เดือนของเดือน 10 มีข่าวว่าทางอินเดียก็จับปลาได้น้อย และเกรดไม่ดี จึงหันไปจับปลาอย่างอื่นแทน แต่หลังจากนั้นก็เริ่มดีขึ้น การแข่งขันนี้มีผลต่อประเทศไทยบ้างแต่ก็ยังน้อยอยู่ และเนื่องจากราคาวัตถุดิบที่ถูกกว่าเมืองไทยมากก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ทำให้เกิดการซื้อทดแทนจากไทย เพราะเฉลี่ยขายถูกกว่าไทย 10—15 cent/kg. ตัวนี้ก็อาจจะเป็นผลกระทบต่อการกำหนดราคาซูริมิของไทย ส่วนปีหน้า Hokkaido Pollock ตัดหัวและตัว (round fish / whole fish / dress) เป็นที่ต้องการของเกาหลีมาก ทำให้ราคา Pollock ขึ้น คาดว่าผลผลิตปลายปีของ Pollock ของ Hokkaido ก็คงไม่เต็มที่ เพราะผู้ผลิตหันไปผลิตแบบอื่น มองว่า Pollock Hokkaido จะส่งผลต่อซูริมิเกรดต่ำของไทยก็ไม่น่าจะมาก เพราะวัตถุดิบน้อยและราคาสูงขึ้น ส่วนปีหน้า Pollock A Season คิดว่าน่าจะมีแนวโน้มลดกำลังการผลิตเล็กน้อย ผู้ผลิตซูริมิ USA ให้ไปผลิต fillet มากขึ้นและแนวโน้มราคาในสหรัฐฯ น่าจะขยับราคา Allaska Pollock A season ขึ้นประมาณ 20 yen/kg. อย่างไรก็ตาม การที่ราคาซูริมิจะขยับขึ้นมากกว่านี้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าโรงงานผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปสามารถแบกรับต้นทุนซูริมิได้มากน้อยแค่ไหน ถ้ารับไม่ไหว คือสูงกว่าจุดคุ้มทุนก็อาจทำให้ราคาซูริมิถูกปรับราคาลง และส่งผลโดยตรงต่อผู้ผลิตซูริมิในปีหน้าอย่างแน่นอน ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.47 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.31 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.35 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.96 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.71
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 143.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 150.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.91 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.09 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.97 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.03 บาท สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 13 - 17 ธ.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.28 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 49 ประจำวันที่ 13-19 ธันวาคม 2547--
-พห-